นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยจากรายงานของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ว่า โครงการ GSP ของ ญี่ปุ่น โครงการปัจจุบัน ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึง 31 มีนาคม 2554 เป็นระยะเวลา 10 ปี สินค้าที่ญี่ปุ่นให้ GSP บางรายการ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยได้รับสิทธิ GSP จากญี่ปุ่น ( ยกเว้น ประเทศพัฒนาน้อยยังคงได้รับสิทธิ GSP อยู่ ) เช่น มะละกอสด (HS. 0807.20 ) กุ้งปรุงแต่งอื่นๆนอกจากกุ้งต้ม (HS.1605.20-2) กุ้งแช่แข็ง ( HS.1605.40.110 ) น้ำกะทิกระป๋อง ( HS. 2008.19-2-(2)-C ) ด้ายที่ปั่นจากเศษไหม ( HS. 5005 ) ผ้าทอทำด้วยไหมหรือเศษไหม ( HS. 5007 ) ญี่ปุ่นได้ตัดออกจาก รายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(GSP ’s Positive List) เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าปกติ MFN ที่ได้ผูกพันไว้ใน WTO ได้ลดลงจน เท่ากับ หรือ ต่ำกว่า อัตราภาษีที่ได้รับสิทธิ GSP ดังนั้นสินค้าดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมาขอหนังสือรับรอง Form A เพื่อขอใช้สิทธิ GSP
นายการุณกล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่น เริ่มให้สิทธิ GSP กับประเทศไทย และประเทศผู้รับสิทธิ GSP อื่นๆ มาตั้งแต่ ปี 2514 และได้ต่ออายุโครงการ GSP มาตลอด โครงการละ 10 ปี ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 4 โดยให้สิทธิ GSP ทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะได้รับการ ลด หรือ ยกเว้น ภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิ GSP จะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ( Rule of Origin ) และ ผู้นำเข้าญี่ปุ่น จะต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) ซึ่งออกโดยหน่วยงานของประเทศผู้รับสิทธิ GSP ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรญี่ปุ่นเพื่อขอใช้สิทธิ GSP ด้วย
สำหรับผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้ที่ เวบไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ http:/www.dft.moc.go.th หัวข้อ มาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โครงการ GSP ของญี่ปุ่น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2544--
-อน-
นายการุณกล่าวเพิ่มเติมว่า ญี่ปุ่น เริ่มให้สิทธิ GSP กับประเทศไทย และประเทศผู้รับสิทธิ GSP อื่นๆ มาตั้งแต่ ปี 2514 และได้ต่ออายุโครงการ GSP มาตลอด โครงการละ 10 ปี ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 4 โดยให้สิทธิ GSP ทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะได้รับการ ลด หรือ ยกเว้น ภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับสิทธิ GSP จะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ( Rule of Origin ) และ ผู้นำเข้าญี่ปุ่น จะต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) ซึ่งออกโดยหน่วยงานของประเทศผู้รับสิทธิ GSP ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรญี่ปุ่นเพื่อขอใช้สิทธิ GSP ด้วย
สำหรับผู้สนใจ ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบได้ที่ เวบไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ http:/www.dft.moc.go.th หัวข้อ มาตรการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โครงการ GSP ของญี่ปุ่น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2544--
-อน-