1. การค้าระหว่างประเทศเดือน กันยายน 2544
1.1 การค้าโดยรวมในเดือนกันยายน 2544 มีมูลค่า 10,541.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 8.2 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 5,491.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 10.0 และนำเข้า 5,050.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 6.2 ทำให้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2544 เกินดุลมูลค่า 440.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลลดลง 273.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลง ร้อยละ 38.3 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2544 การส่งออกลดลงร้อยละ 4.5 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1.7
แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 245,612.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และการนำเข้า 227,356.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ทำให้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2544 เกินดุล 18,256.1 ล้านบาท เกินดุลลดลง 9,085.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2544 การส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.6
1.2 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 15.5 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลงร้อยละ 20.5 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 12.5 และ สินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.8
แต่หากเทียบเป็นเงินบาท การส่งออกลดลงเกือบทุกหมวดยกเว้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7 และสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.3 ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 6.9 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (-12.4%) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง (-3.6%)
1.3 สินค้าออกสำคัญ 15 อันดับแรกในเดือนกันยายน 2544 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีการส่งออกลดลง สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมีเพียง 4 รายการ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ข้าว และผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากคิดเป็นเงินบาท สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเมื่อคิดเป็นเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ เช่น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ เลนซ์ อาหารทะเลแปรรูป น้ำมันดิบ ไก่แปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า นมและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ด้ายฝ้าย ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง พัดลม ใบยาสูบ กากน้ำตาล แร่ยิบซัม และข้าวโพด เป็นต้น
1.4 การส่งออกไปตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.5 9.3 16.1 และ 7.6 ตามลำดับ เมื่อคิดเป็นเงินบาท สหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ส่งออกลดลงร้อยละ 6.9 0.1 และ 7.6 ส่วนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
1.5 การนำเข้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้าสำคัญ กล่าวคือสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 16.6 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-10.9%) สินค้าอุปโภคบริโภค(-5.4%) สินค้ายานพาหนะฯ (-5.5%) สำหรับสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 ส่วนการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้นทุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
1.6 การนำเข้าจากตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ นำเข้าจาก อาเซียน และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 และ 6.4 ส่วนญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 16.8 และ 34.2 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นในตลาด อาเซียน และ สหภาพยุโรป
2. การค้าระหว่างประเทศในช่วงมกราคม-กันยายน 2544
2.1 การค้าโดยรวมมีมูลค่า 96,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 0.1 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 49,340.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 และนำเข้า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลลดลง 3,994.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดลงร้อยละ 65.5
แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 2,183,268.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และการนำเข้า 2,106,549.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 76,718.2 ล้านบาท เกินดุลลดลง 142,950.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 65.1
2.2 การส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 10.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื้อปลาสด ไก่แปรรูป เป็นต้น ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 12.5 1.4 ตามลำดับ
2.3 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าสินค้าออกสำคัญ 15 อันดับแรก มีสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 5 รายการ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศฯ และ ผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากเทียบเป็นเงินบาทส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 1.7 3.4 12.7 และ 9.2 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก เมื่อคิดเป็นเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ เช่น น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เลนซ์ และ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.4 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าการส่งออกไปตลาดหลักลดลงในทุกตลาดยกเว้น ญี่ปุ่น ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 8.6 2.0 และ 1.1 แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาด
2.5 สินค้าออกสำคัญที่ส่งไปตลาดหลักแต่ละตลาดคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและลดลง ได้แก่
สหรัฐอเมริกา
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า วงจรพิมพ์ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงฯ พัดลม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเม็ดพลาสติก เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารฯ อาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และยางพารา เป็นต้น
สหภาพยุโรป
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ยานพาหนะอุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป เลนซ์ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง วงจรพิมพ์ ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ยางพารา เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงฯ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
อาเซียน
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์รักษาผิว กระดาษ เยื่อกระดาษฯ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าฯ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ข้าว เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ยางพารา วงจรพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ และ น้ำมันดิบ เป็นต้น
ญี่ปุ่น
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ ยางพารา ยานพาหนะฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย เครื่องโทรพิมพ์และโทรสาร อัญมณีและเครื่องประดับ เตาอบไมโครเวฟ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลงเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปลาหมึกแช่เย็น แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งฯ เนื้อปลาสด แช่เย็น อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
2.6 การนำเข้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง ร้อยละ 8.0 3.1 และ 7.3 ตามลำดับ ส่วนสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง และ สินค้าอื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.5 7.1 และ 5 .1 ขณะที่การนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า
2.7 การนำเข้าจากตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในการนำเข้าจาก อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 1.6 7.2 และ 29.0 ขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.0 ส่วนการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นทุกตลาด
2.8 สำหรับดุลการค้าในช่วงมกราคม - กันยายน 2544 ไทยเกินดุลเป็นมูลค่า 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อคิดเป็นเงินบาท เกินดุลมูลค่า 79,718.2 ล้านบาท โดยไทย เกินดุลการค้ากับ สหรัฐอเมริกา อาเซียน และ สหภาพยุโรป ส่วนญี่ปุ่น ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 2,773.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 126,423.9 ล้านบาท
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1.1 การค้าโดยรวมในเดือนกันยายน 2544 มีมูลค่า 10,541.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 8.2 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 5,491.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 10.0 และนำเข้า 5,050.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 6.2 ทำให้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2544 เกินดุลมูลค่า 440.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลลดลง 273.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลง ร้อยละ 38.3 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2544 การส่งออกลดลงร้อยละ 4.5 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 1.7
แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 245,612.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 และการนำเข้า 227,356.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ทำให้ดุลการค้าในเดือนกันยายน 2544 เกินดุล 18,256.1 ล้านบาท เกินดุลลดลง 9,085.6 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2544 การส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.6
1.2 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดสินค้าเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 15.5 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลงร้อยละ 20.5 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 12.5 และ สินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.8
แต่หากเทียบเป็นเงินบาท การส่งออกลดลงเกือบทุกหมวดยกเว้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.7 และสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.3 ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 6.9 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร (-12.4%) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง (-3.6%)
1.3 สินค้าออกสำคัญ 15 อันดับแรกในเดือนกันยายน 2544 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีการส่งออกลดลง สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมีเพียง 4 รายการ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ข้าว และผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากคิดเป็นเงินบาท สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นที่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นมากเมื่อคิดเป็นเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ เช่น ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ปูนซีเมนต์ เลนซ์ อาหารทะเลแปรรูป น้ำมันดิบ ไก่แปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้แผ่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่า นมและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ด้ายฝ้าย ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง พัดลม ใบยาสูบ กากน้ำตาล แร่ยิบซัม และข้าวโพด เป็นต้น
1.4 การส่งออกไปตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 15.5 9.3 16.1 และ 7.6 ตามลำดับ เมื่อคิดเป็นเงินบาท สหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ส่งออกลดลงร้อยละ 6.9 0.1 และ 7.6 ส่วนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
1.5 การนำเข้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ลดลงในเกือบทุกหมวดสินค้าสำคัญ กล่าวคือสินค้าทุน ลดลงร้อยละ 16.6 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-10.9%) สินค้าอุปโภคบริโภค(-5.4%) สินค้ายานพาหนะฯ (-5.5%) สำหรับสินค้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.2 ส่วนการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้นทุน และวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
1.6 การนำเข้าจากตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ นำเข้าจาก อาเซียน และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 และ 6.4 ส่วนญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 16.8 และ 34.2 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นในตลาด อาเซียน และ สหภาพยุโรป
2. การค้าระหว่างประเทศในช่วงมกราคม-กันยายน 2544
2.1 การค้าโดยรวมมีมูลค่า 96,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 0.1 โดยจำแนกเป็นการส่งออก 49,340.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0 และนำเข้า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลมูลค่า 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เกินดุลลดลง 3,994.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ลดลงร้อยละ 65.5
แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 2,183,268.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และการนำเข้า 2,106,549.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 76,718.2 ล้านบาท เกินดุลลดลง 142,950.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 65.1
2.2 การส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 10.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื้อปลาสด ไก่แปรรูป เป็นต้น ส่วนหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สินค้าแร่และเชื้อเพลิง ส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 12.5 1.4 ตามลำดับ
2.3 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าสินค้าออกสำคัญ 15 อันดับแรก มีสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 5 รายการ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ฯ กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศฯ และ ผลิตภัณฑ์ยาง แต่หากเทียบเป็นเงินบาทส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้น ยกเว้น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 1.7 3.4 12.7 และ 9.2 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก เมื่อคิดเป็นเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯ เช่น น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เลนซ์ และ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.4 เมื่อคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ ปรากฏว่าการส่งออกไปตลาดหลักลดลงในทุกตลาดยกเว้น ญี่ปุ่น ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา อาเซียน และสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 8.6 2.0 และ 1.1 แต่หากคิดเป็นเงินบาท การส่งออกไปตลาดหลักเพิ่มขึ้นทุกตลาด
2.5 สินค้าออกสำคัญที่ส่งไปตลาดหลักแต่ละตลาดคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและลดลง ได้แก่
สหรัฐอเมริกา
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น กุ้งสดแช่เย็นฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า วงจรพิมพ์ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงฯ พัดลม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเม็ดพลาสติก เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง รองเท้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารฯ อาหารทะเลกระป๋อง ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และยางพารา เป็นต้น
สหภาพยุโรป
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ยานพาหนะอุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง ไก่แปรรูป เลนซ์ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง วงจรพิมพ์ ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ยางพารา เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียงฯ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
อาเซียน
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น น้ำมันสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์รักษาผิว กระดาษ เยื่อกระดาษฯ ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าฯ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ข้าว เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ ยางพารา วงจรพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ และ น้ำมันดิบ เป็นต้น
ญี่ปุ่น
สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นฯ ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ ยางพารา ยานพาหนะฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย เครื่องโทรพิมพ์และโทรสาร อัญมณีและเครื่องประดับ เตาอบไมโครเวฟ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
สินค้าที่ส่งออกลดลงเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปลาหมึกแช่เย็น แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งฯ เนื้อปลาสด แช่เย็น อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องวีดีโอ อุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
2.6 การนำเข้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในหมวดสินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าเชื้อเพลิง ร้อยละ 8.0 3.1 และ 7.3 ตามลำดับ ส่วนสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง และ สินค้าอื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.5 7.1 และ 5 .1 ขณะที่การนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า
2.7 การนำเข้าจากตลาดหลักในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในการนำเข้าจาก อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 1.6 7.2 และ 29.0 ขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 9.0 ส่วนการนำเข้าในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นทุกตลาด
2.8 สำหรับดุลการค้าในช่วงมกราคม - กันยายน 2544 ไทยเกินดุลเป็นมูลค่า 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อคิดเป็นเงินบาท เกินดุลมูลค่า 79,718.2 ล้านบาท โดยไทย เกินดุลการค้ากับ สหรัฐอเมริกา อาเซียน และ สหภาพยุโรป ส่วนญี่ปุ่น ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 2,773.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 126,423.9 ล้านบาท
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-