ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือน ส.ค.43 ว่า อยู่ในระดับ 46.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ระดับ 46.4 แม้ว่าจะมีองค์ประกอบด้านการส่งออกดีขึ้นมาก แต่มีองค์ประกอบด้านต้นทุนประกอบการและอำนาจซื้อของประชาชนเป็นปัจจัยลบ คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค. จะอยู่ที่ระดับ 46.4-48.6 ทั้งนี้ องค์ประกอบเดียวที่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค.43 คือ ผลประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นจากระดับ 47.3 เป็น 50.6 ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ปรับลดลง โดยอำนาจซื้อของประชาชนลดลงจากระดับ 43.3 อยู่ที่ระดับ 42.6 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกเป็นต้นมา การลงทุนลดลงจากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 50.4 การจ้างงานลดลงจาก 50.2 เหลือ 50 ต้นทุนการประกอบการลดลงจากระดับ 38.5 เหลือ 38 แต่การส่งออกปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 49.3 เป็น 51.8 สำหรับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือน ส.ค. มีค่าประมาณการที่ระดับ 119.2 เทียบกับเดือนก่อนที่ระดับ 119.0 โดยมีดัชนีหลักทรัพย์ การส่งออก และปริมาณเงินในระบบอยู่ในระดับสูง ส่วนดัชนีพ้องเศรษฐกิจมีค่าประมาณการที่ระดับ 114.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 และเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยดัชนีการนำเข้า ยอดจำหน่ายรถยนต์ ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น (เดลินิวส์ 2)
2. ยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วง 7 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.43 เงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนมีจำนวน 8,365 ล.ดอลลาร์ ขณะที่ภาครัฐมีเงินทุนไหลเข้า 178 ล.ดอลลาร์ ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกสุทธิ 8,187 ล.ดอลลาร์ เทียบกับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิตลอดปี 42 ที่มียอดสุทธิเพียง 7,907 ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินทุนเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนแบ่งเป็น 2 แหล่ง คือ (1) ภาคธนาคาร 3,837 ล.ดอลลาร์ มาจาก ธพ.1,330 ล.ดอลลาร์ และกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) 2,507 ล.ดอลลาร์ (2) ธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออก 4,528 ล.ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ภาคการลงทุนโดยตรงมีเงินทุนไหลเข้ามากกว่าไหลออก โดยมียอดสะสมช่วง 7 เดือนรวม 1,193 ล.ดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าในเดือน ก.ค.จำนวน 160 ล.ดอลลาร์ เทียบกับเดือน ม.ย.43 ที่มีจำนวน 71 ล.ดอลลาร์ (มติชน 2)
3. ธปท.แถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือน ส.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจเบื้องต้นในเดือน ส.ค.43 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมยังคงทรงตัว ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน การส่งออกและการนำเข้า ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้น รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้น ธพ.ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และค่าเงินอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเงินเฟ้อสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 10 พัน ล.บาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 1.6 พัน ล.บาท และนอกงบประมาณ 8.4 พัน ล.บาท ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (วัฏจักร 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เพิ่มในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 และสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ เคยคาดไว้ว่า ในเดือน ส.ค. 43 รายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ0.3 และการใช้จ่ายฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การที่รายได้ในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้อัตราการออมลดลงอยู่ที่ระดับติดลบร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นอัตราการออมต่ำสุดตั้งแต่ที่เริ่มมีการจัดเก็บสถิติในปี 2502 ชี้ว่าผู้บริโภคอาจกำลังใช้จ่ายเงินจากเงินที่เก็บออมไว้ เงินจากกำไรที่ได้จากการลงทุนก่อนหน้านี้หรือเงินกู้ยืม(รอยเตอร์ 29)
2. การสร้างบ้านใหม่ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 29 ก.ย.43 ก.การก่อสร้างของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ส.ค.43 การสร้างบ้านใหม่ ลดลงร้อยละ 3.8 เทียบต่อปี อยู่ที่จำนวน 103,554 หลัง และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยจำแนกเป็น การสร้างบ้านส่วนตัว ลดลงร้อยละ 4.3 อยู่ที่จำนวน 39,065 หลัง การสร้างบ้านสำหรับให้เช่า ลดลงร้อยละ 8.1 อยู่ที่จำนวน 35,090 หลัง แต่การสร้างที่พักอาศัยสำหรับลูกจ้างโดยนายจ้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 อยู่ที่จำนวน 1,048 หลัง และการสร้างบ้านสำหรับขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 อยู่ที่จำนวน 28,351 หลัง (รอยเตอร์ 29)
3. เกาหลีใต้เกินดุลการค้ามูลค่า 2.0 พัน ล.ดอลลาร์ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 1 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน ของเกาหลีใต้รายงานว่า เดือน ก.ย.43 เกาหลีใต้เกินดุลการค้าตามตัวเลขเบื้องต้น มูลค่า 2.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุลฯ 1.46 พัน ล.ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค.43 และเทียบกับที่เกินดุลฯ 1.8 พัน ล.ดอลลาร์ ในเดือนเดียวกันของปี 42 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 จากเดือนเดียวกันของปี 42 อยู่ที่มูลค่า 15.3 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 มีมูลค่า 13.3 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ฯ คาดว่า ปี 43 เกาหลีใต้จะเกินดุลฯ เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 10 พัน ล.ดอลลาร์ เนื่องมาจากการขยายตัวของการส่งออก ถึงแม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยอดการเกินดุลฯ สะสมระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ย.43 อยู่ที่มูลค่า 8.4 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงเมื่อเทียบกับที่มีมูลค่า 17.0 พัน ล.ดอลลาร์ ในระยะเดียวกันของปี 42 โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29 ก.ย. 43 42.256 (42.385)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 29 ก.ย. 43ซื้อ 42.0630 (42.1447) ขาย 42.3655(42.4474)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,450) ขาย 5,500 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.25 (29.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ รายงานข่าวจาก ธปท.เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจประจำเดือน ส.ค.43 ว่า อยู่ในระดับ 46.9 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ระดับ 46.4 แม้ว่าจะมีองค์ประกอบด้านการส่งออกดีขึ้นมาก แต่มีองค์ประกอบด้านต้นทุนประกอบการและอำนาจซื้อของประชาชนเป็นปัจจัยลบ คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระหว่างเดือน ต.ค.-ธ.ค. จะอยู่ที่ระดับ 46.4-48.6 ทั้งนี้ องค์ประกอบเดียวที่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค.43 คือ ผลประกอบการ ที่เพิ่มขึ้นจากระดับ 47.3 เป็น 50.6 ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ปรับลดลง โดยอำนาจซื้อของประชาชนลดลงจากระดับ 43.3 อยู่ที่ระดับ 42.6 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกเป็นต้นมา การลงทุนลดลงจากระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 50.4 การจ้างงานลดลงจาก 50.2 เหลือ 50 ต้นทุนการประกอบการลดลงจากระดับ 38.5 เหลือ 38 แต่การส่งออกปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 49.3 เป็น 51.8 สำหรับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในเดือน ส.ค. มีค่าประมาณการที่ระดับ 119.2 เทียบกับเดือนก่อนที่ระดับ 119.0 โดยมีดัชนีหลักทรัพย์ การส่งออก และปริมาณเงินในระบบอยู่ในระดับสูง ส่วนดัชนีพ้องเศรษฐกิจมีค่าประมาณการที่ระดับ 114.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 และเพิ่มจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 โดยดัชนีการนำเข้า ยอดจำหน่ายรถยนต์ ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น (เดลินิวส์ 2)
2. ยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วง 7 เดือนแรกของปี 43 รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.43 เงินทุนเคลื่อนย้ายภาคเอกชนมีจำนวน 8,365 ล.ดอลลาร์ ขณะที่ภาครัฐมีเงินทุนไหลเข้า 178 ล.ดอลลาร์ ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกสุทธิ 8,187 ล.ดอลลาร์ เทียบกับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิตลอดปี 42 ที่มียอดสุทธิเพียง 7,907 ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินทุนเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนแบ่งเป็น 2 แหล่ง คือ (1) ภาคธนาคาร 3,837 ล.ดอลลาร์ มาจาก ธพ.1,330 ล.ดอลลาร์ และกิจการวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) 2,507 ล.ดอลลาร์ (2) ธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร มีเงินทุนเคลื่อนย้ายออก 4,528 ล.ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ภาคการลงทุนโดยตรงมีเงินทุนไหลเข้ามากกว่าไหลออก โดยมียอดสะสมช่วง 7 เดือนรวม 1,193 ล.ดอลลาร์ ซึ่งเป็นยอดเงินลงทุนไหลเข้าในเดือน ก.ค.จำนวน 160 ล.ดอลลาร์ เทียบกับเดือน ม.ย.43 ที่มีจำนวน 71 ล.ดอลลาร์ (มติชน 2)
3. ธปท.แถลงตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือน ส.ค.43 ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.เปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจเบื้องต้นในเดือน ส.ค.43 ว่า เศรษฐกิจโดยรวมยังคงทรงตัว ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน การส่งออกและการนำเข้า ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุลเพิ่มขึ้น รัฐบาลขาดดุลเงินสดเพิ่มขึ้น ธพ.ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และค่าเงินอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเงินเฟ้อสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุล 10 พัน ล.บาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 1.6 พัน ล.บาท และนอกงบประมาณ 8.4 พัน ล.บาท ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (วัฏจักร 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภค สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เพิ่มในอัตราเดียวกันกับเดือน ก.ค. 43 และสอดคล้องกับที่นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ เคยคาดไว้ว่า ในเดือน ส.ค. 43 รายได้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ0.3 และการใช้จ่ายฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การที่รายได้ในเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากส่งผลให้อัตราการออมลดลงอยู่ที่ระดับติดลบร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นอัตราการออมต่ำสุดตั้งแต่ที่เริ่มมีการจัดเก็บสถิติในปี 2502 ชี้ว่าผู้บริโภคอาจกำลังใช้จ่ายเงินจากเงินที่เก็บออมไว้ เงินจากกำไรที่ได้จากการลงทุนก่อนหน้านี้หรือเงินกู้ยืม(รอยเตอร์ 29)
2. การสร้างบ้านใหม่ของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 29 ก.ย.43 ก.การก่อสร้างของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ส.ค.43 การสร้างบ้านใหม่ ลดลงร้อยละ 3.8 เทียบต่อปี อยู่ที่จำนวน 103,554 หลัง และเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยจำแนกเป็น การสร้างบ้านส่วนตัว ลดลงร้อยละ 4.3 อยู่ที่จำนวน 39,065 หลัง การสร้างบ้านสำหรับให้เช่า ลดลงร้อยละ 8.1 อยู่ที่จำนวน 35,090 หลัง แต่การสร้างที่พักอาศัยสำหรับลูกจ้างโดยนายจ้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 อยู่ที่จำนวน 1,048 หลัง และการสร้างบ้านสำหรับขาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 อยู่ที่จำนวน 28,351 หลัง (รอยเตอร์ 29)
3. เกาหลีใต้เกินดุลการค้ามูลค่า 2.0 พัน ล.ดอลลาร์ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 1 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ อุตสาหกรรม และพลังงาน ของเกาหลีใต้รายงานว่า เดือน ก.ย.43 เกาหลีใต้เกินดุลการค้าตามตัวเลขเบื้องต้น มูลค่า 2.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากที่เกินดุลฯ 1.46 พัน ล.ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค.43 และเทียบกับที่เกินดุลฯ 1.8 พัน ล.ดอลลาร์ ในเดือนเดียวกันของปี 42 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 จากเดือนเดียวกันของปี 42 อยู่ที่มูลค่า 15.3 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 มีมูลค่า 13.3 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ฯ คาดว่า ปี 43 เกาหลีใต้จะเกินดุลฯ เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 10 พัน ล.ดอลลาร์ เนื่องมาจากการขยายตัวของการส่งออก ถึงแม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยอดการเกินดุลฯ สะสมระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ย.43 อยู่ที่มูลค่า 8.4 พัน ล.ดอลลาร์ ลดลงเมื่อเทียบกับที่มีมูลค่า 17.0 พัน ล.ดอลลาร์ ในระยะเดียวกันของปี 42 โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29 ก.ย. 43 42.256 (42.385)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 29 ก.ย. 43ซื้อ 42.0630 (42.1447) ขาย 42.3655(42.4474)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,450) ขาย 5,500 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.25 (29.50)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-