กรุงเทพฯ--1 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (30 พ.ย.) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดแถลงข่าว ผู้ได้รับพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2543 โดยมีศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยสกล สกลสัตยาทร คณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ในปี 2543 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล รวมทั้งสิ้น 55 คนจาก 27 ประเทศ
กระบวนการในการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เริ่มจากการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษา (Scientific Advisory Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน และเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่ง มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานเพื่อตัดสินขั้นสุดท้าย
ผลการตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2543 มีดังนี้
สาขาการแพทย์
1. ศาสตราจารย์ เออเนสโต พอลลิต (Professor Emesto Pollitt)
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เจ พี บาร์เกอร์ (Professor David J.P.Barder)
สาขาการสาธารณสุข
1. เซอร์ ริชาด เปโต (Sir Richard Peto)
2. เซอร์ เอียน ชาล์มเมอร์ (Sir lain Chamers)
ศาสตราจารย์ เออเนสโต พอลลิต
เป็นชาวเปรู จบการศึกษา จบการศึกษาปริญญาทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคทอลิค กรุงลิมา ประเทศเปรู และจบ ปริญญาเอก สาขาการพัฒนาการมนุษย์ (Human Development) จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ สาขาการพัฒนามนุษย์ ภาคกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมือง เดวิส สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์พอลลิต ได้ทำการศึกษาวิจัยความสำคัญของอาหารต่อผลการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็ก ศาสตราจารย์ พอลลิตเป็นคนแรกที่แสดงว่าการขาดธาตุเหล็กในอาหาร แม้ในจำนวนน้อยโดยไม่มีอาการทางคลีนิค ก็จะมีผลทำให้การเรียนรู้ของเด็กไม่ดี และจากการศึกษาภาคสนามในประเทสอียิปต์ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทย และประเทศเปรู ยังพบว่าภาวะดังกล่าวนี้เกิดเป็นการ ถาวร นอกจากนี้ศาสตราจารย์พอลลิต ยังพบว่า การให้อาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มเติมแก่เด็ก ดังกล่าว ระหว่างอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ สามารถทำให้การเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กดีขึ้นได้
ปัจจุบันถือได้ว่า การขาดธาตุเหล็กในอาหารในเด็กอายุน้อยเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ให้การเรียนรู้ของเด็กบกพร่องไป โดย เฉพาะในเด็กที่ยากจน
การค้นพบของศาสตราจารย์พอลลิต มีผลต่อนโยบายในการดำเนินการขององค์การยูเนสโก ยูเอ็นเอชซีอาร์ องค์การ อนามัยโลก ธนาคารโลก และรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เด็กที่ยากจนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกมีโภชนาการที่ดีขึ้น
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เจ.พี.บาร์เกอร์
เป็นชาวอังกฤษ ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากโรงพยาบาล ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ศึกษาต่อทางระบาดวิทยา อีก 6 ปี ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เคยปฏิบัติงานด้านเวชศาสตร์ป้องกันที่มหาวิทยาลัยมาเคอแร ประเทศอูกันดา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมตัน สหราชอาณาจักร
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด บาร์เกอร์ เป็นผู้ค้นพบจากการศึกษาทางระบาดวิทยาว่าบุคคลผู้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ปกติ หรือที่มีรูปกายผอมหรือแคระ เมื่อคลอดจะมีอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดสูง รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง โรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในชีวิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังนำไปสู่สมมุติฐานว่าโรคหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นจากขบวนการปรับตัว ต่อสภาพการขาดอาหารตั้งแต่เวลาที่อยู่ในครรภ์
การค้นพบและสมมุติฐานของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด บาร์เกอร์ มีผลต่อนโยบายของประเทศอังกฤษและองค์การ ยูนิเซฟ ในการพัฒนาด้านโภชนาการของหญิงสาวที่ยากจน ในประเทศอังกฤษและอินเดีย เพื่อเป็นการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและโรค เบาหวานในรุ่นลูกและรุ่นหลาน นับเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนหลายร้อยล้านคนให้ดีขึ้น
เซอร์ ริชาร์ด เปโต
เป็นชาวอังกฤษ ได้รับปริญญาตรีทางธรรมชาติวิทยา จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาโททางสถิติศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ในวิชาสถิติการแพทย์และระบาดวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จากวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สหราชอาณาจักร
เซอร์ ริชาร์ด เปโต เป็นผู้คิดค้นวิธีการทางสถิติประเมินผลสรุปจากผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่กระทำกันทั่วโลก เป็น เทคนิคใหม่ที่ดีกว่า การวิเคราะห์แบบเมต้า (meta-analysis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษามะเร็งเต้านม โดยทำให้แพทย์ทั่วโลก หันมารักษามะเร็งเต้านมด้วยยาทาม็อกซิเฟ้น ตามผลสรุปของ เซอร์ ริชาร์ด เปโต ส่งผลให้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ปีละ หลายแสนคนทั่วโลก
นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยในเรื่องผลร้ายของการสูบบุหรี่ ก่อให้เกิดนโยบายระดับชาติในการต่อต้านการสุบบุหรี่ใน ประเทศจีน และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลกอีกด้วย
เซอร์ เอียน ชาล์มเมอร์
เป็นชาวอังกฤษ สำเร็จวิชาแพทย์ศาสตร์ในปี พ.ศ.2509 หลังจากนั้นปฏิบัติงานเวชปฏิบัติในสหราชอาณาจักร และ ฉนวนกาซ่า เป็นเวลา 7 ปี ก่อนที่จะเป็นนักวิจัยระบบงานสาธารณสุข โดยทำการศึกษาวิจัยการรักษาทางสูติกรรมในระยะแรก ต่อมาได้ เป็นผู้อำนวยการหน่วยระบาดวิทยาสูติกรรมแห่งชาติ ทำการวิจัยจนเป็นที่เชื่อถือและแพร่หลายทั่วโลก เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและ พัฒนาระบบสาธารณสุขแห่งชาติขึ้น นายแพทย์เอียน ชาล์มเมอร์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรก ทำการวิจัยระบบสาธารณสุข ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นประธานการประชุมและจัดตั้ง Cochrane Collaboration ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536 ด้วย
Cochrane Collaboration เป็นองค์การระหว่างประเทศ มีสมาชิกอยู่ 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำการ ศึกษาและทบทวนการสาธารณสุขที่ผู้อื่นทำไว้แล้วทั่วโลก สรุปเป็นมาตรฐานการวินิจฉัยและการรักษาโรค รวมตีพิมพ์ไว้ในห้องสมุดคอดเครน ซึ่งเป็นห้องสมุดอีเล็กโทรนิคแห่งเดียวที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีหลักฐานทางการแพทย์ (Evidence-based Medicine) มากที่สุด อันก่อ ประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขของทุกประเทศ
จึงแจ้งมาเพื่อสื่อมวลชนเข้าทำข่าวตามวัน เวลา และสถานที่ข้างต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (30 พ.ย.) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจัดแถลงข่าว ผู้ได้รับพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2543 โดยมีศาสตราจารย์ คลินิก นายแพทย์ ปิยสกล สกลสัตยาทร คณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ในปี 2543 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล รวมทั้งสิ้น 55 คนจาก 27 ประเทศ
กระบวนการในการพิจารณาตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เริ่มจากการกลั่นกรองของคณะกรรมการที่ปรึกษา (Scientific Advisory Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน และคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ (International Award Committee) ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ณัฐ ภมรประวัติ เป็นประธาน และเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่ง มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานเพื่อตัดสินขั้นสุดท้าย
ผลการตัดสินรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2543 มีดังนี้
สาขาการแพทย์
1. ศาสตราจารย์ เออเนสโต พอลลิต (Professor Emesto Pollitt)
2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เจ พี บาร์เกอร์ (Professor David J.P.Barder)
สาขาการสาธารณสุข
1. เซอร์ ริชาด เปโต (Sir Richard Peto)
2. เซอร์ เอียน ชาล์มเมอร์ (Sir lain Chamers)
ศาสตราจารย์ เออเนสโต พอลลิต
เป็นชาวเปรู จบการศึกษา จบการศึกษาปริญญาทางจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคทอลิค กรุงลิมา ประเทศเปรู และจบ ปริญญาเอก สาขาการพัฒนาการมนุษย์ (Human Development) จากมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ สาขาการพัฒนามนุษย์ ภาคกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เมือง เดวิส สหรัฐอเมริกา
ศาสตราจารย์พอลลิต ได้ทำการศึกษาวิจัยความสำคัญของอาหารต่อผลการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็ก ศาสตราจารย์ พอลลิตเป็นคนแรกที่แสดงว่าการขาดธาตุเหล็กในอาหาร แม้ในจำนวนน้อยโดยไม่มีอาการทางคลีนิค ก็จะมีผลทำให้การเรียนรู้ของเด็กไม่ดี และจากการศึกษาภาคสนามในประเทสอียิปต์ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทย และประเทศเปรู ยังพบว่าภาวะดังกล่าวนี้เกิดเป็นการ ถาวร นอกจากนี้ศาสตราจารย์พอลลิต ยังพบว่า การให้อาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มเติมแก่เด็ก ดังกล่าว ระหว่างอายุ 6 เดือน ถึง 2 ขวบ สามารถทำให้การเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กดีขึ้นได้
ปัจจุบันถือได้ว่า การขาดธาตุเหล็กในอาหารในเด็กอายุน้อยเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ให้การเรียนรู้ของเด็กบกพร่องไป โดย เฉพาะในเด็กที่ยากจน
การค้นพบของศาสตราจารย์พอลลิต มีผลต่อนโยบายในการดำเนินการขององค์การยูเนสโก ยูเอ็นเอชซีอาร์ องค์การ อนามัยโลก ธนาคารโลก และรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เด็กที่ยากจนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกมีโภชนาการที่ดีขึ้น
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด เจ.พี.บาร์เกอร์
เป็นชาวอังกฤษ ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตจากโรงพยาบาล ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ศึกษาต่อทางระบาดวิทยา อีก 6 ปี ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เคยปฏิบัติงานด้านเวชศาสตร์ป้องกันที่มหาวิทยาลัยมาเคอแร ประเทศอูกันดา ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมตัน สหราชอาณาจักร
ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด บาร์เกอร์ เป็นผู้ค้นพบจากการศึกษาทางระบาดวิทยาว่าบุคคลผู้มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า ปกติ หรือที่มีรูปกายผอมหรือแคระ เมื่อคลอดจะมีอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดสูง รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง โรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในชีวิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังนำไปสู่สมมุติฐานว่าโรคหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นจากขบวนการปรับตัว ต่อสภาพการขาดอาหารตั้งแต่เวลาที่อยู่ในครรภ์
การค้นพบและสมมุติฐานของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ เดวิด บาร์เกอร์ มีผลต่อนโยบายของประเทศอังกฤษและองค์การ ยูนิเซฟ ในการพัฒนาด้านโภชนาการของหญิงสาวที่ยากจน ในประเทศอังกฤษและอินเดีย เพื่อเป็นการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและโรค เบาหวานในรุ่นลูกและรุ่นหลาน นับเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนหลายร้อยล้านคนให้ดีขึ้น
เซอร์ ริชาร์ด เปโต
เป็นชาวอังกฤษ ได้รับปริญญาตรีทางธรรมชาติวิทยา จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาโททางสถิติศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ในวิชาสถิติการแพทย์และระบาดวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จากวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สหราชอาณาจักร
เซอร์ ริชาร์ด เปโต เป็นผู้คิดค้นวิธีการทางสถิติประเมินผลสรุปจากผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่กระทำกันทั่วโลก เป็น เทคนิคใหม่ที่ดีกว่า การวิเคราะห์แบบเมต้า (meta-analysis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษามะเร็งเต้านม โดยทำให้แพทย์ทั่วโลก หันมารักษามะเร็งเต้านมด้วยยาทาม็อกซิเฟ้น ตามผลสรุปของ เซอร์ ริชาร์ด เปโต ส่งผลให้สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ปีละ หลายแสนคนทั่วโลก
นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยในเรื่องผลร้ายของการสูบบุหรี่ ก่อให้เกิดนโยบายระดับชาติในการต่อต้านการสุบบุหรี่ใน ประเทศจีน และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลกอีกด้วย
เซอร์ เอียน ชาล์มเมอร์
เป็นชาวอังกฤษ สำเร็จวิชาแพทย์ศาสตร์ในปี พ.ศ.2509 หลังจากนั้นปฏิบัติงานเวชปฏิบัติในสหราชอาณาจักร และ ฉนวนกาซ่า เป็นเวลา 7 ปี ก่อนที่จะเป็นนักวิจัยระบบงานสาธารณสุข โดยทำการศึกษาวิจัยการรักษาทางสูติกรรมในระยะแรก ต่อมาได้ เป็นผู้อำนวยการหน่วยระบาดวิทยาสูติกรรมแห่งชาติ ทำการวิจัยจนเป็นที่เชื่อถือและแพร่หลายทั่วโลก เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและ พัฒนาระบบสาธารณสุขแห่งชาติขึ้น นายแพทย์เอียน ชาล์มเมอร์ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรก ทำการวิจัยระบบสาธารณสุข ในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นประธานการประชุมและจัดตั้ง Cochrane Collaboration ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2536 ด้วย
Cochrane Collaboration เป็นองค์การระหว่างประเทศ มีสมาชิกอยู่ 50 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย ทำการ ศึกษาและทบทวนการสาธารณสุขที่ผู้อื่นทำไว้แล้วทั่วโลก สรุปเป็นมาตรฐานการวินิจฉัยและการรักษาโรค รวมตีพิมพ์ไว้ในห้องสมุดคอดเครน ซึ่งเป็นห้องสมุดอีเล็กโทรนิคแห่งเดียวที่ยอมรับกันทั่วโลกว่ามีหลักฐานทางการแพทย์ (Evidence-based Medicine) มากที่สุด อันก่อ ประโยชน์ต่อระบบสาธารณสุขของทุกประเทศ
จึงแจ้งมาเพื่อสื่อมวลชนเข้าทำข่าวตามวัน เวลา และสถานที่ข้างต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-