แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (22-27 เมย.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,540.67 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 591.99 ตัน สัตว์น้ำจืด 948.68 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.25 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.62 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.97 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.94 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งไทยรอวันตาย….วอนรัฐช่วยด่วน
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นปัญหาต่อสู้กันภายในประเทศไทยจนในที่สุดรัฐบาล สั่งควบคุมจำกัดพื้นที่ ทำให้วงจรการผลิตและการค้ากุ้งของไทยทรุดฮวบลงเมื่อสองปีก่อน เป็นเหตุให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อนทั่วหน้ากัน นอกจากนี้ ยังถูกกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู ทำลายตลาดกุ้งไทยพังเรียบร้อย โดยฝรั่งเศสเป็นหัวเรือใหญ่เสนอให้ อียู ตัดสิทธิ GSP ไทย เป็นผลให้กุ้งไทยเจอภาษีนำเข้าในอัตราสูงสุด คือ ร้อยละ 14.4 แต่กลุ่มประเทศที่เป็นคู่แข่งไทยกลับได้สิทธิ GSP ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าตลาดยุโรปเลย (อัตราร้อยละ 0) ได้แก่ มาดากัสการ์ เซเนกัล เฟรนซ์กีอานา บังกลาเทศ ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส และปัจจุบันคนฝรั่งเศสคือผู้ลงทุนธุรกิจค้ากุ้งในดินแดนเหล่านั้น
ส่วนประเทศที่ได้สิทธิ GSP จาก อียู โดยเสียภาษีนำเข้าในอัตราต่ำร้อยละ 3.6 ได้แก่ เอกวาดอร์ เปรู โคลัมเบีย และประเทศที่เสียร้อยละ 4.5 ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า อินเดีย และมาเลเซีย
จากการที่กุ้งไทยเจอภาษีร้อยละ 14.4 จึงไม่มีใครกล้าสั่งเข้า ทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดยุโรปลดลงจากเดิมถึงร้อยละ 60 โดยในปี พ.ศ.2543 กุ้งไทยส่งไปขาย ได้แค่ 14,700 เมตริกตัน คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 5 ของกุ้งที่อียูต้องการ ทั้ง ๆ ที่ไทยเป็นประเทศที่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำใหญ่ที่สุดในโลก ประสิทธิภาพของผู้เลี้ยงกุ้งไทยมีสูงและมีระบบจัดการมลภาวะที่ดี แต่รายได้การส่งออกกุ้งกุลาดำ ซึ่งเคยทำสถิติถึงปีละ 5-6 หมื่นล้านบาท บัดนี้ลดน้อยลงมาก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่รัฐบาลควรหาทางแก้ไขและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยโดยเร็ว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ - บาท สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาปลาดุกบิ๊กอุย
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 312.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 304.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ433.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 450.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.43 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
15.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ82.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.50 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.37 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 30 เมย.- 4 พค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 3-6 พ.ค. 2544--
-สส-
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.25 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.35 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 68.62 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 75.97 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 52.94 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
กุ้งไทยรอวันตาย….วอนรัฐช่วยด่วน
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ซึ่งเป็นปัญหาต่อสู้กันภายในประเทศไทยจนในที่สุดรัฐบาล สั่งควบคุมจำกัดพื้นที่ ทำให้วงจรการผลิตและการค้ากุ้งของไทยทรุดฮวบลงเมื่อสองปีก่อน เป็นเหตุให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อนทั่วหน้ากัน นอกจากนี้ ยังถูกกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู ทำลายตลาดกุ้งไทยพังเรียบร้อย โดยฝรั่งเศสเป็นหัวเรือใหญ่เสนอให้ อียู ตัดสิทธิ GSP ไทย เป็นผลให้กุ้งไทยเจอภาษีนำเข้าในอัตราสูงสุด คือ ร้อยละ 14.4 แต่กลุ่มประเทศที่เป็นคู่แข่งไทยกลับได้สิทธิ GSP ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าตลาดยุโรปเลย (อัตราร้อยละ 0) ได้แก่ มาดากัสการ์ เซเนกัล เฟรนซ์กีอานา บังกลาเทศ ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส และปัจจุบันคนฝรั่งเศสคือผู้ลงทุนธุรกิจค้ากุ้งในดินแดนเหล่านั้น
ส่วนประเทศที่ได้สิทธิ GSP จาก อียู โดยเสียภาษีนำเข้าในอัตราต่ำร้อยละ 3.6 ได้แก่ เอกวาดอร์ เปรู โคลัมเบีย และประเทศที่เสียร้อยละ 4.5 ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า อินเดีย และมาเลเซีย
จากการที่กุ้งไทยเจอภาษีร้อยละ 14.4 จึงไม่มีใครกล้าสั่งเข้า ทำให้ไทยต้องสูญเสียตลาดยุโรปลดลงจากเดิมถึงร้อยละ 60 โดยในปี พ.ศ.2543 กุ้งไทยส่งไปขาย ได้แค่ 14,700 เมตริกตัน คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 5 ของกุ้งที่อียูต้องการ ทั้ง ๆ ที่ไทยเป็นประเทศที่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำใหญ่ที่สุดในโลก ประสิทธิภาพของผู้เลี้ยงกุ้งไทยมีสูงและมีระบบจัดการมลภาวะที่ดี แต่รายได้การส่งออกกุ้งกุลาดำ ซึ่งเคยทำสถิติถึงปีละ 5-6 หมื่นล้านบาท บัดนี้ลดน้อยลงมาก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่รัฐบาลควรหาทางแก้ไขและปกป้องรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยโดยเร็ว
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ - บาท สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาปลาดุกบิ๊กอุย
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.36 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 312.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 304.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ433.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 450.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 16.43 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
15.47 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ82.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.50 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.37 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 30 เมย.- 4 พค. 44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 3-6 พ.ค. 2544--
-สส-