สภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม
สาธารณรัฐเคปเวิร์ดจัดว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด(Lease Developed Country) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประสบกับความแห้งแล้ง
และอดอยากอยู่เนืองๆ พืชผลทางการเกษตรผลิตได้ไม่พอเพียงภายในประเทศต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เคปเวิร์ดนับเป็นหนึ่งใน
สมาชิกของกลุ่มประเทศ ACP (Africa- Caribean-Pacific) ซึ่งได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาโลเม่ (La Convention de Lome) กับประชาคม
ยุโรป ในอนุ-สัญญาดังกล่าวได้ให้สิทธิพิเศษต่อประเทศในกลุ่ม ACP ในการส่งสินค้าไปยังประชาคมยุโรปได้โดยไม่มีข้อกีดกันและอุปสรรคทางการค้า รวม
ทั้งได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากประเทศสมาชิกของประชาคมยุโรปด้วย
ในปี ค.ศ. 1996 ประชาชนเคปเวิร์ดมีรายได้ต่อบุคคลเฉลี่ยปีละ 1,090 เหรียญสหรัฐฯ (ในขณะที่เซเน-กัลมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลปีละ
560 เหรียญสหรัฐฯ)1/ เคปเวิร์ดมีรายได้ประชาชาติอยู่ที่ 437 ล้านเหรียญฯ (ค.ศ. 1998) มีหนี้สิน 220 ล้านเหรียญฯ (ค.ศ. 1997) ในช่วง
ระหว่างปี ค.ศ. 1995-1997 เคปเวิร์ดมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างคงที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 (ในขณะที่เซเนกัลมีอัตราการเจริญเติบโต
ร้อยละ 4.1) และร้อยละ 5.6 ในปี ค.ศ. 1998 อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเคปเวิร์ดนี้ก็มิได้เป็นการยืนยันถึงความสำเร็จ
ในการพัฒนาประเทศได้มากนัก ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่เงินรายได้ส่วนหนึ่งของเคปเวิร์ดมาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และเงินที่ชาวเคปเวิร์ด
ที่อยู่ในต่างประเทศโอนเข้ามาในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของเคปเวิร์ดยังคงอยู่ในฐานะที่ยากจน ประชาชนร้อยละ 30 มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 500
เหรียญสหรัฐฯต่อปี และในจำนวนนี้ร้อยละ 15 มีรายได้ต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯต่อปี ปัญหาความยากจนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตชนบทซึ่งประสบความ
แห้งแล้งและถูกทอดทิ้ง รายได้ประชาชาติมากกว่าร้อยละ 60 มาจากภาคบริการ โดยมีการจ้างงานร้อยละ 41 ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน
มากกว่าร้อยละ 30 แต่ทำรายได้ให้ประเทศได้เพียงร้อยละ 12 เท่านั้น
ผลผลิตและรายได้ที่สำคัญของประเทศ
รายได้ประชาชาติ (GDP) ของเคปเวิร์ดเกิดจากผลผลิตแบ่งตามภาคการผลิตได้ดังนี้.-
ภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 17.8
ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 18.8
ภาคบริการ คิดเป็นร้อยละ 63.4
1/ ข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionaire)
ภาคเกษตรกรรม (Secteur Primaire)
การเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 15.1)
เคปเวิร์ดมีพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกได้น้อย คือ มีเพียงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้แรงงานในภาค
เกษตรกรรมมากถึงร้อยละ 53
ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ กล้วย อ้อย น้ำตาล และพืชผักต่างๆ เคปเวิร์ดผลิตอาหารได้ไม่พอเพียงภายใน
ประเทศ 4 ส่วนใน 5 เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ถั่ว ข้าวโพด และมันฝรั่ง
นอกจากนี้ เคปเวิร์ดยังมีการเพาะปลูกองุ่นและกาแฟ โดยเฉพาะที่เกาะ Fogo สำหรับการเพาะปลูกองุ่นนั้นได้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรรม
รวม 28 ราย และโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรของอิตาลีได้เริ่มมีการทดลองผลิตเหล้าองุ่นด้วย มีผลผลิตปีละประมาณ 5,000 ลิตร
ส่วนกาแฟมีการปลูกกาแฟพันธุ์ซาอุดีอารเบีย เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับภูมิอาการของเคปเวิร์ด ได้มีการเปิดโรงงานคั่วกาแฟและบรรจุถุงโดยได้
รับความร่วมมือจากรัฐบาลอิตาลีเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 มีผลผลิตประมาณปีละ 50,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ทั้งการผลิตองุ่น เหล้าองุ่น
และกาแฟของเคปเวิร์ดนั้นเป็นการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น ไม่พอเพียงสำหรับการส่งออก
ในส่วนของการเลี้ยงสัตว์ เคปเวิร์ดมีการเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นนับจากปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ประมาณว่ามีการเลี้ยงแพะจำนวน 137,000
ตัว หมูจำนวน 111,000 ตัว สำหรับในปี ค.ศ. 19962/ มีการเลี้ยงหมูจำนวน 640,000 ตัว และวัวจำนวน 22,000 ตัว การประมง (ร้อยละ 2.8)
เมื่อพิจารณาดูสภาพภูมิประเทศที่มีทะเลล้อมรอบแล้ว เคปเวิร์ดนับว่ายังมีการทำการประมงอยู่น้อยมาก และเป็นการทำการประมงลักษณะพื้น
บ้านโดยมีผลผลิตต่อปีไม่เกิน 10,000 ตัน ในขณะที่มีการประเมินกันว่าเคปเวิร์ดสามารถมีศักยภาพด้านการประมงมากถึง 40,000 ตันต่อปี
เคปเวิร์ดมีผู้ประกอบอาชีพประมงประมาณ 5,000 คน มีเรือประมง 1,500 ลำ ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 เป็นเรือที่ติดเครื่องยนต์ ผลผลิตร้อย
ละ 60 ใช้บริโภคภายในประเทศ
สำหรับการประมงประเภทอุตสาหกรรมหรือกึ่งอุตสาหกรรม เคปเวิร์ดมีเรือที่จดทะเบียนจำนวน 64 ลำ ใช้ชาวประมงจำนวน 500 คน
ผลผลิตเกือบทั้งหมดเพื่อการส่งออก ที่สำคัญได้แก่ ปลาทูน่า และกุ้ง (Lobster)
ปัญหาสำคัญของเคปเวิร์ด คือ การถูกลักลอบเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำ ทำให้รัฐบาลพยายามสร้างกองกำลังนาวีเพื่อปราบปราม โดย
ให้ความสำคัญทางกำลังรบด้านนาวีมากกว่ากำลังรบทางบก
ภาคอุตสาหกรรม (Secteur Secondaire)
เคปเวิร์ดยังมีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมอยู่น้อยมาก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มมากขึ้นได้ ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่
การผลิตเบียร์ แป้ง ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาบรรจุกระป๋อง และปลาแช่แข็ง
สำหรับภาคอุตสาหกรรมในสาขาอื่น ๆ ของเคปเวิร์ดที่สำคัญ ได้แก่ กิจการก่อสร้างอาคาร และงานสาธารณะ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและ
รองเท้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวโปรตุเกสและมีที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ที่เมือง Mindelo
2/ Source : Atlas de l' Afrique, Les Edition du Jaguar, 2e Edition, 2000, p.90
ภาคบริการ (Secteur Tertiaire)
การท่องเที่ยว
การบริการการท่องเที่ยวนับว่ามีบทบาทที่สำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจของเคปเวิร์ด โดยรัฐบาลได้กำหนดเป็นแผนของรัฐในการพัฒนาการ
ท่องเที่ยว ปัจจุบันเคปเวิร์ดมีโรงแรมและที่พักรวมประมาณ 86 แห่ง มีเตียงรวมประมาณ 4,000 เตียง ส่วนใหญ่อยู่บนเกาะ Sal
(มากกว่าร้อยละ 40) เกาะ Santiago (ร้อยละ 30) และเกาะ Sao Vicente (ร้อยละ 14)
ในปี ค.ศ. 1998 มีจำนวนผู้เข้าพักอาศัยโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณร้อยละ 80 ของจำนวนห้องพัก อย่างไรก็ตามยังถือได้ว่าเคปเวิร์ดยังมี
โรงแรมที่พักไม่พอเพียงที่จะรองรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งนับเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของเคปเวิร์ด ในปี ค.ศ. 1998 เคปเวิร์ดมีนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปีประมาณ 52,000 คน และทำรายได้เข้าประเทศประมาณ 17 ล้านเหรียญฯ
2/ รัฐบาลเคปเวิร์ดได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโรงแรมที่พักให้มีมากขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 400,000 คนต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2008
การบริการขนส่ง
การให้บริการของการท่าเรือของเคปเวิร์ด รวมทั้งการให้บริการของสนามบินนานาชาติของเคปเวิร์ด เช่น ในด้านการซ่อมบำรุงเรือและ
เครื่องบิน การให้บริการด้านเชื้อเพลิง นับเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของเคปเวิร์ด
นอกจากนี้ การที่เคปเวิร์ดมีสายการบินแห่งชาติเป็นของตนเอง คือ TACV (Transports Aeriens de Cap Vert) ซึ่งเป็นสายการบินที่
มีภาพพจน์ที่ดีบริษัทหนึ่งของแอฟริกาในด้านการให้บริการและการตรงต่อเวลา นับเป็นที่มาของรายได้ของเคปเวิร์ดอีกประการหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าในเวลา
ต่อมาจะมีสายการบิน IIA (Inter Islands International Airlines) ซึ่งเป็นสายการบินของเอกชนขึ้นมาเป็นคู่แข่งก็ตาม ทั้งนี้เพราะ
สายการบิน IIA จึงเป็นเพียงสายการบินที่ให้บริการเสริมในเส้นทางบินภายในประเทศในบางจุดที่มีผู้โดยสารหนาแน่นเท่านั้น
การธนาคารและการประกันภัย
ในส่วนภาคบริการด้านการเงินการธนาคารและการประกันภัย รัฐบาลเคปเวิร์ดมีนโยบายให้ดำเนินการโดยภาคเอกชน (Privatization)
โดยรัฐบาลเคปเวิร์ดได้ขายหุ้นให้กับกลุ่มบริษัทของโปร์ตุเกสที่สำคัญมีดังนี้.-
- กลุ่ม Caix Geral de Depositos ซื้อหุ้นในธนาคารต่างๆ ดังต่อไปนี้.-
- Banco Central do Atlantico ร้อยละ 52.5
- Garantia ร้อยละ 45.9
- A Promotora ร้อยละ 40
- กลุ่ม Montepio Portugais ซื้อหุ้นในธนาคาร Caixa Economica de Cabo Verde จำนวนร้อยละ 40
การค้าระหว่างประเทศของเคปเวิร์ด
เคปเวิร์ดประสบกับปัญหาขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าทุกชนิดทั้งประเภทอุปโภคและบริโภคเคปเวิร์ดผลิต
ได้ไม่พอเพียงร้อยละ 80 ของสินค้าในประเทศซึ่งรวมทั้งอาหารและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เป็นสินค้านำเข้าทั้งสิ้น โดยในปี ค.ศ. 1997 สินค้านำเข้า
ของเคปเวิร์ดมีมูลค่ารวม 220 ล้านเหรียญฯ มีมูลค่าสินค้าออกเพียง 43 ล้านเหรียญฯ ในขณะที่รายได้ประชาชาติรวมของเคปเวิร์ดในปี ค.ศ.
1998 เท่ากับ 437 ล้านเหรียญฯ2/ มูลค่าสินค้าเข้า สินค้าออก และจำนวนที่ขาดดุลการค้า นับจากปี ค.ศ. 1993 ถึงปี ค.ศ. 1999 ปรากฏใน
ตารางข้างล่างนี้3/
หน่วย : ล้านเอสคูโด
ปี (ค.ศ.) 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999
สินค้าเข้า 12,387 17,113 19,394 19,355 21,763 22,597 26,915
สินค้าออก 312 408 687 1,046 1,295 1,016 1,170
ขาดดุลการค้า 12,075 16,705 18,707 18,309 20,468 21,581 25,745
ประเทศคู่ค้าและสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของเคปเวิร์ด
สินค้านำเข้าและประเทศคู่ค้า : ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ ประเทศในประชาคมยุโรป จะเห็นได้ว่าในปี ค.ศ. 1999
สินค้าเข้าจากยุโรปมีมูลค่ารวม 20,503 ล้านเอสคูโด คิดเป็นร้อยละ 76.2 ของมูลค่าสินค้าเข้าทั้งหมด (เฉพาะจากประเทศโปรตุเกส มีมูลค่าสินค้า
คิดเป็นร้อยละ 45.8 รองลงมาได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 8.5) สินค้าเข้าร้อยละ 8.4 มาจากทวีปอเมริกา (ร้อยละ 5.2 มาจากสหรัฐฯ)
ร้อยละ 10.6 มาจากทวีปเอเซีย (ร้อยละ 5.2 มาจากญี่ปุ่น) ร้อยละ 3.6 มาจากทวีปแอฟริกา มูลค่าสินค้าเข้าของเคปเวิร์ดที่นำเข้าจากทวีปต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1998 และ 1999 ปรากฎรายละเอียดในตารางข้างล่าง ดังนี้3/
หน่วย : ล้านเอสคูโด
ปี (ค.ศ.) 1998 1999
มูลค่า ร้อยละ มูลค่า ร้อยละ
ยุโรป 17,796 78.8 20,503 76.2
สหรัฐอเมริกา 2,131 9.4 2,253 8.4
แอฟริกา 644 2.8 963 3.6
เอเซีย 1,694 7.5 2,864 10.6
ที่อื่น ๆ 332 1.5 332 1.2
รวม 22,597 100 26,915 100
สินค้านำเข้าที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง, ปูนซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า, ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ในส่วนการนำเข้าข้าวของเคปเวิร์ด นอกเหนือจากข้าวโพดและถั่ว ชนิดของข้าวที่นำเข้า ได้แก่
ข้าว 100% แป้งข้าว ข้าวหัก ในปี ค.ศ. 1999 เคปเวิร์ดนำเข้าข้าวจำนวนทั้งสิ้น 27,780 ตัน โดยนำเข้าจากประเทศไทย (5,792 ตัน) ส่วนใหญ่
เป็นข้าวชนิด 100% บี. จากจีนและอินเดีย (75 ตัน) จากเวียดนาม (10,502 ตัน) จากญี่ปุ่น (3,073 ตัน) และจากปากีสถาน 1/
3/ Bulletin "Estatisticas do Comercio Externo" ของกระทรวงพาณิชย์ของเคปเวิร์ด ซึ่งจัดทำโดย
สถาบันสถิติแห่งชาติของเคปเวิร์ด ฉบับปี ค.ศ. 1999
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเคปเวิร์ด เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 ความสัมพันธ์ระหว่างกันราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ
ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล มีเขตอาณาครอบคลุมเคปเวิร์ด และโดยที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง
ดาการ์ ไม่มีสำนักงานพาณิชย์ของไทยตั้งอยู่ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงทำหน้าที่ดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้ากับเคปเวิร์ดในขณะเดียวกันด้วย
ในส่วนของเคปเวิร์นั้น ในขณะนี้ยังมิได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทย หรือมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแห่งใดมีเขตอาณา
ครอบคลุมประเทศไทย คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้เคปเวิร์ดจะทำการเปิดสถานเอกอัครราชทูตแห่งใหม่ที่กรุงปักกิ่ง และจะให้มีเขตอาณาครอบคลุมถึง
ประเทศไทยด้วย
เคปเวิร์ดเป็นประเทศที่ไทยกำหนดให้อยู่ในโครงการความช่วยเหลือของไทย (Thai Aid Programme) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือใน
รูปทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญและเป็นที่ต้องการชองประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่
สาขาการเกษตร สาธารณสุข และการศึกษา
ปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างไทยและเคปเวิร์ดยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่สม่ำเสมอ โดยส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า
สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว สับปะรดกระป๋อง เนื้อปลาแบบฟิลเลต์แช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สินค้าเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ ยางไอโซบิวทิน และไอโซฟริน (บิวทิล) ขั้นปฐม
สถิติการค้าระหว่างไทยและเคปเวิร์ด
หน่วย : ล้านบาท
ปี มูลค่าการค้ารวม ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2539 48.1 33.5 14.6 18.9
2540 14.6 5.9 8.7 -2.8
2541 5.5 3.7 1.8 1.9
2542 43.6 35.2 8.4 26.8
2543 7.3 1.9 5.4 -3.5
สินค้าของไทยที่มีศักยภาพที่จะส่งออกไปยังเคปเวิร์ดได้นอกเหนือจากข้าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปลา หวาย
ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม และเครื่องสำอาง สำหรับสินค้านำเข้าที่ไทยสามารถนำเข้าจากเคปเวิร์ดเพิ่มเติมได้แก่ ปลาทูน่า หูปลาฉลาม น้ำมันปลาฉลาม
เป็นต้น ไทยและเคปเวิร์ดมีแนวโน้มและศักยภาพที่จะพัฒนาขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันโดยเฉพาะด้านการประมงและ
การท่องเที่ยว เช่น ในกิจการโรงแรม เป็นต้น
การส่งเสริมการลงทุนของเคปเวิร์ด
หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเคปเวิร์ด เคปเวิร์ดมีหน่วยงานที่ส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน คือ PROMEX (The Center for
Tourism, Investment, and Promotion) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดุลชำระเงินโดยหา
รายได้เข้าประเทศโดยมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
4/ ที่มา : ศูนย์สถิติการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ
- ส่งเสริมและพัฒนาการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
- ขยายฐานการผลิตของเคปเวิร์ดเพื่อการส่งออก
นักธุรกิจที่สนใจลงทุนในเคปเวิร์ดต้องได้รับอนุญาตโดยติดต่อผ่านทาง PROMEX รวมทั้งอาจขอคำแนะนำปรึกษา และความช่วยเหลือที่จำเป็น
ต่างๆ ได้จาก PROMEX นอกจากนี้ PROMEX ยังทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการเป็นผู้เจรจากับนักลงทุน และเป็นหน่วยปฏิบัติการตามแผนการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวของเคปเวิร์ดด้วย
สิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ จากการลงทุนในด้านต่าง ๆ ในเคปเวิร์ดมีดังนี้.-
- ด้านอุตสาหกรรม เคปเวิร์ดมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อการส่งออกจะได้รับสิทธิพิเศษ ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไรที่ได้เป็นเวลา 10 ปี (หากเกิน 10 ปี เสียภาษีร้อยละ 15)
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าอุปกรณ์และวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป
- ด้านการท่องเที่ยว นักลงทุนในกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าวัสดุเพื่อการก่อสร้างโรงแรม
-- ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพากรในช่วง 5 ปีแรกของการประกอบการ
-- ได้รับส่วนลดภาษีสรรพากร ร้อยละ 50 อีกเป็นระยะเวลา 10 ปีนับจากเมื่อพ้นระยะ 5 ปีแรก
- ด้านการประมง นักลงทุนในกิจการด้านประมงได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าเครื่องยนต์ อะไหล่ และอุปกรณ์
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมง
สภาหอการค้าของเคปเวิร์ด เคปเวิร์ดได้จัดตั้งสภาหอการค้าสูงสุด (Conseil Superieur des Chambre) เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา
และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ และประสานกิจการระหว่างหอการค้าทั้งสองของเคปเวิร์ดอัน ได้แก่
1). สภาหอการค้า Sotavento ตั้งอยู่ที่กรุง Praia บนเกาะ Santiago เป็นหอการค้าที่รับผิดชอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนิน
ธุรกิจของหมู่เกาะที่อยู่ทางด้านใต้ อันได้แก่ เกาะ Brava, Fogo, Santiago และ Maio หอการค้านี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่
ปี ค.ศ. 1997 แต่ได้เริ่มปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 2000 โดยมีสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจจำนวน 300 ราย
2). สภาหอการค้า Barlavento ตั้งอยู่ที่เมือง Mindelo บนเกาะ Sao Vicente เป็นหอการค้าที่รับผิดชอบและให้คำแนะนำเกี่ยว
กับการดำเนินธุรกิจของหมู่เกาะที่อยู่ทางด้านเหนือ อันได้แก่ Santo Antao, Sao Vincente, Sao Nicolau, Sal และ Boa Vista
หอการค้าที่เมือง Mindelo นี้ นับว่ามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะบนเกาะ Sao Vicente ในเมือง
Mindelo มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัยต่อเศรษฐกิจของเคปเวิร์ด และเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่สำคัญของเคปเวิร์ดด้วย มีการจัดงานแสดง
สินค้าเป็นประจำทุกปีที่เมือง Mindelo ทั้งงานแสดงสินค้าด้านอาหาร ด้านบริการต่างๆ รวมทั้งงานแสดงรถยนต์ (27-28 เมษายน) ด้วย
ความร่วมมือระหว่างประเทศและในองค์การระหว่างประเทศ
เคปเวิร์ดเป็นประเทศที่มีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม จากความผูกพันในทางประวัติ- ศาสตร์เคปเวิร์ดมีความใกล้ชิดเป็น
พิเศษกับประเทศโปร์ตุเกสและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปร์ตุเกสเป็นภาษาราชการ สำหรับประเทศในแอฟริกาเคปเวิร์ดมีความใกล้ชิดเป็นพิเสษกับกลุ่ม
ประเทศ PALOP (Pays Africains de Langue Officielle Portugaise) คือ กลุ่ม 5 ประเทศ (Group of Five) ในทวีปแอฟริกาที่
ใช้ภาษาโปร์ตุเกสเป็นภาษาราชการ อันได้แก่ แองโกลา เคปเวิร์ด กินีบิสเซา โมซัมบิก และเซาโตเม และปรินซิเป ในขณะเดีวกัน เคปเวิร์ดก็ได้
เข้าเป็นสมาชิกของ L'Agence de la Francophonie (เดิมคือองค์การ L'Agence de Cooperation Culturelle et Technique-ACCT)
5/ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศสด้วย
นอกจากนี้ สาธารณรัฐเคปเวิร์ดได้เข้าเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับสากล (เช่น องค์การสหประชาชาติ)
และองค์การระดับภูมิภาคอีกหลายองค์การ
ความร่วมมือในกรอบองค์การสหประชาชาติ
เคปเวิร์ดเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรที่อยู่ภายใต้สหประชาชาติ (Subsidiary Organ) อาทิเช่น
6/ - UNCTAD - United Nations Conference on Trade and Development
- ITC - International Trade Center UNCTAD-WTO
- ECA - United Nations Economic Commission for Africa
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-
สาธารณรัฐเคปเวิร์ดจัดว่าอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด(Lease Developed Country) เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประสบกับความแห้งแล้ง
และอดอยากอยู่เนืองๆ พืชผลทางการเกษตรผลิตได้ไม่พอเพียงภายในประเทศต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เคปเวิร์ดนับเป็นหนึ่งใน
สมาชิกของกลุ่มประเทศ ACP (Africa- Caribean-Pacific) ซึ่งได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาโลเม่ (La Convention de Lome) กับประชาคม
ยุโรป ในอนุ-สัญญาดังกล่าวได้ให้สิทธิพิเศษต่อประเทศในกลุ่ม ACP ในการส่งสินค้าไปยังประชาคมยุโรปได้โดยไม่มีข้อกีดกันและอุปสรรคทางการค้า รวม
ทั้งได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากประเทศสมาชิกของประชาคมยุโรปด้วย
ในปี ค.ศ. 1996 ประชาชนเคปเวิร์ดมีรายได้ต่อบุคคลเฉลี่ยปีละ 1,090 เหรียญสหรัฐฯ (ในขณะที่เซเน-กัลมีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลปีละ
560 เหรียญสหรัฐฯ)1/ เคปเวิร์ดมีรายได้ประชาชาติอยู่ที่ 437 ล้านเหรียญฯ (ค.ศ. 1998) มีหนี้สิน 220 ล้านเหรียญฯ (ค.ศ. 1997) ในช่วง
ระหว่างปี ค.ศ. 1995-1997 เคปเวิร์ดมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างคงที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 (ในขณะที่เซเนกัลมีอัตราการเจริญเติบโต
ร้อยละ 4.1) และร้อยละ 5.6 ในปี ค.ศ. 1998 อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเคปเวิร์ดนี้ก็มิได้เป็นการยืนยันถึงความสำเร็จ
ในการพัฒนาประเทศได้มากนัก ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่เงินรายได้ส่วนหนึ่งของเคปเวิร์ดมาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ และเงินที่ชาวเคปเวิร์ด
ที่อยู่ในต่างประเทศโอนเข้ามาในประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่ของเคปเวิร์ดยังคงอยู่ในฐานะที่ยากจน ประชาชนร้อยละ 30 มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 500
เหรียญสหรัฐฯต่อปี และในจำนวนนี้ร้อยละ 15 มีรายได้ต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯต่อปี ปัญหาความยากจนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตชนบทซึ่งประสบความ
แห้งแล้งและถูกทอดทิ้ง รายได้ประชาชาติมากกว่าร้อยละ 60 มาจากภาคบริการ โดยมีการจ้างงานร้อยละ 41 ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน
มากกว่าร้อยละ 30 แต่ทำรายได้ให้ประเทศได้เพียงร้อยละ 12 เท่านั้น
ผลผลิตและรายได้ที่สำคัญของประเทศ
รายได้ประชาชาติ (GDP) ของเคปเวิร์ดเกิดจากผลผลิตแบ่งตามภาคการผลิตได้ดังนี้.-
ภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 17.8
ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 18.8
ภาคบริการ คิดเป็นร้อยละ 63.4
1/ ข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionaire)
ภาคเกษตรกรรม (Secteur Primaire)
การเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 15.1)
เคปเวิร์ดมีพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกได้น้อย คือ มีเพียงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้แรงงานในภาค
เกษตรกรรมมากถึงร้อยละ 53
ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ กล้วย อ้อย น้ำตาล และพืชผักต่างๆ เคปเวิร์ดผลิตอาหารได้ไม่พอเพียงภายใน
ประเทศ 4 ส่วนใน 5 เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ถั่ว ข้าวโพด และมันฝรั่ง
นอกจากนี้ เคปเวิร์ดยังมีการเพาะปลูกองุ่นและกาแฟ โดยเฉพาะที่เกาะ Fogo สำหรับการเพาะปลูกองุ่นนั้นได้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรรม
รวม 28 ราย และโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรของอิตาลีได้เริ่มมีการทดลองผลิตเหล้าองุ่นด้วย มีผลผลิตปีละประมาณ 5,000 ลิตร
ส่วนกาแฟมีการปลูกกาแฟพันธุ์ซาอุดีอารเบีย เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับภูมิอาการของเคปเวิร์ด ได้มีการเปิดโรงงานคั่วกาแฟและบรรจุถุงโดยได้
รับความร่วมมือจากรัฐบาลอิตาลีเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2000 มีผลผลิตประมาณปีละ 50,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ทั้งการผลิตองุ่น เหล้าองุ่น
และกาแฟของเคปเวิร์ดนั้นเป็นการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น ไม่พอเพียงสำหรับการส่งออก
ในส่วนของการเลี้ยงสัตว์ เคปเวิร์ดมีการเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้นนับจากปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา ประมาณว่ามีการเลี้ยงแพะจำนวน 137,000
ตัว หมูจำนวน 111,000 ตัว สำหรับในปี ค.ศ. 19962/ มีการเลี้ยงหมูจำนวน 640,000 ตัว และวัวจำนวน 22,000 ตัว การประมง (ร้อยละ 2.8)
เมื่อพิจารณาดูสภาพภูมิประเทศที่มีทะเลล้อมรอบแล้ว เคปเวิร์ดนับว่ายังมีการทำการประมงอยู่น้อยมาก และเป็นการทำการประมงลักษณะพื้น
บ้านโดยมีผลผลิตต่อปีไม่เกิน 10,000 ตัน ในขณะที่มีการประเมินกันว่าเคปเวิร์ดสามารถมีศักยภาพด้านการประมงมากถึง 40,000 ตันต่อปี
เคปเวิร์ดมีผู้ประกอบอาชีพประมงประมาณ 5,000 คน มีเรือประมง 1,500 ลำ ในจำนวนนี้ร้อยละ 70 เป็นเรือที่ติดเครื่องยนต์ ผลผลิตร้อย
ละ 60 ใช้บริโภคภายในประเทศ
สำหรับการประมงประเภทอุตสาหกรรมหรือกึ่งอุตสาหกรรม เคปเวิร์ดมีเรือที่จดทะเบียนจำนวน 64 ลำ ใช้ชาวประมงจำนวน 500 คน
ผลผลิตเกือบทั้งหมดเพื่อการส่งออก ที่สำคัญได้แก่ ปลาทูน่า และกุ้ง (Lobster)
ปัญหาสำคัญของเคปเวิร์ด คือ การถูกลักลอบเข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำ ทำให้รัฐบาลพยายามสร้างกองกำลังนาวีเพื่อปราบปราม โดย
ให้ความสำคัญทางกำลังรบด้านนาวีมากกว่ากำลังรบทางบก
ภาคอุตสาหกรรม (Secteur Secondaire)
เคปเวิร์ดยังมีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมอยู่น้อยมาก แต่ก็มีแนวโน้มที่จะมีเพิ่มมากขึ้นได้ ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่
การผลิตเบียร์ แป้ง ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาบรรจุกระป๋อง และปลาแช่แข็ง
สำหรับภาคอุตสาหกรรมในสาขาอื่น ๆ ของเคปเวิร์ดที่สำคัญ ได้แก่ กิจการก่อสร้างอาคาร และงานสาธารณะ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและ
รองเท้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวโปรตุเกสและมีที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ที่เมือง Mindelo
2/ Source : Atlas de l' Afrique, Les Edition du Jaguar, 2e Edition, 2000, p.90
ภาคบริการ (Secteur Tertiaire)
การท่องเที่ยว
การบริการการท่องเที่ยวนับว่ามีบทบาทที่สำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจของเคปเวิร์ด โดยรัฐบาลได้กำหนดเป็นแผนของรัฐในการพัฒนาการ
ท่องเที่ยว ปัจจุบันเคปเวิร์ดมีโรงแรมและที่พักรวมประมาณ 86 แห่ง มีเตียงรวมประมาณ 4,000 เตียง ส่วนใหญ่อยู่บนเกาะ Sal
(มากกว่าร้อยละ 40) เกาะ Santiago (ร้อยละ 30) และเกาะ Sao Vicente (ร้อยละ 14)
ในปี ค.ศ. 1998 มีจำนวนผู้เข้าพักอาศัยโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณร้อยละ 80 ของจำนวนห้องพัก อย่างไรก็ตามยังถือได้ว่าเคปเวิร์ดยังมี
โรงแรมที่พักไม่พอเพียงที่จะรองรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งนับเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของเคปเวิร์ด ในปี ค.ศ. 1998 เคปเวิร์ดมีนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปีประมาณ 52,000 คน และทำรายได้เข้าประเทศประมาณ 17 ล้านเหรียญฯ
2/ รัฐบาลเคปเวิร์ดได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มโรงแรมที่พักให้มีมากขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 400,000 คนต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2008
การบริการขนส่ง
การให้บริการของการท่าเรือของเคปเวิร์ด รวมทั้งการให้บริการของสนามบินนานาชาติของเคปเวิร์ด เช่น ในด้านการซ่อมบำรุงเรือและ
เครื่องบิน การให้บริการด้านเชื้อเพลิง นับเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งของเคปเวิร์ด
นอกจากนี้ การที่เคปเวิร์ดมีสายการบินแห่งชาติเป็นของตนเอง คือ TACV (Transports Aeriens de Cap Vert) ซึ่งเป็นสายการบินที่
มีภาพพจน์ที่ดีบริษัทหนึ่งของแอฟริกาในด้านการให้บริการและการตรงต่อเวลา นับเป็นที่มาของรายได้ของเคปเวิร์ดอีกประการหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าในเวลา
ต่อมาจะมีสายการบิน IIA (Inter Islands International Airlines) ซึ่งเป็นสายการบินของเอกชนขึ้นมาเป็นคู่แข่งก็ตาม ทั้งนี้เพราะ
สายการบิน IIA จึงเป็นเพียงสายการบินที่ให้บริการเสริมในเส้นทางบินภายในประเทศในบางจุดที่มีผู้โดยสารหนาแน่นเท่านั้น
การธนาคารและการประกันภัย
ในส่วนภาคบริการด้านการเงินการธนาคารและการประกันภัย รัฐบาลเคปเวิร์ดมีนโยบายให้ดำเนินการโดยภาคเอกชน (Privatization)
โดยรัฐบาลเคปเวิร์ดได้ขายหุ้นให้กับกลุ่มบริษัทของโปร์ตุเกสที่สำคัญมีดังนี้.-
- กลุ่ม Caix Geral de Depositos ซื้อหุ้นในธนาคารต่างๆ ดังต่อไปนี้.-
- Banco Central do Atlantico ร้อยละ 52.5
- Garantia ร้อยละ 45.9
- A Promotora ร้อยละ 40
- กลุ่ม Montepio Portugais ซื้อหุ้นในธนาคาร Caixa Economica de Cabo Verde จำนวนร้อยละ 40
การค้าระหว่างประเทศของเคปเวิร์ด
เคปเวิร์ดประสบกับปัญหาขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าทุกชนิดทั้งประเภทอุปโภคและบริโภคเคปเวิร์ดผลิต
ได้ไม่พอเพียงร้อยละ 80 ของสินค้าในประเทศซึ่งรวมทั้งอาหารและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เป็นสินค้านำเข้าทั้งสิ้น โดยในปี ค.ศ. 1997 สินค้านำเข้า
ของเคปเวิร์ดมีมูลค่ารวม 220 ล้านเหรียญฯ มีมูลค่าสินค้าออกเพียง 43 ล้านเหรียญฯ ในขณะที่รายได้ประชาชาติรวมของเคปเวิร์ดในปี ค.ศ.
1998 เท่ากับ 437 ล้านเหรียญฯ2/ มูลค่าสินค้าเข้า สินค้าออก และจำนวนที่ขาดดุลการค้า นับจากปี ค.ศ. 1993 ถึงปี ค.ศ. 1999 ปรากฏใน
ตารางข้างล่างนี้3/
หน่วย : ล้านเอสคูโด
ปี (ค.ศ.) 1993 1994 1995 1996 1997 1998 1999
สินค้าเข้า 12,387 17,113 19,394 19,355 21,763 22,597 26,915
สินค้าออก 312 408 687 1,046 1,295 1,016 1,170
ขาดดุลการค้า 12,075 16,705 18,707 18,309 20,468 21,581 25,745
ประเทศคู่ค้าและสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของเคปเวิร์ด
สินค้านำเข้าและประเทศคู่ค้า : ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ ประเทศในประชาคมยุโรป จะเห็นได้ว่าในปี ค.ศ. 1999
สินค้าเข้าจากยุโรปมีมูลค่ารวม 20,503 ล้านเอสคูโด คิดเป็นร้อยละ 76.2 ของมูลค่าสินค้าเข้าทั้งหมด (เฉพาะจากประเทศโปรตุเกส มีมูลค่าสินค้า
คิดเป็นร้อยละ 45.8 รองลงมาได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 8.5) สินค้าเข้าร้อยละ 8.4 มาจากทวีปอเมริกา (ร้อยละ 5.2 มาจากสหรัฐฯ)
ร้อยละ 10.6 มาจากทวีปเอเซีย (ร้อยละ 5.2 มาจากญี่ปุ่น) ร้อยละ 3.6 มาจากทวีปแอฟริกา มูลค่าสินค้าเข้าของเคปเวิร์ดที่นำเข้าจากทวีปต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1998 และ 1999 ปรากฎรายละเอียดในตารางข้างล่าง ดังนี้3/
หน่วย : ล้านเอสคูโด
ปี (ค.ศ.) 1998 1999
มูลค่า ร้อยละ มูลค่า ร้อยละ
ยุโรป 17,796 78.8 20,503 76.2
สหรัฐอเมริกา 2,131 9.4 2,253 8.4
แอฟริกา 644 2.8 963 3.6
เอเซีย 1,694 7.5 2,864 10.6
ที่อื่น ๆ 332 1.5 332 1.2
รวม 22,597 100 26,915 100
สินค้านำเข้าที่สำคัญของเคปเวิร์ด ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง, ปูนซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า, ผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี
เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ในส่วนการนำเข้าข้าวของเคปเวิร์ด นอกเหนือจากข้าวโพดและถั่ว ชนิดของข้าวที่นำเข้า ได้แก่
ข้าว 100% แป้งข้าว ข้าวหัก ในปี ค.ศ. 1999 เคปเวิร์ดนำเข้าข้าวจำนวนทั้งสิ้น 27,780 ตัน โดยนำเข้าจากประเทศไทย (5,792 ตัน) ส่วนใหญ่
เป็นข้าวชนิด 100% บี. จากจีนและอินเดีย (75 ตัน) จากเวียดนาม (10,502 ตัน) จากญี่ปุ่น (3,073 ตัน) และจากปากีสถาน 1/
3/ Bulletin "Estatisticas do Comercio Externo" ของกระทรวงพาณิชย์ของเคปเวิร์ด ซึ่งจัดทำโดย
สถาบันสถิติแห่งชาติของเคปเวิร์ด ฉบับปี ค.ศ. 1999
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเคปเวิร์ด เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 ความสัมพันธ์ระหว่างกันราบรื่นไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ
ฝ่ายไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล มีเขตอาณาครอบคลุมเคปเวิร์ด และโดยที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง
ดาการ์ ไม่มีสำนักงานพาณิชย์ของไทยตั้งอยู่ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงทำหน้าที่ดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้ากับเคปเวิร์ดในขณะเดียวกันด้วย
ในส่วนของเคปเวิร์นั้น ในขณะนี้ยังมิได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตมาประจำประเทศไทย หรือมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตแห่งใดมีเขตอาณา
ครอบคลุมประเทศไทย คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้เคปเวิร์ดจะทำการเปิดสถานเอกอัครราชทูตแห่งใหม่ที่กรุงปักกิ่ง และจะให้มีเขตอาณาครอบคลุมถึง
ประเทศไทยด้วย
เคปเวิร์ดเป็นประเทศที่ไทยกำหนดให้อยู่ในโครงการความช่วยเหลือของไทย (Thai Aid Programme) ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือใน
รูปทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงานในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาที่ไทยมีความชำนาญและเป็นที่ต้องการชองประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่
สาขาการเกษตร สาธารณสุข และการศึกษา
ปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างไทยและเคปเวิร์ดยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่สม่ำเสมอ โดยส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า
สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว สับปะรดกระป๋อง เนื้อปลาแบบฟิลเลต์แช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง และเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สินค้าเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ ยางไอโซบิวทิน และไอโซฟริน (บิวทิล) ขั้นปฐม
สถิติการค้าระหว่างไทยและเคปเวิร์ด
หน่วย : ล้านบาท
ปี มูลค่าการค้ารวม ส่งออก นำเข้า ดุลการค้า
2539 48.1 33.5 14.6 18.9
2540 14.6 5.9 8.7 -2.8
2541 5.5 3.7 1.8 1.9
2542 43.6 35.2 8.4 26.8
2543 7.3 1.9 5.4 -3.5
สินค้าของไทยที่มีศักยภาพที่จะส่งออกไปยังเคปเวิร์ดได้นอกเหนือจากข้าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปลา หวาย
ผลิตภัณฑ์ด้านเกษตรกรรม และเครื่องสำอาง สำหรับสินค้านำเข้าที่ไทยสามารถนำเข้าจากเคปเวิร์ดเพิ่มเติมได้แก่ ปลาทูน่า หูปลาฉลาม น้ำมันปลาฉลาม
เป็นต้น ไทยและเคปเวิร์ดมีแนวโน้มและศักยภาพที่จะพัฒนาขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันโดยเฉพาะด้านการประมงและ
การท่องเที่ยว เช่น ในกิจการโรงแรม เป็นต้น
การส่งเสริมการลงทุนของเคปเวิร์ด
หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของเคปเวิร์ด เคปเวิร์ดมีหน่วยงานที่ส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน คือ PROMEX (The Center for
Tourism, Investment, and Promotion) ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดุลชำระเงินโดยหา
รายได้เข้าประเทศโดยมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
4/ ที่มา : ศูนย์สถิติการพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- ส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ
- ส่งเสริมและพัฒนาการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายในประเทศ
- ขยายฐานการผลิตของเคปเวิร์ดเพื่อการส่งออก
นักธุรกิจที่สนใจลงทุนในเคปเวิร์ดต้องได้รับอนุญาตโดยติดต่อผ่านทาง PROMEX รวมทั้งอาจขอคำแนะนำปรึกษา และความช่วยเหลือที่จำเป็น
ต่างๆ ได้จาก PROMEX นอกจากนี้ PROMEX ยังทำหน้าที่แทนรัฐบาลในการเป็นผู้เจรจากับนักลงทุน และเป็นหน่วยปฏิบัติการตามแผนการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวของเคปเวิร์ดด้วย
สิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับ จากการลงทุนในด้านต่าง ๆ ในเคปเวิร์ดมีดังนี้.-
- ด้านอุตสาหกรรม เคปเวิร์ดมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางเพื่อการส่งออกจะได้รับสิทธิพิเศษ ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีจากกำไรที่ได้เป็นเวลา 10 ปี (หากเกิน 10 ปี เสียภาษีร้อยละ 15)
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าอุปกรณ์และวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป
- ด้านการท่องเที่ยว นักลงทุนในกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าวัสดุเพื่อการก่อสร้างโรงแรม
-- ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพากรในช่วง 5 ปีแรกของการประกอบการ
-- ได้รับส่วนลดภาษีสรรพากร ร้อยละ 50 อีกเป็นระยะเวลา 10 ปีนับจากเมื่อพ้นระยะ 5 ปีแรก
- ด้านการประมง นักลงทุนในกิจการด้านประมงได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้.-
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าเครื่องยนต์ อะไหล่ และอุปกรณ์
-- ได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรในการนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมง
สภาหอการค้าของเคปเวิร์ด เคปเวิร์ดได้จัดตั้งสภาหอการค้าสูงสุด (Conseil Superieur des Chambre) เพื่อให้คำแนะนำปรึกษา
และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ และประสานกิจการระหว่างหอการค้าทั้งสองของเคปเวิร์ดอัน ได้แก่
1). สภาหอการค้า Sotavento ตั้งอยู่ที่กรุง Praia บนเกาะ Santiago เป็นหอการค้าที่รับผิดชอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนิน
ธุรกิจของหมู่เกาะที่อยู่ทางด้านใต้ อันได้แก่ เกาะ Brava, Fogo, Santiago และ Maio หอการค้านี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่
ปี ค.ศ. 1997 แต่ได้เริ่มปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 2000 โดยมีสมาชิกผู้ประกอบการธุรกิจจำนวน 300 ราย
2). สภาหอการค้า Barlavento ตั้งอยู่ที่เมือง Mindelo บนเกาะ Sao Vicente เป็นหอการค้าที่รับผิดชอบและให้คำแนะนำเกี่ยว
กับการดำเนินธุรกิจของหมู่เกาะที่อยู่ทางด้านเหนือ อันได้แก่ Santo Antao, Sao Vincente, Sao Nicolau, Sal และ Boa Vista
หอการค้าที่เมือง Mindelo นี้ นับว่ามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะบนเกาะ Sao Vicente ในเมือง
Mindelo มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัยต่อเศรษฐกิจของเคปเวิร์ด และเป็นแหล่งรองรับแรงงานที่สำคัญของเคปเวิร์ดด้วย มีการจัดงานแสดง
สินค้าเป็นประจำทุกปีที่เมือง Mindelo ทั้งงานแสดงสินค้าด้านอาหาร ด้านบริการต่างๆ รวมทั้งงานแสดงรถยนต์ (27-28 เมษายน) ด้วย
ความร่วมมือระหว่างประเทศและในองค์การระหว่างประเทศ
เคปเวิร์ดเป็นประเทศที่มีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม จากความผูกพันในทางประวัติ- ศาสตร์เคปเวิร์ดมีความใกล้ชิดเป็น
พิเศษกับประเทศโปร์ตุเกสและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาโปร์ตุเกสเป็นภาษาราชการ สำหรับประเทศในแอฟริกาเคปเวิร์ดมีความใกล้ชิดเป็นพิเสษกับกลุ่ม
ประเทศ PALOP (Pays Africains de Langue Officielle Portugaise) คือ กลุ่ม 5 ประเทศ (Group of Five) ในทวีปแอฟริกาที่
ใช้ภาษาโปร์ตุเกสเป็นภาษาราชการ อันได้แก่ แองโกลา เคปเวิร์ด กินีบิสเซา โมซัมบิก และเซาโตเม และปรินซิเป ในขณะเดีวกัน เคปเวิร์ดก็ได้
เข้าเป็นสมาชิกของ L'Agence de la Francophonie (เดิมคือองค์การ L'Agence de Cooperation Culturelle et Technique-ACCT)
5/ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศสด้วย
นอกจากนี้ สาธารณรัฐเคปเวิร์ดได้เข้าเป็นสมาชิกในองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับสากล (เช่น องค์การสหประชาชาติ)
และองค์การระดับภูมิภาคอีกหลายองค์การ
ความร่วมมือในกรอบองค์การสหประชาชาติ
เคปเวิร์ดเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรที่อยู่ภายใต้สหประชาชาติ (Subsidiary Organ) อาทิเช่น
6/ - UNCTAD - United Nations Conference on Trade and Development
- ITC - International Trade Center UNCTAD-WTO
- ECA - United Nations Economic Commission for Africa
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-