โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle Project Development : IMT-GT) เป็นการรวมกลุ่มกันเฉพาะพื้นที่บางส่วนของแต่ละประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียงกัน ซึ่งประกอบด้วยบริเวณตอนเหนือเกาะ สุมาตราของอินโดนีเซีย คือ สุมาตราเหนือ เมดาน และอาเชห์ บริเวณ 4 รัฐ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ มาเลเซีย คือ รัฐเคดาห์ เปรัค เปอร์ลิส และปีนัง ส่วนประเทศไทยครอบคลุมบริเวณ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
แนวคิดในการจัดตั้งเริ่มขึ้นในปี 2535 เมื่อประเทศมาเลเซียได้เสนอแนวทางพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายขึ้น ส่งผลให้มีการประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีของทั้ง 3 ประเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2536 ซึ่งผู้นำของทั้ง 3 ประเทศ ได้เห็นชอบในหลักการ จึงร่วมกันร่างข้อเสนอจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ขณะเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดการแข่งขัน เพื่อให้สินค้าของประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
2. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพื้นที่ร่วมโครงการของทั้ง 3 ประเทศ บนพื้นฐานการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3. เพื่อกระตุ้นการผลิตสินค้าและบริการในกลุ่ม โดยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต
4.เพื่อแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศ จะผลักดันให้พื้นที่เป้าหมายของโครงการมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เศรษฐกิจส่วนรวมของภูมิภาคเติบโตอย่างรวดเร็ว
5.สนับสนุนนโยบายการพัฒนาประเทศทางด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย นโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรมของมาเลเซีย และนโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคของไทย
ขอบเขตความร่วมมือ
หลังจากที่ผู้นำทั้ง 3 ประเทศ เห็นชอบในแนวคิดของความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ จึงขอความร่วมมือให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ และกำหนดกรอบหลักของความร่วมมือระหว่างกัน จากผลของการศึกษา ได้กำหนดแนวทางความร่วมมือใน 8 สาขาหลัก ได้แก่
1.การคมนาคมและขนส่ง
โดยเร่งรัดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่จะเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การผลิตของทั้ง 3 ประเทศ ให้มีความสะดวกมากขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบ ขั้นตอนทางศุลกากรและการผ่านแดน
2.การสื่อสารและโทรคมนาคม
เน้นการลดข้อจำกัดและอุปสรรคที่มีต่อการลงทุนของภาคเอกชนด้านโทรคมนาคมตลอดจนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการสื่อสาร(Special Telecommunications Zone) และระบบสื่อสารดาวเทียมในพื้นที่ IMT-GT
3.การพลังงาน
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนจัดหาพลังงานประเภทต่าง ๆ เช่น การผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ IMT-GT การร่วมทุนเพื่อพัฒนาแหล่งถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย และสนับสนุนโครงการ Trans-ASEAN Gas Pipeline
4.การเกษตรกรรมและประมง
สนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรร่วมกันโดยรัฐกำหนดมาตรการจูงใจเป็นพิเศษ และการดำเนินแผนงานพัฒนาธุรกิจประมงร่วมกัน อาทิ การร่วมทุนด้านการประมง และการจัดการทรัพยากรประมงทะเลร่วมกัน
5. การค้า การลงทุน และการเงิน
ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศในโครงการ โดยการเร่งรัดปรับปรุงกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างของระบบภาษีให้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน ส่วนในด้านการเงิน จะศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการลงทุน (Regional Investment Fund) ในพื้นที่ IMT-GT และการจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Islamic Bank) ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
6.การอุตสาหกรรม
ดำเนินโครงการผลิตร่วมกันของอุตสาหกรรม การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และเขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone)
7.การท่องเที่ยว
พัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในและจากต่างประเทศ โดยส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะเน้นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีสมาคมการท่องเที่ยวของ 3 ประเทศ เป็นศูนย์กลางประสานงาน
8.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
เน้นศึกษาแนวทางพัฒนาบุคลากรและฝึกอบรมร่วมกัน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการผลิต และจะครอบคลุมถึงแนวทางการผ่อนปรนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่าง 3 ประเทศ
ข้อจำกัดของการดำเนินงานในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
1. จุดเริ่มต้นของแนวคิดฝ่ายไทยเน้นบทบาทให้ภาคเอกชนนำในขณะที่ภาครัฐบาลคอยสนับสนุน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินงานไม่ค่อยบรรลุผล เพราะภาครัฐบาลมีความล่าช้าในการตัดสินใจ ความไม่แน่นอนในนโยบายในแต่ละรัฐบาล ในขณะที่ภาคเอกชนเองก็ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอสำหรับการดำเนินการต่อรองในระดับนานาชาติ
2. ในส่วนของนโยบายภาครัฐบาล ยังมีข้อจำกัดทั้งในแง่กฎหมายและระเบียบ ต่าง ๆ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ในการทำความตกลงต่าง ๆ
3. บทบาทของภาคเอกชนยังมิได้มีส่วนร่วมและประสานงานกันมากเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ขึ้นมา แต่การประสานความร่วมมือยังไม่แน่นหนา ทำให้ขาดอำนาจต่อรอง ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนงบประมาณและกำลังคน นอกจากนี้นักธุรกิจที่มารวมกันล้วนแล้วแต่มีภาระหน้าที่ในธุรกิจของตนอยู่แล้ว จึงไม่สามารถทุ่มเทให้กับการดำเนินงานในด้านนี้อย่างเต็มที่
ปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมา
1. เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการทำความตกลงกันและการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อโครงการจะเป็นไปค่อนข้างยากและล่าช้า เพราะแต่ละประเทศจะต้องใช้เวลาในการศึกษากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบของตน ทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองกันหลายรอบกว่าจะได้ข้อยุติในแต่ละเรื่อง
2. สถานการณ์การก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในบางช่วงบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการลงทุนภายในพื้นที่ เพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจในความปลอดภัย จุดนี้ก่อให้เกิดความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย
3. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ส่งผลให้การดำเนินโครงการขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลในยุคที่ผ่านมาขาดการสานต่อโครงการ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดชอบโครงการ ดังนั้น ในระยะหลังหลายโครงการแทบจะไม่มีความคืบหน้า และเมื่อเกิดเหตุการณ์ยุบสภาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้ต้องเลื่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 6 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โครงการต่าง ๆ ที่รอความเห็นชอบในการประชุมจึงต้องหยุดชะงักในช่วงนี้
4. ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ ทำให้ผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่เกิดความลังเลใจ และย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศที่มีแรงงานพร้อมกว่า ขณะเดียวกัน การฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานยังมีน้อย ไม่สามารถสนองต่อความต้องการแรงงาน
5. ความไม่เพียงพอของระบบสาธารณูปโภคและการบริการพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งในขณะนี้ถึงแม้ว่าภาครัฐบาลจะพยายามผลักดันให้มีมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทันต่อความต้องการใช้ อาทิ ถนนขนาด 4 ช่องจราจร นิคมอุตสาหกรรม และระบบโทรคมนาคม
แนวทางที่ควรดำเนินการสำหรับในระยะต่อไป
1. ควรปรับบทบาทในการดำเนินงาน จากเดิมที่เน้นภาคเอกชนเป็นแกนนำ ให้เป็นภาครัฐมีบทบาทเป็นแกนนำในการพัฒนา ซึ่งประเทศมาเลเซียปฏิบัติได้ผลมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ต้องมีความจริงจังและจริงใจในการสานต่อโครงการ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับต่างประเทศและนักลงทุนทั่วไป
2. กำหนดหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง โดยภาครัฐจะให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและกำลังคนโดยตรง เช่นเดียวกับที่ประเทศมาเลเซียได้มีการ จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการประสานงานโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจสำหรับรัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (IMT-GT Liaison Secretariat for Kedah, Perlis, Penang and Perak) ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองอลอสตาร์ รัฐเคดาห์ โดยมีหน้าที่หลักคือ เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างประเทศกับประเทศสมาชิกโครงการ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดย หน่วยงานนี้ได้รับงบประมาณจากทางรัฐบาลและบางส่วนจากเงินสมทบของภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงประจำอยู่ด้วย ซึ่งทำให้การดำเนินการต่าง ๆ มีความสะดวกและคล่องตัวขึ้น
3. ในการเตรียมความพร้อมและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญอีก 2 ด้าน นอกเหนือจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับจะทวีความสำคัญขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งมีทรัพยากรและธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ดังนั้น โครงการต่าง ๆ จึงควรส่งผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้น้อยที่สุด
- ปัจจัยด้านสังคม ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากในภาคใต้ตอนล่าง นอกเหนือจากสังคมชาวไทย-พุทธแล้ว ยังมีสังคมของชาวไทย-มุสลิมด้วย ดังนั้น วิถีทางดำเนินการของโครงการต่าง ๆ ไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ควรมีส่วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนบนพื้นฐานความเชื่อของแต่ละชุมชนให้ดีขึ้นในระยะยาว หรือเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนด้วย
4. ภาครัฐควรสนับสนุนให้พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลาอาจให้การสนับสนุนในบางพื้นที่) ที่อยู่ในโครงการ IMT-GT ได้รับสิทธิพิเศษด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่นเดียวกับที่ได้เสนอให้จัดตั้งเขต ส่งเสริมการลงทุนพิเศษใน 12 จังหวัดทางภาคอีสาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้มีการ ลงทุนเร็วขึ้น
5. ภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเกิดขึ้นให้คลี่คลายไปโดยเร็ว โดยปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไขได้แก่
- ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะเบาบางลงในขณะนี้ แต่รัฐบาลควรเร่งสร้างภาพพจน์และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจยิ่งขึ้น
- ปัญหาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ควรรีบเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะระบบถนน 4 ช่องจราจร นิคมอุตสาหกรรม และระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
- ปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน ควรเร่งหามาตรการต่าง ๆ มาแก้ไข อาทิ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงางานเพิ่มขึ้น และการผ่อนผันการใช้แรงงานต่างชาติ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ความเป็นมา
โครงการพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย (Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle Project Development : IMT-GT) เป็นการรวมกลุ่มกันเฉพาะพื้นที่บางส่วนของแต่ละประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียงกัน ซึ่งประกอบด้วยบริเวณตอนเหนือเกาะ สุมาตราของอินโดนีเซีย คือ สุมาตราเหนือ เมดาน และอาเชห์ บริเวณ 4 รัฐ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ มาเลเซีย คือ รัฐเคดาห์ เปรัค เปอร์ลิส และปีนัง ส่วนประเทศไทยครอบคลุมบริเวณ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
แนวคิดในการจัดตั้งเริ่มขึ้นในปี 2535 เมื่อประเทศมาเลเซียได้เสนอแนวทางพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสามฝ่ายขึ้น ส่งผลให้มีการประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีของทั้ง 3 ประเทศ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2536 ซึ่งผู้นำของทั้ง 3 ประเทศ ได้เห็นชอบในหลักการ จึงร่วมกันร่างข้อเสนอจัดตั้งโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ขณะเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดการแข่งขัน เพื่อให้สินค้าของประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
2. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพื้นที่ร่วมโครงการของทั้ง 3 ประเทศ บนพื้นฐานการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3. เพื่อกระตุ้นการผลิตสินค้าและบริการในกลุ่ม โดยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิต
4.เพื่อแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 3 ประเทศ จะผลักดันให้พื้นที่เป้าหมายของโครงการมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และกระตุ้นให้เศรษฐกิจส่วนรวมของภูมิภาคเติบโตอย่างรวดเร็ว
5.สนับสนุนนโยบายการพัฒนาประเทศทางด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย นโยบายการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรมของมาเลเซีย และนโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคของไทย
ขอบเขตความร่วมมือ
หลังจากที่ผู้นำทั้ง 3 ประเทศ เห็นชอบในแนวคิดของความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ จึงขอความร่วมมือให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ และกำหนดกรอบหลักของความร่วมมือระหว่างกัน จากผลของการศึกษา ได้กำหนดแนวทางความร่วมมือใน 8 สาขาหลัก ได้แก่
1.การคมนาคมและขนส่ง
โดยเร่งรัดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่จะเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่การผลิตของทั้ง 3 ประเทศ ให้มีความสะดวกมากขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบ ขั้นตอนทางศุลกากรและการผ่านแดน
2.การสื่อสารและโทรคมนาคม
เน้นการลดข้อจำกัดและอุปสรรคที่มีต่อการลงทุนของภาคเอกชนด้านโทรคมนาคมตลอดจนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษด้านการสื่อสาร(Special Telecommunications Zone) และระบบสื่อสารดาวเทียมในพื้นที่ IMT-GT
3.การพลังงาน
ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนจัดหาพลังงานประเภทต่าง ๆ เช่น การผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ IMT-GT การร่วมทุนเพื่อพัฒนาแหล่งถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย และสนับสนุนโครงการ Trans-ASEAN Gas Pipeline
4.การเกษตรกรรมและประมง
สนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรร่วมกันโดยรัฐกำหนดมาตรการจูงใจเป็นพิเศษ และการดำเนินแผนงานพัฒนาธุรกิจประมงร่วมกัน อาทิ การร่วมทุนด้านการประมง และการจัดการทรัพยากรประมงทะเลร่วมกัน
5. การค้า การลงทุน และการเงิน
ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างประเทศในโครงการ โดยการเร่งรัดปรับปรุงกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างของระบบภาษีให้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุน ส่วนในด้านการเงิน จะศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการลงทุน (Regional Investment Fund) ในพื้นที่ IMT-GT และการจัดตั้งธนาคารปลอดดอกเบี้ย (Islamic Bank) ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
6.การอุตสาหกรรม
ดำเนินโครงการผลิตร่วมกันของอุตสาหกรรม การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) และเขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone)
7.การท่องเที่ยว
พัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในและจากต่างประเทศ โดยส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ซึ่งจะเน้นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีสมาคมการท่องเที่ยวของ 3 ประเทศ เป็นศูนย์กลางประสานงาน
8.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
เน้นศึกษาแนวทางพัฒนาบุคลากรและฝึกอบรมร่วมกัน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการผลิต และจะครอบคลุมถึงแนวทางการผ่อนปรนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่าง 3 ประเทศ
ข้อจำกัดของการดำเนินงานในโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
1. จุดเริ่มต้นของแนวคิดฝ่ายไทยเน้นบทบาทให้ภาคเอกชนนำในขณะที่ภาครัฐบาลคอยสนับสนุน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินงานไม่ค่อยบรรลุผล เพราะภาครัฐบาลมีความล่าช้าในการตัดสินใจ ความไม่แน่นอนในนโยบายในแต่ละรัฐบาล ในขณะที่ภาคเอกชนเองก็ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอสำหรับการดำเนินการต่อรองในระดับนานาชาติ
2. ในส่วนของนโยบายภาครัฐบาล ยังมีข้อจำกัดทั้งในแง่กฎหมายและระเบียบ ต่าง ๆ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ในการทำความตกลงต่าง ๆ
3. บทบาทของภาคเอกชนยังมิได้มีส่วนร่วมและประสานงานกันมากเท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ขึ้นมา แต่การประสานความร่วมมือยังไม่แน่นหนา ทำให้ขาดอำนาจต่อรอง ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนงบประมาณและกำลังคน นอกจากนี้นักธุรกิจที่มารวมกันล้วนแล้วแต่มีภาระหน้าที่ในธุรกิจของตนอยู่แล้ว จึงไม่สามารถทุ่มเทให้กับการดำเนินงานในด้านนี้อย่างเต็มที่
ปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่ผ่านมา
1. เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างประเทศ ดังนั้น ในการทำความตกลงกันและการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อโครงการจะเป็นไปค่อนข้างยากและล่าช้า เพราะแต่ละประเทศจะต้องใช้เวลาในการศึกษากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบของตน ทำให้ต้องมีการเจรจาต่อรองกันหลายรอบกว่าจะได้ข้อยุติในแต่ละเรื่อง
2. สถานการณ์การก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในบางช่วงบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการลงทุนภายในพื้นที่ เพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจในความปลอดภัย จุดนี้ก่อให้เกิดความเสียเปรียบเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย
3. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ส่งผลให้การดำเนินโครงการขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะรัฐบาลในยุคที่ผ่านมาขาดการสานต่อโครงการ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดชอบโครงการ ดังนั้น ในระยะหลังหลายโครงการแทบจะไม่มีความคืบหน้า และเมื่อเกิดเหตุการณ์ยุบสภาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็ส่งผลให้ต้องเลื่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 6 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด โครงการต่าง ๆ ที่รอความเห็นชอบในการประชุมจึงต้องหยุดชะงักในช่วงนี้
4. ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ ทำให้ผู้ที่สนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่เกิดความลังเลใจ และย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศที่มีแรงงานพร้อมกว่า ขณะเดียวกัน การฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานยังมีน้อย ไม่สามารถสนองต่อความต้องการแรงงาน
5. ความไม่เพียงพอของระบบสาธารณูปโภคและการบริการพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งในขณะนี้ถึงแม้ว่าภาครัฐบาลจะพยายามผลักดันให้มีมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทันต่อความต้องการใช้ อาทิ ถนนขนาด 4 ช่องจราจร นิคมอุตสาหกรรม และระบบโทรคมนาคม
แนวทางที่ควรดำเนินการสำหรับในระยะต่อไป
1. ควรปรับบทบาทในการดำเนินงาน จากเดิมที่เน้นภาคเอกชนเป็นแกนนำ ให้เป็นภาครัฐมีบทบาทเป็นแกนนำในการพัฒนา ซึ่งประเทศมาเลเซียปฏิบัติได้ผลมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ต้องมีความจริงจังและจริงใจในการสานต่อโครงการ ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับต่างประเทศและนักลงทุนทั่วไป
2. กำหนดหน่วยงานขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบโครงการนี้โดยตรง โดยภาครัฐจะให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและกำลังคนโดยตรง เช่นเดียวกับที่ประเทศมาเลเซียได้มีการ จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการประสานงานโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจสำหรับรัฐภาคเหนือของมาเลเซีย (IMT-GT Liaison Secretariat for Kedah, Perlis, Penang and Perak) ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองอลอสตาร์ รัฐเคดาห์ โดยมีหน้าที่หลักคือ เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างประเทศกับประเทศสมาชิกโครงการ และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ โดย หน่วยงานนี้ได้รับงบประมาณจากทางรัฐบาลและบางส่วนจากเงินสมทบของภาคเอกชน นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงประจำอยู่ด้วย ซึ่งทำให้การดำเนินการต่าง ๆ มีความสะดวกและคล่องตัวขึ้น
3. ในการเตรียมความพร้อมและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญอีก 2 ด้าน นอกเหนือจากความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับจะทวีความสำคัญขึ้น โดยเฉพาะในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งมีทรัพยากรและธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ดังนั้น โครงการต่าง ๆ จึงควรส่งผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้น้อยที่สุด
- ปัจจัยด้านสังคม ซึ่งมีความสำคัญมาก เนื่องจากในภาคใต้ตอนล่าง นอกเหนือจากสังคมชาวไทย-พุทธแล้ว ยังมีสังคมของชาวไทย-มุสลิมด้วย ดังนั้น วิถีทางดำเนินการของโครงการต่าง ๆ ไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม หรือส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น ขณะเดียวกัน ควรมีส่วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนบนพื้นฐานความเชื่อของแต่ละชุมชนให้ดีขึ้นในระยะยาว หรือเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนด้วย
4. ภาครัฐควรสนับสนุนให้พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดสงขลาอาจให้การสนับสนุนในบางพื้นที่) ที่อยู่ในโครงการ IMT-GT ได้รับสิทธิพิเศษด้านการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่นเดียวกับที่ได้เสนอให้จัดตั้งเขต ส่งเสริมการลงทุนพิเศษใน 12 จังหวัดทางภาคอีสาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจและกระตุ้นให้มีการ ลงทุนเร็วขึ้น
5. ภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเกิดขึ้นให้คลี่คลายไปโดยเร็ว โดยปัญหาสำคัญที่รอการแก้ไขได้แก่
- ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะเบาบางลงในขณะนี้ แต่รัฐบาลควรเร่งสร้างภาพพจน์และมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจยิ่งขึ้น
- ปัญหาระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ควรรีบเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะระบบถนน 4 ช่องจราจร นิคมอุตสาหกรรม และระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
- ปัญหาด้านแรงงาน ซึ่งอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน ควรเร่งหามาตรการต่าง ๆ มาแก้ไข อาทิ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงางานเพิ่มขึ้น และการผ่อนผันการใช้แรงงานต่างชาติ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-