บทสรุปนักลงทุน
ไส้กรอก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมบริโภคกันมาก เนื่องจากเป็น
อาหารที่มีคุณค่าโปรตีนสูง มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการบริโภค ตลาดหลักจะเป็น
ตลาดภายในประเทศ มีการส่งออกและนำเข้าไม่มากนัก โดยความต้องการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่ม
ขึ้นเป็นลำดับตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรายได้ แต่หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน
ประเทศตั้งแต่ปี 2540 ทำให้ความต้องการมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2543 ปริมาณ
ความต้องการบริโภคจะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
การผลิตไส้กรอกที่ทำจากเนื้อสุกรของไทยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและ
ขนาดย่อม โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึงจังหวัดใหญ่ของภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นแหล่งบริโภคสำคัญ สำหรับช่องทางการจำหน่ายนั้น การจำหน่ายไปยัง
ซูเปอร์มาร์เกต เป็นช่องทางจำหน่ายที่นิยมกันมากที่สุดโดยเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ เนื่องจากเป็น
โอกาสที่จะจำหน่ายไส้กรอกได้มากที่สุด สำหรับผู้ผลิตขนาดเล็กส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทน
จำหน่ายโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดสดในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ ๆ
การลงทุนผลิตไส้กรอกเป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญและเงินทุนมากนัก เนื่อง
จากผู้ขายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไส้กรอกส่วนใหญ่จะมีการอบรมการผลิตไส้กรอกและการใช้
เครื่องจักรให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะลงทุนผลิตไส้กรอกจำเป็นที่จะต้องมีช่องทางการจำหน่ายที่ดี
และมีตลาดที่จะรองรับอยู่แล้วเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตอื่นในตลาดได้ เนื่องจากไส้กรอกเป็น
สินค้าที่มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงและส่วนใหญ่ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีตลาดของตนอยู่แล้ว จึงยาก
ที่ผู้ผลิตรายอื่นจะเข้าไปแทรกในตลาดนั้นได้
ปัญหาที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไส้กรอกในปัจจุบันเผชิญอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านความ
ต้องการที่ชะลอลง และสภาพคล่องทางการเงินของผู้ผลิตมีน้อยเนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดใน
การปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายโดยเฉพาะขนาดเล็กต้องเลิกกิจการไปหลายแห่งเพราะไม่
สามารถรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
การแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้บริโภคได้นานขึ้น สามารถทำได้ 2 วิธี
หลัก คือ วิธีที่ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น และวิธีที่ใช้เทคโนโลยี
จากต่างประเทศ เช่น ไส้กรอก แฮมและเบคอน ซึ่งประเทศไทยได้พัฒนาการผลิตจนกระทั่งสามารถส่ง
ออกไปยังต่างประเทศได้ สำหรับในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการศึกษาเฉพาะการแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยี
จากต่างประเทศ คือ ไส้กรอกจากเนื้อสุกรซึ่งเป็นที่นิยมในการบริโภคมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ
แฮมและเบคอน โดยการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้กับไส้กรอกที่ผลิตจากเนื้อสัตว์อื่น
ๆได้ด้วย เนื่องจากมีเครื่องจักรและกรรมวิธีการผลิตใกล้เคียงกัน
ไส้กรอกที่ทำการผลิตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1)!ไส้กรอกสด (Fresh Sausage) เป็นไส้กรอกที่ได้จากการนำเนื้อสุกรมาบดผสมกับ
เครื่องปรุงต่าง ๆ ยัดไส้และผูกเป็นปล้อง ต้องนำมาต้ม ทอดหรือย่างให้สุกก่อนรับประทาน อย่าง
ไรก็ตาม ไส้กรอกประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมในประเทศมากนัก โดยไส้กรอกอีสาน แหนมและหมู
ยออาจจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ได้
2)!ไส้กรอกสุกหรือรมควัน (Cooked Sausage or Smoked Sausage) มีกรรมวิธีใกล้เคียงกับไส้
กรอกสด แต่หลังจากยัดไส้แล้วต้องนำไปรมควัน อบ/หรือต้มให้สุกก่อน
สำหรับราคาจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของไส้กรอกและคุณภาพของวัตถุดิบที่นำ
มาผลิต หากเป็นไส้กรอกรมควันและใช้เนื้อที่มีคุณภาพดีจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าไส้กรอกสดหรือไส้
กรอกที่ผสมมัน กระดูกหรือแป้ง เพื่อให้มีปริมาณเนื้อในไส้กรอกมากขึ้น
ตลาดไส้กรอกส่วนใหญ่จะเป็นตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมถึง
ตัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ เนื่องจากไส้กรอกเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้นโดยต้องเก็บ
รักษาในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยปริมาณความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามการเพิ่มขึ้นของ
จำนวนประชากรและรายได้ เนื่องจากไส้กรอกเป็นอาหารที่มีคุณค่าโปรตีนสูง มีความสะดวกและ
ประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเพื่อบริโภค แต่หลังจากเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศตั้งแต่ปี
2540 ทำให้ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนลดการบริโภคโดยหันไป
บริโภคสินค้าอื่น ๆ ที่มีราคาต่ำกว่าทดแทน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณความต้องการบริโภคในปี
2543 จะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว โดยคาดว่ามูลค่าตลาดไส้กรอกจะอยู่ที่
ประมาณ 1,200-1,400 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออกและนำเข้าไส้กรอกในแต่ละปีมีไม่มากนัก มีมูลค่ารวมกันประมาณ 10-15
ล้านบาทต่อปีเท่านั้น เนื่องจากไส้กรอกส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันด้านคุณภาพและราคากับ
ประเทศผู้ส่งออกใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ แคนาดาและเดนมาร์กได้ โดยตลาดส่งออกหลักของไทยจะเป็น
ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในแถบเอเชีย คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกงและญี่ปุ่น ส่วนการนำเข้าไส้
กรอก เป็นการตอบสนองความต้องการของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น โดย
ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 50 ของไส้กรอกนำเข้าทั้งหมด
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีผู้ผลิตไส้กรอกที่ทำจากเนื้อสุกรประมาณ 41
โรงงาน กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใหญ่ ๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยส่วนใหญ่แล้วแต่ละโรงงานจะมีการผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่มีกรรมวิธีการผลิตใกล้เคียงกัน
สามารถใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น แฮม เบคอน ลูกชิ้น หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุน(บาท)
บริษัท แหลมทองโปรตีนฟู้ด จำกัด 164,000,000
บริษัท กรุงเทพโปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 151,000,000
บริษัท อัลพิน่า มีท โปรเซทซิ่ง จำกัด 100,000,000
บริษัท ไทยเยอรมันมีทโปรดักซ์ จำกัด 85,000,000
บริษัท บางกอกแฮมโปรดักส์ ซัพพลาย จำกัด 73,735,800
บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซูปเปอร์มาร์เกต จำกัด 72,700,000
บริษัท จีเอฟ ฟูดส์ จำกัด 72,300,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายไส้กรอก จำแนกเป็น
1. การขายส่งโดยตรงแก่ซูเปอร์มาร์เกตและห้างสรรพสินค้า
2. การขายส่งผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าส่ง
3. การขายปลีกแก่ผู้บริโภครายใหญ่ เช่น โรงแรม ภัตตาคารหรือลูกค้าที่ติดต่อโดยตรงกับผู้ผลิต
4. การจำหน่ายไปยังซูเปอร์มาร์เกต เป็นช่องทางจำหน่ายที่นิยมกันมากที่สุดโดยเฉพาะ
ผู้ผลิตรายใหญ่ เนื่องจากเป็นโอกาสที่ไส้กรอกจะถูกจำหน่ายได้มากที่สุด สำหรับผู้ผลิตขนาดเล็กส่วน
ใหญ่จะขายผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดสดในกรุงเทพและจังหวัดใหญ่ ๆ
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบสำคัญ คือ เนื้อสุกร ไส้เทียมสำหรับบรรจุ (Artificial Casing) ซึ่งทำจากใยสังเคราะห์
เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสต่าง ๆ
สำหรับแหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ยกเว้นไส้เทียมที่ทั้งหมด
ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
1.! วัตถุดิบ 92
-!ในประเทศ 71
-!นำเข้า 39
2. แรงงาน 4
3. โสหุ้ยการผลิต 4
4. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 1
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ทำความสะอาดเนื้อสุกร
|
V
!หมักเนื้อสุกรในตู้เย็นด้วยเกลือประมาณ 1 วัน
|
V
เข้าเครื่องบด
|
V
เข้าเครื่องสับ (CUTTER) ใส่เครื่องปรุงสารเคมี และน้ำแข็ง ผสมให้
|
V
!เข้าเครื่องอัดไส้กรอกเพื่อบรรจุในไส้พลาสติกชนิดเซลโลโฟน
|
V
เข้าเครื่องผูกให้เป็นปล้อง
|
V
เข้าเตาอบอุณหภูมิ
60o-80 o C ประมาณ 30
|
V
ตัดเป็นท่อน
|
V
บรรจุหีบห่อ และเก็บ
ในตู้เย็นเพื่อรอ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ประกอบด้วยเครื่องบด (Mincer) เครื่องสับผสม (Cutter) เครื่องอัดไส้กรอก (Hydrolic
Stuffer) เครื่องผูกไส้กรอก ตู้อบไส้กรอก และเครื่องบรรจุภัณฑ์
การลงทุนและการเงิน
การลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไส้กรอกจากเนื้อสุกร ควรตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯและ
ปริมณฑล หรือตามตัวเมืองในจังหวัดใหญ่ ๆ กรณีการลงทุนไส้กรอกขนาดกำลังการผลิต 1,560 ตันต่อ
ปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 10,470,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 5,470,000 บาท
- เครื่องบด 500,000 บาท
- เครื่องสับ 2,000,000 บาท
- เครื่องอัดไส้กรอก 150,000 บาท
- เครื่องผูกไส้กรอก 20,000 บาท
- ตู้อบไส้กรอก 2,000,000 บาท
- เครื่องบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ 300,000 บาท
- อุปกรณ์อื่น 500,000 บาท
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้าและอื่น ๆ 1,000,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 6,300,000 บาท/เดือน
บุคลากร
อุตสาหกรรมการผลิตไส้กรอกใช้บุคลากรประมาณ 30 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน จำนวน 27 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 3 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 65,520,000 บาทต่อปี
เนื้อสุกร 46,800,000 บาทต่อปี
ไส้เทียม 18,720,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 2,976,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 547,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 3,276,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 495,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 1,980,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 131,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 670,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 7 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 1,560,000 กก.ราคาเฉลี่ย 50 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 78 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: การส่งออกไส้กรอกระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(ตัน) (ล้านบาท)
2538 5.95 -80.91 1.00 -66.10
2539 49.73 735.80 9.32 831.80
2540 48.57 -2.34 8.22 -11.78
2541 58.01 19.44 10.16 23.60
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 111.63 280.83 12.80 97.45
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 2: ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.!สิงคโปร์ 86.71
2.!มาเลเซีย 5.94
3.!ฮ่องกง 4.22
4.!ญี่ปุ่น 2.73
5.!กัมพูชา 0.23
6.!อื่น ๆ 0.17
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 3: การนำเข้าไส้กรอกระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(ตัน) (ล้านบาท)
2538 10.93 +37.48 1.15 -1.71
2539 19.61 +79.41 1.99 +73.04
2540 14.98 -23.61 1.65 -17.09
2541 64.83 +332.78 3.89 +135.76
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 15.01 -67.86 1.38 -46.62
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 4: ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.!ญี่ปุ่น 54.35
2.!อิตาลี 25.36
3.!ออสเตรเลีย 20.29
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ราคาซื้อขาย
มีความหลากหลายมาก ขึ้นกับคุณภาพและชนิดของไส้กรอกแต่ละประเภท เช่น ไส้กรอกที่
ผลิตจากผู้ผลิตรายเล็กและขายในตลาดสดมีราคาประมาณ 50 บาท/กก. แต่หากเป็นไส้กรอกที่ผลิต
จากผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่จะขายในห้างสรรพสินค้าหรือซูปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อาจจะมี
ราคาสูงถึง 160 บาท/กก.
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 5: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรในการผลิตไส้กรอก
บริษัท ที่อยู่
บริษัท วิคกี้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 2797-2799 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กทม. 10250 โทร. 722-0450-59
Convenience Food Systems (Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสารเคมีสำหรับการผลิตไส้กรอก
บริษัท ที่อยู่
บริษัท เดอะยูชีน เพอร์ฟูเมอร์รี่ เคมมิคอล (ประเทศ 1138/76-77 ถ.พระราม 3 บางโพงพาง ยานนาวา
ไทย) จำกัด กทม. 10120 โทร.294-6946, 294-8445
บริษัท ฟู้ดส์ฟิลด์อินเตอร์เนชันแนล จำกัด 729/113-114 ถ.รัชดาภิเษก แขวงบางโพงพาง ยาน
นาวา กทม. 10120 โทร.295-4168-70
บริษัท ไทยฟูด แอนด์ เคมิคอล จำกัด 26/171 ซ. 105 ถ.สุขุมวิท บางนา กทม. 10260
โทร. 748-7292, 748-7534
หจก. เทคนิฟู้ด 18 ซ.อ่อนนุช 35 อ่อนนุช สวนหลวง กทม. 10250
โทร. 315-2339-40
บริษัท โกลโบฟูดส์ จำกัด 482 หมู่ 1 ซ.ผูกมิตร ถ.รถรางเก่า ต.สำโรงใต้ พระ
ประแดง สมุทรปราการ 10130
โทร. 384-0036, 384-2772-4
บริษัท วิคกี้ คอนโซลิเดท จำกัด 2811-23 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กทม. 10250 โทร. 322-5711
Convenience Food Systems(Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก เขต
พระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูราย
ละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! ระเบียบการยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
ผู้ที่มีความประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหารให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหลัก
ฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.! คำขออนุญาตตั้งโรงงานตามแบบ อ.1 จำนวน 1 ฉบับ (ขอได้จากกองควบคุมอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด)
2.!สำเนาหรือรูปถ่ายทะเบียนบ้านของผู้อนุญาต จำนวน 1 ฉบับ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นคน
ต่างด้าวต้องยื่นหนังสืออนุญาตให้ทำงานในประเทศ ซึ่งออกให้โดยอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ว่าราช
การจังหวัดจำนวน 1 ฉบับ
3.!สำเนาหรือรูปถ่ายทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะบุคคล
ธรรมดา)
4.!สำเนาหรือรูปถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ หรือผู้มีอำนาจลงชื่อ
แทนนิติบุคคลผู้ขออนญาต จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล)
5.!สำเนาหนังสือรับรองสัญชาติของนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)
จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นคนต่างด้าวต้องยื่นหนังสือรับรองประกอบ
ธุรกิจคนต่างด้าวด้วย จำนวน 1 ฉบับ
6.!หนังสือแสดงว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาต จำนวน
1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท อาจต้องประทับตราของบริษัทด้วย ในกรณีที่
ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียน (ขอได้จากกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด)
7.!แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 2 ชุด
7.1! แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
7.2! แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน รวมทั้งระบบกำจัดน้ำ
เสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)
7.3! แบบแปลนแผนผังแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
ก.! รูปด้านหน้า ด้านข้าง และรูปตัดของอาคารที่ใช้ในการผลิต
ข.! แปลนพื้น โดยแสดง
-! ตำแหน่งเครื่องจักร พร้อมด้วยรายละเอียด ได้แก่ ชนิด ขนาด และแรงม้าของ
เครื่องจักรที่จะใช้ ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ไม่อาจระบุแรงม้าได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ระบุพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
เตาไฟให้ระบุชนิด ขนาดและแบบของเตา
ขนาดของเตาเผา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้และปริมาณที่ใช้ต่อหนึ่งชั่วโมง หม้อน้ำ ให้ระบุแรงม้า
จากปริมาณไอน้ำที่ใช้หรือจะแสดงแบบหม้อน้ำก็ได้
-!ระดับพื้นโรงงาน ระดับพื้นห้องผลิตอาหาร ซึ่งต้องเป็นแบบลาดเอียงทางระบายน้ำ
เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด
-!ท่อหรือทางระบายน้ำ พร้อมทั้งแจ้งขนาดของท่อหรือทางระบายน้ำและทิศทางของน้ำไหล
ภายในโรงงานจนออกนอกโรงงานโดยละเอียด ถ้ามีทางระบายน้ำสาธารณะอยู่ใกล้เคียงโรงงานก็ให้แสดงทาง
ระบายน้ำทิ้งไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะด้วย
ค.! แบบแปลนการก่อสร้างระบบกำจัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง โดยมีรายละเอียดในการคำนวณประกอบแบบแปลน
ถ้าได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีระบบกำจัดน้ำเสียจะต้องส่งหนังสือรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ง.! การแบ่งกั้นห้องหรือเนื้อที่หรือบริเวณ โดยแยกเป็นสัดส่วนสำหรับการผลิตอาหารแต่ละประเภทเพื่อใช้สำหรับ
-!เก็บวัตถุดิบ
-!เตรียมวัตถุดิบ
-!ปรุงผสม
-!บรรจุ
-!ปิดฉลาก
-!เก็บผลิตภัณฑ์
-!เก็บภาชนะบรรจุ
-!ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์หรือภาชนะ
-!อื่น ๆ
จ. ที่ตั้งและจำนวนของห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง อ่างล้างมือหน้าห้องส้วมและในบริเวณผลิต
7.4!รายละเอียดต่าง ๆ
ก.! ที่มาของน้ำที่ใช้ในการผลิต หากไม่ได้ใช้น้ำประปาให้แจ้งกรรมวิธีการปรับ
คุณภาพของน้ำด้วย
ข.! กรรมวิธีการผลิตอาหารแต่ละชนิดโดยละเอียด
ค.! กรรมวิธีล้างเครื่องจักร ภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ต่าง ๆ (ถ้ามี)
ง.! ประเภทและชนิดของอาหารที่จะผลิต ตลอดจนปริมาณการผลิตและชนิดของ
ภาชนะบรรจุ
จ.! ชนิดของวัตถุดิบและสารปรุงแต่ง
ฉ.! วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
ช.! จำนวนคนงานชาย-หญิง
แผนภูมิแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติการอนุญาตเกี่ยวกับอาหาร
ผู้ประกอบการยื่นคำขอ
|
V
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอเบื้องต้น
|
V
| |
V V
รับคำขอ/ออกเลข ไม่รับคำขอ
เมื่อหลักฐานถกต้อง เมื่อหลักฐานไม่ครบถ้วน
| |
V V
พิจารณารายละเอียดทางวิชา ผู้ประกอบการแก้ไข
การและกฎหมาย
| |
V V
ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง/ไม่เหมาะสม
ต้องการเอกสารวิชาการเพิ่ม
| |
V V
ผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอไม่แก้ไขภายใน
| |
V V
เสนอขออนุมัติออกใบ ยกเลิกคำขอ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ไส้กรอก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมบริโภคกันมาก เนื่องจากเป็น
อาหารที่มีคุณค่าโปรตีนสูง มีความสะดวกและประหยัดเวลาในการบริโภค ตลาดหลักจะเป็น
ตลาดภายในประเทศ มีการส่งออกและนำเข้าไม่มากนัก โดยความต้องการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่ม
ขึ้นเป็นลำดับตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรายได้ แต่หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน
ประเทศตั้งแต่ปี 2540 ทำให้ความต้องการมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2543 ปริมาณ
ความต้องการบริโภคจะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว
การผลิตไส้กรอกที่ทำจากเนื้อสุกรของไทยส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและ
ขนาดย่อม โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลรวมถึงจังหวัดใหญ่ของภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นแหล่งบริโภคสำคัญ สำหรับช่องทางการจำหน่ายนั้น การจำหน่ายไปยัง
ซูเปอร์มาร์เกต เป็นช่องทางจำหน่ายที่นิยมกันมากที่สุดโดยเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ เนื่องจากเป็น
โอกาสที่จะจำหน่ายไส้กรอกได้มากที่สุด สำหรับผู้ผลิตขนาดเล็กส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทน
จำหน่ายโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดสดในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ ๆ
การลงทุนผลิตไส้กรอกเป็นการลงทุนที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญและเงินทุนมากนัก เนื่อง
จากผู้ขายเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไส้กรอกส่วนใหญ่จะมีการอบรมการผลิตไส้กรอกและการใช้
เครื่องจักรให้ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะลงทุนผลิตไส้กรอกจำเป็นที่จะต้องมีช่องทางการจำหน่ายที่ดี
และมีตลาดที่จะรองรับอยู่แล้วเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตอื่นในตลาดได้ เนื่องจากไส้กรอกเป็น
สินค้าที่มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงและส่วนใหญ่ผู้ผลิตแต่ละรายจะมีตลาดของตนอยู่แล้ว จึงยาก
ที่ผู้ผลิตรายอื่นจะเข้าไปแทรกในตลาดนั้นได้
ปัญหาที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมผลิตไส้กรอกในปัจจุบันเผชิญอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านความ
ต้องการที่ชะลอลง และสภาพคล่องทางการเงินของผู้ผลิตมีน้อยเนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดใน
การปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายโดยเฉพาะขนาดเล็กต้องเลิกกิจการไปหลายแห่งเพราะไม่
สามารถรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
การแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้บริโภคได้นานขึ้น สามารถทำได้ 2 วิธี
หลัก คือ วิธีที่ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น และวิธีที่ใช้เทคโนโลยี
จากต่างประเทศ เช่น ไส้กรอก แฮมและเบคอน ซึ่งประเทศไทยได้พัฒนาการผลิตจนกระทั่งสามารถส่ง
ออกไปยังต่างประเทศได้ สำหรับในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการศึกษาเฉพาะการแปรรูปที่ใช้เทคโนโลยี
จากต่างประเทศ คือ ไส้กรอกจากเนื้อสุกรซึ่งเป็นที่นิยมในการบริโภคมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ
แฮมและเบคอน โดยการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้กับไส้กรอกที่ผลิตจากเนื้อสัตว์อื่น
ๆได้ด้วย เนื่องจากมีเครื่องจักรและกรรมวิธีการผลิตใกล้เคียงกัน
ไส้กรอกที่ทำการผลิตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1)!ไส้กรอกสด (Fresh Sausage) เป็นไส้กรอกที่ได้จากการนำเนื้อสุกรมาบดผสมกับ
เครื่องปรุงต่าง ๆ ยัดไส้และผูกเป็นปล้อง ต้องนำมาต้ม ทอดหรือย่างให้สุกก่อนรับประทาน อย่าง
ไรก็ตาม ไส้กรอกประเภทนี้ไม่เป็นที่นิยมในประเทศมากนัก โดยไส้กรอกอีสาน แหนมและหมู
ยออาจจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ได้
2)!ไส้กรอกสุกหรือรมควัน (Cooked Sausage or Smoked Sausage) มีกรรมวิธีใกล้เคียงกับไส้
กรอกสด แต่หลังจากยัดไส้แล้วต้องนำไปรมควัน อบ/หรือต้มให้สุกก่อน
สำหรับราคาจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของไส้กรอกและคุณภาพของวัตถุดิบที่นำ
มาผลิต หากเป็นไส้กรอกรมควันและใช้เนื้อที่มีคุณภาพดีจะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าไส้กรอกสดหรือไส้
กรอกที่ผสมมัน กระดูกหรือแป้ง เพื่อให้มีปริมาณเนื้อในไส้กรอกมากขึ้น
ตลาดไส้กรอกส่วนใหญ่จะเป็นตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมถึง
ตัวเมืองในจังหวัดต่าง ๆ เนื่องจากไส้กรอกเป็นสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาค่อนข้างสั้นโดยต้องเก็บ
รักษาในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยปริมาณความต้องการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามการเพิ่มขึ้นของ
จำนวนประชากรและรายได้ เนื่องจากไส้กรอกเป็นอาหารที่มีคุณค่าโปรตีนสูง มีความสะดวกและ
ประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเพื่อบริโภค แต่หลังจากเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศตั้งแต่ปี
2540 ทำให้ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนลดการบริโภคโดยหันไป
บริโภคสินค้าอื่น ๆ ที่มีราคาต่ำกว่าทดแทน อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณความต้องการบริโภคในปี
2543 จะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว โดยคาดว่ามูลค่าตลาดไส้กรอกจะอยู่ที่
ประมาณ 1,200-1,400 ล้านบาท
ทางด้านการส่งออกและนำเข้าไส้กรอกในแต่ละปีมีไม่มากนัก มีมูลค่ารวมกันประมาณ 10-15
ล้านบาทต่อปีเท่านั้น เนื่องจากไส้กรอกส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันด้านคุณภาพและราคากับ
ประเทศผู้ส่งออกใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ แคนาดาและเดนมาร์กได้ โดยตลาดส่งออกหลักของไทยจะเป็น
ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในแถบเอเชีย คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกงและญี่ปุ่น ส่วนการนำเข้าไส้
กรอก เป็นการตอบสนองความต้องการของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น โดย
ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากญี่ปุ่นกว่าร้อยละ 50 ของไส้กรอกนำเข้าทั้งหมด
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีผู้ผลิตไส้กรอกที่ทำจากเนื้อสุกรประมาณ 41
โรงงาน กระจายอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงจังหวัดใหญ่ ๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยส่วนใหญ่แล้วแต่ละโรงงานจะมีการผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่มีกรรมวิธีการผลิตใกล้เคียงกัน
สามารถใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น แฮม เบคอน ลูกชิ้น หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุน(บาท)
บริษัท แหลมทองโปรตีนฟู้ด จำกัด 164,000,000
บริษัท กรุงเทพโปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 151,000,000
บริษัท อัลพิน่า มีท โปรเซทซิ่ง จำกัด 100,000,000
บริษัท ไทยเยอรมันมีทโปรดักซ์ จำกัด 85,000,000
บริษัท บางกอกแฮมโปรดักส์ ซัพพลาย จำกัด 73,735,800
บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซูปเปอร์มาร์เกต จำกัด 72,700,000
บริษัท จีเอฟ ฟูดส์ จำกัด 72,300,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายไส้กรอก จำแนกเป็น
1. การขายส่งโดยตรงแก่ซูเปอร์มาร์เกตและห้างสรรพสินค้า
2. การขายส่งผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ค้าส่ง
3. การขายปลีกแก่ผู้บริโภครายใหญ่ เช่น โรงแรม ภัตตาคารหรือลูกค้าที่ติดต่อโดยตรงกับผู้ผลิต
4. การจำหน่ายไปยังซูเปอร์มาร์เกต เป็นช่องทางจำหน่ายที่นิยมกันมากที่สุดโดยเฉพาะ
ผู้ผลิตรายใหญ่ เนื่องจากเป็นโอกาสที่ไส้กรอกจะถูกจำหน่ายได้มากที่สุด สำหรับผู้ผลิตขนาดเล็กส่วน
ใหญ่จะขายผ่านตัวแทนจำหน่ายโดยมีตลาดหลัก คือ ตลาดสดในกรุงเทพและจังหวัดใหญ่ ๆ
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบสำคัญ คือ เนื้อสุกร ไส้เทียมสำหรับบรรจุ (Artificial Casing) ซึ่งทำจากใยสังเคราะห์
เครื่องเทศและเครื่องปรุงรสต่าง ๆ
สำหรับแหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ยกเว้นไส้เทียมที่ทั้งหมด
ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน(%)
1.! วัตถุดิบ 92
-!ในประเทศ 71
-!นำเข้า 39
2. แรงงาน 4
3. โสหุ้ยการผลิต 4
4. ค่าเสื่อมราคาและอื่น ๆ 1
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ทำความสะอาดเนื้อสุกร
|
V
!หมักเนื้อสุกรในตู้เย็นด้วยเกลือประมาณ 1 วัน
|
V
เข้าเครื่องบด
|
V
เข้าเครื่องสับ (CUTTER) ใส่เครื่องปรุงสารเคมี และน้ำแข็ง ผสมให้
|
V
!เข้าเครื่องอัดไส้กรอกเพื่อบรรจุในไส้พลาสติกชนิดเซลโลโฟน
|
V
เข้าเครื่องผูกให้เป็นปล้อง
|
V
เข้าเตาอบอุณหภูมิ
60o-80 o C ประมาณ 30
|
V
ตัดเป็นท่อน
|
V
บรรจุหีบห่อ และเก็บ
ในตู้เย็นเพื่อรอ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ประกอบด้วยเครื่องบด (Mincer) เครื่องสับผสม (Cutter) เครื่องอัดไส้กรอก (Hydrolic
Stuffer) เครื่องผูกไส้กรอก ตู้อบไส้กรอก และเครื่องบรรจุภัณฑ์
การลงทุนและการเงิน
การลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตไส้กรอกจากเนื้อสุกร ควรตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพฯและ
ปริมณฑล หรือตามตัวเมืองในจังหวัดใหญ่ ๆ กรณีการลงทุนไส้กรอกขนาดกำลังการผลิต 1,560 ตันต่อ
ปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 10,470,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 5,470,000 บาท
- เครื่องบด 500,000 บาท
- เครื่องสับ 2,000,000 บาท
- เครื่องอัดไส้กรอก 150,000 บาท
- เครื่องผูกไส้กรอก 20,000 บาท
- ตู้อบไส้กรอก 2,000,000 บาท
- เครื่องบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ 300,000 บาท
- อุปกรณ์อื่น 500,000 บาท
- ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้าและอื่น ๆ 1,000,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 6,300,000 บาท/เดือน
บุคลากร
อุตสาหกรรมการผลิตไส้กรอกใช้บุคลากรประมาณ 30 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน จำนวน 27 คน
2.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 3 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 65,520,000 บาทต่อปี
เนื้อสุกร 46,800,000 บาทต่อปี
ไส้เทียม 18,720,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 2,976,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 547,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 3,276,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 495,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 1,980,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 131,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 670,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 7 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 1,560,000 กก.ราคาเฉลี่ย 50 บาท/กก. คิดเป็นรายได้ 78 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ตารางที่ 1: การส่งออกไส้กรอกระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(ตัน) (ล้านบาท)
2538 5.95 -80.91 1.00 -66.10
2539 49.73 735.80 9.32 831.80
2540 48.57 -2.34 8.22 -11.78
2541 58.01 19.44 10.16 23.60
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 111.63 280.83 12.80 97.45
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 2: ตลาดส่งออกหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.!สิงคโปร์ 86.71
2.!มาเลเซีย 5.94
3.!ฮ่องกง 4.22
4.!ญี่ปุ่น 2.73
5.!กัมพูชา 0.23
6.!อื่น ๆ 0.17
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 3: การนำเข้าไส้กรอกระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542
ปี ปริมาณ % เปลี่ยนแปลง มูลค่า % เปลี่ยนแปลง
(ตัน) (ล้านบาท)
2538 10.93 +37.48 1.15 -1.71
2539 19.61 +79.41 1.99 +73.04
2540 14.98 -23.61 1.65 -17.09
2541 64.83 +332.78 3.89 +135.76
2542 (ม.ค.-มิ.ย.) 15.01 -67.86 1.38 -46.62
ที่มา: กรมศุลกากร
ตารางที่ 4: ตลาดนำเข้าหลักช่วง 6 เดือนแรกของปี 2542
ประเทศ สัดส่วน (%)
1.!ญี่ปุ่น 54.35
2.!อิตาลี 25.36
3.!ออสเตรเลีย 20.29
รวม 100
ที่มา: กรมศุลกากร
ราคาซื้อขาย
มีความหลากหลายมาก ขึ้นกับคุณภาพและชนิดของไส้กรอกแต่ละประเภท เช่น ไส้กรอกที่
ผลิตจากผู้ผลิตรายเล็กและขายในตลาดสดมีราคาประมาณ 50 บาท/กก. แต่หากเป็นไส้กรอกที่ผลิต
จากผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่จะขายในห้างสรรพสินค้าหรือซูปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อาจจะมี
ราคาสูงถึง 160 บาท/กก.
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 5: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรในการผลิตไส้กรอก
บริษัท ที่อยู่
บริษัท วิคกี้เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 2797-2799 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กทม. 10250 โทร. 722-0450-59
Convenience Food Systems (Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก
เขตพระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ตารางที่ 6: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสารเคมีสำหรับการผลิตไส้กรอก
บริษัท ที่อยู่
บริษัท เดอะยูชีน เพอร์ฟูเมอร์รี่ เคมมิคอล (ประเทศ 1138/76-77 ถ.พระราม 3 บางโพงพาง ยานนาวา
ไทย) จำกัด กทม. 10120 โทร.294-6946, 294-8445
บริษัท ฟู้ดส์ฟิลด์อินเตอร์เนชันแนล จำกัด 729/113-114 ถ.รัชดาภิเษก แขวงบางโพงพาง ยาน
นาวา กทม. 10120 โทร.295-4168-70
บริษัท ไทยฟูด แอนด์ เคมิคอล จำกัด 26/171 ซ. 105 ถ.สุขุมวิท บางนา กทม. 10260
โทร. 748-7292, 748-7534
หจก. เทคนิฟู้ด 18 ซ.อ่อนนุช 35 อ่อนนุช สวนหลวง กทม. 10250
โทร. 315-2339-40
บริษัท โกลโบฟูดส์ จำกัด 482 หมู่ 1 ซ.ผูกมิตร ถ.รถรางเก่า ต.สำโรงใต้ พระ
ประแดง สมุทรปราการ 10130
โทร. 384-0036, 384-2772-4
บริษัท วิคกี้ คอนโซลิเดท จำกัด 2811-23 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กทม. 10250 โทร. 322-5711
Convenience Food Systems(Thai) Ltd. 1042 ซ.พูนสิน ถ.สุขุมวิท 66/1 แขวงบางจาก เขต
พระโขนง กทม. 10260 โทร. 361-1680-1
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูราย
ละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! ระเบียบการยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
ผู้ที่มีความประสงค์จะยื่นคำขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหารให้ยื่นคำขออนุญาตพร้อมหลัก
ฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.! คำขออนุญาตตั้งโรงงานตามแบบ อ.1 จำนวน 1 ฉบับ (ขอได้จากกองควบคุมอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด)
2.!สำเนาหรือรูปถ่ายทะเบียนบ้านของผู้อนุญาต จำนวน 1 ฉบับ ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นคน
ต่างด้าวต้องยื่นหนังสืออนุญาตให้ทำงานในประเทศ ซึ่งออกให้โดยอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ว่าราช
การจังหวัดจำนวน 1 ฉบับ
3.!สำเนาหรือรูปถ่ายทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะบุคคล
ธรรมดา)
4.!สำเนาหรือรูปถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ หรือผู้มีอำนาจลงชื่อ
แทนนิติบุคคลผู้ขออนญาต จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล)
5.!สำเนาหนังสือรับรองสัญชาติของนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ (บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)
จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล) ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นคนต่างด้าวต้องยื่นหนังสือรับรองประกอบ
ธุรกิจคนต่างด้าวด้วย จำนวน 1 ฉบับ
6.!หนังสือแสดงว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลผู้ขออนุญาต จำนวน
1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคล) ติดอากรแสตมป์ 30 บาท อาจต้องประทับตราของบริษัทด้วย ในกรณีที่
ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียน (ขอได้จากกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด)
7.!แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 2 ชุด
7.1! แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
7.2! แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน รวมทั้งระบบกำจัดน้ำ
เสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)
7.3! แบบแปลนแผนผังแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
ก.! รูปด้านหน้า ด้านข้าง และรูปตัดของอาคารที่ใช้ในการผลิต
ข.! แปลนพื้น โดยแสดง
-! ตำแหน่งเครื่องจักร พร้อมด้วยรายละเอียด ได้แก่ ชนิด ขนาด และแรงม้าของ
เครื่องจักรที่จะใช้ ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ไม่อาจระบุแรงม้าได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ระบุพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
เตาไฟให้ระบุชนิด ขนาดและแบบของเตา
ขนาดของเตาเผา ชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้และปริมาณที่ใช้ต่อหนึ่งชั่วโมง หม้อน้ำ ให้ระบุแรงม้า
จากปริมาณไอน้ำที่ใช้หรือจะแสดงแบบหม้อน้ำก็ได้
-!ระดับพื้นโรงงาน ระดับพื้นห้องผลิตอาหาร ซึ่งต้องเป็นแบบลาดเอียงทางระบายน้ำ
เพื่อสะดวกในการทำความสะอาด
-!ท่อหรือทางระบายน้ำ พร้อมทั้งแจ้งขนาดของท่อหรือทางระบายน้ำและทิศทางของน้ำไหล
ภายในโรงงานจนออกนอกโรงงานโดยละเอียด ถ้ามีทางระบายน้ำสาธารณะอยู่ใกล้เคียงโรงงานก็ให้แสดงทาง
ระบายน้ำทิ้งไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะด้วย
ค.! แบบแปลนการก่อสร้างระบบกำจัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง โดยมีรายละเอียดในการคำนวณประกอบแบบแปลน
ถ้าได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีระบบกำจัดน้ำเสียจะต้องส่งหนังสือรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ง.! การแบ่งกั้นห้องหรือเนื้อที่หรือบริเวณ โดยแยกเป็นสัดส่วนสำหรับการผลิตอาหารแต่ละประเภทเพื่อใช้สำหรับ
-!เก็บวัตถุดิบ
-!เตรียมวัตถุดิบ
-!ปรุงผสม
-!บรรจุ
-!ปิดฉลาก
-!เก็บผลิตภัณฑ์
-!เก็บภาชนะบรรจุ
-!ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์หรือภาชนะ
-!อื่น ๆ
จ. ที่ตั้งและจำนวนของห้องส้วมชายและห้องส้วมหญิง อ่างล้างมือหน้าห้องส้วมและในบริเวณผลิต
7.4!รายละเอียดต่าง ๆ
ก.! ที่มาของน้ำที่ใช้ในการผลิต หากไม่ได้ใช้น้ำประปาให้แจ้งกรรมวิธีการปรับ
คุณภาพของน้ำด้วย
ข.! กรรมวิธีการผลิตอาหารแต่ละชนิดโดยละเอียด
ค.! กรรมวิธีล้างเครื่องจักร ภาชนะบรรจุและอุปกรณ์ต่าง ๆ (ถ้ามี)
ง.! ประเภทและชนิดของอาหารที่จะผลิต ตลอดจนปริมาณการผลิตและชนิดของ
ภาชนะบรรจุ
จ.! ชนิดของวัตถุดิบและสารปรุงแต่ง
ฉ.! วิธีการกำจัดขยะมูลฝอย
ช.! จำนวนคนงานชาย-หญิง
แผนภูมิแสดงขั้นตอนในการปฏิบัติการอนุญาตเกี่ยวกับอาหาร
ผู้ประกอบการยื่นคำขอ
|
V
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอเบื้องต้น
|
V
| |
V V
รับคำขอ/ออกเลข ไม่รับคำขอ
เมื่อหลักฐานถกต้อง เมื่อหลักฐานไม่ครบถ้วน
| |
V V
พิจารณารายละเอียดทางวิชา ผู้ประกอบการแก้ไข
การและกฎหมาย
| |
V V
ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง/ไม่เหมาะสม
ต้องการเอกสารวิชาการเพิ่ม
| |
V V
ผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติม ผู้ขอไม่แก้ไขภายใน
| |
V V
เสนอขออนุมัติออกใบ ยกเลิกคำขอ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--