ปาฐกถา เรื่อง
"บสท. กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ"*
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
วันที่ 12 ตุลาคม 2544
______________________
ท่านประธานกรรมการ บสท. ท่านคณะกรรมการ กรรมการบริหาร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่เคารพ ปกติแล้วเวลาที่จะมากล่าวอะไรก็แล้วแต่จะมีเจ้าหน้าที่คอยเตรียมร่างให้ผมพูด แต่ทุกครั้งที่ผมพูด ผมก็ไม่ยอมใช้ร่าง เพราะผมรู้สึกว่าไม่ได้พูดออกมาจากหัวใจผมเอง ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งจนถึงบัดนี้เป็นเวลาประมาณ 7 เดือน ภารกิจค่อนข้างมาก แต่ทุกวันก็ยังมีกำลังใจทำงาน เพราะตระหนักดีว่าประเทศชาติในขณะนี้มีปัญหา สิ่งที่เราทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อประเทศชาติ
เมื่อครั้งที่เราเริ่มผลักดันโครงการให้มีการจัดตั้ง บสท. ความไม่เข้าใจมีอยู่สูง อุปสรรคทั้งหลายจึงเกิดขึ้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นและด้วยความพยายามในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน วันนี้จึงได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมีความสำคัญสูงมาก บสท. นั้นมิได้มีหน้าที่ที่จะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มิใช่เพื่อลูกหนี้ และมิใช่เพื่อเจ้าหนี้ แต่เพื่อรักษาสินทรัพย์ของประเทศมิให้สูญหาย มิให้ย่อยยับ โดยขาดความรับผิดชอบ ถามว่าอยากให้มี บสท. ในประเทศไทยไหม? ถ้าไม่จำเป็นก็คงไม่อยาก แต่ถามว่ามีทางเลือกอื่นดีกว่านี้ไหม? ตอบว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ฉะนั้นเมื่อเป็นหนทางเดียวที่มีความจำเป็น เราก็ต้องทำมันขึ้นมา และก็ต้องทำอย่างมีความรับผิดชอบ อย่างมีสติ อย่างมีจรรยาบรรณ ฉะนั้นมันไม่ง่ายเลย
นับแต่วันแรกที่เราทำ Workshop กันที่หัวหินจนถึงวันนี้ แล้ววันนี้ก็เกิดขึ้นในที่สุด ผมจึงมีความดีใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้แพ้วันที่ผมสามารถผลักดันโครงการธนาคารประชาชนให้กับพี่น้องคนไทยที่ด้อยโอกาส แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่าก้าวย่างนี้เป็นเพียงก้าวแรก เพราะภารกิจของ บสท. นั้นมิใช่เป็นเพียงการโอนหนี้เข้ามาและถ่ายหนี้ แต่ภารกิจที่สำคัญของ บสท. ก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้ทรัพย์สินก้อนที่มีอยู่นี้ จำนวนมหาศาลเหล่านี้ สามารถ Recover มีมูลค่าสูงที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ จะทำอย่างไรที่จะทำให้สินทรัพย์เหล่านี้สามารถกลายเป็นสินทรัพย์ที่ยังสามารถก่อให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน อันนั้นคือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด ภารกิจอันนี้ไม่ใช่ง่ายๆ สินทรัพย์จำนวนนับล้านล้านบาท จะจัดการให้มีมูลค่าสูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มิใช่ของง่ายเลย ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องการการบริหารจัดการอย่างสามารถและอย่างตั้งใจรับผิดชอบ
ผมอยากกราบเรียนว่าคณะกรรมการ บสท. จะต้องบริหารงานดังกล่าวนี้ในเชิงรุก มิใช่เชิงตั้งรับ Staff ของ บสท.ทุกคนจะต้องไม่นั่งนิ่ง และดูให้มีการประนอมหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ แต่ต้องเข้าไปมีบทบาทในการชี้แนะ ในการจูงใจ ในการประสานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นมา เพราะลำพังถ้าเราปล่อยให้เจ้าหนี้ประนอมหนี้กับลูกหนี้ แน่นอนที่สุด ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ เราต้องดูว่าประโยชน์ของเราจะอยู่ที่ตรงไหน ลูกหนี้ก็เช่นกัน เขาก็ต้องการประโยชน์สูงสุดของเขา คนกลางจะต้องมี ฉะนั้นการบริหารกิจการในเชิงของ Passive หรือตั้งรับจึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แผนการบริหารเชิง Pro-active เชิงรุก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ อันนั้นคือหัวใจ
ผมฝากกราบเรียนท่านกรรมการผู้จัดการและ Staff ของ บสท. ไว้ ณ ที่นี้ว่า ผมจริงจังกับเรื่องนี้มาก และในลักษณะของการบริหารจัดการเชิง Pro-active นี้ ในบางครั้งเราก็ต้องมีการใส่ความพยายามหลายๆ อย่างเข้าไป เติมทุนเข้าไป เติมการบริหารจัดการเข้าไป สิ่งเหล่านี้จึงเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ผมจึงได้กราบเรียนตอนต้นว่า การโอนหนี้นั้นเป็นเพียงก้าวสั้นๆ ก้าวแรกเท่านั้นเอง แต่ภารกิจอันนี้จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาตินั้น มันมีหลายๆ ปัจจัยที่จะคำนึงถึง
ผมอยากฝากเรียนสิ่งเหล่านี้ไว้กับคณะกรรมการ บสท. และทีมงาน
ประการแรก เมื่อทรัพยากรของประเทศในขณะนี้มีอยู่จำกัด เมื่อเราจะต้องเอาสิ่งเหล่านี้เข้าไปในการใช้ประโยชน์จาก บสท. ก็ขอให้แน่ใจว่า ทิศทางของการบริหารหนี้ใน บสท. นั้นจะต้องสอดรับกับทิศทางของการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังว่า อุตสาหกรรมใดธุรกิจใดที่เราต้องการความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนั่นจะนำไปสู่สิ่งที่ว่า จะใส่ความพยายาม จะใส่ทุน เข้าไปมากน้อยเพียงใดนั้น มันต้องไม่เท่าเทียมกันภายใต้ภาวะที่ทรัพยากรนั้นมีอย่างจำกัด นัยสำคัญก็คือว่า จะให้การเจรจาต่อรองกันโดยที่ไม่มี Guideline นั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการ Set priority เพราะมันหมายถึงการ Commit ทรัพยากรในระยะยาวข้างหน้า
ประการที่ 2 เมื่อมีการบริหารจัดการ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือว่า ทำอย่างไรที่จะให้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจเหล่านั้นให้กลับคืนมาสู่ความสามารถในการแข่งขันให้ได้ เราไม่ต้องการเพียงแค่ว่า บริษัทกลับมา ฟื้นฟูขึ้นมา แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม แต่เราต้องการให้คณะกรรมการและทีมงานของ บสท. พยายามสร้างบริษัทที่มีการปรับโครงสร้างเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็งในการแข่งขัน เพื่อรองรับกับสถานการณ์ข้างหน้าที่จะมีมา ฉะนั้น เมื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการแม้กระทั่งการชักจูงให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการถือหุ้น ในการเกื้อกูล ในการบริหารกิจการ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ควรกระทำทั้งสิ้น เพื่อให้บริษัทที่เคยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพกลับมาเป็นบริษัทที่มีคุณภาพอย่างแข็งแกร่ง
ประการที่ 3 กลุ่มบริษัทเหล่านี้ที่เราจะปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ เราจะต้องเข้าไปจัดตั้งให้มีความโปร่งใส มีธรรมภิบาลที่ดี มี Good governance เพราะนั่นหมายถึงการเป็นจุดเริ่มต้นของการกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ประเทศไทยวันนี้ปัญหาที่หนักที่สุดคือปัญหาที่ภาคเอกชนหดหายไปเป็นจำนวนมาก สัดส่วนของการลงทุนของภาคเอกชน ก่อนเกิดวิกฤติการณ์กับหลังเกิดวิกฤติการณ์ ที่มีต่อรายได้ประชาชาตินั้นต่างกันลิบลับ ธุรกิจเอกชนในวันนี้ต้องการเงินทุน ต้องการ Equity ไม่ได้แพ้ความต้องการสภาพคล่องและสินเชื่อ แต่จะเอาทุนมาจากไหน ส่วนหนึ่งคือตลาดทุนหรือตลาดหุ้น อีกส่วนหนึ่งจากนักลงทุนต่างประเทศ ถ้าตราบใดที่ธุรกิจของเราไม่มีความโปร่งใส ไม่มีระบบธรรมภิบาล ไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนต่างประเทศ เราอย่าหวังว่าต่างประเทศจะเข้ามาลงทุน การบริหารการจัดการเชิงศรีธนญชัยเลิกคิดได้แล้วในอนาคตข้างหน้า ความคิดที่จะมีเพียงแค่ตกแต่งบัญชี เอาบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ เสร็จแล้วลอกคราบออกมาแสวงหาความร่ำรวยส่วนตัว อันนี้ผลมันเป็นที่ประจักษ์แล้ว หลังจากผ่านไป 10 ปี ประเทศไทยวันนี้ถึงได้เป็นอย่างนี้ ตลาดทุนที่เคยถูก Abused บิดเบือน วันนี้ก็รับผลในสิ่งที่เกิดขึ้น จาก 10 กว่าปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินที่ขาดความละเอียดอ่อน เข้มข้นในการปล่อยสินเชื่อ วันนี้ก็ได้รับบทเรียนจากสิ่งที่เกิดที่ผ่านมา ฉะนั้นวันนี้เมืองไทยทั้งประเทศได้รับบทเรียนจากสิ่งที่ผ่านมา และเราจะไม่กระทำความผิดซ้ำสอง ฉะนั้นภารกิจเหล่านี้จึงไม่ใช่สิ่งที่ง่ายๆ มันไม่ง่ายเลยที่บอกว่า คณะกรรมการ บสท. และทีมผู้บริหารจะต้องเร่งปรับโครงสร้างกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้ เน้น Speed เป็นหลัก ในขณะที่ต้องระมัดระวังให้มีความรอบคอบ มันไม่ง่ายเลยสำหรับ บสท. ที่ในด้านหนึ่งจะต้องกล้าตัดสินใจกระทำบางสิ่งในบ้างครั้งเพื่อให้การนั้นสำเร็จลุล่วง ในขณะที่เผชิญกับแรงกดดันที่ว่าจะต้องมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ เส้นแบ่งเขตแดนอยู่ตรงไหน ไม่มีใครขีดเส้น
แต่ผมอยากกราบเรียนเพื่อให้เกิดความสบายใจว่า ขอให้คณะกรรมการ บสท. คณะกรรมการบริหาร และทีมงาน ขอให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ ตราบใดที่ผมอยู่ที่กระทรวงการคลังจะไม่มีการบอกว่าถ้าทำผิดแล้วจะมาลงโทษติดคุก ถ้าคิดอย่างนั้น ต่อไปข้างหน้าจะไม่เคยมีใครมาคิดทำงานเพื่อประเทศชาติอีกต่อไป ขอให้สบายใจ ฉะนั้นขอให้กล้าตัดสินใจ ถือว่าอันนี้เป็นหน้าที่ แต่ว่าขออย่างเดียว คือให้การทำงานนั้นตั้งอยู่บนจริยธรรม ตั้งอยู่บนจรรยาบรรณ ท่านก็ทราบอำนาจมหาศาลอยู่ในมือของ บสท. แต่อำนาจอันนั้นจะต้องควบคู่ไปกับความชอบธรรมด้วย ต้องมีความสมดุลกัน ฉะนั้นทั้งประธานกรรมการ ทั้งประธานกรรมการบริหาร ทั้งคณะกรรมการ บสท. จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในสิ่งนี้ ผมเข้าใจความรู้สึกของท่านกรรมการและทีมงานดี จริงแล้วๆ งานนี้ไม่มีใครอยากมาแบกนักหรอก เพราะมันคือภารกิจที่ยิ่งใหญ่ มีแต่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ทำดีเสมอตัว ทำไม่ดีจะถูกตำหนิ แต่ผมอยากจะกราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า สิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นหน้าที่ เป็นความรับผิดชอบ
เมื่อวันแรกที่ผมเข้ามารับตำแหน่งในกระทรวงการคลัง ผมคิดอย่างเดียวว่า ผมมาช่วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ช่วยทำงานให้ดีที่สุด เพราะวันนี้ปัญหาของประเทศมีอยู่มาก จริงๆ แล้ว ชีวิตของผมก็สบายดีอยู่แล้ว แต่ก็อาสาเข้ามาทำงาน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็เช่นกัน มันเป็นความรับผิดชอบของคนที่มีความรับผิดชอบ วันนี้ถ้าแต่ละคนต่างหันหลังซึ่งกันและกัน ไม่เอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ประเทศนั้นยากที่จะไปรอด หนี้สินจำนวน 2.8 ล้านล้าน กับภาวะข้างหน้านั้นมันหนักหน่วง ภาวการณ์ข้างหน้าทุกคนก็รู้ว่าไม่ธรรมดาเลย
เมื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีต้องการให้ผมดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ควบคู่กับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ความรู้สึกผมเหมือนเดิมก็คือมาเพราะหน้าที่ มาเพราะภารกิจ มาเพื่อช่วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาของประเทศชาติ จะทำให้ดีที่สุด ฉะนั้น ผมก็ขอให้กำลังใจกับกรรมการ บสท. กับทีมงานและต้องขอขอบคุณ ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันการเงิน ทั้งเอกชนและภาครัฐที่ได้ร่วมกันผลักดันให้ บสท. นั้นเกิดขึ้นมาในวันนี้ ขอได้รับความขอบคุณและความเคารพจากกระผมเต็มห้องหัวใจของผม ผมไม่รู้จะตอบแทนท่านได้อย่างไร แต่อยากกราบเรียนว่า ขอให้ช่วยกระผมและท่านนายกฯ ทำ บสท. ให้ดีที่สุด รักษาทรัพย์สินนับล้านๆ บาทให้อย่างมีคุณค่าอยู่ และงานนี้ไม่ใช่งานแรก ข้างหน้านั้นยังมีอีกหลายๆ งานทีเดียว ผมจะต้องหาคนที่ดี คนที่มีความรับผิดชอบ เข้ามาช่วยอีกเยอะ เพราะข้างหน้างานหนักๆ ยังมีอีกมาก รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยท้อถอย รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่เคยท้อแท้ คำว่า "ถอดใจ" ไม่เคยมีอยู่ในพจนานุกรมของคนที่ชื่อสมคิด ฉะนั้น ผมขอให้ทุกท่านร่วมกับผมช่วยเหลือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีกู้เศรษฐกิจของประเทศด้วย ขอบคุณครับ
_________________________
* เนื่องในพิธีลงนามสัญญาโอนสินทรัพย์ ระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กับสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ จำนวน 29 แห่ง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุชาวรรณ วงศ์ทองมาก : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
"บสท. กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ"*
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
วันที่ 12 ตุลาคม 2544
______________________
ท่านประธานกรรมการ บสท. ท่านคณะกรรมการ กรรมการบริหาร และแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่เคารพ ปกติแล้วเวลาที่จะมากล่าวอะไรก็แล้วแต่จะมีเจ้าหน้าที่คอยเตรียมร่างให้ผมพูด แต่ทุกครั้งที่ผมพูด ผมก็ไม่ยอมใช้ร่าง เพราะผมรู้สึกว่าไม่ได้พูดออกมาจากหัวใจผมเอง ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งจนถึงบัดนี้เป็นเวลาประมาณ 7 เดือน ภารกิจค่อนข้างมาก แต่ทุกวันก็ยังมีกำลังใจทำงาน เพราะตระหนักดีว่าประเทศชาติในขณะนี้มีปัญหา สิ่งที่เราทำทุกอย่างไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อประเทศชาติ
เมื่อครั้งที่เราเริ่มผลักดันโครงการให้มีการจัดตั้ง บสท. ความไม่เข้าใจมีอยู่สูง อุปสรรคทั้งหลายจึงเกิดขึ้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นและด้วยความพยายามในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน วันนี้จึงได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมีความสำคัญสูงมาก บสท. นั้นมิได้มีหน้าที่ที่จะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มิใช่เพื่อลูกหนี้ และมิใช่เพื่อเจ้าหนี้ แต่เพื่อรักษาสินทรัพย์ของประเทศมิให้สูญหาย มิให้ย่อยยับ โดยขาดความรับผิดชอบ ถามว่าอยากให้มี บสท. ในประเทศไทยไหม? ถ้าไม่จำเป็นก็คงไม่อยาก แต่ถามว่ามีทางเลือกอื่นดีกว่านี้ไหม? ตอบว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ฉะนั้นเมื่อเป็นหนทางเดียวที่มีความจำเป็น เราก็ต้องทำมันขึ้นมา และก็ต้องทำอย่างมีความรับผิดชอบ อย่างมีสติ อย่างมีจรรยาบรรณ ฉะนั้นมันไม่ง่ายเลย
นับแต่วันแรกที่เราทำ Workshop กันที่หัวหินจนถึงวันนี้ แล้ววันนี้ก็เกิดขึ้นในที่สุด ผมจึงมีความดีใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้แพ้วันที่ผมสามารถผลักดันโครงการธนาคารประชาชนให้กับพี่น้องคนไทยที่ด้อยโอกาส แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่าก้าวย่างนี้เป็นเพียงก้าวแรก เพราะภารกิจของ บสท. นั้นมิใช่เป็นเพียงการโอนหนี้เข้ามาและถ่ายหนี้ แต่ภารกิจที่สำคัญของ บสท. ก็คือว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้ทรัพย์สินก้อนที่มีอยู่นี้ จำนวนมหาศาลเหล่านี้ สามารถ Recover มีมูลค่าสูงที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ จะทำอย่างไรที่จะทำให้สินทรัพย์เหล่านี้สามารถกลายเป็นสินทรัพย์ที่ยังสามารถก่อให้เกิดการผลิตและการจ้างงาน อันนั้นคือสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด ภารกิจอันนี้ไม่ใช่ง่ายๆ สินทรัพย์จำนวนนับล้านล้านบาท จะจัดการให้มีมูลค่าสูงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น มิใช่ของง่ายเลย ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องการการบริหารจัดการอย่างสามารถและอย่างตั้งใจรับผิดชอบ
ผมอยากกราบเรียนว่าคณะกรรมการ บสท. จะต้องบริหารงานดังกล่าวนี้ในเชิงรุก มิใช่เชิงตั้งรับ Staff ของ บสท.ทุกคนจะต้องไม่นั่งนิ่ง และดูให้มีการประนอมหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ แต่ต้องเข้าไปมีบทบาทในการชี้แนะ ในการจูงใจ ในการประสานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเกิดขึ้นมา เพราะลำพังถ้าเราปล่อยให้เจ้าหนี้ประนอมหนี้กับลูกหนี้ แน่นอนที่สุด ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ เราต้องดูว่าประโยชน์ของเราจะอยู่ที่ตรงไหน ลูกหนี้ก็เช่นกัน เขาก็ต้องการประโยชน์สูงสุดของเขา คนกลางจะต้องมี ฉะนั้นการบริหารกิจการในเชิงของ Passive หรือตั้งรับจึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แผนการบริหารเชิง Pro-active เชิงรุก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ อันนั้นคือหัวใจ
ผมฝากกราบเรียนท่านกรรมการผู้จัดการและ Staff ของ บสท. ไว้ ณ ที่นี้ว่า ผมจริงจังกับเรื่องนี้มาก และในลักษณะของการบริหารจัดการเชิง Pro-active นี้ ในบางครั้งเราก็ต้องมีการใส่ความพยายามหลายๆ อย่างเข้าไป เติมทุนเข้าไป เติมการบริหารจัดการเข้าไป สิ่งเหล่านี้จึงเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ผมจึงได้กราบเรียนตอนต้นว่า การโอนหนี้นั้นเป็นเพียงก้าวสั้นๆ ก้าวแรกเท่านั้นเอง แต่ภารกิจอันนี้จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาตินั้น มันมีหลายๆ ปัจจัยที่จะคำนึงถึง
ผมอยากฝากเรียนสิ่งเหล่านี้ไว้กับคณะกรรมการ บสท. และทีมงาน
ประการแรก เมื่อทรัพยากรของประเทศในขณะนี้มีอยู่จำกัด เมื่อเราจะต้องเอาสิ่งเหล่านี้เข้าไปในการใช้ประโยชน์จาก บสท. ก็ขอให้แน่ใจว่า ทิศทางของการบริหารหนี้ใน บสท. นั้นจะต้องสอดรับกับทิศทางของการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังว่า อุตสาหกรรมใดธุรกิจใดที่เราต้องการความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะนั่นจะนำไปสู่สิ่งที่ว่า จะใส่ความพยายาม จะใส่ทุน เข้าไปมากน้อยเพียงใดนั้น มันต้องไม่เท่าเทียมกันภายใต้ภาวะที่ทรัพยากรนั้นมีอย่างจำกัด นัยสำคัญก็คือว่า จะให้การเจรจาต่อรองกันโดยที่ไม่มี Guideline นั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการ Set priority เพราะมันหมายถึงการ Commit ทรัพยากรในระยะยาวข้างหน้า
ประการที่ 2 เมื่อมีการบริหารจัดการ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือว่า ทำอย่างไรที่จะให้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจเหล่านั้นให้กลับคืนมาสู่ความสามารถในการแข่งขันให้ได้ เราไม่ต้องการเพียงแค่ว่า บริษัทกลับมา ฟื้นฟูขึ้นมา แล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม แต่เราต้องการให้คณะกรรมการและทีมงานของ บสท. พยายามสร้างบริษัทที่มีการปรับโครงสร้างเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็งในการแข่งขัน เพื่อรองรับกับสถานการณ์ข้างหน้าที่จะมีมา ฉะนั้น เมื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการแม้กระทั่งการชักจูงให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการถือหุ้น ในการเกื้อกูล ในการบริหารกิจการ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ควรกระทำทั้งสิ้น เพื่อให้บริษัทที่เคยเป็นหนี้ด้อยคุณภาพกลับมาเป็นบริษัทที่มีคุณภาพอย่างแข็งแกร่ง
ประการที่ 3 กลุ่มบริษัทเหล่านี้ที่เราจะปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจ เราจะต้องเข้าไปจัดตั้งให้มีความโปร่งใส มีธรรมภิบาลที่ดี มี Good governance เพราะนั่นหมายถึงการเป็นจุดเริ่มต้นของการกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ประเทศไทยวันนี้ปัญหาที่หนักที่สุดคือปัญหาที่ภาคเอกชนหดหายไปเป็นจำนวนมาก สัดส่วนของการลงทุนของภาคเอกชน ก่อนเกิดวิกฤติการณ์กับหลังเกิดวิกฤติการณ์ ที่มีต่อรายได้ประชาชาตินั้นต่างกันลิบลับ ธุรกิจเอกชนในวันนี้ต้องการเงินทุน ต้องการ Equity ไม่ได้แพ้ความต้องการสภาพคล่องและสินเชื่อ แต่จะเอาทุนมาจากไหน ส่วนหนึ่งคือตลาดทุนหรือตลาดหุ้น อีกส่วนหนึ่งจากนักลงทุนต่างประเทศ ถ้าตราบใดที่ธุรกิจของเราไม่มีความโปร่งใส ไม่มีระบบธรรมภิบาล ไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนต่างประเทศ เราอย่าหวังว่าต่างประเทศจะเข้ามาลงทุน การบริหารการจัดการเชิงศรีธนญชัยเลิกคิดได้แล้วในอนาคตข้างหน้า ความคิดที่จะมีเพียงแค่ตกแต่งบัญชี เอาบริษัทเข้าจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ เสร็จแล้วลอกคราบออกมาแสวงหาความร่ำรวยส่วนตัว อันนี้ผลมันเป็นที่ประจักษ์แล้ว หลังจากผ่านไป 10 ปี ประเทศไทยวันนี้ถึงได้เป็นอย่างนี้ ตลาดทุนที่เคยถูก Abused บิดเบือน วันนี้ก็รับผลในสิ่งที่เกิดขึ้น จาก 10 กว่าปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินที่ขาดความละเอียดอ่อน เข้มข้นในการปล่อยสินเชื่อ วันนี้ก็ได้รับบทเรียนจากสิ่งที่เกิดที่ผ่านมา ฉะนั้นวันนี้เมืองไทยทั้งประเทศได้รับบทเรียนจากสิ่งที่ผ่านมา และเราจะไม่กระทำความผิดซ้ำสอง ฉะนั้นภารกิจเหล่านี้จึงไม่ใช่สิ่งที่ง่ายๆ มันไม่ง่ายเลยที่บอกว่า คณะกรรมการ บสท. และทีมผู้บริหารจะต้องเร่งปรับโครงสร้างกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้ เน้น Speed เป็นหลัก ในขณะที่ต้องระมัดระวังให้มีความรอบคอบ มันไม่ง่ายเลยสำหรับ บสท. ที่ในด้านหนึ่งจะต้องกล้าตัดสินใจกระทำบางสิ่งในบ้างครั้งเพื่อให้การนั้นสำเร็จลุล่วง ในขณะที่เผชิญกับแรงกดดันที่ว่าจะต้องมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ เส้นแบ่งเขตแดนอยู่ตรงไหน ไม่มีใครขีดเส้น
แต่ผมอยากกราบเรียนเพื่อให้เกิดความสบายใจว่า ขอให้คณะกรรมการ บสท. คณะกรรมการบริหาร และทีมงาน ขอให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ ตราบใดที่ผมอยู่ที่กระทรวงการคลังจะไม่มีการบอกว่าถ้าทำผิดแล้วจะมาลงโทษติดคุก ถ้าคิดอย่างนั้น ต่อไปข้างหน้าจะไม่เคยมีใครมาคิดทำงานเพื่อประเทศชาติอีกต่อไป ขอให้สบายใจ ฉะนั้นขอให้กล้าตัดสินใจ ถือว่าอันนี้เป็นหน้าที่ แต่ว่าขออย่างเดียว คือให้การทำงานนั้นตั้งอยู่บนจริยธรรม ตั้งอยู่บนจรรยาบรรณ ท่านก็ทราบอำนาจมหาศาลอยู่ในมือของ บสท. แต่อำนาจอันนั้นจะต้องควบคู่ไปกับความชอบธรรมด้วย ต้องมีความสมดุลกัน ฉะนั้นทั้งประธานกรรมการ ทั้งประธานกรรมการบริหาร ทั้งคณะกรรมการ บสท. จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในสิ่งนี้ ผมเข้าใจความรู้สึกของท่านกรรมการและทีมงานดี จริงแล้วๆ งานนี้ไม่มีใครอยากมาแบกนักหรอก เพราะมันคือภารกิจที่ยิ่งใหญ่ มีแต่ความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ ทำดีเสมอตัว ทำไม่ดีจะถูกตำหนิ แต่ผมอยากจะกราบเรียนท่านอย่างนี้ว่า สิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นหน้าที่ เป็นความรับผิดชอบ
เมื่อวันแรกที่ผมเข้ามารับตำแหน่งในกระทรวงการคลัง ผมคิดอย่างเดียวว่า ผมมาช่วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ช่วยทำงานให้ดีที่สุด เพราะวันนี้ปัญหาของประเทศมีอยู่มาก จริงๆ แล้ว ชีวิตของผมก็สบายดีอยู่แล้ว แต่ก็อาสาเข้ามาทำงาน ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็เช่นกัน มันเป็นความรับผิดชอบของคนที่มีความรับผิดชอบ วันนี้ถ้าแต่ละคนต่างหันหลังซึ่งกันและกัน ไม่เอาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ประเทศนั้นยากที่จะไปรอด หนี้สินจำนวน 2.8 ล้านล้าน กับภาวะข้างหน้านั้นมันหนักหน่วง ภาวการณ์ข้างหน้าทุกคนก็รู้ว่าไม่ธรรมดาเลย
เมื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีต้องการให้ผมดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ควบคู่กับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ความรู้สึกผมเหมือนเดิมก็คือมาเพราะหน้าที่ มาเพราะภารกิจ มาเพื่อช่วย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาของประเทศชาติ จะทำให้ดีที่สุด ฉะนั้น ผมก็ขอให้กำลังใจกับกรรมการ บสท. กับทีมงานและต้องขอขอบคุณ ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถาบันการเงิน ทั้งเอกชนและภาครัฐที่ได้ร่วมกันผลักดันให้ บสท. นั้นเกิดขึ้นมาในวันนี้ ขอได้รับความขอบคุณและความเคารพจากกระผมเต็มห้องหัวใจของผม ผมไม่รู้จะตอบแทนท่านได้อย่างไร แต่อยากกราบเรียนว่า ขอให้ช่วยกระผมและท่านนายกฯ ทำ บสท. ให้ดีที่สุด รักษาทรัพย์สินนับล้านๆ บาทให้อย่างมีคุณค่าอยู่ และงานนี้ไม่ใช่งานแรก ข้างหน้านั้นยังมีอีกหลายๆ งานทีเดียว ผมจะต้องหาคนที่ดี คนที่มีความรับผิดชอบ เข้ามาช่วยอีกเยอะ เพราะข้างหน้างานหนักๆ ยังมีอีกมาก รัฐบาลชุดนี้ไม่เคยท้อถอย รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่เคยท้อแท้ คำว่า "ถอดใจ" ไม่เคยมีอยู่ในพจนานุกรมของคนที่ชื่อสมคิด ฉะนั้น ผมขอให้ทุกท่านร่วมกับผมช่วยเหลือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีกู้เศรษฐกิจของประเทศด้วย ขอบคุณครับ
_________________________
* เนื่องในพิธีลงนามสัญญาโอนสินทรัพย์ ระหว่างบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กับสถาบันการเงิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ จำนวน 29 แห่ง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุชาวรรณ วงศ์ทองมาก : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-