1. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 เห็นชอบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเห็นว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติสำหรับการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา เป็นการเฉพาะ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นการทดแทนต่อไป
อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในระยะยาว และสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งมีผู้จัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการดูแลให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ จะช่วยป้องกันและลดนักเก็งกำไรออกจากระบบและช่วยลดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
2. มาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) การหักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุด หรือตามสัญญาซื้อที่ดินพร้อมกับทำสัญญาจ้างสร้างอาคารลงบนที่ดิน สามารถนำเงินดาวน์หรือเงินค่าซื้อทรัพย์สินดังกล่าวมาหักเป็น ค่าลดหย่อนพิเศษเพิ่มเติมจากค่าลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ คือ
(1) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้อ หรือผ่อนชำระราคาตามสัญญา เฉพาะส่วนที่มีการจ่ายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่กฎหมายมีผลใช้บังคับ โดยจะได้รับสิทธิ คือ
-กรณีจ่ายค่าซื้ออาคารฯ ทั้งจำนวนในคราวเดียว ให้ได้รับสิทธิเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงินที่จ่ายไปนั้นต้องมิใช่เงินที่ได้มาจากการกู้ยืม ทั้งนี้ จะหักค่าลดหย่อนได้ ปีละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน โดยเริ่ม ตั้งแต่ปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์
-กรณีผ่อนชำระราคาค่าซื้ออาคารฯ ให้ได้รับสิทธิเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์
(2) ต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลเริ่มบังคับใช้
(3) อาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อมานั้น ผู้มีสิทธิหักลดหย่อนจะต้อง ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นมาก่อนในช่วง 1 ปี ก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และผู้มีสิทธิ หักลดหย่อนต้องมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่มีกรรมสิทธิ์
(4) สิทธิในการหักลดหย่อนข้างต้น ให้ใช้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพียงแห่งเดียว สำหรับ ผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะมีคู่สมรสด้วยหรือไม่ก็ตาม
2) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารถาวร เพื่อใช้ในกิจการของตนเอง มิใช่เพื่อการขายและซื้อ หรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นของทรัพย์สินนั้นได้ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนที่ซื้อมา ส่วนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้ทยอยหักได้ 20 ปี หรือร้อยละ 5 ต่อปี ตามเกณฑ์ปกติ
3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์จะปล่อย สินเชื่อเต็มวงเงิน 100% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย แก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อแน่นอนและมั่นคง โดยมีรายละเอียดเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรอิสระของรัฐ หรือพนักงานองค์กรมหาชน มีอายุไม่เกิน 55 ปี ระยะเวลาในการกู้ไม่เกิน 30 ปี (อายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่กู้ต้องไม่เกิน 65 ปี)
(2) เป็นการขอสินเชื่อใหม่ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
-เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
-เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
-เพื่อขยาย หรือต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร
-ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร หรือ ห้องชุด
(3) วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด และไม่เกิน ร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาก่อสร้าง แล้วแต่ว่าราคาใดต่ำกว่า และต้องสอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของผู้กู้
(4) การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
-กรณีชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยระยะยาวประเภทลอยตัว หรืออัตราดอกเบี้ยคงที่ ตามประกาศของธนาคาร
-กรณีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ทำ หน้าที่นำส่งเงินกู้ ใช้อัตราดอกเบี้ยรายย่อยระยะยาวประเภทลอยตัวลบร้อยละ 1 ต่อปี
ทั้งนี้ ธนาคารฯ เริ่มให้สินเชื่อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 เป็นต้นไป
3. การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 อนุมัติหลักการเรื่อง การลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ และกรณีการดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการล้มละลาย โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1) ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดในกรณี ดังนี้
(1) การโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ เพื่อเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้
(2) การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจาก ข้อ (1) แก่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน
(3) การจำนองอสังหาริมทรัพย์ระหว่าง ลูกหนี้กับเจ้าหนี้
(4) การโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบัน การเงิน ทั้งนี้ ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
2) ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และ/หรือค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
4. การยกเว้นรัษฎากรแก่ธุรกิจบ้าน จัดสรร
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบเรื่อง ร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. ….. โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2543 (วันที่พระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 เริ่มมีผลบังคับ) สาระสำคัญมีดังนี้
1) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์แก่ผู้จัดสรรที่ดิน สำหรับรายได้ รายรับที่เกิดขึ้นจากการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
2) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้น สำหรับมูลค่าของฐานภาษี อันเนื่องมาจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการ
สาธารณูปโภคแก่สมาชิกของนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
3) ยกเว้นภาษีเงินได้ แก่นิติบุคคล ตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะจากผู้จัดสรรที่ดิน และเงินได้ที่เกิดจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 เห็นชอบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเห็นว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติสำหรับการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา เป็นการเฉพาะ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นการทดแทนต่อไป
อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในระยะยาว และสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งมีผู้จัดการดูแล ผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการดูแลให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ จะช่วยป้องกันและลดนักเก็งกำไรออกจากระบบและช่วยลดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
2. มาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1) การหักลดหย่อนเงินที่ใช้ซื้ออาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุด หรือตามสัญญาซื้อที่ดินพร้อมกับทำสัญญาจ้างสร้างอาคารลงบนที่ดิน สามารถนำเงินดาวน์หรือเงินค่าซื้อทรัพย์สินดังกล่าวมาหักเป็น ค่าลดหย่อนพิเศษเพิ่มเติมจากค่าลดหย่อนดอกเบี้ย เงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ คือ
(1) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้อ หรือผ่อนชำระราคาตามสัญญา เฉพาะส่วนที่มีการจ่ายภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่กฎหมายมีผลใช้บังคับ โดยจะได้รับสิทธิ คือ
-กรณีจ่ายค่าซื้ออาคารฯ ทั้งจำนวนในคราวเดียว ให้ได้รับสิทธิเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงินที่จ่ายไปนั้นต้องมิใช่เงินที่ได้มาจากการกู้ยืม ทั้งนี้ จะหักค่าลดหย่อนได้ ปีละครึ่งหนึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน โดยเริ่ม ตั้งแต่ปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์
-กรณีผ่อนชำระราคาค่าซื้ออาคารฯ ให้ได้รับสิทธิเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในปีภาษีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์
(2) ต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลเริ่มบังคับใช้
(3) อาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อมานั้น ผู้มีสิทธิหักลดหย่อนจะต้อง ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นมาก่อนในช่วง 1 ปี ก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ และผู้มีสิทธิ หักลดหย่อนต้องมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่มีกรรมสิทธิ์
(4) สิทธิในการหักลดหย่อนข้างต้น ให้ใช้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพียงแห่งเดียว สำหรับ ผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะมีคู่สมรสด้วยหรือไม่ก็ตาม
2) การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น (Initial Allowance) สำหรับการซื้ออาคารถาวรเป็นกรณีพิเศษ
บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารถาวร เพื่อใช้ในกิจการของตนเอง มิใช่เพื่อการขายและซื้อ หรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาภายใน 1 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นของทรัพย์สินนั้นได้ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนที่ซื้อมา ส่วนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้ทยอยหักได้ 20 ปี หรือร้อยละ 5 ต่อปี ตามเกณฑ์ปกติ
3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์จะปล่อย สินเชื่อเต็มวงเงิน 100% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขาย แก่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อแน่นอนและมั่นคง โดยมีรายละเอียดเงื่อนไข ดังนี้
(1) ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรอิสระของรัฐ หรือพนักงานองค์กรมหาชน มีอายุไม่เกิน 55 ปี ระยะเวลาในการกู้ไม่เกิน 30 ปี (อายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่กู้ต้องไม่เกิน 65 ปี)
(2) เป็นการขอสินเชื่อใหม่ตามวัตถุประสงค์ดังนี้
-เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด
-เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
-เพื่อขยาย หรือต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร
-ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร หรือ ห้องชุด
(3) วงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด และไม่เกิน ร้อยละ 100 ของราคาซื้อขายหรือราคาก่อสร้าง แล้วแต่ว่าราคาใดต่ำกว่า และต้องสอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของผู้กู้
(4) การคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
-กรณีชำระหนี้เงินกู้ด้วยตนเอง ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อยระยะยาวประเภทลอยตัว หรืออัตราดอกเบี้ยคงที่ ตามประกาศของธนาคาร
-กรณีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้ทำ หน้าที่นำส่งเงินกู้ ใช้อัตราดอกเบี้ยรายย่อยระยะยาวประเภทลอยตัวลบร้อยละ 1 ต่อปี
ทั้งนี้ ธนาคารฯ เริ่มให้สินเชื่อดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 เป็นต้นไป
3. การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และกรณีการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 อนุมัติหลักการเรื่อง การลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ และกรณีการดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการล้มละลาย โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1) ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดในกรณี ดังนี้
(1) การโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ เพื่อเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้
(2) การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจาก ข้อ (1) แก่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน
(3) การจำนองอสังหาริมทรัพย์ระหว่าง ลูกหนี้กับเจ้าหนี้
(4) การโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบัน การเงิน ทั้งนี้ ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะส่วนที่จะนำไปชำระหนี้เท่านั้น
2) ให้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และ/หรือค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามที่ศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
4. การยกเว้นรัษฎากรแก่ธุรกิจบ้าน จัดสรร
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 เห็นชอบเรื่อง ร่างกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. ….. โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2543 (วันที่พระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดิน พ.ศ. 2543 เริ่มมีผลบังคับ) สาระสำคัญมีดังนี้
1) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์แก่ผู้จัดสรรที่ดิน สำหรับรายได้ รายรับที่เกิดขึ้นจากการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
2) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อ ที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้น สำหรับมูลค่าของฐานภาษี อันเนื่องมาจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการ
สาธารณูปโภคแก่สมาชิกของนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
3) ยกเว้นภาษีเงินได้ แก่นิติบุคคล ตามกฏหมายอื่นที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้จากการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะจากผู้จัดสรรที่ดิน และเงินได้ที่เกิดจากการให้บริการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภคแก่สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ปส-