เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2543 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียโดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฟาฮัดเป็นองค์ประธาน ได้มีมติเห็นชอบในการกำหนดระบบการลงทุนต่างชาติมาเป็นบรรทัดฐานในการลงทุนในประเทศซาอุดิอาระเบียตามข้อเสนอของสภาเศรษฐกิจสูงสุดและสภาที่ปรึกษา (Shoura Council) โดยได้ออกกฤษฎีการะบบการลงทุนต่างประเทศ (Royal Decree on Foreign Investment System) ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีมติให้จัดตั้งหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานการลงทุน (General Commission for Investment - GCI) ขึ้น พร้อมแต่งตั้ง Prince Abdullah Bin Faisal Bin Turki Al-Saud เป็นผู้อำนวยการใหญ่ (ตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีว่าการ) ในขณะเดียวกันให้ยกเลิกสำนักงานซาอุดิอาระเบียเพื่อการบริการและปรึกษา ซึ่งเดิมเคยดูแลในเรื่องดังกล่าวนี้ ทั้งนี้ GCI จะเป็นหน่วยงานที่จะให้คำแนะนำและข้อมูลแก่นักลงทุนต่างชาติตลอดจนการพิจารณาออกใบอนุญาต และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ระเบียบเกี่ยวกับการลงทุนฯ ใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 18 มาตรา มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้.-
1) อนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดหรืออาจมีผู้ร่วมทุนเป็นชาวซาอุดี
2) นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์
3) ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติในการคืนหรือลดภาษีในส่วนที่เป็นผลกำไร กล่าวคือ หากผู้ลงทุนต้องชำระภาษี รายได้จากผลกำไรในแต่ละรอบปีนั้น เกินกว่า 100,000 ริยาล (หรือเท่ากับประมาณ 1,000,000 บาท) รัฐบาลจะรับภาระในส่วนของภาษีดังกล่าว จำนวน 15%
4) นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งเงินกลับประเทศได้อย่างเสรี
5) นักลงทุนต่างชาติและลูกจ้างชาวต่างชาติจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทที่ตั้งขึ้น (เดิมอยู่ภายใต้การดูแลของชาวซาอุดี)
ข้อสังเกต
1) มาตรการตามกฤษฎีการะบบการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวมุ่งให้ซาอุดิอาระเบียเป็นศูนย์รวมการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม เป็นการระดมทุนและเทคโนโลยีเข้าประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างงานและผลผลิตตลอดจนเพื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ที่ดินและการก่อสร้างขยายตัวมากขึ้น
2) การที่คณะรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียมีมติในเรื่องดังกล่าวข้างต้นถือเป็นนโยบายใหม่ในการส่งเสริมเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบีย และโน้มน้าวชาวต่างชาติให้ไปลงทุนด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ในซาอุดิอาระเบียมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากระเบียบใหม่เกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติเป็นการเอื้ออำนวยต่อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ระเบียบการลงทุนฉบับใหม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือกรรมสิทธิ 100% ในกิจการจากเดิมนักลงทุนต่างชาติมีสิทธิถือหุ้นของกิจการเพียง 49%
3) อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้นักลงทุนยังคงรอดูท่าทีอยู่ ด้วยยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมาก เช่น การติดต่อประสานงานด้านเอกสารและระเบียบต่าง ๆ
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-
ระเบียบเกี่ยวกับการลงทุนฯ ใหม่ ซึ่งมีทั้งหมด 18 มาตรา มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้.-
1) อนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดหรืออาจมีผู้ร่วมทุนเป็นชาวซาอุดี
2) นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์
3) ให้สิทธินักลงทุนต่างชาติในการคืนหรือลดภาษีในส่วนที่เป็นผลกำไร กล่าวคือ หากผู้ลงทุนต้องชำระภาษี รายได้จากผลกำไรในแต่ละรอบปีนั้น เกินกว่า 100,000 ริยาล (หรือเท่ากับประมาณ 1,000,000 บาท) รัฐบาลจะรับภาระในส่วนของภาษีดังกล่าว จำนวน 15%
4) นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งเงินกลับประเทศได้อย่างเสรี
5) นักลงทุนต่างชาติและลูกจ้างชาวต่างชาติจะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทที่ตั้งขึ้น (เดิมอยู่ภายใต้การดูแลของชาวซาอุดี)
ข้อสังเกต
1) มาตรการตามกฤษฎีการะบบการลงทุนต่างประเทศดังกล่าวมุ่งให้ซาอุดิอาระเบียเป็นศูนย์รวมการลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม เป็นการระดมทุนและเทคโนโลยีเข้าประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างงานและผลผลิตตลอดจนเพื่อให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ที่ดินและการก่อสร้างขยายตัวมากขึ้น
2) การที่คณะรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียมีมติในเรื่องดังกล่าวข้างต้นถือเป็นนโยบายใหม่ในการส่งเสริมเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบีย และโน้มน้าวชาวต่างชาติให้ไปลงทุนด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ในซาอุดิอาระเบียมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากระเบียบใหม่เกี่ยวกับการลงทุนของต่างชาติเป็นการเอื้ออำนวยต่อนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ระเบียบการลงทุนฉบับใหม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือกรรมสิทธิ 100% ในกิจการจากเดิมนักลงทุนต่างชาติมีสิทธิถือหุ้นของกิจการเพียง 49%
3) อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้นักลงทุนยังคงรอดูท่าทีอยู่ ด้วยยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมาก เช่น การติดต่อประสานงานด้านเอกสารและระเบียบต่าง ๆ
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-