ไทยได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการ ว่าด้วยความตกลงการค้าภูมิภาคของ WTO -------------------------------------------------------------------------------- WTO ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 แต่งตั้งนายเกริกไกร จีระแพทย์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เป็นประธานคณะกรรมการว่าด้วย ความตกลงการค้าภูมิภาค สำหรับปี ค.ศ. 1999 เอกอัครราชทูตเกริกไกร ฯ เคยได้รับการ แต่งตั้งเป็นประธานคณะทำงานว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและการลงทุนติดต่อกันถึง 2 สมัยในช่วงปี 2540 และ 2541 สำหรับปีนี้ สมาชิก WTO เห็นควรให้เอกอัครราชทูต เกริกไกร ฯ เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการว่าด้วยความตกลงการค้าภูมิภาคของ WTO คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบความตกลงการค้าภูมิภาคต่างๆ ซึ่งขณะนี้ มีจำนวนกว่า 70 ความตกลง โดยเฉพาะเขตการค้าเสรีหรือสหภาพศุลกากรที่สำคัญๆ เช่นเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area) สหภาพยุโรป (European Union) ว่ามีความสอดคล้องกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกหรือมีมาตรการใดๆ ที่กีดกันการค้ากับประเทศนอกกลุ่มหรือไม่ หากพบว่าความตกลงการค้าภูมิภาคใดไม่สอด- คล้องกับความตกลง WTO คณะกรรมการนี้ก็สามารถขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขความตกลง ดังกล่าวให้สอดคล้องกับ WTO ก่อนที่สมาชิกจะให้การรับรองต่อไป WTO ยอมให้สมาชิก รวมกลุ่มภูมิภาคในลักษณะเขตการค้าเสรีหรือสหภาพศุลกากรเพื่อเปิดเสรีการค้าโดยการลด อุปสรรคทางการค้าลงให้แก่กันได้มากกว่าที่ให้แก่ประเทศนอกกลุ่ม ทั้งในรูปของภาษี ศุลกากร และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร และให้ถือว่าการรวมกลุ่มภูมิภาคเป็นข้อยกเว้น ข้อหนึ่งของหลักการ "การให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation)" หรือที่เรียกกันว่า "MFN" ที่กำหนดว่าสมาชิก WTO จะต้องให้การปฏิบัติทางการค้า แก่ประเทศสมาชิกอื่นๆ ทุกประเทศเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม WTO ได้ตั้งข้อแม้ไว้ว่าการจัด ทำเขตการค้าเสรีหรือสหภาพศุลกากรดังกล่าวจะต้องไม่มีผลทำให้เกิดการกีดกันการค้าต่อ ประเทศนอกกลุ่มมากกว่าที่เคยมีอยู่ก่อนหน้าที่การรวมกลุ่มจะเกิดขึ้นปัจจุบันมีการรวมกลุ่ม ภูมิภาคในเกือบทุกมุมโลก และได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งขนาดและจำนวน สมาชิก WTO จึงเกรงว่าหากการรวมกลุ่มดังกล่าวมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการเปิดเสรีอย่างแท้จริงก็จะกลาย เป็นการเพิ่มอุปสรรคทางการค้าต่อประเทศนอกกลุ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อระบบการค้า เสรีโดยรวม ดังนั้น สมาชิก WTO จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยความตกลงการค้าภูมิภาค ขึ้นมาทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมให้กลุ่มภูมิภาคต่างๆ ทำการเปิดเสรีให้แก่กันตามวัตถุ ประสงค์ที่แท้จริง ประธานคณะมนตรีใหญ่ WTO ได้เริ่มกระบวนการสรรหาผู้ที่จะทำหน้าที่ เป็นประธานองค์กรต่างๆ ของ WTO ในช่วงปี ค.ศ. 1999 ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกเพื่อให้ได้ฉันทามติ โดยมีหลักเกณฑ์ในการ พิจารณาที่สำคัญเช่น (1) จะต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นผู้นำ และมีความสามารถเฉพาะตัวในการกำกับและ ดำเนินการประชุมให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ (2) มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านสาระของเรื่องที่รับผิดชอบ และปัญหาของสมาชิก แต่ละประเทศในเรื่องนั้นๆ และสามารถที่จะนำหรือตีกรอบการพิจารณาประเด็นปัญหา และเสนอแนะทางออกให้แก่สมาชิกได้ (3) มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการประสานงานกับสมาชิกทุกประเทศ โดยที่ยังคงความเป็นกลางไว้ได้ (4) เป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกประเทศเป็นฉันทามติ การหารือเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมจากรายชื่อผู้ที่ประเทศสมาชิกต่างๆ เสนอ มาใช้ เวลากว่า 2 เดือนจนกระทั่งได้รับฉันทามติจากสมาชิกเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดังนั้น การที่เอกอัครราชทูตเกริกไกร ฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการว่าด้วยความ ตกลงการค้าภูมิภาค จึงเป็นเครื่องแสดงว่าเอกอัครราชทูตของไทยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสม มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือจนเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก WTO ทั้งหมด รายชื่อประธานคณะมนตรีใหญ่ คณะมนตรีและคณะกรรมการย่อยอื่นๆ ประกอบด้วย คณะมนตรีใหญ่ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแทนซาเนียฯ (Ambassador Ali Said Mchumo) องค์กรยุติข้อพิพาท เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรญี่ปุ่นฯ (Ambassador Nobutoshi Akao) องค์กรทบทวนนโนบายการค้า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรเบลเยี่ยม (Ambassador Jean-Marie Noirfalisse) คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรนิวซีแลนด์ (Ambassador Roger Farrell) คณะมนตรีว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรอุรุกวัยฯ (Ambassador Carlos Perez del Castillo) คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ ผู้แทนถาวรฮ่องกงฯ (Mr. Stuart Harbinson) คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฮังการีฯ (Ambassador Istvan Major) คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรเซเนกัล (Ambassador Absa Claude Diallo) คณะกรรมการว่าด้วยงบประมาณ การเงิน และการบริหาร ผู้แทนถาวรฝรั่งเศส (Mme. Laurence Dubois-Destrizais) คณะกรรมการว่าด้วยปัญหาดุลการชำระเงิน ผู้แทนถาวรโปแลนด์ฯ (Mr. Tomasz Jodko) คณะกรรมการว่าด้วยความตกลงการค้าภูมิภาค เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยฯ (Ambassador Krirk-Krai Jirapaet) คณะทำงานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและการลงทุน เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรเกาหลี (Ambassador Man Soon Chang) คณะทำงานว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการค้าและนโยบายการแข่งขัน Professor Federic Jenny จากฝรั่งเศส คณะทำงานว่าด้วยความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรคอสตาริกา(Ambassador Ronald Saborio Soto) คณะกรรมการว่าด้วยสินค้าเกษตร เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรโคลัมเบีย (Ambassador Nestor Osorio Londono) ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-