กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 กันยายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้ ตามที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เอเปค และสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Economic Cooperation — IOR-ARC) เพื่อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตลอดจนเศรษฐกิจโลกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2543 กอปรกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 สูงถึง 34.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บาร์เรล ซึ่งกล่าวได้ว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการครองชีพ เงินเฟ้อ ฯลฯ ของประเทศต่าง ๆ นั้น
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2543 ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกโอเปคก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีโอเปคที่กรุงเวียนนาในวันที่ 10 กันยายน 2543 และการประชุมสุดยอดโอเปค ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2543 ณ กรุงคารากัส ประเทศเวเนซุเอลา เพื่อ ร้องขอให้สมาชิกโอเปคพิจารณาปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกในมุมกว้างและคำนึงถึงผลกระทบในทางลบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะมีต่อประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นกำลังจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในด้านค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว อันจะเป็นผลในทางลบต่อประเทศโอเปคและประชากรในประเทศได้ในที่สุด นอกจากการแสดงความวิตกกังวลไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคแล้ว ดร. สุรินทร์ฯยังได้ดำเนินการในกรอบระหว่างประเทศอื่น ๆ อาทิ กรอบเอเปค เพื่อลดความต้องการน้ำมัน โดยการเพิ่มความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานด้วย ทั้งนี้ ภาวะราคาน้ำมันแพงเป็นโอกาสของกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่จะเพิ่มความร่วมมือในสองด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน
นอกจากนั้น ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย สาวิตต์ โพธิวิหค) มีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเพื่อเสนอแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันสูงโดยละเอียดในกรอบเอเปค และได้เสนอให้ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐ-มนตรีมีหนังสือถึงผู้นำโอเปคเช่นกัน อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ราว่า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้มอบหนังสือจาก ดร. สุรินทร์ฯ ขอความร่วมมือ ออสเตรเลียในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก ให้กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียแล้ว นอกจากนั้น นายสวนิต คงสิริ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เข้าพบนาย Mark Vaile รัฐมนตรีการค้าของออสเตรเลียและได้ขอให้นาย Vaile หยิบยกประเด็นการแก้ปัญหาราคาน้ำมันขึ้นหารือในที่ประชุมองค์การสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development —OECD) ซึ่งออสเตรเลียเป็นสมาชิกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (6 กันยายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ดังนี้ ตามที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เอเปค และสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Economic Cooperation — IOR-ARC) เพื่อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับภาวะราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียตลอดจนเศรษฐกิจโลกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2543 กอปรกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ณ วันที่ 5 กันยายน 2543 สูงถึง 34.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บาร์เรล ซึ่งกล่าวได้ว่าสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการครองชีพ เงินเฟ้อ ฯลฯ ของประเทศต่าง ๆ นั้น
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2543 ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกโอเปคก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีโอเปคที่กรุงเวียนนาในวันที่ 10 กันยายน 2543 และการประชุมสุดยอดโอเปค ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2543 ณ กรุงคารากัส ประเทศเวเนซุเอลา เพื่อ ร้องขอให้สมาชิกโอเปคพิจารณาปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกในมุมกว้างและคำนึงถึงผลกระทบในทางลบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่จะมีต่อประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นกำลังจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในด้านค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว อันจะเป็นผลในทางลบต่อประเทศโอเปคและประชากรในประเทศได้ในที่สุด นอกจากการแสดงความวิตกกังวลไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคแล้ว ดร. สุรินทร์ฯยังได้ดำเนินการในกรอบระหว่างประเทศอื่น ๆ อาทิ กรอบเอเปค เพื่อลดความต้องการน้ำมัน โดยการเพิ่มความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงานด้วย ทั้งนี้ ภาวะราคาน้ำมันแพงเป็นโอกาสของกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่จะเพิ่มความร่วมมือในสองด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน
นอกจากนั้น ดร. สุรินทร์ฯ ได้เสนอให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย สาวิตต์ โพธิวิหค) มีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเพื่อเสนอแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันสูงโดยละเอียดในกรอบเอเปค และได้เสนอให้ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐ-มนตรีมีหนังสือถึงผู้นำโอเปคเช่นกัน อนึ่ง กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์ราว่า สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้มอบหนังสือจาก ดร. สุรินทร์ฯ ขอความร่วมมือ ออสเตรเลียในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก ให้กระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียแล้ว นอกจากนั้น นายสวนิต คงสิริ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา ได้เข้าพบนาย Mark Vaile รัฐมนตรีการค้าของออสเตรเลียและได้ขอให้นาย Vaile หยิบยกประเด็นการแก้ปัญหาราคาน้ำมันขึ้นหารือในที่ประชุมองค์การสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development —OECD) ซึ่งออสเตรเลียเป็นสมาชิกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-