สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาปรับเพิ่มขึ้นเพราะผลจากเทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์นี้แต่ก็ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคมีไม่มากทำให้การซื้อขายสุกรสำหรับเทศกาลในปีนี้ค่อนข้างซบเซาและหลังจากตรุษจีนไปแล้วราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีกอย่างไรก็ตามสำหรับความต้องการเลี้ยงก็ยังมีอยู่มาก ทำให้ราคาลูกสุกรยังคงแพงอยู่เพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้จะให้ผลผลิตประมาณกลางปีซึ่งราคาจำหน่ายสุกรค่อนข้างสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 35.41 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.08บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.66 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.49 บาทส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังมีมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้ราคาเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ สถานการณ์โดยรวมของไก่เนื้อค่อนข้างแจ่มใส การซื้อขายคล่องตัวสาเหตุเนื่องจากผลผลิตมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการและมีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.85 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ29.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.81 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.30 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 31.81 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พีมีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.51 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 37 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.81
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงอีก เพราะผลผลิตมีปริมาณมากอย่างไรก็ตามได้มีการปลดแม่ไก่ไข่กันมากในช่วงเทศกาลตรูษจีน เพราะราคาจำหน่ายไก่เนื้อจูงใจซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าหลังจากตรุษจีนไปแล้วราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 150บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 180 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 136 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 154 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 145บาทลดลงจากร้อยฟองละ 160 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.37
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 186 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 170 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 204 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 196 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.56บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.81 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาปรับเพิ่มขึ้นเพราะผลจากเทศกาลตรุษจีนในสัปดาห์นี้แต่ก็ปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคมีไม่มากทำให้การซื้อขายสุกรสำหรับเทศกาลในปีนี้ค่อนข้างซบเซาและหลังจากตรุษจีนไปแล้วราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีกอย่างไรก็ตามสำหรับความต้องการเลี้ยงก็ยังมีอยู่มาก ทำให้ราคาลูกสุกรยังคงแพงอยู่เพราะลูกสุกรที่นำเข้าเลี้ยงในขณะนี้จะให้ผลผลิตประมาณกลางปีซึ่งราคาจำหน่ายสุกรค่อนข้างสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 35.41 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 36.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.08บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.66 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 38.49 บาทส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังมีมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้ราคาเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ สถานการณ์โดยรวมของไก่เนื้อค่อนข้างแจ่มใส การซื้อขายคล่องตัวสาเหตุเนื่องจากผลผลิตมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการและมีแนวโน้มว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.85 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ29.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.81 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.30 บาทและภาคใต้กิโลกรัมละ 31.81 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พีมีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.51 ส่วนราคาขายส่งไก่สดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 37 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.81
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงลดลงอีก เพราะผลผลิตมีปริมาณมากอย่างไรก็ตามได้มีการปลดแม่ไก่ไข่กันมากในช่วงเทศกาลตรูษจีน เพราะราคาจำหน่ายไก่เนื้อจูงใจซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าหลังจากตรุษจีนไปแล้วราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาทลดลงจากร้อยฟองละ 150บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 130 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 180 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 136 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 154 บาทส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 145บาทลดลงจากร้อยฟองละ 160 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.37
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 184 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 186 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 170 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 204 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 169 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 196 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 213บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 32.56บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 23.28บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.81 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 5 ประจำวันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--