ข่าวในประเทศ
1. ธปท. ระบุเงินทุนไหลออกส่วนใหญ่เป็นการคืนหนี้ต่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเป็นห่วงเงินทุนไหลออกต่างประเทศว่า การไหลออกของเงินทุนในช่วงที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยน และยังสามารถรักษาระดับทุนสำรองทางการให้อยู่สูงได้อย่างต่อเนื่องในระดับ 32,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ธปท. เห็นว่าควรมีการคืนหนี้ต่างประเทศที่ไม่มีความจำเป็น โดยในช่วงที่เกิดวิกฤตไทยมียอดหนี้ต่างประเทศสูงถึง 112,000 ล.ดอลลาร์ ซึ่งในขณะนี้เหลือยอดหนี้ต่างประเทศทั้งสิ้น 78,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นความตั้งใจของ ธปท. เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเงินทุนไหลออกเพื่อลดภาระหนี้สิน เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเร่งให้มีการชำระหนี้คืนเร็วขึ้น และ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา(ข่าวสด, มติชน 24)
2. สศค. ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5-4 ของจีดีพี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ยังคงไม่ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในปี 44 และ 45 โดยในปี 44 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) คงอยู่ที่ระดับ 5.209 ล้านล้านบาท การขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5-4 ของจีดีพี เงินเฟ้อร้อยละ 2.3 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7-9 ส่วนในปี 45 จีดีพีอยู่ที่ 5.615 ล้านล้านบาท เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 เงินเฟ้อร้อยละ 2.8 (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 24)
3. ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 สถาบันการเงินไทยซึ่งประกอบด้วย ธพ. 13 แห่ง และ บง. 21 แห่ง มีผลกำไรจากการดำเนินงานรวมจำนวนทั้งสิ้น 9.5 พัน ล.บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่ปี 41 และมีผลกำไรสุทธิภายหลังหักสำรองรวมทั้งสิ้น 3.3 พัน ล.บาท เทียบกับที่ขาดทุนสุทธิ 7.4 พัน ล.บาทในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินมีผลกำไรดีขึ้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงอย่างมาก ประกอบกับสถาบันการเงินสามารถกันสำรองได้เกินเกณฑ์ของทางการ ภาระการกันสำรองจึงลดลงเหลือ 6.2 พัน ล.บาท นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนบางแห่งมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากจากธุรกรรมด้านการรับซื้อลูกหนี้และกำไรจากหลักทรัพย์(โลกวันนี้ 24)
4. ไอเอ็มเอฟประเมินเศรษฐกิจไทยปี 44 โตร้อยละ 2.5 หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แถลงว่า ไอเอ็มเอฟประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 44 จะเติบโตร้อยละ 2.5 ซึ่งน้อยกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5-4 อย่างไรก็ดี การคาดการณ์ที่ชัดเจนจะต้องรอดูข้อมูลการผลิตในไตรมาสแรกที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะแถลงอีกครั้ง ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยควรคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป เพื่อเอื้อให้มีการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ และกระตุ้นให้ลูกหนี้ชาวไทยกู้เงินในประเทศไปชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้น สำหรับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทยก็อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน (มติชน 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 พ.ค.44 Department of Statistics เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือน เม.ย.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน มี.ค.44 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ CPI ในเดือน เม.ย.สูงขึ้น ได้แก่ ราคาบ้านที่สูงขึ้น และสินค้าเบ็ดเตล็ดมีราคาแพงขึ้น โดยดัชนีฯ ราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่ดัชนีฯ สินค้าเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบกับเดือน มี.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0(รอยเตอร์ 23)
2. อัตราการว่างงานของไต้หวันเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 23 พ.ค. 44 Directorate General of Budget, Accounting and Statistics เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของไต้หวันในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.96 จากร้อยละ 3.89 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงกว่าร้อยละ 3 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ทั้งนี้ เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธุรกิจต้องปิดโรงงานหรือหยุดดำเนินการชั่วคราว ก่อนหน้านี้ รัฐบาลประมาณการว่า อัตราการว่างงานตลอดทั้งปี 44 จะสูงกว่าร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นจากปี 43 ที่มีอัตราร้อยละ 2.99(รอยเตอร์23)
3. จีดีพีของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 23 พ.ค.44 ธ.กลาง (Bank Negara) เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 3.2 ลดลงจากเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่ระดับร้อยละ 3.4 แต่ลดลงอย่างมากจากปี 43 ที่จีดีพีขยายตัวถึงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้ ความต้องการที่ลดลงของสินค้าส่งออกประเภทที่ใช้เทคโนโลยีสูงรวมทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตชะลอลงในไตรมาสที่ 1 แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2 (รอยเตอร์ 23)
4. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุด รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 23 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 36 และเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานครั้งนี้ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และ 0.2 เมื่อเทียบต่อปี และต่อเดือนตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาอาหาร พลังงานและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ส่วนเงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. 44 อนึ่ง ในวันเดียวกัน ทางการได้เปิดเผยว่า จีดีพีของเยอรมนี ที่ปรับตัวเลขตามปีปฏิทิน เติบโตร้อยละ 2 นับเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 42 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ทั้งนี้การที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง เป็นผลจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างซบเซา รวมทั้งความต้องการของผู้บริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐบาลลดลง (รอยเตอร์23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23พ.ค. 44 45.506 (45.575)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 พ.ค. 44ซื้อ 45.3426 (45.3629) ขาย 45.6541 (45.6706)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,950 (6,000) ขาย 6,050 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.02 (25.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ระบุเงินทุนไหลออกส่วนใหญ่เป็นการคืนหนี้ต่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเป็นห่วงเงินทุนไหลออกต่างประเทศว่า การไหลออกของเงินทุนในช่วงที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยน และยังสามารถรักษาระดับทุนสำรองทางการให้อยู่สูงได้อย่างต่อเนื่องในระดับ 32,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ธปท. เห็นว่าควรมีการคืนหนี้ต่างประเทศที่ไม่มีความจำเป็น โดยในช่วงที่เกิดวิกฤตไทยมียอดหนี้ต่างประเทศสูงถึง 112,000 ล.ดอลลาร์ ซึ่งในขณะนี้เหลือยอดหนี้ต่างประเทศทั้งสิ้น 78,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นความตั้งใจของ ธปท. เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเงินทุนไหลออกเพื่อลดภาระหนี้สิน เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเร่งให้มีการชำระหนี้คืนเร็วขึ้น และ ธปท. ได้ติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา(ข่าวสด, มติชน 24)
2. สศค. ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5-4 ของจีดีพี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ยังคงไม่ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในปี 44 และ 45 โดยในปี 44 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) คงอยู่ที่ระดับ 5.209 ล้านล้านบาท การขยายตัวของเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5-4 ของจีดีพี เงินเฟ้อร้อยละ 2.3 และการส่งออกขยายตัวร้อยละ 7-9 ส่วนในปี 45 จีดีพีอยู่ที่ 5.615 ล้านล้านบาท เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 5 เงินเฟ้อร้อยละ 2.8 (โลกวันนี้, เดลินิวส์ 24)
3. ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 สถาบันการเงินไทยซึ่งประกอบด้วย ธพ. 13 แห่ง และ บง. 21 แห่ง มีผลกำไรจากการดำเนินงานรวมจำนวนทั้งสิ้น 9.5 พัน ล.บาท ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่ปี 41 และมีผลกำไรสุทธิภายหลังหักสำรองรวมทั้งสิ้น 3.3 พัน ล.บาท เทียบกับที่ขาดทุนสุทธิ 7.4 พัน ล.บาทในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถาบันการเงินมีผลกำไรดีขึ้น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงอย่างมาก ประกอบกับสถาบันการเงินสามารถกันสำรองได้เกินเกณฑ์ของทางการ ภาระการกันสำรองจึงลดลงเหลือ 6.2 พัน ล.บาท นอกจากนี้ บริษัทเงินทุนบางแห่งมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมากจากธุรกรรมด้านการรับซื้อลูกหนี้และกำไรจากหลักทรัพย์(โลกวันนี้ 24)
4. ไอเอ็มเอฟประเมินเศรษฐกิจไทยปี 44 โตร้อยละ 2.5 หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แถลงว่า ไอเอ็มเอฟประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 44 จะเติบโตร้อยละ 2.5 ซึ่งน้อยกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5-4 อย่างไรก็ดี การคาดการณ์ที่ชัดเจนจะต้องรอดูข้อมูลการผลิตในไตรมาสแรกที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะแถลงอีกครั้ง ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยควรคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป เพื่อเอื้อให้มีการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ และกระตุ้นให้ลูกหนี้ชาวไทยกู้เงินในประเทศไปชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้น สำหรับระดับอัตราเงินเฟ้อของไทยก็อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน (มติชน 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 23 พ.ค.44 Department of Statistics เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากเดือน เม.ย.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน มี.ค.44 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ CPI ในเดือน เม.ย.สูงขึ้น ได้แก่ ราคาบ้านที่สูงขึ้น และสินค้าเบ็ดเตล็ดมีราคาแพงขึ้น โดยดัชนีฯ ราคาบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่ดัชนีฯ สินค้าเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เทียบกับเดือน มี.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.0(รอยเตอร์ 23)
2. อัตราการว่างงานของไต้หวันเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 23 พ.ค. 44 Directorate General of Budget, Accounting and Statistics เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของไต้หวันในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.96 จากร้อยละ 3.89 ในเดือน มี.ค. 44 นับเป็นอัตราการว่างงานที่สูงกว่าร้อยละ 3 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ทั้งนี้ เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ธุรกิจต้องปิดโรงงานหรือหยุดดำเนินการชั่วคราว ก่อนหน้านี้ รัฐบาลประมาณการว่า อัตราการว่างงานตลอดทั้งปี 44 จะสูงกว่าร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นจากปี 43 ที่มีอัตราร้อยละ 2.99(รอยเตอร์23)
3. จีดีพีของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 3.2 ในไตรมาสที่ 1 ปี 44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 23 พ.ค.44 ธ.กลาง (Bank Negara) เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 3.2 ลดลงจากเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่ระดับร้อยละ 3.4 แต่ลดลงอย่างมากจากปี 43 ที่จีดีพีขยายตัวถึงร้อยละ 11.7 ทั้งนี้ ความต้องการที่ลดลงของสินค้าส่งออกประเภทที่ใช้เทคโนโลยีสูงรวมทั้งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตชะลอลงในไตรมาสที่ 1 แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะกลับฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2 (รอยเตอร์ 23)
4. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงสุด รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 23 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. 44 อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. 44 ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 36 และเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานครั้งนี้ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 และ 0.2 เมื่อเทียบต่อปี และต่อเดือนตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนใหญ่ที่ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาอาหาร พลังงานและเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ส่วนเงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. 44 อนึ่ง ในวันเดียวกัน ทางการได้เปิดเผยว่า จีดีพีของเยอรมนี ที่ปรับตัวเลขตามปีปฏิทิน เติบโตร้อยละ 2 นับเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 42 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ทั้งนี้การที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง เป็นผลจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างซบเซา รวมทั้งความต้องการของผู้บริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐบาลลดลง (รอยเตอร์23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23พ.ค. 44 45.506 (45.575)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 พ.ค. 44ซื้อ 45.3426 (45.3629) ขาย 45.6541 (45.6706)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,950 (6,000) ขาย 6,050 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.02 (25.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-