ประเทศผู้ร่วมฟ้องคดีกุ้งใน WTO จี้สหรัฐฯ ให้ร่างมาตรการใหม่ให้สอดคล้องกับคำตัดสิน -------------------------------------------------------------------------------- เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2542 ประเทศผู้ฟ้องสหรัฐฯ ที่ WTO ในคดีกุ้งได้แก่ไทย อินเดีย พม่า และมาเลเซียต่างได้มีหนังสือถึงฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อชี้ว่าข้อเสนอมาตรการใหม่ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการห้ามนำเข้ากุ้ง ซึ่งออกประกาศโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในวันที่ 25 มีนาคม 2542 ยังมีจุดบกพร่องที่จะต้องปรับปรุง เพื่อให้เป็นไปตามคำตัดสินของ WTO ใน คดีนี้ โดยมาเลเซียและอินเดียชี้ว่าสหรัฐฯ จะต้องยกเลิกการห้ามนำเข้าโดยแก้กฎหมายที่ให้ อำนาจรัฐบาลสหรัฐฯ ในเรื่องนี้คือ Section 609 ส่วนไทยได้พาดพิงถึง Section 609 อย่างมี เหตุผลโดยชี้ว่า คำตัดสินของ WTO กำหนดให้ขั้นตอนการออกใบรับรองให้นำเข้ากุ้งของ สหรัฐฯ จะต้องมีลักษณะที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่โดยที่ Section 609 กำหนดให้รัฐบาล สหรัฐฯ พิจารณาออกใบรับรองใหม่ทุกปี สหรัฐฯ จึงควรพิจารณาเพิ่มเติมในจุดนี้ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ศาลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ได้มีคำพิพากษาซึ่งจะต้องยืนยัน ในเดือนกรกฎาคมอีกครั้งหนึ่ง คำพิพากษานี้ตีความ Section 609 ว่าขัดคำตัดสิน WTO ในคดีนี้ ดังนั้นหากศาลยืนยัน สหรัฐฯ ก็จะต้องแก้ Section 609 สำหรับข้อเสนอระเบียบใหม่ นั้นไทยเห็นว่าให้ดุลพินิจแก่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กว้างเกินไป ในการพิจารณา คำขอใบรับรองจากประเทศผู้ส่งออก จึงควรแก้ไข ในปี 2539 ไทย อินเดีย ปากีสถาน และมาเลเซีย ได้ยื่นฟ้องสหรัฐฯ ต่อ WTO ในกรณีที่สหรัฐฯ ห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศที่จับกุ้ง โดยไม่ติดเครื่องมือที่เรียกว่า TEDs และไม่ได้รับการรับรองจากทางการสหรัฐฯ ซึ่งต่อมาคณะ ผู้พิจารณาได้ตัดสินให้สหรัฐฯ แพ้ แต่สหรัฐฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ และองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ได้ตัดสินโดยมีผลเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ว่ามาตรการห้ามนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ขัดต่อ กฏเกณฑ์ของ WTO และให้สหรัฐฯ แก้ไข ในวันที่ 25 มีนาคม 2542 กระทรวงการต่าง- ประเทศสหรัฐฯ จึงได้ออกประกาศร่างระเบียบเรื่องการห้ามนำเข้ากุ้งใหม่เพื่อให้สอดคล้อง กับคำตัดสินของ WTO และได้เชิญชวนให้สาธารณชนให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอนี้ภายใน วันที่ 23 เมษายน 2542 ตามกฏของ WTO สหรัฐฯ มีเวลาที่จะแก้ไขมาตรการให้สอดคล้อง กับคำตัดสินในคดีนี้จนถึงต้นเดือนธันวาคม 2542 หลังจากนั้นหากประเทศผู้ฟ้องเห็นว่า มาตรการของสหรัฐฯ ยังไม่สอดคล้องกับคำตัดสิน ก็สามารถหารือและหากตกลงกันไม่ได้ ก็ฟ้องร้อง WTO อีก ให้ช่วยพิจารณาว่าสิ่งที่สหรัฐฯ แก้ไขนั้นสอดคล้องกับคำตัดสินหรือยัง การดำเนินการในกรณีนี้ภายใต้ WTO จึงยังไม่ใช่จะเสร็จสิ้นอย่างง่าย ๆ โดยเฉพาะการที่ฝ่าย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ เองก็ไม่ยินยอมรามือโดยง่าย แต่ยังคงกดดันฝ่ายบริหารโดย การยื่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อศาลการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นศาลภายในประเทศสหรัฐฯ เพื่อให้ห้ามนำเข้ากุ้งจากทุกประเทศที่ไม่ได้รับใบรับรอง แม้จะเป็นกุ้งที่จับโดยใช้ TEDs หรือโดยสภาวะที่ไม่เป็นอันตรายแก่เต่าทะเลก็ตาม ซึ่งหากศาลภายในประเทศสหรัฐฯ ศาลนี้ ตัดสินตามฟ้อง จะขัดต่อคำตัดสินของ WTO ซึ่งมีผลตามกฎหมายระหว่างประเทศให้สหรัฐฯ ปฏิบัติตาม จึงเป็นสิ่งที่จะต้องจับตาดูกันต่อไป ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-