1.การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 1,744,733 ตัน โดยมีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.34 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลงมาก
ที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 30.65 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 13.71 เนื่องจากปัญหาการทุ่ม
ตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.48 เนื่องจากผู้บริโภคใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศในแถบภูมิภาค เช่น ไต้หวัน
กัมพูชา รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ปริมาณความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าโดยรวมในประเทศช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 3,521,201 ตัน
โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 17.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 2,090,068 ตัน มูลค่าโดยรวม 24,800 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 24.33 และ 10.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน หากพิจารณามูลค่าการนำเข้าในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าเหล็กในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว (หดตัวร้อยละ 5.85) แต่กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วในปีเดียวกัน (ร้อยละ 3.35) เนื่องจาก
ปัญหาปริมาณเหล็กล้นตลาดโลก ประกอบกับผลกระทบจากการใช้มาตรการ 201 ซึ่งเป็นมาตรการที่คุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ
ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศผู้ส่งออกเหล็กต่างๆ แข่งขันกันหาตลาดใหม่ โดยย้ายตลาดไปสู่ประเทศที่ไม่มาตรการปกป้องที่ดีพอ และใช้
กลยุทธ์การทุ่มตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดโลกให้เท่าเดิม
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.24
เนื่องจากราคาของผลิตภัณฑ์ฯ ในช่วงนี้มีราคาต่ำ ผู้ผลิตจึงสั่งนำเข้ามาเป็นปริมาณมาก ส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้เป็นวัตถุดิบสำรอง รองลงมาคือ
เศษเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.33 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.48 เนื่องจากโดนทุ่มตลาดเหล็กแผ่นฯ จากประเทศญี่ปุ่น และ
อัฟริกาใต้ ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเข็มพืด ลดลงร้อยละ 84.93 เนื่องจาก
ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหา ประกอบกับเหล็กประเภทนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงทำให้ความต้องการ
เหล็กประเภทนี้ลดลง รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้าง ลดลงร้อยละ 51 ท่อเหล็กลดลง ร้อยละ 14.28 เนื่องจากท่อเหล็กประเภทนี้จะใช้
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ๆ เช่น โครงการท่อส่งน้ำมัน ซึ่งจำนวนโครงการลดลง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1. ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2543เทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
(กรกฎาคม-กันยายน) ( กรกฏาคม-กันยายน) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า
เหล็กถลุง (Pig Iron) 60,325 630 70,107 670 -13.95 -5.97 จีน, บราซิล
เศษเหล็ก(Scrap) 220,016 1,512 165,020 1,155 33.33 30.91 อเมริกา, ญี่ปุ่น,ออสเตรเลีย,อิหร่าน
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป1 754,241 6,225 526,553 4,409 43.24 41.19 รัสเซีย,ยูเครน,บราซิล
(Semi-Finished Products)
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก 39,316 948 31,835 808 23.50 17.33 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ไต้หวัน
(Steel bar & Wires)
เหล็กลวด(Wire rod) 80,898 1,076 63,952 869 26.50 23.82 ญี่ปุ่น,ยูเครน,อินโดนีเซีย
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 9,249 140 18,876 262 -51.00 -46.56 ญี่ปุ่น,จีน,ไต้หวัน
(Structural Steel)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 637,474 6,423 496,176 6,070 28.48 5.82 ญี่ปุ่น,อัฟริกาใต้,อินเดีย,
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 115,217 2,313 128,251 2,681 -10.16 -13.73 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 143,321 3,613 143,436 3,666 -0.08 -1.45 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ไต้หวัน,รัสเซีย
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 29,671 1,913 34,612 1,736 -14.28 10.20 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,จีน
เหล็กเข็มพืด(Sheet Piling)340 7 2,256 33 -84.93 -78.79 ญี่ปุ่น
รวม 2,090,068 24,800 1,681,07422,359 24.33 10.92 ญี่ปุ่น,ยูเครน,รัสเซีย
ที่มา : กรมศุลกากร
1 ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประเภท Billet , Ingot ,Slab
ตารางที่ 2. การนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก
หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้า 2000 2001 อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q3 Q2 Q3 Q3 2001/Q3 2000 Q3 2001/Q2 2001
เหล็กทั้งหมด 652.6 594.5 614.4 -5.85 3.35
1. เหล็กแผ่นยังไม่ชุบ 218.2 185.7 191.8 -12.10 3.28
2. เหล็กแผ่นชุบ 91.4 74.3 79.5 -13.02 7.00
3. เหล็กท่อน เหล็กเส้น 35.9 35.6 39.3 9.47 10.39
4. เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 114.4 132.6 138.7 21.24 4.60
5. เหล็กอื่น 192.7 166.4 165.1 -14.32 -0.78
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับกรมศุลกากร
2.2.2 การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 313,600 ตัน มูลค่าโดยรวม 5,421 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 38.90 และ 30.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของผู้ผลิตไทย ประกอบการใช้
มาตรการ 201 ของประเทศดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ นอกจากนี้ตลาดอื่นๆ เช่น ตลาดยุโรป ก็มีมาตรการ
กีดกันทางการค้า เช่น การกำหนดโควตา หากพิจารณามูลค่าการส่งออกในรูปของดอลลาร์สหรัฐจะพบว่า การส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้า
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วในปีเดียวกันมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุด
คือ หมวดเหล็กและเหล็กกล้าอื่นๆ (ขยายตัวร้อยละ 11.18) และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงที่สุด คือ เหล็กมุม, รูปทรง, หน้าตัด
(ลดลงร้อยละ 17.18) เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงเดียวกันจะพบว่า การส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้า
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 นี้มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 25.18 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยหมวดสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุด
คือ ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด ในขณะที่โครงก่อสร้างเป็นรายการเดียวที่มีการส่งออกขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ในปีที่แล้ว (ขยายตัวร้อยละ 5.17)
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเข็มพืด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,408.75 รองลงมาคือ
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.12 เนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ ผู้ผลิตจึงพยายามแก้ไขปัญหาภาวะ
เหล็กเส้นฯที่ล้นตลาด โดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์
เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 95.58 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 87.61 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 86.57
ตามลำดับ รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3. ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2543 เทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดส่งออกที่สำคัญ
(กรกฎาคม-กันยายน) (กรกฎาคม-กันยายน) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า
เหล็กถลุง (Pig Iron) 92 1 97 2 -5.15 -50.00 กัมพูชา,ญี่ปุ่น
เศษเหล็ก(Scrap) 16,777 328 26,618 464 -36.97 -29.31 พม่า,ไต้หวัน,เกาหลีใต้
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป1 300 4 6,783 54 -95.58 -92.59 กัมพูชา, ออสเตรเลีย,โคลัมเบีย
(Semi-Finished Products)
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก 35,860 412 29,853 383 20.12 7.57 ไต้หวัน,กัมพูชา,จีน,มาเลเซีย
(Steel bar & Wires)
เหล็กลวด(Wire rod) 448 6 3,337 31 -86.57 -80.65 ลาว,พม่า,มาเลเซีย
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 55,884 610 68,403 822 -18.30 -25.79 มาเลเซีย,สิงคโปร์,ออสเตรเลีย
(Structural Steel)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 15,702 181 126,732 1,423 -87.61 -87.28 อเมริกา,แคนาดามาเลเซีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 93,767 1,204 131,841 1,942 -28.88 -38.00 ฮ่องกง,เวียดนาม,บังคลาเทศ
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 25,368 550 39,573 553 -35.90 -0.54 พม่า,กัมพูชา,แคนาดา
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 66,988 2,093 79,868 2,171 -16.13 -3.59 อเมริกา,ญี่ปุ่น,พม่า
เหล็กเข็มพืด(Sheet Piling)2,414 32 160 7 1,408.75357.14 ฮ่องกง
รวม 313,600 5,421 513,265 7,852 -38.90 -30.96 ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง
ที่มา : กรมศุลกากร
1 ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประเภท Billet , Ingot ,Slab
ตารางที่ 4. การส่งออกเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก
รายการ 2000 2001 อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q3 Q2 Q3 Q3 01/Q3 00 Q3 01/Q201
เหล็กทั้งหมด 359.8 267.9 269.2 -25.18 0.49
1. ท่อและข้อต่อเหล็ก 54.6 45.5 46.3 -15.20 1.76
2. โครงก่อสร้าง 11.6 14.1 12.2 5.17 -13.48
3. ตะปู 29.7 18.9 20.9 -29.63 10.58
4. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 125.6 76.1 67.9 -45.94 -10.78
5. มุม รูปทรง หน้าตัด 20.7 16.3 13.5 -34.78 -17.18
6. อื่นๆ 117.8 97.5 108.4 -7.98 11.18
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับกรมศุลกากร
หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐฯ
3.สรุป
การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปริมาณ
การใช้ในประเทศกลับเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้วิธีทุ่มตลาด ด้วย
การกำหนดราคาส่งออกต่ำกว่าราคาขายของผู้ผลิตในประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเป็นอันมาก โดย
เฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีการทุ่มตลาดมากที่สุด สำหรับภาวะการส่งออกจะหดตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยัง
ไม่ฟื้นตัว มีผลทำให้คำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กจากต่างประเทศลดลง
4. แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 คาดว่าจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อน แต่ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดจนมาตรการส่งเสริมต่างๆ จากภาค
รัฐบาล เช่น .ใช้มาตรการทางภาษี ที่จะจูงใจให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้สามารถผลิตได้อย่าง
เต็มกำลังการผลิต ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 1,744,733 ตัน โดยมีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.34 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลงมาก
ที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ลดลงร้อยละ 30.65 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 13.71 เนื่องจากปัญหาการทุ่ม
ตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.48 เนื่องจากผู้บริโภคใช้เหล็กที่ผลิตภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศในแถบภูมิภาค เช่น ไต้หวัน
กัมพูชา รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.69
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ปริมาณความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าโดยรวมในประเทศช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 3,521,201 ตัน
โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 17.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 2,090,068 ตัน มูลค่าโดยรวม 24,800 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 24.33 และ 10.92 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน หากพิจารณามูลค่าการนำเข้าในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ จะพบว่ามูลค่าการนำเข้าเหล็กในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว
ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว (หดตัวร้อยละ 5.85) แต่กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วในปีเดียวกัน (ร้อยละ 3.35) เนื่องจาก
ปัญหาปริมาณเหล็กล้นตลาดโลก ประกอบกับผลกระทบจากการใช้มาตรการ 201 ซึ่งเป็นมาตรการที่คุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ
ของสหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศผู้ส่งออกเหล็กต่างๆ แข่งขันกันหาตลาดใหม่ โดยย้ายตลาดไปสู่ประเทศที่ไม่มาตรการปกป้องที่ดีพอ และใช้
กลยุทธ์การทุ่มตลาดเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดโลกให้เท่าเดิม
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.24
เนื่องจากราคาของผลิตภัณฑ์ฯ ในช่วงนี้มีราคาต่ำ ผู้ผลิตจึงสั่งนำเข้ามาเป็นปริมาณมาก ส่วนหนึ่งเพื่อเก็บไว้เป็นวัตถุดิบสำรอง รองลงมาคือ
เศษเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.33 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.48 เนื่องจากโดนทุ่มตลาดเหล็กแผ่นฯ จากประเทศญี่ปุ่น และ
อัฟริกาใต้ ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเข็มพืด ลดลงร้อยละ 84.93 เนื่องจาก
ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหา ประกอบกับเหล็กประเภทนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงทำให้ความต้องการ
เหล็กประเภทนี้ลดลง รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้าง ลดลงร้อยละ 51 ท่อเหล็กลดลง ร้อยละ 14.28 เนื่องจากท่อเหล็กประเภทนี้จะใช้
สำหรับโครงการขนาดใหญ่ๆ เช่น โครงการท่อส่งน้ำมัน ซึ่งจำนวนโครงการลดลง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1. ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2543เทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
(กรกฎาคม-กันยายน) ( กรกฏาคม-กันยายน) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า
เหล็กถลุง (Pig Iron) 60,325 630 70,107 670 -13.95 -5.97 จีน, บราซิล
เศษเหล็ก(Scrap) 220,016 1,512 165,020 1,155 33.33 30.91 อเมริกา, ญี่ปุ่น,ออสเตรเลีย,อิหร่าน
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป1 754,241 6,225 526,553 4,409 43.24 41.19 รัสเซีย,ยูเครน,บราซิล
(Semi-Finished Products)
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก 39,316 948 31,835 808 23.50 17.33 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ไต้หวัน
(Steel bar & Wires)
เหล็กลวด(Wire rod) 80,898 1,076 63,952 869 26.50 23.82 ญี่ปุ่น,ยูเครน,อินโดนีเซีย
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 9,249 140 18,876 262 -51.00 -46.56 ญี่ปุ่น,จีน,ไต้หวัน
(Structural Steel)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 637,474 6,423 496,176 6,070 28.48 5.82 ญี่ปุ่น,อัฟริกาใต้,อินเดีย,
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 115,217 2,313 128,251 2,681 -10.16 -13.73 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 143,321 3,613 143,436 3,666 -0.08 -1.45 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ไต้หวัน,รัสเซีย
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 29,671 1,913 34,612 1,736 -14.28 10.20 ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,จีน
เหล็กเข็มพืด(Sheet Piling)340 7 2,256 33 -84.93 -78.79 ญี่ปุ่น
รวม 2,090,068 24,800 1,681,07422,359 24.33 10.92 ญี่ปุ่น,ยูเครน,รัสเซีย
ที่มา : กรมศุลกากร
1 ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประเภท Billet , Ingot ,Slab
ตารางที่ 2. การนำเข้าเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก
หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐฯ
สินค้า 2000 2001 อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q3 Q2 Q3 Q3 2001/Q3 2000 Q3 2001/Q2 2001
เหล็กทั้งหมด 652.6 594.5 614.4 -5.85 3.35
1. เหล็กแผ่นยังไม่ชุบ 218.2 185.7 191.8 -12.10 3.28
2. เหล็กแผ่นชุบ 91.4 74.3 79.5 -13.02 7.00
3. เหล็กท่อน เหล็กเส้น 35.9 35.6 39.3 9.47 10.39
4. เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 114.4 132.6 138.7 21.24 4.60
5. เหล็กอื่น 192.7 166.4 165.1 -14.32 -0.78
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับกรมศุลกากร
2.2.2 การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีจำนวน 313,600 ตัน มูลค่าโดยรวม 5,421 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 38.90 และ 30.96 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของผู้ผลิตไทย ประกอบการใช้
มาตรการ 201 ของประเทศดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ นอกจากนี้ตลาดอื่นๆ เช่น ตลาดยุโรป ก็มีมาตรการ
กีดกันทางการค้า เช่น การกำหนดโควตา หากพิจารณามูลค่าการส่งออกในรูปของดอลลาร์สหรัฐจะพบว่า การส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้า
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วในปีเดียวกันมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 โดยสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงสุด
คือ หมวดเหล็กและเหล็กกล้าอื่นๆ (ขยายตัวร้อยละ 11.18) และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงที่สุด คือ เหล็กมุม, รูปทรง, หน้าตัด
(ลดลงร้อยละ 17.18) เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงเดียวกันจะพบว่า การส่งออกสินค้าเหล็กและเหล็กกล้า
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 นี้มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 25.18 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยหมวดสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงมากที่สุด
คือ ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด ในขณะที่โครงก่อสร้างเป็นรายการเดียวที่มีการส่งออกขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ในปีที่แล้ว (ขยายตัวร้อยละ 5.17)
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเข็มพืด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1,408.75 รองลงมาคือ
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.12 เนื่องจากภาวะซบเซาของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ ผู้ผลิตจึงพยายามแก้ไขปัญหาภาวะ
เหล็กเส้นฯที่ล้นตลาด โดยการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์
เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 95.58 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 87.61 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 86.57
ตามลำดับ รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3. ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของ ปี 2543 เทียบกับช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
หน่วย : ตัน
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดส่งออกที่สำคัญ
(กรกฎาคม-กันยายน) (กรกฎาคม-กันยายน) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า(ล้านบาท) ปริมาณ มูลค่า
เหล็กถลุง (Pig Iron) 92 1 97 2 -5.15 -50.00 กัมพูชา,ญี่ปุ่น
เศษเหล็ก(Scrap) 16,777 328 26,618 464 -36.97 -29.31 พม่า,ไต้หวัน,เกาหลีใต้
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป1 300 4 6,783 54 -95.58 -92.59 กัมพูชา, ออสเตรเลีย,โคลัมเบีย
(Semi-Finished Products)
เหล็กเส้นและลวดเหล็ก 35,860 412 29,853 383 20.12 7.57 ไต้หวัน,กัมพูชา,จีน,มาเลเซีย
(Steel bar & Wires)
เหล็กลวด(Wire rod) 448 6 3,337 31 -86.57 -80.65 ลาว,พม่า,มาเลเซีย
เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 55,884 610 68,403 822 -18.30 -25.79 มาเลเซีย,สิงคโปร์,ออสเตรเลีย
(Structural Steel)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 15,702 181 126,732 1,423 -87.61 -87.28 อเมริกา,แคนาดามาเลเซีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 93,767 1,204 131,841 1,942 -28.88 -38.00 ฮ่องกง,เวียดนาม,บังคลาเทศ
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 25,368 550 39,573 553 -35.90 -0.54 พม่า,กัมพูชา,แคนาดา
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 66,988 2,093 79,868 2,171 -16.13 -3.59 อเมริกา,ญี่ปุ่น,พม่า
เหล็กเข็มพืด(Sheet Piling)2,414 32 160 7 1,408.75357.14 ฮ่องกง
รวม 313,600 5,421 513,265 7,852 -38.90 -30.96 ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง
ที่มา : กรมศุลกากร
1 ได้แก่ผลิตภัณฑ์ประเภท Billet , Ingot ,Slab
ตารางที่ 4. การส่งออกเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก
รายการ 2000 2001 อัตราการเปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q3 Q2 Q3 Q3 01/Q3 00 Q3 01/Q201
เหล็กทั้งหมด 359.8 267.9 269.2 -25.18 0.49
1. ท่อและข้อต่อเหล็ก 54.6 45.5 46.3 -15.20 1.76
2. โครงก่อสร้าง 11.6 14.1 12.2 5.17 -13.48
3. ตะปู 29.7 18.9 20.9 -29.63 10.58
4. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 125.6 76.1 67.9 -45.94 -10.78
5. มุม รูปทรง หน้าตัด 20.7 16.3 13.5 -34.78 -17.18
6. อื่นๆ 117.8 97.5 108.4 -7.98 11.18
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมกับกรมศุลกากร
หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐฯ
3.สรุป
การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปริมาณ
การใช้ในประเทศกลับเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของเหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้วิธีทุ่มตลาด ด้วย
การกำหนดราคาส่งออกต่ำกว่าราคาขายของผู้ผลิตในประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเป็นอันมาก โดย
เฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อนที่มีการทุ่มตลาดมากที่สุด สำหรับภาวะการส่งออกจะหดตัวลง ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ยัง
ไม่ฟื้นตัว มีผลทำให้คำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กจากต่างประเทศลดลง
4. แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2545 คาดว่าจะดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีก่อน แต่ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ตลอดจนมาตรการส่งเสริมต่างๆ จากภาค
รัฐบาล เช่น .ใช้มาตรการทางภาษี ที่จะจูงใจให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้สามารถผลิตได้อย่าง
เต็มกำลังการผลิต ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (economy of scale)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--