ข่าวในประเทศ
1. ก.คลังติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด รมว.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังได้ติดตามค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้เป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาค และจากการที่เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น หากพิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับเงินเยน จะเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจุดเสถียรภาพจะอยู่ที่ระดับใด เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะเดียวกัน นางธัญญา ศิริเวทิน รองผู้ว่าการ ธปท.ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ที่สิงคโปร์เมื่อ 28 ก.ค.43 ว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงแต่อย่างใด ไม่ว่าจะดูจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ดัชนีการบริโภค และภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ต้องการเห็นค่าเงินบาทความเคลื่อนไหวเร็วเกินไปไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (กรุงเทพธุรกิจ 29)
2. ธปท.กล่าวว่าขณะนี้สถาบันการเงินในภาพรวมไม่มีปัญหาแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มองว่าภาคการเงินของไทยยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่นั้นคงต้องยอมรับ เนื่องจากสถาบันการเงินยังปัญหาเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดเอ็นพีแอล และมีผลให้การปล่อยสินเชื่อมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วของสถาบันการเงินไม่มีปัญหาอะไร สถาบันการเงินสามารถเพิ่มทุนหรือกันสำรองได้ตามที่ทางการกำหนดไว้ โดยในงวดกลางปี 43 นี้ ธปท.กำหนดให้ต้องสำรองให้ครบร้อยละ 80 และในช่วงสิ้นปีต้องกันสำรองให้ครบร้อยละ 100 กรณีที่ว่าหากเศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัวตามที่ได้ประมาณการไว้ จะทำให้มีปัญหาเอ็นพีแอลตามมาอีก ส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระต้องกันสำรองมากขึ้นนั้น ธปท.เห็นว่าไม่น่ามีปัญหาเนื่องจากเอ็นพีแอลที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีก่อนประเทศเกิดปัญหาวิกฤต และสถาบันการเงินได้กันสำรองไว้รองรับหมดแล้ว สำหรับการปล่อยสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังของปี 43 จะชะลอลง เพราะเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวมากนัก ประกอบกับภาคเอกชนมีการออกหุ้นกู้ระดมทุนเอง ทำให้สถาบันการเงินต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่งก่อนที่จะทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม (วัฏจักร 31)
3. กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถหักหนี้ ปรส.จากเงินที่นำฝาก ธปท. นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินยืนยันว่ากองทุนฟื้นฟูฯ สามารถหักกลบหนี้จากเงินที่ ปรส. นำมาฝากไว้ที่ ธปท.ประมาณ 1 แสน ล.บาทจากจำนวนเงินทั้งหมดที่ ปรส.ต้องชำระคืนหนี้จากการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง จำนวน 2.2 แสน ล.บาท ในฐานะที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ถึงร้อยละ 85 ของมูลหนี้ทั้งหมด (แนวหน้า,เดลินิวส์ 31)
4. รมว.คลังพักงานรองผู้ว่าการ ธปท. รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล รองผู้ว่าการ ธปท. ลาพักร้อนโดยไม่มีกำหนด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา หลังจากที่ตำรวจเศรษฐกิจตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันโดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาแลกเงินจากบริษัทในเครือบริษัทเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ธปท.กล่าวโทษร้องทุกข์เมื่อปลายปี 42 เพื่อรอผลการพิจารณาคดีให้เป็นที่สิ้นสุดก่อน (เดลินิวส์ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 ก.ค. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขปรับใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสแรกปี 43 และตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่าจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 3.8 ซึ่งทำให้ ธ. กลางยังคงมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนต่อไป ทั้งนี้ GDP ที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงเกื้อหนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งการลงทุนของธุรกิจและการผลิตสินค้าคงคลัง ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสแรกปี 43 John Canavan นักเศรษฐศาสตร์แห่ง Stone and McCarthy กล่าวว่า แม้ตัวเลข GDP โดยรวมของ สรอ. จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ชะลอตัวลง ซึ่งจะบรรเทาความกังวลของ ธ. กลางลงได้ โดยราคาการใช้จ่ายของผู้บริโภคส่วนบุคคลในไตรมาสที่ 2 ปี 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์ 28)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 สำนักงานบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ กล่าวว่า อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับที่สูง และจำเป็นต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยอัตราการว่างงานเคยสูงถึงร้อยละ 4.9 ในเดือน ก.พ. - มี.ค. 43 และได้ชะลอลงหลังจากนั้น ถึงอย่างไรก็ยังพบว่ามีสัญญาณในทางที่ดีขึ้นสำหรับการจ้างงาน โดยจำนวนคนว่างงานลดลงติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 2 และจำนวนผู้ที่ออกจากงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ส่วนค่าจ้างเงินเดือนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ก.แรงงาน รายงานว่า มีอัตราการรับเข้าทำงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59 ในเดือน มิ.ย. จากร้อยละ 56 ในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 28)
3. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ของ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ก.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ในเดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 52.3 จากระดับ 51.8 ในเดือน มิ.ย. 43 ซึ่งดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัว ทั้งนี้ Nationational Association of Purchasing Managers จะประกาศตัวเลขดัชนีฯในวันอังคารที่ 1 ส.ค. 43 ซึ่งจะเป็นดัชนีที่สำคัญตัวหนึ่งที่ นายอลัน กรีนสแปน ประธาน ธ. กลาง สรอ. ได้ส่งสัญญาณแก่นักกฎหมายเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า เขาต้องการตัวเลขทางเศรษฐกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นการตัดสินใจว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในขณะนี้เพียงพอที่จะควบคุมเงินเฟ้อหรือไม่ (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.ค. 43 41.145 (40.985)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณสิ้นวันทำการ28 ก.ค.43 ซื้อ 40.9047 (40.8634) ขาย 41.2166 (41.1553)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.08 (25.45)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังติดตามความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด รมว.คลังเปิดเผยว่า ก.คลังได้ติดตามค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้เป็นไปตามค่าเงินในภูมิภาค และจากการที่เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้น หากพิจารณาค่าเงินบาทเทียบกับเงินเยน จะเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าจุดเสถียรภาพจะอยู่ที่ระดับใด เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะเดียวกัน นางธัญญา ศิริเวทิน รองผู้ว่าการ ธปท.ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ที่สิงคโปร์เมื่อ 28 ก.ค.43 ว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงแต่อย่างใด ไม่ว่าจะดูจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ดัชนีการบริโภค และภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่ต้องการเห็นค่าเงินบาทความเคลื่อนไหวเร็วเกินไปไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน (กรุงเทพธุรกิจ 29)
2. ธปท.กล่าวว่าขณะนี้สถาบันการเงินในภาพรวมไม่มีปัญหาแล้ว นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มองว่าภาคการเงินของไทยยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่นั้นคงต้องยอมรับ เนื่องจากสถาบันการเงินยังปัญหาเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อลดเอ็นพีแอล และมีผลให้การปล่อยสินเชื่อมีไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวมแล้วของสถาบันการเงินไม่มีปัญหาอะไร สถาบันการเงินสามารถเพิ่มทุนหรือกันสำรองได้ตามที่ทางการกำหนดไว้ โดยในงวดกลางปี 43 นี้ ธปท.กำหนดให้ต้องสำรองให้ครบร้อยละ 80 และในช่วงสิ้นปีต้องกันสำรองให้ครบร้อยละ 100 กรณีที่ว่าหากเศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัวตามที่ได้ประมาณการไว้ จะทำให้มีปัญหาเอ็นพีแอลตามมาอีก ส่งผลให้สถาบันการเงินมีภาระต้องกันสำรองมากขึ้นนั้น ธปท.เห็นว่าไม่น่ามีปัญหาเนื่องจากเอ็นพีแอลที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นเอ็นพีแอลที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีก่อนประเทศเกิดปัญหาวิกฤต และสถาบันการเงินได้กันสำรองไว้รองรับหมดแล้ว สำหรับการปล่อยสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังของปี 43 จะชะลอลง เพราะเศรษฐกิจยังไม่ขยายตัวมากนัก ประกอบกับภาคเอกชนมีการออกหุ้นกู้ระดมทุนเอง ทำให้สถาบันการเงินต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่งก่อนที่จะทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม (วัฏจักร 31)
3. กองทุนฟื้นฟูฯ สามารถหักหนี้ ปรส.จากเงินที่นำฝาก ธปท. นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินยืนยันว่ากองทุนฟื้นฟูฯ สามารถหักกลบหนี้จากเงินที่ ปรส. นำมาฝากไว้ที่ ธปท.ประมาณ 1 แสน ล.บาทจากจำนวนเงินทั้งหมดที่ ปรส.ต้องชำระคืนหนี้จากการขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง จำนวน 2.2 แสน ล.บาท ในฐานะที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ถึงร้อยละ 85 ของมูลหนี้ทั้งหมด (แนวหน้า,เดลินิวส์ 31)
4. รมว.คลังพักงานรองผู้ว่าการ ธปท. รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล รองผู้ว่าการ ธปท. ลาพักร้อนโดยไม่มีกำหนด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา หลังจากที่ตำรวจเศรษฐกิจตั้งข้อกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันโดยรับซื้อลดตั๋วสัญญาแลกเงินจากบริษัทในเครือบริษัทเอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ธปท.กล่าวโทษร้องทุกข์เมื่อปลายปี 42 เพื่อรอผลการพิจารณาคดีให้เป็นที่สิ้นสุดก่อน (เดลินิวส์ 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 ก.ค. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นจากตัวเลขปรับใหม่ที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสแรกปี 43 และตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่าจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 3.8 ซึ่งทำให้ ธ. กลางยังคงมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนต่อไป ทั้งนี้ GDP ที่เพิ่มขึ้นได้รับแรงเกื้อหนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งการลงทุนของธุรกิจและการผลิตสินค้าคงคลัง ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสแรกปี 43 John Canavan นักเศรษฐศาสตร์แห่ง Stone and McCarthy กล่าวว่า แม้ตัวเลข GDP โดยรวมของ สรอ. จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ชะลอตัวลง ซึ่งจะบรรเทาความกังวลของ ธ. กลางลงได้ โดยราคาการใช้จ่ายของผู้บริโภคส่วนบุคคลในไตรมาสที่ 2 ปี 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์ 28)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.ค. 43 สำนักงานบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ กล่าวว่า อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับที่สูง และจำเป็นต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยอัตราการว่างงานเคยสูงถึงร้อยละ 4.9 ในเดือน ก.พ. - มี.ค. 43 และได้ชะลอลงหลังจากนั้น ถึงอย่างไรก็ยังพบว่ามีสัญญาณในทางที่ดีขึ้นสำหรับการจ้างงาน โดยจำนวนคนว่างงานลดลงติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 2 และจำนวนผู้ที่ออกจากงานลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ส่วนค่าจ้างเงินเดือนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ก.แรงงาน รายงานว่า มีอัตราการรับเข้าทำงานเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 59 ในเดือน มิ.ย. จากร้อยละ 56 ในเดือน พ.ค. 43 (รอยเตอร์ 28)
3. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ของ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ก.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ในเดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 52.3 จากระดับ 51.8 ในเดือน มิ.ย. 43 ซึ่งดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัว ทั้งนี้ Nationational Association of Purchasing Managers จะประกาศตัวเลขดัชนีฯในวันอังคารที่ 1 ส.ค. 43 ซึ่งจะเป็นดัชนีที่สำคัญตัวหนึ่งที่ นายอลัน กรีนสแปน ประธาน ธ. กลาง สรอ. ได้ส่งสัญญาณแก่นักกฎหมายเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า เขาต้องการตัวเลขทางเศรษฐกิจดังกล่าวเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นการตัดสินใจว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในขณะนี้เพียงพอที่จะควบคุมเงินเฟ้อหรือไม่ (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 28 ก.ค. 43 41.145 (40.985)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณสิ้นวันทำการ28 ก.ค.43 ซื้อ 40.9047 (40.8634) ขาย 41.2166 (41.1553)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.08 (25.45)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-