บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมทราบ รวม ๒ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้ง พันตำรวจโท ทักษิณ
ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
๒. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง ได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงโดยวิทยุรัฐสภา
และวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชุมทุกครั้ง
ส่วนการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ หากจะมีในการประชุมครั้งใด จะได้แจ้งให้
ที่ประชุมทราบในครั้งนั้น ๆ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระต่อไป คือ ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. กำหนดวันและเวลาประชุมสภาผู้แทนราษฎร
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้มีมติให้มีการประชุมสัปดาห์ละ ๒ วัน คือ ทุกวันพุธ
และวันพฤหัสบดี โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป
๒. กำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ตามมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติกำหนดให้วันที่ ๑ เดือน สิงหาคม
เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
๓. เลือกตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๐ คน เพื่อพิจารณา
ยกร่างคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๒. นายอดิศร เพียงเกษ
๓. นายปกิต พัฒนกุล ๔. นายประกิจ พลเดช
๕. นายทรงศักดิ์ ทองศรี ๖. นายประมวล รุจนเสรี
๗. นายทศพล สังขทรัพย์ ๘. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์
๙. นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ๑๐. นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ
๑๑. นายโสภณ เพชรสว่าง ๑๒. นายสมชาย สุนทรวัฒน์
๑๓. นายธวัชชัย สัจจกุล ๑๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๑๕. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๖. นายวิฑูรย์ นามบุตร
๑๗. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๘. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๙. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๒๐. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๒๒. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์
๒๓. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๒๔. นายมุข สุไลมาน
๒๕. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๒๖. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๒๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๘. นางสาวเรวดี รัศมิทัต
๒๙. นายณรงค์เลิศ สุรพล ๓๐. นายประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
กำหนดการพิจารณายกร่างให้เสร็จ ภายใน ๒๑ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๔.๓๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ให้ที่ประชุมทราบ รวม ๒ ฉบับ คือ
๑. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้ง พันตำรวจโท ทักษิณ
ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
๒. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
เรื่อง ได้อนุญาตให้ถ่ายทอดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงโดยวิทยุรัฐสภา
และวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ในการประชุมทุกครั้ง
ส่วนการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ หากจะมีในการประชุมครั้งใด จะได้แจ้งให้
ที่ประชุมทราบในครั้งนั้น ๆ
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระต่อไป คือ ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ คือ
๑. กำหนดวันและเวลาประชุมสภาผู้แทนราษฎร
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้มีมติให้มีการประชุมสัปดาห์ละ ๒ วัน คือ ทุกวันพุธ
และวันพฤหัสบดี โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป
๒. กำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ตามมาตรา
๑๕๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติกำหนดให้วันที่ ๑ เดือน สิงหาคม
เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ
๓. เลือกตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุมสภา
ผู้แทนราษฎร พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๐ คน เพื่อพิจารณา
ยกร่างคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๒. นายอดิศร เพียงเกษ
๓. นายปกิต พัฒนกุล ๔. นายประกิจ พลเดช
๕. นายทรงศักดิ์ ทองศรี ๖. นายประมวล รุจนเสรี
๗. นายทศพล สังขทรัพย์ ๘. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์
๙. นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ ๑๐. นายประศาสตร์ ทองปากน้ำ
๑๑. นายโสภณ เพชรสว่าง ๑๒. นายสมชาย สุนทรวัฒน์
๑๓. นายธวัชชัย สัจจกุล ๑๔. นายตรีพล เจาะจิตต์
๑๕. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ๑๖. นายวิฑูรย์ นามบุตร
๑๗. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๘. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๙. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ๒๐. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๒๒. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์
๒๓. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๒๔. นายมุข สุไลมาน
๒๕. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๒๖. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๒๗. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๒๘. นางสาวเรวดี รัศมิทัต
๒๙. นายณรงค์เลิศ สุรพล ๓๐. นายประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ
กำหนดการพิจารณายกร่างให้เสร็จ ภายใน ๒๑ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๔.๓๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖