ข่าวในประเทศ
1. ธปท. เสนอแผน 5 ปีเพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า ผู้ว่าการ ธปท. ได้เสนอแผน 5 ปี เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฯ ต่อ นรม. และ รมว.คลัง โดยสาระสำคัญในแผนเสนอให้ ก.คลังออก พธบ. อายุ 10 ปี และรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาเงินชดเชยความเสียหายแทนการออกไปกู้ยืมจากแหล่งเงินอื่น โดย ธปท. ประเมินจากจำนวนเงินใน งปม. ของรัฐบาล และรายได้ประชาชาติที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรองรับการออก พธบ. ได้ ซึ่ง ก.คลังได้รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา (เดลินิวส์ 26)
2. ธปท.กำหนดเงื่อนไขให้ ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยปล่อยสินเชื่อได้ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้กำหนดเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ เพื่อผ่อนผันให้ ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ เนื่องจากทั้งสองธนาคารมีปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอสต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ตามที่ ธปท.กำหนด จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยกู้ โดยฐานะการเงินล่าสุดสองธนาคารมีหนี้เสียรวมกัน 2.7 แสน ล.บาท และเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้เกิน 1 ราย 1.15 แสน ล.บาท สำหรับรายละเอียดของเงื่อนไขประกอบด้วย 1)ต้องปรับเพิ่มคณะกรรมการบริหารธนาคารให้มีมากขึ้น ให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้การตั้งคณะกรรมการเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพรอการขายให้กับต่างประเทศ แต่เมื่อเปลี่ยนนโยบายให้เป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 จึงต้องเพิ่มกรรมการ 2)ต้องมีฝ่ายจัดการที่เข้มแข็งกว่าเดิม 3)ต้องวางแผนในการปล่อยสินเชื่อ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย วงเงิน และประเภทสินเชื่อ 4)ต้องมีระบบควบคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั้งก่อนและหลังการอนุมัติสินเชื่อ โดยครอบคลุมถึงการทำสัญญาที่ได้มาตรฐานและมีหลักประกันที่เชื่อถือได้ สำหรับเงื่อนไขสองข้อแรกธนาคารได้ดำเนินการไปแล้ว ยังเหลือเงื่อนไขอีกสองข้อหลังที่ต้องเสนอแผนงานให้ ธปท.พิจารณาและผ่านความเห็นชอบก่อน จึงจะสามารถปล่อยกู้ได้ (เดลินิวส์ 28)
3. รัฐบาลขาดดุลสะสม 1.14 แสน ล.บาทในช่วง 7 เดือนแรกของปี งปม. รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยข้อมูลฐานะการคลังประจำเดือน เม.ย. 44 ว่า รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 59,836 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,718 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 6.6 และมีรายจ่าย 80,504 ล.บาท ทำให้ขาดดุล งปม. 20,668 ล.บาท และเมื่อรวมกับการเกินดุลนอก งปม. อีก 2,813 ล.บาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17,855 ล.บาท ซึ่งเมื่อรวมตั้งแต่ต้นปี งปม. จนถึงปัจจุบัน (ต.ค. 43- เม.ย. 44) รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 395,674 ล.บาท รายจ่าย 509,626 ล.บาท ขาดดุล งปม.สะสม 113,952 ล.บาท และขาดดุลเงินสด 103,091 ล.บาท โดยมียอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 44 ประมาณ 49,359 ล.บาท เทียบกับต้นปี งปม. ที่มีเงินคงคลังทั้งสิ้น 72,950 ล.บาท (เดลินิวส์ 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. จีดีพีหลังปรับตามฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่คาดไว้ว่า จีดีพีจะเติบโตร้อยละ 2 และลดลงต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์แห่งวอลล์สตรีทคาดหมายไว้ว่าจะเติบโตร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าไตรมาสที่4 ของปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 1 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจเติบโตชะลอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากบริษัทต่างๆได้เผชิญกับปัญหาสินค้าจำหน่ายไม่ออก และค้างอยู่ในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากจึงได้ปรับลดสินค้าคงคลังลงเหลือจำนวน 18.9 พัน ล. ดอลลาร์ ต่อปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำการปรับลดลงนับตั้งแต่ปี 34 และลดลงในอัตรามากที่สุดในรอบ 18 ปีนับแต่ไตรมาสแรกปี 26(รอยเตอร์25)
2. กำไรหลังหักภาษีของบริษัท สรอ. ลดลงร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่ 1 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค.44 ก.พาณิชย์ประมาณการว่าไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลกำไรจากการประกอบการหลังหักภาษีของบริษัท สรอ.หลังปรับฤดูกาล มีจำนวน 607.2 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.1 จากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ที่มีจำนวน 626.4 พัน ล.ดอลลาร์ ส่วนผลกำไรก่อนหักภาษีลดลงร้อยละ 2.3 เหลือจำนวน 893.4 พัน ล.ดอลลาร์ (รอยเตอร์ 25)
3. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค. 44 National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวน 5.20 ล. หลังต่อปี ลดลงจากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 5.43 ล. หลัง ในเดือน มี.ค. 44 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงส่งผลกระทบไปยังตลาดที่อยู่อาศัย (รอยเตอร์25)
4. ไต้หวันปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 25 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติไต้หวัน ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 44 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.02 จากร้อยละ 5.25 ที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ. 44 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่จัดทำในเดือน มี.ค. 44 ที่นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ปี 44 จีดีพีจะเติบโตร้อยละ 5.04 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอทั้งด้านการส่งออกและความต้องการภายในประเทศที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์25)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 พ.ค.44 Economic Development Board (EDB) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (ไม่รวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยาง) ลดลงร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปี 43 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในเดือน มี.ค.44 ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะเวลา 3 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.ผลผลิตฯ ที่ลดลงมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 8.8 เคมีภัณฑ์ร้อยละ 7.9 และ Precision engineering ลดลงมากถึงร้อยละ 14.4 (รอยเตอร์ 26)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 25พ.ค. 44 45.487 (45.413)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 25 พ.ค. 44ซื้อ 45.2738 (45.2175) ขาย 45.5868 (45.5076)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,900) ขาย 5,950 (6,000)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.33 (25.36)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เสนอแผน 5 ปีเพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า ผู้ว่าการ ธปท. ได้เสนอแผน 5 ปี เพื่อชดเชยความเสียหายให้กองทุนฯ ต่อ นรม. และ รมว.คลัง โดยสาระสำคัญในแผนเสนอให้ ก.คลังออก พธบ. อายุ 10 ปี และรับประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาเงินชดเชยความเสียหายแทนการออกไปกู้ยืมจากแหล่งเงินอื่น โดย ธปท. ประเมินจากจำนวนเงินใน งปม. ของรัฐบาล และรายได้ประชาชาติที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรองรับการออก พธบ. ได้ ซึ่ง ก.คลังได้รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา (เดลินิวส์ 26)
2. ธปท.กำหนดเงื่อนไขให้ ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยปล่อยสินเชื่อได้ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้กำหนดเงื่อนไขพิเศษ 4 ข้อ เพื่อผ่อนผันให้ ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ เนื่องจากทั้งสองธนาคารมีปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอสต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ตามที่ ธปท.กำหนด จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยกู้ โดยฐานะการเงินล่าสุดสองธนาคารมีหนี้เสียรวมกัน 2.7 แสน ล.บาท และเป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้เกิน 1 ราย 1.15 แสน ล.บาท สำหรับรายละเอียดของเงื่อนไขประกอบด้วย 1)ต้องปรับเพิ่มคณะกรรมการบริหารธนาคารให้มีมากขึ้น ให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้การตั้งคณะกรรมการเป็นไปเพื่อรักษาสถานภาพรอการขายให้กับต่างประเทศ แต่เมื่อเปลี่ยนนโยบายให้เป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51 จึงต้องเพิ่มกรรมการ 2)ต้องมีฝ่ายจัดการที่เข้มแข็งกว่าเดิม 3)ต้องวางแผนในการปล่อยสินเชื่อ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย วงเงิน และประเภทสินเชื่อ 4)ต้องมีระบบควบคุมความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพทั้งก่อนและหลังการอนุมัติสินเชื่อ โดยครอบคลุมถึงการทำสัญญาที่ได้มาตรฐานและมีหลักประกันที่เชื่อถือได้ สำหรับเงื่อนไขสองข้อแรกธนาคารได้ดำเนินการไปแล้ว ยังเหลือเงื่อนไขอีกสองข้อหลังที่ต้องเสนอแผนงานให้ ธปท.พิจารณาและผ่านความเห็นชอบก่อน จึงจะสามารถปล่อยกู้ได้ (เดลินิวส์ 28)
3. รัฐบาลขาดดุลสะสม 1.14 แสน ล.บาทในช่วง 7 เดือนแรกของปี งปม. รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษก ก.คลัง เปิดเผยข้อมูลฐานะการคลังประจำเดือน เม.ย. 44 ว่า รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 59,836 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 3,718 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 6.6 และมีรายจ่าย 80,504 ล.บาท ทำให้ขาดดุล งปม. 20,668 ล.บาท และเมื่อรวมกับการเกินดุลนอก งปม. อีก 2,813 ล.บาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด 17,855 ล.บาท ซึ่งเมื่อรวมตั้งแต่ต้นปี งปม. จนถึงปัจจุบัน (ต.ค. 43- เม.ย. 44) รัฐบาลมีรายได้รวมทั้งสิ้น 395,674 ล.บาท รายจ่าย 509,626 ล.บาท ขาดดุล งปม.สะสม 113,952 ล.บาท และขาดดุลเงินสด 103,091 ล.บาท โดยมียอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 44 ประมาณ 49,359 ล.บาท เทียบกับต้นปี งปม. ที่มีเงินคงคลังทั้งสิ้น 72,950 ล.บาท (เดลินิวส์ 26)
ข่าวต่างประเทศ
1. จีดีพีหลังปรับตามฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในไตรมาสแรกปี 44 ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่คาดไว้ว่า จีดีพีจะเติบโตร้อยละ 2 และลดลงต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์แห่งวอลล์สตรีทคาดหมายไว้ว่าจะเติบโตร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าไตรมาสที่4 ของปี 43 ที่เติบโตร้อยละ 1 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจเติบโตชะลอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากบริษัทต่างๆได้เผชิญกับปัญหาสินค้าจำหน่ายไม่ออก และค้างอยู่ในคลังสินค้าเป็นจำนวนมากจึงได้ปรับลดสินค้าคงคลังลงเหลือจำนวน 18.9 พัน ล. ดอลลาร์ ต่อปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำการปรับลดลงนับตั้งแต่ปี 34 และลดลงในอัตรามากที่สุดในรอบ 18 ปีนับแต่ไตรมาสแรกปี 26(รอยเตอร์25)
2. กำไรหลังหักภาษีของบริษัท สรอ. ลดลงร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่ 1 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค.44 ก.พาณิชย์ประมาณการว่าไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลกำไรจากการประกอบการหลังหักภาษีของบริษัท สรอ.หลังปรับฤดูกาล มีจำนวน 607.2 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 3.1 จากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ที่มีจำนวน 626.4 พัน ล.ดอลลาร์ ส่วนผลกำไรก่อนหักภาษีลดลงร้อยละ 2.3 เหลือจำนวน 893.4 พัน ล.ดอลลาร์ (รอยเตอร์ 25)
3. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 25 พ.ค. 44 National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. ในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวน 5.20 ล. หลังต่อปี ลดลงจากตัวเลขที่ปรับแล้วจำนวน 5.43 ล. หลัง ในเดือน มี.ค. 44 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จึงส่งผลกระทบไปยังตลาดที่อยู่อาศัย (รอยเตอร์25)
4. ไต้หวันปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 25 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติไต้หวัน ได้ปรับลดประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในปี 44 ลงอยู่ที่ร้อยละ 4.02 จากร้อยละ 5.25 ที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ. 44 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่จัดทำในเดือน มี.ค. 44 ที่นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า ปี 44 จีดีพีจะเติบโตร้อยละ 5.04 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอทั้งด้านการส่งออกและความต้องการภายในประเทศที่ชะลอตัวลง (รอยเตอร์25)
5. ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 พ.ค.44 Economic Development Board (EDB) เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม (ไม่รวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยาง) ลดลงร้อยละ 0.8 จากระยะเดียวกันปี 43 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ในเดือน มี.ค.44 ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะเวลา 3 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ทั้งนี้ ในเดือน เม.ย.ผลผลิตฯ ที่ลดลงมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 8.8 เคมีภัณฑ์ร้อยละ 7.9 และ Precision engineering ลดลงมากถึงร้อยละ 14.4 (รอยเตอร์ 26)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 25พ.ค. 44 45.487 (45.413)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 25 พ.ค. 44ซื้อ 45.2738 (45.2175) ขาย 45.5868 (45.5076)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,900) ขาย 5,950 (6,000)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.33 (25.36)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-