บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ประกาศให้
ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ และ
พรรคชาติไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน ๒๖ ท่าน ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพราะได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
พรรคไทยรักไทย จำนวน ๒๑ ท่าน
ลำดับที่ ๕๐ นายญาณเดช ทองสิมา แทน ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ลำดับที่ ๕๑ นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ แทน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ลำดับที่ ๕๒ นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ แทน นายอดิศัย โพธารามิก
ลำดับที่ ๕๓ นายปกิต พัฒนกุล แทน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ลำดับที่ ๕๔ นายสฤต สันติเมทนีดล แทน นายสุวิทย์ คุณกิตติ
ลำดับที่ ๕๕ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ แทน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
ลำดับที่ ๕๖ นายบุญถึง ผลพานิชย์ แทน นายปองพล อดิเรกสาร
ลำดับที่ ๕๗ จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ แทน นายประชา มาลีนนท์
ลำดับที่ ๕๘ นายจำรัส เวียงสงค์ แทน นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ลำดับที่ ๕๙ นายรุ่งเรือง พิทยศิริ แทน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ลำดับที่ ๖๐ นายจักรพันธุ์ ยมจินดา แทน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
ลำดับที่ ๖๑ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล แทน นายจำลอง ครุฑขุนทด
ลำดับที่ ๖๒ นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ แทน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
ลำดับที่ ๖๓ พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร แทน พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ลำดับที่ ๖๔ นายจตุพร เจริญเชื้อ แทน พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ลำดับที่ ๖๕ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ แทน นายสุธรรม แสงประทุม
ลำดับที่ ๖๖ นายยงยุทธ นพเกตุ แทน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
ลำดับที่ ๖๗ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แทน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ลำดับที่ ๖๙ นายกันตธีร์ ศุภมงคล แทน นายวราเทพ รัตนากร
ลำดับที่ ๗๐ นายนพดล อินนา แทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
ลำดับที่ ๗๑ นายการุญ จันทรางศุ แทน ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
พรรคความหวังใหม่ จำนวน ๓ ท่าน
ลำดับที่ ๙ นายสมศักดิ์ วรคามิน แทน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ลำดับที่ ๑๐ ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ลำดับที่ ๑๒ พันโทหญิง ฐิติยา รังสิตพล แทน นายพิเชษฐ สถิรชวาล
พรรคชาติไทย จำนวน ๒ ท่าน
ลำดับที่ ๗ นายชูวงศ์ ฉายะบุตร แทน นายเดช บุญ-หลง
ลำดับที่ ๘ นายชัย ชิดชอบ แทน นายสนธยา คุณปลื้ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรใหม่ทั้ง ๒๖ ท่าน ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา
๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยถ้อยคำว่า
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้
และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล รองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่หนึ่งและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม โดยให้สมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุม
ได้ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดังนั้น
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๕ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ประกาศให้
ผู้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย พรรคความหวังใหม่ และ
พรรคชาติไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน ๒๖ ท่าน ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพราะได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ดังนี้
พรรคไทยรักไทย จำนวน ๒๑ ท่าน
ลำดับที่ ๕๐ นายญาณเดช ทองสิมา แทน ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
ลำดับที่ ๕๑ นายวิรัตน์ ตยางคนนท์ แทน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ลำดับที่ ๕๒ นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ แทน นายอดิศัย โพธารามิก
ลำดับที่ ๕๓ นายปกิต พัฒนกุล แทน นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ลำดับที่ ๕๔ นายสฤต สันติเมทนีดล แทน นายสุวิทย์ คุณกิตติ
ลำดับที่ ๕๕ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ แทน นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
ลำดับที่ ๕๖ นายบุญถึง ผลพานิชย์ แทน นายปองพล อดิเรกสาร
ลำดับที่ ๕๗ จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ แทน นายประชา มาลีนนท์
ลำดับที่ ๕๘ นายจำรัส เวียงสงค์ แทน นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ลำดับที่ ๕๙ นายรุ่งเรือง พิทยศิริ แทน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ลำดับที่ ๖๐ นายจักรพันธุ์ ยมจินดา แทน นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
ลำดับที่ ๖๑ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล แทน นายจำลอง ครุฑขุนทด
ลำดับที่ ๖๒ นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ แทน นายจาตุรนต์ ฉายแสง
ลำดับที่ ๖๓ พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร แทน พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ลำดับที่ ๖๔ นายจตุพร เจริญเชื้อ แทน พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ลำดับที่ ๖๕ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ แทน นายสุธรรม แสงประทุม
ลำดับที่ ๖๖ นายยงยุทธ นพเกตุ แทน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
ลำดับที่ ๖๗ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แทน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ลำดับที่ ๖๙ นายกันตธีร์ ศุภมงคล แทน นายวราเทพ รัตนากร
ลำดับที่ ๗๐ นายนพดล อินนา แทน นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
ลำดับที่ ๗๑ นายการุญ จันทรางศุ แทน ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
พรรคความหวังใหม่ จำนวน ๓ ท่าน
ลำดับที่ ๙ นายสมศักดิ์ วรคามิน แทน พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ลำดับที่ ๑๐ ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน แทน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ลำดับที่ ๑๒ พันโทหญิง ฐิติยา รังสิตพล แทน นายพิเชษฐ สถิรชวาล
พรรคชาติไทย จำนวน ๒ ท่าน
ลำดับที่ ๗ นายชูวงศ์ ฉายะบุตร แทน นายเดช บุญ-หลง
ลำดับที่ ๘ นายชัย ชิดชอบ แทน นายสนธยา คุณปลื้ม
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรใหม่ทั้ง ๒๖ ท่าน ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา
๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยถ้อยคำว่า
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้
และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล รองประธานสภาผู้แทน
ราษฎรคนที่หนึ่งและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ดำเนินการประชุม โดยให้สมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุม
ได้ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดังนั้น
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๐๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖