ข่าวในประเทศ
1. ธปท.รายงานตัวเลขดุลการชำระเงินในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ให้ ครม.เศรษฐกิจรับทราบ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากรายงานของ ธปท.ต่อที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโนบายเศรษฐกิจระบุว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ดุลการชำระเงินมียอดขาดดุลจำนวน 2.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเอกชนที่มิใช่ธนาคารชำระหนี้ต่างประเทศสูงถึง 6.8 พัน ล.ดอลลาร์ และชำระภาระสว็อปวายทูเคในช่วงเดือน ธ.ค.42 จำนวน 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 6.3 พัน ล.ดอลลาร์ สำหรับในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าดุลการชำระเงินจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากเอกชนชะลอการชำระหนี้ต่างประเทศ เพราะหนี้ที่ครบกำหนดและยังไม่ครบกำหนดบางส่วนได้ชำระไปแล้ว ส่วนภาคทางการจะชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) งวดแรกประมาณ 200 ล.ดอลลาร์ ดังนั้นตลอดปี 43 จะขาดดุลการชำระเงิน 2.8 พัน ล.ดอลลาร์ โดยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 1 หมื่น ล.ดอลลาร์ ขาดดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย 1.25 หมื่น ล.ดอลลาร์ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 43 มีจำนวนประมาณ 32,150 ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธปท.ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ แต่ ครม.เศรษฐกิจยังกังวลเรื่องการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 2 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปีที่ผ่านมา (มติชน 31)
2. ยอดการใช้เช็คเพิ่มขึ้นหลังการใช้กฎหมายฟอกเงิน แหล่งข่าวจาก ธพ.กล่าวว่า หลังจากที่กฎหมายฟอกเงินมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค.43 ซึ่ง ธพ.ต้องรายงานธุรกรรมที่ลูกค้านำเงินมาฝากตั้งแต่ 2 ล.บาทขึ้นไปต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นั้น ปรากฎว่ามีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางหลีกเลี่ยงกฎหมายด้วยการใช้บริการผ่านเช็คมากขึ้น เพราะธุรกรรมผ่านเช็คที่มีวงเงินต่ำกว่า 5 ล.บาท ไม่ต้องแจ้งว่าลูกค้าจะทำธุรกรรมกับใคร อย่างไร โดยเงื่อนไขของกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่าเช็คเป็นทรัพย์สินมิใช่เงินสด ทำให้ลูกค้าที่ทุจริตใช้เป็นช่องทางในการโอนเงิน (แนวหน้า,กรุงเทพธุรกิจ 31)
3. การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของ ธปท.ต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ภาคธุรกิจต่างๆ ขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.ผ่านสถาบันการเงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 94,742 ล.บาท เมื่อรวมกับส่วนของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แก่ภาคเอกชนตามโครงการดังกล่าวอีก 83,782 ล.บาท ทำให้มียอดสะสมทั้งสิ้น 178,524 ล.บาท ภาคธุรกิจที่มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.มากที่สุดได้แก่ ตั๋วการส่งออก โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 มีจำนวน 59,535 ล.บาท ที่ผ่านมาจำนวนเงินที่ ธปท.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการให้ความช่วยเหลือลดลง ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยและสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลกในปี 48 ที่ห้ามภาครัฐให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจ (วัฏจักร 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. รายได้และการใช้จ่ายของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อยู่ที่มูลค่า 6.866 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการซื้อรถยนต์ใหม่และสินค้าอื่นๆที่มีต้นทุนแพง และการที่ราคาพลังงานสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 รายได้ของผู้บริโภค ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่มูลค่า 8.425 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากมีการจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี นับตั้งแต่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน ต.ค. 42 อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่รวมเงินสนับสนุนที่ให้แก่เกษตรกร รายได้ของผู้บริโภค ในเดือน ก.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เช่นเดียวกับเดือน ส.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคกำลังลดการออมเงินเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายซื้อสินค้า (รอยเตอร์ 30)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 31 ต.ค.43 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ย.43 อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือน ส.ค.43 ที่ระดับร้อยละ 4.6 โดย ก.แรงงานญี่ปุ่นกล่าวว่า ในเดือน ก.ย. นี้ สัดส่วนระหว่างตำแหน่งงานว่างต่อผู้สมัครงานอยู่ที่ 62 ตำแหน่งต่อผู้สมัครงานทุก 100 คน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สำหรับอัตราการว่างงานในช่วงไตรมาสเดือน ก.ค.-ก.ย.43 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ การที่อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค.43 เนื่องมาจากมีจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างและจำนวนผู้หางานใหม่ในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น (MCA) กล่าวว่า สถานการณ์การจ้างงานยังคงไม่แจ่มใส โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก แต่มีสัญญาณที่ดีสำหรับการจ้างงานในภาคบริการ บริษัทขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันการจ้างงานที่มีเงินเดือนประจำ เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นอกจากนั้น การที่มีจำนวนผู้หางานใหม่เพิ่มขึ้นก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะแสดงว่าประชาชนมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้นจนสามารถออกหางานทำใหม่ได้รอยเตอร์ 31)
3. ดาดว่าดัชนี NAPM ของ สรอ. จะต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนี NAPM ของสมาคมจัดซื้อแห่งชาติ ที่ใช้เป็นเครื่องวัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต จะลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากที่ระดับ 49.9 ในเดือน ก.ย. 43 ซึ่งจะชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 ต.ค. 43 43.768 (43.801)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 ต.ค. 43ซื้อ 43.5738 (43.5909) ขาย 43.8887 (43.8971)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.19 (28.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.รายงานตัวเลขดุลการชำระเงินในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ให้ ครม.เศรษฐกิจรับทราบ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า จากรายงานของ ธปท.ต่อที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโนบายเศรษฐกิจระบุว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 43 ดุลการชำระเงินมียอดขาดดุลจำนวน 2.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเอกชนที่มิใช่ธนาคารชำระหนี้ต่างประเทศสูงถึง 6.8 พัน ล.ดอลลาร์ และชำระภาระสว็อปวายทูเคในช่วงเดือน ธ.ค.42 จำนวน 1.7 พัน ล.ดอลลาร์ ขณะที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 6.3 พัน ล.ดอลลาร์ สำหรับในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ คาดว่าดุลการชำระเงินจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากเอกชนชะลอการชำระหนี้ต่างประเทศ เพราะหนี้ที่ครบกำหนดและยังไม่ครบกำหนดบางส่วนได้ชำระไปแล้ว ส่วนภาคทางการจะชำระหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) งวดแรกประมาณ 200 ล.ดอลลาร์ ดังนั้นตลอดปี 43 จะขาดดุลการชำระเงิน 2.8 พัน ล.ดอลลาร์ โดยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 1 หมื่น ล.ดอลลาร์ ขาดดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย 1.25 หมื่น ล.ดอลลาร์ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 43 มีจำนวนประมาณ 32,150 ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ ธปท.ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยยังมีเสถียรภาพ แต่ ครม.เศรษฐกิจยังกังวลเรื่องการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศที่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 2 เทียบกับร้อยละ 3.2 ในปีที่ผ่านมา (มติชน 31)
2. ยอดการใช้เช็คเพิ่มขึ้นหลังการใช้กฎหมายฟอกเงิน แหล่งข่าวจาก ธพ.กล่าวว่า หลังจากที่กฎหมายฟอกเงินมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค.43 ซึ่ง ธพ.ต้องรายงานธุรกรรมที่ลูกค้านำเงินมาฝากตั้งแต่ 2 ล.บาทขึ้นไปต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) นั้น ปรากฎว่ามีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางหลีกเลี่ยงกฎหมายด้วยการใช้บริการผ่านเช็คมากขึ้น เพราะธุรกรรมผ่านเช็คที่มีวงเงินต่ำกว่า 5 ล.บาท ไม่ต้องแจ้งว่าลูกค้าจะทำธุรกรรมกับใคร อย่างไร โดยเงื่อนไขของกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่าเช็คเป็นทรัพย์สินมิใช่เงินสด ทำให้ลูกค้าที่ทุจริตใช้เป็นช่องทางในการโอนเงิน (แนวหน้า,กรุงเทพธุรกิจ 31)
3. การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของ ธปท.ต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ภาคธุรกิจต่างๆ ขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.ผ่านสถาบันการเงินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 94,742 ล.บาท เมื่อรวมกับส่วนของสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แก่ภาคเอกชนตามโครงการดังกล่าวอีก 83,782 ล.บาท ทำให้มียอดสะสมทั้งสิ้น 178,524 ล.บาท ภาคธุรกิจที่มาขอรับความอนุเคราะห์ทางการเงินจาก ธปท.มากที่สุดได้แก่ ตั๋วการส่งออก โดย ณ สิ้นเดือน ก.ย.43 มีจำนวน 59,535 ล.บาท ที่ผ่านมาจำนวนเงินที่ ธปท.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคเศรษฐกิจสำคัญมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ขนาดของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนการให้ความช่วยเหลือลดลง ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทยและสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลกในปี 48 ที่ห้ามภาครัฐให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจ (วัฏจักร 31)
ข่าวต่างประเทศ
1. รายได้และการใช้จ่ายของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อยู่ที่มูลค่า 6.866 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากมีการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในการซื้อรถยนต์ใหม่และสินค้าอื่นๆที่มีต้นทุนแพง และการที่ราคาพลังงานสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ย. 43 รายได้ของผู้บริโภค ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่มูลค่า 8.425 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากมีการจ่ายเงินสนับสนุนให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี นับตั้งแต่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน ต.ค. 42 อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่รวมเงินสนับสนุนที่ให้แก่เกษตรกร รายได้ของผู้บริโภค ในเดือน ก.ย. 43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เช่นเดียวกับเดือน ส.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคกำลังลดการออมเงินเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายซื้อสินค้า (รอยเตอร์ 30)
2. อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 31 ต.ค.43 รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ย.43 อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.7 คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือน ส.ค.43 ที่ระดับร้อยละ 4.6 โดย ก.แรงงานญี่ปุ่นกล่าวว่า ในเดือน ก.ย. นี้ สัดส่วนระหว่างตำแหน่งงานว่างต่อผู้สมัครงานอยู่ที่ 62 ตำแหน่งต่อผู้สมัครงานทุก 100 คน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สำหรับอัตราการว่างงานในช่วงไตรมาสเดือน ก.ค.-ก.ย.43 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ การที่อัตราการว่างงานในเดือน ก.ย.43 เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค.43 เนื่องมาจากมีจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างและจำนวนผู้หางานใหม่ในตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น (MCA) กล่าวว่า สถานการณ์การจ้างงานยังคงไม่แจ่มใส โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก แต่มีสัญญาณที่ดีสำหรับการจ้างงานในภาคบริการ บริษัทขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันการจ้างงานที่มีเงินเดือนประจำ เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน นอกจากนั้น การที่มีจำนวนผู้หางานใหม่เพิ่มขึ้นก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะแสดงว่าประชาชนมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้นจนสามารถออกหางานทำใหม่ได้รอยเตอร์ 31)
3. ดาดว่าดัชนี NAPM ของ สรอ. จะต่ำกว่าระดับ 50 ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 30 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ คาดว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนี NAPM ของสมาคมจัดซื้อแห่งชาติ ที่ใช้เป็นเครื่องวัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต จะลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากที่ระดับ 49.9 ในเดือน ก.ย. 43 ซึ่งจะชี้ถึงการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 30 ต.ค. 43 43.768 (43.801)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 30 ต.ค. 43ซื้อ 43.5738 (43.5909) ขาย 43.8887 (43.8971)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.19 (28.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-