ข่าวในประเทศ
1. ธปท.จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาบทบาทนโยบายการเงินในภาคเศรษฐกิจปัจจุบัน ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงิน นักธุรกิจ และนักวิชาการว่า เป็นครั้งแรกที่ ธปท.เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางการทำงานของ ธปท. ทั้งในเรื่องการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราดอกเบี้ยต่ำ และปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศ พร้อมทั้งขอความคิดเห็นจากทุกฝ่ายว่า ธปท.ควรเพิ่มมาตรการใดที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้ ทั้งนี้ กลุ่มสถาบันการเงินมีการตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่ง ธปท.จะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเพื่อกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไป(เดลินิวส์ 15)
2. ก.คลังวางแนวทางร่วมกับธนาคารรัฐในการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจ รมว.คลังเปิดเผยว่า จะมีการหารือร่วมกับผู้บริหารของธนาคารรัฐ 4 แห่ง คือ ธ.กรุงไทย, ธ.ไทยธนาคาร, ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อวางแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยคาดว่าภายหลังการหารือร่วมกัน ธนาคารรัฐทั้ง 4 แห่งจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 (เดลินิวส์ 15)
3. รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนร่วมทุนที่รัฐบาลจะเข้าไปลงทุนเพื่อประกันความเสี่ยงหรือ Maching Fund เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงการลงทุนใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดขนาดของกองทุนแต่รัฐบาลจะเข้าไปร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 25 และเอกชนร่วมลงทุนร้อยละ 75 โดยมีขนาดกองทุนขั้นต่ำประมาณ 1 แสนล้านบาท(ผู้จัดการรายวัน 15)
4. สศช. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินภาวะเศรษฐกิจ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 44 ว่า มีปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศที่อาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ดังนั้น สศช. จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นให้รัฐบาลพิจารณาดังนี้ 1) เร่งรัดและเข้มงวดกับการเบิกจ่าย งปม. ภาครัฐ 2) สร้างกำลังซื้อในประเทศและเพิ่มปริมาณการค้าบริเวณชายแดน 3) เพิ่มการลงทุนภาคเอกชน 4) สร้างความมั่นใจในศักยภาพการลงทุนใหม่ และ 5) เร่งส่งเสริมการขยายสินค้าและธุรกิจบริการท่องเที่ยว นอกจากนี้จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจร่วมกันระหว่าง สศช. ธปท. ก.พาณิชย์ ก.คลัง และบ.ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์คาดว่าในไตรมาสที่ 1-3 ปี 44 เศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3(กรุงเทพธุรกิจ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ขณะเดียวกัน การใช้กำลังผลิตในเดือน เม.ย. 44 ลดลงเหลือร้อยละ 78.5 จากร้อยละ 79.2 ในเดือน มี.ค.44 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ตั้งแต่เดือน เม.ย. 34 ก่อนหน้านี้ รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ คาดว่า ในเดือน เม.ย. 44 ผลผลิตฯจะลดลงร้อยละ 0.2 และการใช้กำลังผลิต จะลดลงเหลือร้อยละ 78.9 อนึ่ง จากการที่ผลผลิตฯ และการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าที่คาดหมาย จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความคาดหวังว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงร้อยละ 0.5 ในการประชุมในวันที่ 15 พ.ค. นี้ (รอยเตอร์14)
2. สินค้าคงคลังของ สรอ. ลดลงมากกว่าที่คาดหมาย ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ค. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. 44 สินค้าคงคลังมีมูลค่า 1.213 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.3 มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 44 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ลดลง 2 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่ที่เคยลดลงในเดือน ม.ค. และ ก.พ. 35 นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจที่จะลดสินค้าคงคลังที่เกินความต้องการ และเปิดโอกาสให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตาม จากรายงานครั้งนี้ชี้ด้วยว่า ความต้องการสินค้ายังคงชะงักงัน โดยยอดขายของธุรกิจในเดือน มี.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่มูลค่า 888.32 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 44(รอยเตอร์14)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน มี.ค.44 บัญชีเดินสะพัดมียอดเกินดุลจำนวน 1.3036 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือน ก.พ.43 ที่มีมูลค่า 1.3108 ล้นล้านเยน โดยเกินดุลการค้าจำนวน 1.1033 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 13.8 จากเดือน ก.พ.43 ที่มีจำนวน 1.2804 ล้านล้านเยน สำหรับปี งปม.สิ้นสุด 31 มี.ค.44 ดุลบัญชีเดินสะพัดมียอดเกินดุลลดลงร้อยละ 4.5 เหลือจำนวน 12.07 ล้านล้านเยน (98.43 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 และเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 16.1 เหลือจำนวน 11.55 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดเกินดุลฯ ลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก การส่งออกเบาบางลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ semiconductor และอุปกรณ์สำนักงานเพิ่มขึ้นเจากประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งส่งผลให้ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1 ของการนำเข้าทั้งหมด(รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ค. 44 45.497 (45.469)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14พ.ค. 44ซื้อ 45.3309 (45.2642) ขาย 45.6461 (45.5684)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.19 (24.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-
1. ธปท.จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมสัมมนาบทบาทนโยบายการเงินในภาคเศรษฐกิจปัจจุบัน ร่วมกับผู้บริหารสถาบันการเงิน นักธุรกิจ และนักวิชาการว่า เป็นครั้งแรกที่ ธปท.เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางการทำงานของ ธปท. ทั้งในเรื่องการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ปัญหาอัตราดอกเบี้ยต่ำ และปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศ พร้อมทั้งขอความคิดเห็นจากทุกฝ่ายว่า ธปท.ควรเพิ่มมาตรการใดที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้ ทั้งนี้ กลุ่มสถาบันการเงินมีการตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจไทย ซึ่ง ธปท.จะนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเพื่อกำหนดนโยบายการเงินครั้งต่อไป(เดลินิวส์ 15)
2. ก.คลังวางแนวทางร่วมกับธนาคารรัฐในการปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจ รมว.คลังเปิดเผยว่า จะมีการหารือร่วมกับผู้บริหารของธนาคารรัฐ 4 แห่ง คือ ธ.กรุงไทย, ธ.ไทยธนาคาร, ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่อวางแนวทางการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว โดยคาดว่าภายหลังการหารือร่วมกัน ธนาคารรัฐทั้ง 4 แห่งจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.44 (เดลินิวส์ 15)
3. รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ รมว.คลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุนร่วมทุนที่รัฐบาลจะเข้าไปลงทุนเพื่อประกันความเสี่ยงหรือ Maching Fund เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงการลงทุนใหม่ ๆ เข้ามาในประเทศ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดขนาดของกองทุนแต่รัฐบาลจะเข้าไปร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 25 และเอกชนร่วมลงทุนร้อยละ 75 โดยมีขนาดกองทุนขั้นต่ำประมาณ 1 แสนล้านบาท(ผู้จัดการรายวัน 15)
4. สศช. เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ภายหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินภาวะเศรษฐกิจ ณ สิ้นเดือน พ.ค. 44 ว่า มีปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศที่อาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง ดังนั้น สศช. จึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นให้รัฐบาลพิจารณาดังนี้ 1) เร่งรัดและเข้มงวดกับการเบิกจ่าย งปม. ภาครัฐ 2) สร้างกำลังซื้อในประเทศและเพิ่มปริมาณการค้าบริเวณชายแดน 3) เพิ่มการลงทุนภาคเอกชน 4) สร้างความมั่นใจในศักยภาพการลงทุนใหม่ และ 5) เร่งส่งเสริมการขยายสินค้าและธุรกิจบริการท่องเที่ยว นอกจากนี้จากการประเมินภาวะเศรษฐกิจร่วมกันระหว่าง สศช. ธปท. ก.พาณิชย์ ก.คลัง และบ.ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์คาดว่าในไตรมาสที่ 1-3 ปี 44 เศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3(กรุงเทพธุรกิจ 15)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ค. 44 ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 ผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ขณะเดียวกัน การใช้กำลังผลิตในเดือน เม.ย. 44 ลดลงเหลือร้อยละ 78.5 จากร้อยละ 79.2 ในเดือน มี.ค.44 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ตั้งแต่เดือน เม.ย. 34 ก่อนหน้านี้ รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ คาดว่า ในเดือน เม.ย. 44 ผลผลิตฯจะลดลงร้อยละ 0.2 และการใช้กำลังผลิต จะลดลงเหลือร้อยละ 78.9 อนึ่ง จากการที่ผลผลิตฯ และการใช้กำลังการผลิตต่ำกว่าที่คาดหมาย จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความคาดหวังว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงร้อยละ 0.5 ในการประชุมในวันที่ 15 พ.ค. นี้ (รอยเตอร์14)
2. สินค้าคงคลังของ สรอ. ลดลงมากกว่าที่คาดหมาย ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ค. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค. 44 สินค้าคงคลังมีมูลค่า 1.213 ล้านล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 0.3 มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 44 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ลดลง 2 เดือนติดต่อกันนับตั้งแต่ที่เคยลดลงในเดือน ม.ค. และ ก.พ. 35 นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อระบบเศรษฐกิจที่จะลดสินค้าคงคลังที่เกินความต้องการ และเปิดโอกาสให้ธุรกิจเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตาม จากรายงานครั้งนี้ชี้ด้วยว่า ความต้องการสินค้ายังคงชะงักงัน โดยยอดขายของธุรกิจในเดือน มี.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.3 อยู่ที่มูลค่า 888.32 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 44(รอยเตอร์14)
3. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน มี.ค.44 บัญชีเดินสะพัดมียอดเกินดุลจำนวน 1.3036 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 0.6 จากเดือน ก.พ.43 ที่มีมูลค่า 1.3108 ล้นล้านเยน โดยเกินดุลการค้าจำนวน 1.1033 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 13.8 จากเดือน ก.พ.43 ที่มีจำนวน 1.2804 ล้านล้านเยน สำหรับปี งปม.สิ้นสุด 31 มี.ค.44 ดุลบัญชีเดินสะพัดมียอดเกินดุลลดลงร้อยละ 4.5 เหลือจำนวน 12.07 ล้านล้านเยน (98.43 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 และเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 16.1 เหลือจำนวน 11.55 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดเกินดุลฯ ลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นมาก การส่งออกเบาบางลงอันเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ semiconductor และอุปกรณ์สำนักงานเพิ่มขึ้นเจากประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งส่งผลให้ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.1 ของการนำเข้าทั้งหมด(รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ค. 44 45.497 (45.469)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14พ.ค. 44ซื้อ 45.3309 (45.2642) ขาย 45.6461 (45.5684)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.19 (24.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-