จากข้อมูลของ The Economist Intelligence Unit Limited ปรากฏว่าประเทศลาวนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นสัดส่วนสูงถึง
ร้อยละ 51.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดในขณะเดียวกันมีสินค้าที่ไทยนำเข้าจากลาวสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 22.1 ของการนำเข้าทั้งหมด ทั้งนี้
ยังไม่รวมสินค้าของลาวผ่านแดนไทย มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศของลาวทั้งหมด
ประเทศส่งออกสำคัญของลาว ประเทศนำเข้าที่สำคัญของลาว
ร้อยละ (%) ร้อยละ (%)
เวียดนาม 42.7 ไทย 51.9
ไทย 22.1 เวียดนาม 3.9
ฝรั่งเศส 6.3 ญี่ปุ่น 1.6
เบลเยี่ยม 5.6 ฮ่องกง 1.5
เยอรมนี 5.1 จีน 3.8
ที่มา : The Economist Intelligence Unit Limited
จะเห็นได้ว่าการค้าระหว่างประเทศของลาวมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยในสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ของไทย ตลอดจนการกำหนดนโยบายของทางการไทยจะมีผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของลาว ตลอดจนส่งผลกระทบต่อเนื่องถึง
ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศลาว ในขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของลาวมักจะมีประเด็นการค้าระหว่างไทย-ลาว
เป็นสำคัญ
7.2 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาว ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอาเซียน
จากวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลกระทบถึงหลาย ๆ ประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศลาว ซึ่งเป็น
ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยอย่างสูง ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนี้
ค่าเงินกีบลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ประเทศไทยประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 939
กีบ/ดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม 2539 เป็น 5,000 กีบ/ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม 2542 ค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 16 ต่อเดือน
ระดับราคาสินค้าในลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 103 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงเดือนกรกฎาคม 2541 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 150 เมื่อ
เปรียบเทียบจากในเดือนมีนาคม 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542
จากที่อัตราแลกเปลี่ยนของลาวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในค่าเงินกีบ หันไปถือเงินตราต่างประเทศ
มากขึ้น โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินในลาวมีสภาพคล่องทางการเงินลดลง อย่างไรก็ตาม น่าจะเป็นเพียงในระยะ
สั้นเท่านั้น ในระยะยาวแล้วภาวะเศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้น
7.3 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาวกับการค้าชายแดนไทย-ลาว
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งไทยและลาวทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ลดการนำเข้าและพยายามกระตุ้นการส่งออกเพื่อเร่งฟื้นฟูประเทศให้
กลับคืนสู่ปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ลดน้อยลงไปเลย ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมา
โดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างสินค้าเข้าจากลาวของไทย เช่น ไม้แปรรูป ไฟฟ้าพลังน้ำ หรือสินค้าเข้าของลาวจากไทย เช่น สินค้าอุปโภค
บริโภค และสินค้าทุนต่างมีความจำเป็นสำหรับทั้ง 2 ประเทศ ในระยะ 9 เดือนแรกปี 2542 ปริมาณการค้าอยู่ในระดับ 11,392.7 ล้านบาท
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2
8. ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาว
1. อัตราภาษีของ สปป.ลาว ไม่แน่นอนและแตกต่างกันในแต่ละแขวง การชำระภาษีมีขั้นตอนยุ่งยาก ล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการค้า
ระหว่างกัน
2. โครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นสำหรับการค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอ เช่น ความพร้อมของสถาบันการเงิน เส้นทางคมนาคมขนส่ง
สินค้าในประเทศลาว คลังสินค้า ฯลฯ
3. ค่าเงินกีบมีความผันผวนและมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไทยในลาวระดับราคาสินค้าไทยในลาวสูงขึ้น
ทำให้ความตอ้งการสินค้าไทยไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร สินค้าที่ลาวนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นแก่การครองชีพและยังไม่สามารถผลิต
ได้ในประเทศลาว
4. ผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนขาดแคลนเงินทุนในการประกอบการ
5. การขนส่งสินค้าใน สปป.ลาว มีลักษณะผูกขาด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมีผลกระทบต่อเนื่องถึงราคาสินค้าสูงตามไปด้วย
6. กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการค้าของทาง สปป.ลาว เปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายระหว่างกัน เป็นความไม่สะดวก
ต่อผู้ค้าทั้ง 2 ฝ่าย
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว รายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
นำเข้า อัตราเพิ่ม ส่งออก อัตราเพิ่ม
2541 2542 % 2541 2542 %
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1010.30 1868.90 85.00 7874.70 9523.90 20.69
หนองคาย 228.00 255.10 11.90 5249.00 4031.40 -23.20
มุกดาหาร 118.90 464.30 290.50 1058.10 3006.00 184.10
พิบูลมังสาหาร 167.00 204.10 22.20 640.50 634.80 -0.90
เขมราฐ 4.80 10.00 108.30 24.50 18.30 -25.30
นครพนม 414.20 755.80 82.50 435.10 541.40 24.40
เชียงคาน 35.90 45.90 27.90 7.90 5.40 31.60
บึงกาฬ 34.60 113.40 227.70 420.40 1147.90 173.00
ท่าลี่ 6.90 19.10 76.80 39.20 123.20 214.30
รวม
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าออกแยกหมวดสินค้ารายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
(หน่วย : ล้านบาท)
สินค้าบริโภค วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอื่น ๆ รวม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5516.90 942.10 1801.70 1263.20 9523.90
หนองคาย 1265.80 822.50 919.70 1023.40 4031.40
มุกดาหาร 2666.90 30.70 237.70 70.70 3006.00
พิบูลมังสาหาร 154.90 17.40 294.90 167.60 634.80
เขมราฐ 7.50 - 10.80 - 18.30
นครพนม 383.20 2.00 99.50 56.70 541.40
เชียงคาน 1.40 - 4.00 0.10 5.50
บึงกาฬ 958.00 9.50 180.30 0.10 1147.90
ท่าลี่ 66.10 - 52.40 4.70 123.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าเข้าแยกหมดสินค้ารายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
(หน่วย : ล้านบาท)
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าเข้าอื่น ๆ รวม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1361.80 507.10 1868.90
หนองคาย 153.00 102.10 255.10
มุกดาหาร 380.80 83.50 464.30
พิบูลมังสาหาร 93.10 111.00 204.10
เขมราฐ - 10.00 10.00
นครพนม 639.80 116.00 755.80
เชียงคาน 35.20 10.70 45.90
บึงกาฬ 44.40 69.00 113.40
ท่าลี่ 15.60 3.50 19.10
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในระยะ 9 เดือนแรกปี 2542 เทียบกับปี 2541
(หน่วย : ล้านบาท)
2541 2542 อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าออก 7874.70 9523.90 20.90
สินค้าบริโภค 2716.70 5830.70 114.60
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 305.60 829.50 171.40
สินค้าทุน 1774.50 1687.30 -4.90
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 812.60 912.60 12.30
สินค้าออกอื่น ๆ 2265.30 263.80 -88.40
สินค้าเข้า 1010.30 1868.90 85.00
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 673.40 1342.10 99.30
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 153.90 188.10 22.20
สินค้าเข้าอื่น ๆ 183.00 338.70 85.10
ดุลการค้า 6864.40 7655.00 11.50
มูลค่าการค้า 8885.00 11392.80 28.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ร้อยละ 51.9 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดในขณะเดียวกันมีสินค้าที่ไทยนำเข้าจากลาวสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 22.1 ของการนำเข้าทั้งหมด ทั้งนี้
ยังไม่รวมสินค้าของลาวผ่านแดนไทย มูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศของลาวทั้งหมด
ประเทศส่งออกสำคัญของลาว ประเทศนำเข้าที่สำคัญของลาว
ร้อยละ (%) ร้อยละ (%)
เวียดนาม 42.7 ไทย 51.9
ไทย 22.1 เวียดนาม 3.9
ฝรั่งเศส 6.3 ญี่ปุ่น 1.6
เบลเยี่ยม 5.6 ฮ่องกง 1.5
เยอรมนี 5.1 จีน 3.8
ที่มา : The Economist Intelligence Unit Limited
จะเห็นได้ว่าการค้าระหว่างประเทศของลาวมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยในสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ของไทย ตลอดจนการกำหนดนโยบายของทางการไทยจะมีผลกระทบต่อภาคการค้าระหว่างประเทศของลาว ตลอดจนส่งผลกระทบต่อเนื่องถึง
ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศลาว ในขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของลาวมักจะมีประเด็นการค้าระหว่างไทย-ลาว
เป็นสำคัญ
7.2 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาว ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอาเซียน
จากวิกฤตเศรษฐกิจประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลกระทบถึงหลาย ๆ ประเทศในเอเชียรวมถึงประเทศลาว ซึ่งเป็น
ประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยอย่างสูง ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนี้
ค่าเงินกีบลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ประเทศไทยประกาศใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 939
กีบ/ดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม 2539 เป็น 5,000 กีบ/ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม 2542 ค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 16 ต่อเดือน
ระดับราคาสินค้าในลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 103 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงเดือนกรกฎาคม 2541 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 150 เมื่อ
เปรียบเทียบจากในเดือนมีนาคม 2541 ถึงเดือนมีนาคม 2542
จากที่อัตราแลกเปลี่ยนของลาวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในค่าเงินกีบ หันไปถือเงินตราต่างประเทศ
มากขึ้น โดยเฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ. ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินในลาวมีสภาพคล่องทางการเงินลดลง อย่างไรก็ตาม น่าจะเป็นเพียงในระยะ
สั้นเท่านั้น ในระยะยาวแล้วภาวะเศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้น
7.3 วิกฤตเศรษฐกิจประเทศลาวกับการค้าชายแดนไทย-ลาว
จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งไทยและลาวทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ลดการนำเข้าและพยายามกระตุ้นการส่งออกเพื่อเร่งฟื้นฟูประเทศให้
กลับคืนสู่ปกติ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ลดน้อยลงไปเลย ปริมาณการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมา
โดยตลอด ทั้งนี้ เนื่องจากโครงสร้างสินค้าเข้าจากลาวของไทย เช่น ไม้แปรรูป ไฟฟ้าพลังน้ำ หรือสินค้าเข้าของลาวจากไทย เช่น สินค้าอุปโภค
บริโภค และสินค้าทุนต่างมีความจำเป็นสำหรับทั้ง 2 ประเทศ ในระยะ 9 เดือนแรกปี 2542 ปริมาณการค้าอยู่ในระดับ 11,392.7 ล้านบาท
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2
8. ปัญหาและอุปสรรคการค้าชายแดนไทย-ลาว
1. อัตราภาษีของ สปป.ลาว ไม่แน่นอนและแตกต่างกันในแต่ละแขวง การชำระภาษีมีขั้นตอนยุ่งยาก ล่าช้า เป็นอุปสรรคต่อการค้า
ระหว่างกัน
2. โครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นสำหรับการค้าระหว่างประเทศไม่เพียงพอ เช่น ความพร้อมของสถาบันการเงิน เส้นทางคมนาคมขนส่ง
สินค้าในประเทศลาว คลังสินค้า ฯลฯ
3. ค่าเงินกีบมีความผันผวนและมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไทยในลาวระดับราคาสินค้าไทยในลาวสูงขึ้น
ทำให้ความตอ้งการสินค้าไทยไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร สินค้าที่ลาวนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นแก่การครองชีพและยังไม่สามารถผลิต
ได้ในประเทศลาว
4. ผู้ประกอบธุรกิจการค้าชายแดนขาดแคลนเงินทุนในการประกอบการ
5. การขนส่งสินค้าใน สปป.ลาว มีลักษณะผูกขาด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมีผลกระทบต่อเนื่องถึงราคาสินค้าสูงตามไปด้วย
6. กฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการค้าของทาง สปป.ลาว เปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นอุปสรรคต่อการค้าขายระหว่างกัน เป็นความไม่สะดวก
ต่อผู้ค้าทั้ง 2 ฝ่าย
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว รายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
นำเข้า อัตราเพิ่ม ส่งออก อัตราเพิ่ม
2541 2542 % 2541 2542 %
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1010.30 1868.90 85.00 7874.70 9523.90 20.69
หนองคาย 228.00 255.10 11.90 5249.00 4031.40 -23.20
มุกดาหาร 118.90 464.30 290.50 1058.10 3006.00 184.10
พิบูลมังสาหาร 167.00 204.10 22.20 640.50 634.80 -0.90
เขมราฐ 4.80 10.00 108.30 24.50 18.30 -25.30
นครพนม 414.20 755.80 82.50 435.10 541.40 24.40
เชียงคาน 35.90 45.90 27.90 7.90 5.40 31.60
บึงกาฬ 34.60 113.40 227.70 420.40 1147.90 173.00
ท่าลี่ 6.90 19.10 76.80 39.20 123.20 214.30
รวม
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าออกแยกหมวดสินค้ารายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
(หน่วย : ล้านบาท)
สินค้าบริโภค วัตถุดิบ สินค้าทุน สินค้าอื่น ๆ รวม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5516.90 942.10 1801.70 1263.20 9523.90
หนองคาย 1265.80 822.50 919.70 1023.40 4031.40
มุกดาหาร 2666.90 30.70 237.70 70.70 3006.00
พิบูลมังสาหาร 154.90 17.40 294.90 167.60 634.80
เขมราฐ 7.50 - 10.80 - 18.30
นครพนม 383.20 2.00 99.50 56.70 541.40
เชียงคาน 1.40 - 4.00 0.10 5.50
บึงกาฬ 958.00 9.50 180.30 0.10 1147.90
ท่าลี่ 66.10 - 52.40 4.70 123.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าเข้าแยกหมดสินค้ารายด่านศุลกากร 9 เดือนแรก ปี 2542
(หน่วย : ล้านบาท)
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าเข้าอื่น ๆ รวม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1361.80 507.10 1868.90
หนองคาย 153.00 102.10 255.10
มุกดาหาร 380.80 83.50 464.30
พิบูลมังสาหาร 93.10 111.00 204.10
เขมราฐ - 10.00 10.00
นครพนม 639.80 116.00 755.80
เชียงคาน 35.20 10.70 45.90
บึงกาฬ 44.40 69.00 113.40
ท่าลี่ 15.60 3.50 19.10
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวผ่านด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในระยะ 9 เดือนแรกปี 2542 เทียบกับปี 2541
(หน่วย : ล้านบาท)
2541 2542 อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าออก 7874.70 9523.90 20.90
สินค้าบริโภค 2716.70 5830.70 114.60
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 305.60 829.50 171.40
สินค้าทุน 1774.50 1687.30 -4.90
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 812.60 912.60 12.30
สินค้าออกอื่น ๆ 2265.30 263.80 -88.40
สินค้าเข้า 1010.30 1868.90 85.00
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 673.40 1342.10 99.30
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 153.90 188.10 22.20
สินค้าเข้าอื่น ๆ 183.00 338.70 85.10
ดุลการค้า 6864.40 7655.00 11.50
มูลค่าการค้า 8885.00 11392.80 28.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-