การผลิตพืชผล เดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.3 ผลผลิตที่ลดลงมากได้แก่ ข้าว ยางพาราและถั่วเหลือง เนื่องจากมีฝนตกชุกและน้ำท่วมในบางพื้นที่ ทำให้การเก็บเกี่ยวและ การเพาะปลูกต้องล่าช้าออกไป ส่วนยางพาราลดลง เนื่องจากสภาพ ฝนตกชุกในภาคใต้ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้
ราคาพืชผลในเดือนสิงหาคม ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 8.9 ราคาพืชผลที่ลดลงมาก ได้แก่ ข้าวโพด (-14.7%) มันสำปะหลัง (-15.2%) และผลไม้ (-32.0%) เนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดมากประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง7 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง โดยในบางพื้นที่มีการเปิดฟาร์มเพาะเลี้ยงใหม่ เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง เพื่อทดแทนผลผลิตโลกที่ลดลงจากปัญหาการเกิดโรคระบาดตัวแดงดวงขาวใน เอกวาดอร์และเม็กซิโก
ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ ในเดือนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยน ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ 10 ปีย้อนหลัง โดยใช้ ข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 | 2542 แทนข้อมูลชุดเดิมเพื่อปรับข้อมูลให้ทันสมัย ทั้งนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543อยู่ที่ 51,690 ลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 78.1 ของความจุรวม จากอิทธิพลของพายุหลายลูกที่ พาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมงได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (14 กันยายน 2543) มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายแล้วรวม 1,047,117 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ปศุสัตว์เสียหายรวม 837,320 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ดและโค ส่วนบ่อปลา เสียหายรวม 48,644 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลา อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.2 ซึ่งเป็นผลจากการที่ผลผลิตพืชผลและราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ ลดลงร้อยละ 11.3 และ 8.9 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ราคาพืชผลในเดือนสิงหาคม ยังคงลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 8.9 ราคาพืชผลที่ลดลงมาก ได้แก่ ข้าวโพด (-14.7%) มันสำปะหลัง (-15.2%) และผลไม้ (-32.0%) เนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดมากประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง7 เดือนแรกของปีลดลงร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในส่วนของผลผลิตกุ้งกุลาดำ กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการขยายการเพาะเลี้ยง โดยในบางพื้นที่มีการเปิดฟาร์มเพาะเลี้ยงใหม่ เนื่องจากราคากุ้งกุลาดำอยู่ในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนและตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการต่อเนื่อง เพื่อทดแทนผลผลิตโลกที่ลดลงจากปัญหาการเกิดโรคระบาดตัวแดงดวงขาวใน เอกวาดอร์และเม็กซิโก
ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ ในเดือนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยน ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญ 10 ปีย้อนหลัง โดยใช้ ข้อมูลตั้งแต่ปี 2533 | 2542 แทนข้อมูลชุดเดิมเพื่อปรับข้อมูลให้ทันสมัย ทั้งนี้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543อยู่ที่ 51,690 ลูกบาศก์เมตรคิดเป็นร้อยละ 78.1 ของความจุรวม จากอิทธิพลของพายุหลายลูกที่ พาดผ่านประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร การเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมงได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก รายงานความเสียหายล่าสุด (14 กันยายน 2543) มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายแล้วรวม 1,047,117 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว ปศุสัตว์เสียหายรวม 837,320 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไก่ เป็ดและโค ส่วนบ่อปลา เสียหายรวม 48,644 บ่อ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ในรูปของเมล็ดพันธุ์ข้าวและพันธุ์ปลา อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์ป้องกันรักษาสัตว์
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนสิงหาคม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.2 ซึ่งเป็นผลจากการที่ผลผลิตพืชผลและราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ ลดลงร้อยละ 11.3 และ 8.9 ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-