ประกาศองค์การคลังสินค้า
(ฉบับที่ 2)
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ
ตามมาตราการเสริมโครงการรับจำนำข้าวสาร ของอคส.
ปี 2542 / 2543
-----------------------------------------
ด้วยคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) มีมติเห็นชอบให้ อคส. และ ธ.ก.ส. ร่วมกันดำเนินการตามมาตราการเสริมโครงการรับจำนำข้าวสารของ อคส. ปี 2542/2543 โดยให้ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้รับฝากข้าวสาร เก็บไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และนำใบประทวนสินค้าที่ อคส. ออกให้ไปจำนำกับ ธ.ก.ส. โดยให้ไปติดต่อ ธ.ก.ส. โดยมีหลักเกณฑ์วิธีการดังต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้กู้เงินตามโครงการรับจำนำข้าวสาร ของ อคส.ปี 2542/2543
เกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. โดยให้ไปติดต่อ ธ.ก.ส. ท้องที่ เพื่อแจ้งความจำนงว่าจะกู้เงินตามโครงการรับจำนำกับ อคส.
เกษตรกรทั่วไปหรือกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ให้ไปขอรับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า เพื่อกู้เงินตามโครงการนี้จาก ธ.ก.ส. สาขาท้องที่กรณีเป็นสถาบันการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส. ให้ไปติดต่อกับ ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ขอวงเงินกู้ยืมจำนำใบประทวนสินค้า
ขั้นตอนการนำข้าวสารไปฝาก
เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 เกษตรกรต้องนำหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. สำเนา(ภาพถ่าย)บัตรประชาชน ไปติดต่อโรงสีข้าวที่ อคส. กำหนดที่ตั้งอยู่ในท้องที่ เพื่อแจ้งปริมาณข้าวเปลือกที่จะส่งมอบ ให้โรงสีแปรสภาพ และนัดวันส่งมอบ
ปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรส่งมอบให้โรงสีแปรสภาพไปฝากกับ อคส. ต้องอยู่ในวงเงินกู้ยืม/จำนำใบประทวนสินค้า ตามที่ ธ.ก.ส.กำหนด
นำข้าวเปลือกไปส่งมอบตามวันเวลาที่ตกลงกับโรงสีที่กำหนดที่นัดไว้ โดยเกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งเอง
เจ้าหน้าที่ของโรงสีจะทำการตรวจหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ตรวจวัดความชื้น ตรวจสอบคุณภาพ ชั่งน้ำหนักข้าวเปลือก โดยมีผู้แทนที่คณะทำงานระดับจังหวัด แต่งตั้งขึ้นประจำโรงสีละ 1 คน เป็นสักขีพยานในการตรวจรับข้าวเปลือก เพื่อให้ถูกต้องและเป็นธรรมแก่เกษตรกร และโรงสีจะออกใบรับสินค้าชั่วคราวให้เกษตรกรไว้เป็นหลักฐานเพื่อรับรองใบประทวนสินค้า
การแปรสภาพ
โรงสีจะต้องนำข้าวเปลือกของเกษตรกร ที่รับมอบไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อส่ง
มอบให้ อคส. ตามอัตราส่วนการแปรสภาพที่โรงสีต้องส่งมอบแนบท้ายประกาศองค์การคลังสินค้า เรื่องการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวสารของ อคส. ปี 2542/
2543 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สำหรับปลายข้าว รำข้าว ฯลฯ อคส. มอบให้โรงสีบางส่วนเป็น ค่าแปรสภาพ
การบรรจุ
การบรรจุต้องบรรจุในกระสอบป่านทางเขียวใหม่ เนื้อข้าวรวมน้ำหนักกระสอบ ๆ ละ
101.1 กิโลกรัม โดยต้องเย็บกระสอบกลับไปกลับมาและใช้เชือกเย็บกระสอบ ดังนี้
4.1 ข้าวขาว 100 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีเหลือง
4.2 ข้าวขาว 5 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีน้ำเงิน
4.3 ข้าวขาว 10 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีเขียว
4.4 ข้าวขาว 15 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีขาว
4.5 ข้าวขาว 25 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีน้ำเงิน ขาว
การส่งมอบข้าวสารให้ อคส.
โรงสีทำหน้าที่แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารตามที่ อคส. กำหนด ซึ่งมีคุณภาพข้าวสารที่ส่งมอบเป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องมาตราฐานสินค้าข้าวสาร พ.ศ. 2540 แล้วนำไปส่งมอบคลังสินค้าของหน่วย รับฝากที่ อคส.กำหนด ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่รับมอบข้าวเปลือกจากเกษตรกร พร้อมใบรับสินค้าชั่วคราว (ขป.1) ที่โรงสีออกให้เกษตรกร หนังสือรับรองความเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. สำเนาบัตรประชาชนของเกษตรกร
การรับมอบข้าวสาร
เจ้าหน้าที่ อคส. ประจำหน่วยรับฝากตรวจเอกสารและจำนวนข้าวสารจากโรงสี โดยมีพนักงานตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ อคส. ว่าจ้าง ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนักข้าวสาร เมื่อถูกต้อง เจ้าหน้าที่ อคส. จะออกใบประทวนสินค้า และใบรับของคลังสินค้าให้เกษตรกรนำไปขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส.สาขาท้องที่ที่ออกหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าต่อไป
การจำนำ
เกษตรกรนำใบประทวนสินค้าพร้อมใบรับของคลังสินค้า ที่ อคส. ออกให้ไปจำนำเพื่อกู้เงินจาก ธ.ก.ส. สาขาที่ออกหนังสือรับรองการเป็นลูกค้า ราคารับจำนำคิดตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ส่งมอบ เกษตรกรไม่เสียดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่าย ใดใดทั้งสิ้นในกรณีที่ไม่มีการไถ่ถอน ถ้าเกษตรกรต้องการไถ่ถอนต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาการรับจำนำตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ สิงหาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่ ธ.ก.ส. รับจำนำ
การไถ่ถอนจำนำ
ก่อนครบกำหนดเวลารับจำนำที่ทำไว้กับ ธ.ก.ส. เกษตรกรต้องไปติดต่อกับ ธ.ก.ส. สาขาที่จำนำใบประทวนไว้ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไถ่ถอนจำนำ ซึ่งเมื่อได้ชำระหนี้กับ ธ.ก.ส. เรียบร้อยแล้ว ธ.ก.ส. จะคืนใบประทวนสินค้ากับใบรับของคลังสินค้า พร้อมกับใบสั่งปล่อยสินค้าให้กับเกษตรกร เพื่อไปขอรับสินค้าคืนจากหน่วยรับฝาก อคส.
เกษตรกรต้องนำหลักฐานที่ได้รับจาก ธ.ก.ส. ไปติดต่อขอรับสินค้า และนัดวันรับมอบสินค้าคืนจากหน่วยรับฝาก อคส.
เมื่อไถ่ถอนจำนำแล้ว เกษตรกรต้องรับข้าวสารคืนใน 7 วัน นับแต่วันไถ่ถอน
(วันชำระหนี้ ธ.ก.ส.) หากเกิน 7 วัน เกษตรกรต้องชำระค่าเช่าคลังสินค้าเอง
ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย
เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร
โรงสีข้าว
ธ.ก.ส.
อคส.
โดยโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติตามประกาศของ อคส. และให้ยื่นหนังสือแสดงความจำนงกับสำนักงานค้าภายในจังหวัดโดยตรง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
หน่วยรับฝากของ อคส.
ตั้งอยู่ของหน่วยรับฝากที่ อคส. กำหนดใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้ารับฝากและออกใบประทวนสินค้า และใบรับของสินค้า ซึ่ง อคส. จะแจ้งให้ทราบ โดยประสานทางสำนักงานค้าภายในจังหวัด หากมีปัญหาในการปฏิบัติการรับฝากจำนำดังกล่าว ให้
หน่วยรับฝากรีบประสานงาน ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ และสำนักงานค้าภายในจังหวัด
ทันที
การรายงาน
ผู้แทนประจำโรงสีต้องรายงานปริมาณ การรับมอบข้าวเปลือก ให้กับสำนักงาน
การค้าภายในจังหวัด ทุกวัน
อคส. จะติดต่อประสานงานขอรายงานการรับมอบข้าวเปลือก ประจำวันของแต่ละ
โรงสี จากสำนักงานการค้าภายในจังหวัด
หน่วยรับฝากของ อคส. ต้องรายงานผลการรับฝากสินค้ารวมทั้งการรับมอบข้าว
จากเกษตรกร ให้กองคลังสินค้าส่วนภูมิภาค อคส. และสำนักงานค้าภายในจังหวัดทุกวัน รวมทั้งรายงานสรุป และประสานงานกับ ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ทุกสัปดาห์ประกาศ ณ วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2543
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2543--
-ปส-
(ฉบับที่ 2)
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ
ตามมาตราการเสริมโครงการรับจำนำข้าวสาร ของอคส.
ปี 2542 / 2543
-----------------------------------------
ด้วยคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) มีมติเห็นชอบให้ อคส. และ ธ.ก.ส. ร่วมกันดำเนินการตามมาตราการเสริมโครงการรับจำนำข้าวสารของ อคส. ปี 2542/2543 โดยให้ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้รับฝากข้าวสาร เก็บไว้ในคลังสินค้าที่กำหนด และนำใบประทวนสินค้าที่ อคส. ออกให้ไปจำนำกับ ธ.ก.ส. โดยให้ไปติดต่อ ธ.ก.ส. โดยมีหลักเกณฑ์วิธีการดังต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้กู้เงินตามโครงการรับจำนำข้าวสาร ของ อคส.ปี 2542/2543
เกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. โดยให้ไปติดต่อ ธ.ก.ส. ท้องที่ เพื่อแจ้งความจำนงว่าจะกู้เงินตามโครงการรับจำนำกับ อคส.
เกษตรกรทั่วไปหรือกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ให้ไปขอรับขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า เพื่อกู้เงินตามโครงการนี้จาก ธ.ก.ส. สาขาท้องที่กรณีเป็นสถาบันการเกษตร และกลุ่มเกษตรกรตามข้อบังคับของ ธ.ก.ส. ให้ไปติดต่อกับ ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ขอวงเงินกู้ยืมจำนำใบประทวนสินค้า
ขั้นตอนการนำข้าวสารไปฝาก
เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 เกษตรกรต้องนำหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. สำเนา(ภาพถ่าย)บัตรประชาชน ไปติดต่อโรงสีข้าวที่ อคส. กำหนดที่ตั้งอยู่ในท้องที่ เพื่อแจ้งปริมาณข้าวเปลือกที่จะส่งมอบ ให้โรงสีแปรสภาพ และนัดวันส่งมอบ
ปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรส่งมอบให้โรงสีแปรสภาพไปฝากกับ อคส. ต้องอยู่ในวงเงินกู้ยืม/จำนำใบประทวนสินค้า ตามที่ ธ.ก.ส.กำหนด
นำข้าวเปลือกไปส่งมอบตามวันเวลาที่ตกลงกับโรงสีที่กำหนดที่นัดไว้ โดยเกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งเอง
เจ้าหน้าที่ของโรงสีจะทำการตรวจหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. ตรวจวัดความชื้น ตรวจสอบคุณภาพ ชั่งน้ำหนักข้าวเปลือก โดยมีผู้แทนที่คณะทำงานระดับจังหวัด แต่งตั้งขึ้นประจำโรงสีละ 1 คน เป็นสักขีพยานในการตรวจรับข้าวเปลือก เพื่อให้ถูกต้องและเป็นธรรมแก่เกษตรกร และโรงสีจะออกใบรับสินค้าชั่วคราวให้เกษตรกรไว้เป็นหลักฐานเพื่อรับรองใบประทวนสินค้า
การแปรสภาพ
โรงสีจะต้องนำข้าวเปลือกของเกษตรกร ที่รับมอบไปแปรสภาพเป็นข้าวสารเพื่อส่ง
มอบให้ อคส. ตามอัตราส่วนการแปรสภาพที่โรงสีต้องส่งมอบแนบท้ายประกาศองค์การคลังสินค้า เรื่องการเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวสารของ อคส. ปี 2542/
2543 ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543 สำหรับปลายข้าว รำข้าว ฯลฯ อคส. มอบให้โรงสีบางส่วนเป็น ค่าแปรสภาพ
การบรรจุ
การบรรจุต้องบรรจุในกระสอบป่านทางเขียวใหม่ เนื้อข้าวรวมน้ำหนักกระสอบ ๆ ละ
101.1 กิโลกรัม โดยต้องเย็บกระสอบกลับไปกลับมาและใช้เชือกเย็บกระสอบ ดังนี้
4.1 ข้าวขาว 100 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีเหลือง
4.2 ข้าวขาว 5 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีน้ำเงิน
4.3 ข้าวขาว 10 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีเขียว
4.4 ข้าวขาว 15 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีขาว
4.5 ข้าวขาว 25 % สีเชือกเย็บปากกระสอบ สีน้ำเงิน ขาว
การส่งมอบข้าวสารให้ อคส.
โรงสีทำหน้าที่แปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารตามที่ อคส. กำหนด ซึ่งมีคุณภาพข้าวสารที่ส่งมอบเป็นไปตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องมาตราฐานสินค้าข้าวสาร พ.ศ. 2540 แล้วนำไปส่งมอบคลังสินค้าของหน่วย รับฝากที่ อคส.กำหนด ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่รับมอบข้าวเปลือกจากเกษตรกร พร้อมใบรับสินค้าชั่วคราว (ขป.1) ที่โรงสีออกให้เกษตรกร หนังสือรับรองความเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. สำเนาบัตรประชาชนของเกษตรกร
การรับมอบข้าวสาร
เจ้าหน้าที่ อคส. ประจำหน่วยรับฝากตรวจเอกสารและจำนวนข้าวสารจากโรงสี โดยมีพนักงานตรวจสอบคุณภาพข้าวที่ อคส. ว่าจ้าง ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนักข้าวสาร เมื่อถูกต้อง เจ้าหน้าที่ อคส. จะออกใบประทวนสินค้า และใบรับของคลังสินค้าให้เกษตรกรนำไปขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส.สาขาท้องที่ที่ออกหนังสือรับรองความเป็นลูกค้าต่อไป
การจำนำ
เกษตรกรนำใบประทวนสินค้าพร้อมใบรับของคลังสินค้า ที่ อคส. ออกให้ไปจำนำเพื่อกู้เงินจาก ธ.ก.ส. สาขาที่ออกหนังสือรับรองการเป็นลูกค้า ราคารับจำนำคิดตามมูลค่าข้าวเปลือกที่ส่งมอบ เกษตรกรไม่เสียดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่าย ใดใดทั้งสิ้นในกรณีที่ไม่มีการไถ่ถอน ถ้าเกษตรกรต้องการไถ่ถอนต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ระยะเวลาการรับจำนำตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2543 สิ้นสุดวันที่ สิงหาคม 2543 ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่ ธ.ก.ส. รับจำนำ
การไถ่ถอนจำนำ
ก่อนครบกำหนดเวลารับจำนำที่ทำไว้กับ ธ.ก.ส. เกษตรกรต้องไปติดต่อกับ ธ.ก.ส. สาขาที่จำนำใบประทวนไว้ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมไถ่ถอนจำนำ ซึ่งเมื่อได้ชำระหนี้กับ ธ.ก.ส. เรียบร้อยแล้ว ธ.ก.ส. จะคืนใบประทวนสินค้ากับใบรับของคลังสินค้า พร้อมกับใบสั่งปล่อยสินค้าให้กับเกษตรกร เพื่อไปขอรับสินค้าคืนจากหน่วยรับฝาก อคส.
เกษตรกรต้องนำหลักฐานที่ได้รับจาก ธ.ก.ส. ไปติดต่อขอรับสินค้า และนัดวันรับมอบสินค้าคืนจากหน่วยรับฝาก อคส.
เมื่อไถ่ถอนจำนำแล้ว เกษตรกรต้องรับข้าวสารคืนใน 7 วัน นับแต่วันไถ่ถอน
(วันชำระหนี้ ธ.ก.ส.) หากเกิน 7 วัน เกษตรกรต้องชำระค่าเช่าคลังสินค้าเอง
ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย
เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร
โรงสีข้าว
ธ.ก.ส.
อคส.
โดยโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติตามประกาศของ อคส. และให้ยื่นหนังสือแสดงความจำนงกับสำนักงานค้าภายในจังหวัดโดยตรง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26มิถุนายน 2543 เป็นต้นไป
หน่วยรับฝากของ อคส.
ตั้งอยู่ของหน่วยรับฝากที่ อคส. กำหนดใช้เป็นสถานที่เก็บสินค้ารับฝากและออกใบประทวนสินค้า และใบรับของสินค้า ซึ่ง อคส. จะแจ้งให้ทราบ โดยประสานทางสำนักงานค้าภายในจังหวัด หากมีปัญหาในการปฏิบัติการรับฝากจำนำดังกล่าว ให้
หน่วยรับฝากรีบประสานงาน ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ และสำนักงานค้าภายในจังหวัด
ทันที
การรายงาน
ผู้แทนประจำโรงสีต้องรายงานปริมาณ การรับมอบข้าวเปลือก ให้กับสำนักงาน
การค้าภายในจังหวัด ทุกวัน
อคส. จะติดต่อประสานงานขอรายงานการรับมอบข้าวเปลือก ประจำวันของแต่ละ
โรงสี จากสำนักงานการค้าภายในจังหวัด
หน่วยรับฝากของ อคส. ต้องรายงานผลการรับฝากสินค้ารวมทั้งการรับมอบข้าว
จากเกษตรกร ให้กองคลังสินค้าส่วนภูมิภาค อคส. และสำนักงานค้าภายในจังหวัดทุกวัน รวมทั้งรายงานสรุป และประสานงานกับ ธ.ก.ส. สาขาท้องที่ทุกสัปดาห์ประกาศ ณ วันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2543
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2543--
-ปส-