ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดปัตตานีประกอบด้วย 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี โคกโพธิ์ หนองจิก ยะหริ่ง มายอ ปานาเระ ยะรัง ไม้แก่น สายบุรี นาประดู่ แม่ลาน และกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง
พื้นที่รวม 3,104 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,940,357 ไร่ และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีจำนวนประชากร 608,276 คน หรือร้อยละ 7.5 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ ปี 2539 จำนวน 17,361.2 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 53.3 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 16.0 และ สาขาการบริการร้อยละ 6.3 ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 47,853 บาทต่อปี เป็นอันดับที่9ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดปัตตาตีจัดเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่สูงมากเนื่องจากเป็นจังหวัดเป้าหมายของโครงการเขตเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย
ระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเแพาะขณะนี้จังหวัดปัตตานีได้รับงบประมาณจากรัฐบาลหลายร้อยล้านบาท เพื่อมาพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ สำหรับรองรับการลงทุนในพื้นที่เช่น การขุดลอกร่องน้ำปัตตานี การปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปา เป็นต้น
ปัตตานีมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 116 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าอุตสาหกรรมปากแม่น้ำที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในคาบสมุทรมาลายุตะวันออก อยู่ใกล้แหล่งประมงของประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด ลักษณะที่ตั้งเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าระหว่างประเทศ โดยเน้นทางด้านการประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง นอกจากนี้บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดก็มีศักยภาพในการทำการเกษตรกรรมค่อนข้างสูง สภาพพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาให้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ประการสำคัญยิ่งมีแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นศักยภาพสูง กระจายอยู่บริเวณต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองปัตตานี
ปัตตานีมีเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 1436 ไร่ ที่สามารถรองรับนักลงทุนด้วยอัตราค่าเช่าคงที่ถูกมาก และมีบริการสาธารณูปโภคพร้อมสรรพ ด้วยเงินงบประมาณที่รัฐบาลได้จัดสรให้แล้วสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงถนน ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย และสถานีไฟฟ้าย่อย ตั้งแต่ปี 2537 -2539 ทางด้านการคมนาคมขนส่ง ได้มีการปรับปรุงถนนเป็น 4 ช่องจราจร มีสถานีรถไฟ 2 แห่ง สนามบินภายใน 2 แห่ง มีท่าเทียบเรือสินค้า และท่าเทียบเรือประมงอีก 2 แห่ง
ปัตตานีมีปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง ปีละไม่ต่ำกว่า 150000 ตัน มีมูลค่าประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 2000 ล้านบาท แรงงาน 2/3 อยู่ในภาคเกษตรกรรมที่พร้อมจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาที่สำคัญของจังหวัดเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยการประมงปัตตานี และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานปัตตานี สามารถให้กรสนับสนุนการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานได้ มีแหล่งเงินทุนประกอบด้วยธนาคาร 10 แห่ง 20 สาขา ที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำ และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนรวมทั้งยังมีศักยภาพในการจัดตั้งกองทุนอิสลามหรือธนาคารอิสลาม เพื่อระดมเงินทุนจากพี่น้องไทยมุสลิมได้อีกด้วย
ปัตตานีมีนโยบายที่ชัดเจนที่ผลักดันให้นักลงทุนในเขตอุตสาหกรรมปัตตานีได้รับสิทะประโยชน์จากรัฐบาลเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนในเขต 3
ภายใต้ศักยภาพที่ดีและผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ปัตตานีได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาไปสู่จังหวัดเป้าหมายต่าง ๆ ดังนี้
1.เป็นตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้
2.เป็นศูนย์กลางทำการประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง
3.เป็นแหล่งผลิตอาหารมุสลิมเพื่อการบริโภคภายในและการส่งออก
4.เป็นประตูสู่การค้าทางทะเลที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
5.เป็นเครือข่ายหนึ่งของการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย
ข้อเสนอการลงทุน
1.ด้านประมง ได้แก่ การลงทุนประมงนอกน่านน้ำ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2.ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงได้แก่การลงทุนโรงน้ำแข็ง อุตสาหกรรมห้องเย็น อู่ซ่อมเรือและอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ
3.ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรได้แก่การลงทุนโรงงานชำแหละเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐาน โรงงานผลิตน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง การผลิตอาหารมุสลิมภายใต้เครื่องหมาย HALAL การผลิตยางอุตสาหกรรม
4.ด้านอุตสากรรมการก่อสร้าง ได้แก่ การลงทุนผลิตวัสดุก่อสร้าง
5.ด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ การลงทุนแปลงหญ้าเลี้ยงโคเนื้อ การเลี้ยงสุกรขุน และโคพันธุ์
6.ด้านการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทางศาสนา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดปัตตานีประกอบด้วย 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี โคกโพธิ์ หนองจิก ยะหริ่ง มายอ ปานาเระ ยะรัง ไม้แก่น สายบุรี นาประดู่ แม่ลาน และกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง
พื้นที่รวม 3,104 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,940,357 ไร่ และมีฝั่งทะเลยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีจำนวนประชากร 608,276 คน หรือร้อยละ 7.5 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ ปี 2539 จำนวน 17,361.2 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 53.3 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 16.0 และ สาขาการบริการร้อยละ 6.3 ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 47,853 บาทต่อปี เป็นอันดับที่9ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดปัตตาตีจัดเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่สูงมากเนื่องจากเป็นจังหวัดเป้าหมายของโครงการเขตเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย
ระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยเแพาะขณะนี้จังหวัดปัตตานีได้รับงบประมาณจากรัฐบาลหลายร้อยล้านบาท เพื่อมาพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ สำหรับรองรับการลงทุนในพื้นที่เช่น การขุดลอกร่องน้ำปัตตานี การปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปา เป็นต้น
ปัตตานีมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 116 กิโลเมตร ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าอุตสาหกรรมปากแม่น้ำที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในคาบสมุทรมาลายุตะวันออก อยู่ใกล้แหล่งประมงของประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด ลักษณะที่ตั้งเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าระหว่างประเทศ โดยเน้นทางด้านการประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง นอกจากนี้บริเวณตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัดก็มีศักยภาพในการทำการเกษตรกรรมค่อนข้างสูง สภาพพื้นที่เหมาะสมในการพัฒนาให้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ประการสำคัญยิ่งมีแหล่งน้ำบาดาลระดับตื้นศักยภาพสูง กระจายอยู่บริเวณต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองปัตตานี
ปัตตานีมีเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 1436 ไร่ ที่สามารถรองรับนักลงทุนด้วยอัตราค่าเช่าคงที่ถูกมาก และมีบริการสาธารณูปโภคพร้อมสรรพ ด้วยเงินงบประมาณที่รัฐบาลได้จัดสรให้แล้วสำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงถนน ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย และสถานีไฟฟ้าย่อย ตั้งแต่ปี 2537 -2539 ทางด้านการคมนาคมขนส่ง ได้มีการปรับปรุงถนนเป็น 4 ช่องจราจร มีสถานีรถไฟ 2 แห่ง สนามบินภายใน 2 แห่ง มีท่าเทียบเรือสินค้า และท่าเทียบเรือประมงอีก 2 แห่ง
ปัตตานีมีปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง ปีละไม่ต่ำกว่า 150000 ตัน มีมูลค่าประมาณไม่ต่ำกว่าปีละ 2000 ล้านบาท แรงงาน 2/3 อยู่ในภาคเกษตรกรรมที่พร้อมจะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาที่สำคัญของจังหวัดเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยการประมงปัตตานี และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานปัตตานี สามารถให้กรสนับสนุนการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานได้ มีแหล่งเงินทุนประกอบด้วยธนาคาร 10 แห่ง 20 สาขา ที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำ และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนรวมทั้งยังมีศักยภาพในการจัดตั้งกองทุนอิสลามหรือธนาคารอิสลาม เพื่อระดมเงินทุนจากพี่น้องไทยมุสลิมได้อีกด้วย
ปัตตานีมีนโยบายที่ชัดเจนที่ผลักดันให้นักลงทุนในเขตอุตสาหกรรมปัตตานีได้รับสิทะประโยชน์จากรัฐบาลเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุนในเขต 3
ภายใต้ศักยภาพที่ดีและผลการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา ปัตตานีได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาไปสู่จังหวัดเป้าหมายต่าง ๆ ดังนี้
1.เป็นตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้
2.เป็นศูนย์กลางทำการประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง
3.เป็นแหล่งผลิตอาหารมุสลิมเพื่อการบริโภคภายในและการส่งออก
4.เป็นประตูสู่การค้าทางทะเลที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
5.เป็นเครือข่ายหนึ่งของการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย
ข้อเสนอการลงทุน
1.ด้านประมง ได้แก่ การลงทุนประมงนอกน่านน้ำ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2.ด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงได้แก่การลงทุนโรงน้ำแข็ง อุตสาหกรรมห้องเย็น อู่ซ่อมเรือและอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ
3.ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรได้แก่การลงทุนโรงงานชำแหละเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐาน โรงงานผลิตน้ำผลไม้และผลไม้กระป๋อง การผลิตอาหารมุสลิมภายใต้เครื่องหมาย HALAL การผลิตยางอุตสาหกรรม
4.ด้านอุตสากรรมการก่อสร้าง ได้แก่ การลงทุนผลิตวัสดุก่อสร้าง
5.ด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ การลงทุนแปลงหญ้าเลี้ยงโคเนื้อ การเลี้ยงสุกรขุน และโคพันธุ์
6.ด้านการท่องเที่ยว โดยเน้นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทางศาสนา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-