บทสรุปสำหรับนักลงทุน
ไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียนและใยมะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งที่ทดแทนการใช้ไม้จากธรรมชาติและยังช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมลง โดยไม้อัดที่ทำได้จากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวนี้มีคุณสมบัติดีเทียบเท่ากับไม้อัดที่ทำจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งไม้เหล่านี้นับวันก็จะมีลดน้อยลงและราคาสูงขึ้น
ตลาดไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นตลาดเดียวกับตลาดไม้อัดทั่วไป เนื่องจากไม้อัดชนิดนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจึงสามารถทดแทนไม้อัดทั่วไปได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันการใช้ไม้อัดในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มลดลง แต่การใช้ไม้อัดในภาคอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเพื่อการส่งออก จึงทำให้ไม้อัดมีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้น อีกทั้งตัวไม้อัดเองก็มีแนวโน้มการส่งออกสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตไม้อัดจากไม้ต่างๆประมาณ 48 ราย ทั่วประเทศแต่ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดผลิตไม้อัดจากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวในเชิงพาณิชย์ มีเพียงการวิจัยเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ให้มีการผลิตโดยคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการผลิตนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการผลิตไม้อัดทั่วไปดังนั้นโรงงานที่ผลิตไม้อัดอยู่แล้วจึงสามารถผลิตได้ทันทีโดยวัตถุดิบได้จากเปลือกทุเรียนซึ่งมีมากมายในฤดูกาล กากใยมะพร้าวซึ่งสามารถหาได้ตลอดทั้งปี ส่วนเครื่องจักรก็สามารถใช้ร่วมกันกับเครื่องจักรเดิมที่ใช้ในการผลิตไม้อัดทั่วไป ได้แก่ เครื่องสับ เครื่องร่อน เครื่องผสม แม่พิมพ์ และเครื่องอัดร้อนซึ่งสามารถหาซื้อได้ในประเทศทั้งสิ้น
ด้านการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตไม้อัดอยู่แล้วสามารถดำเนินการได้ทันที เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุจากเดิมที่ใช้ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส มาเป็นเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวซึ่งมีราคาถูกมากเพียงกิโลกรัมละ 1-2 บาท ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่หากต้องลงทุนใหม่ควรมีทุนเริ่มต้นประมาณ 6 ล้านบาทขึ้นไป โดยเงินทุนหลัก 90 % เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์ ส่วนเงินทุนหมุนเวียนในกิจการประมาณ 10 % ซึ่งประมาณ 63% เป็นค่าต้นทุนในการผลิต และค่าการตลาดและการขายประมาณ 37% ของเงินทุนหมุนเวียน ณ การลงทุนขั้นต้น 6 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายไม้อัด 30,000 แผ่น/ปี ในระดับราคาจำหน่าย 170 บาท/แผ่น โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1-2 ปี จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 8.7% ณ อายุโครงการ 5 ปี และมีผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอด จากอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย 30% ของยอดขาย
การผลิตไม้อัดจากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรมตาม มอก.180-2532 มอก.877-2532 และ มอก.178-2538 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของไม้อัดที่เหมาะสม เครื่องหมายและฉลากสินค้าผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับทราบข้อมูลรายละเอียดด้านเทคนิคในการผลิตได้จากคณะวิจัยคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เปลือกทุเรียนและใยมะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ตัวหนึ่งที่ทดแทนการใช้ไม้จากธรรมชาติและยังช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมลง โดยไม้อัดที่ทำได้จากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวนี้มีคุณสมบัติดีเทียบเท่ากับไม้อัดที่ทำจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งไม้เหล่านี้นับวันก็จะมีลดน้อยลงและราคาสูงขึ้น
ตลาดไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นตลาดเดียวกับตลาดไม้อัดทั่วไป เนื่องจากไม้อัดชนิดนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นจึงสามารถทดแทนไม้อัดทั่วไปได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันการใช้ไม้อัดในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มลดลง แต่การใช้ไม้อัดในภาคอุตสาหกรรมอื่น เช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเพื่อการส่งออก จึงทำให้ไม้อัดมีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้น อีกทั้งตัวไม้อัดเองก็มีแนวโน้มการส่งออกสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ปัจจุบันมีผู้ผลิตไม้อัดจากไม้ต่างๆประมาณ 48 ราย ทั่วประเทศแต่ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดผลิตไม้อัดจากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวในเชิงพาณิชย์ มีเพียงการวิจัยเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่ให้มีการผลิตโดยคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยการผลิตนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับการผลิตไม้อัดทั่วไปดังนั้นโรงงานที่ผลิตไม้อัดอยู่แล้วจึงสามารถผลิตได้ทันทีโดยวัตถุดิบได้จากเปลือกทุเรียนซึ่งมีมากมายในฤดูกาล กากใยมะพร้าวซึ่งสามารถหาได้ตลอดทั้งปี ส่วนเครื่องจักรก็สามารถใช้ร่วมกันกับเครื่องจักรเดิมที่ใช้ในการผลิตไม้อัดทั่วไป ได้แก่ เครื่องสับ เครื่องร่อน เครื่องผสม แม่พิมพ์ และเครื่องอัดร้อนซึ่งสามารถหาซื้อได้ในประเทศทั้งสิ้น
ด้านการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตไม้อัดอยู่แล้วสามารถดำเนินการได้ทันที เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุจากเดิมที่ใช้ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส มาเป็นเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวซึ่งมีราคาถูกมากเพียงกิโลกรัมละ 1-2 บาท ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่หากต้องลงทุนใหม่ควรมีทุนเริ่มต้นประมาณ 6 ล้านบาทขึ้นไป โดยเงินทุนหลัก 90 % เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะและอุปกรณ์ ส่วนเงินทุนหมุนเวียนในกิจการประมาณ 10 % ซึ่งประมาณ 63% เป็นค่าต้นทุนในการผลิต และค่าการตลาดและการขายประมาณ 37% ของเงินทุนหมุนเวียน ณ การลงทุนขั้นต้น 6 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายไม้อัด 30,000 แผ่น/ปี ในระดับราคาจำหน่าย 170 บาท/แผ่น โดยมีระยะเวลาคืนทุน 1-2 ปี จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน 8.7% ณ อายุโครงการ 5 ปี และมีผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอด จากอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย 30% ของยอดขาย
การผลิตไม้อัดจากเปลือกทุเรียนและใยมะพร้าวต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรมตาม มอก.180-2532 มอก.877-2532 และ มอก.178-2538 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของไม้อัดที่เหมาะสม เครื่องหมายและฉลากสินค้าผู้ประกอบการที่สนใจสามารถรับทราบข้อมูลรายละเอียดด้านเทคนิคในการผลิตได้จากคณะวิจัยคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--