ภาวะตลาดทุน/ตราสารหนี้
ตลาดแรก
ในช่วงไตรมาสที่แรกของปี 2544 มีการออกหลักทรัพย์ใหม่จำนวน 89 พันล้านบาท โดยเป็นหลักทรัพย์ภาครัฐซึ่งได้แก่พันธบัตร
รัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 31.4 พันล้านบาท โดยเป็นการออกด้วยวิธี Reopen มูลค่า 20 พันล้านบาท (คือมีเงื่อนไขอัตรา
ผลตอบแทน อายุไถ่ถอนเช่นเดียวกันรุ่นที่รัฐบาลได้ออกมาแล้ว) เพื่อให้ พันธบัตรรัฐบาลแต่ละรุ่นมีปริมาณเพียงพอที่จะเกิดสภาพคล่องใน
การซื้อขาย
อนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยใน
การซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพื่อให้ข้อมูลและประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้าพันธบัตรของธนาคาร
แห่งประเทศไทย (Primary Dealers)
ส่วนตลาดพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นสำคัญ
สำหรับหลักทรัพย์ภาคเอกชนมีหลักทรัพย์ออกใหม่จำนวน 57.6 พันล้านบาท ที่สำคัญเป็นการออกหุ้นสามัญของ บมจ.อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีกัลไทยมูลค่า 32,562 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นเพื่อหักลบกลบหนี้ (Debt-Equity Swap) ระหว่างบริษัทกับเจ้าหนี้ของบริษัท
ตามแผนฟื้นฟู กิจการตามการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนภาคสถาบัน การเงิน ธนาคารไทยธนาคารได้ออกหุ้นสามัญขายให้แก่ประชาชน (Public
Offering) โดยขายกับผู้ถือหุ้น ของบมจ.บริษัทเงินทุนกรุงไทยธนกิจ เพื่อแลกหุ้นที่ออกใหม่ ส่วนหุ้นกู้ภาคเอกชนมีการออกใหม่มูลค่า 20.9
พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ของ IFCT แต่มีข้อน่าสังเกต คือ ในช่วงนี้มีบริษัทจำกัด หันมาออกหุ้นกู้ที่มีประกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยใน
ไตรมาสนี้มีผู้ออกหุ้นกู้ 2 บริษัท มูลค่ากว่า 1, 000 ล้านบาท เป็นการขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) มูลค่าเกิน 100
ล้านบาท ทำให้บริษัทจะต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของกลต. และผลการ Rating อยู่ในระดับ BBB+
อนึ่ง ในไตรมาสนี้ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้ง Credit Rating แห่งที่ 2 ด้วย
การระดมทุนในตลาดแรกช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
การระดมทุนจำแนกตามหลักทรัพย์ 2542 2543 2543 2544 Q1-44
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับ
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q4 Q1 Q1-43 Q4-43
หลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศ 1172.4 422.6 121.6 112.5 89 -26.8 -20.9
? ภาครัฐ 505.8 151.2 36 42.6 31.4 -12.8 -26.3
- พันธบัตรรัฐบาล 333.7 45 10.9 19.4 20 83.5 3.1
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 172.1 106.2 25.1 23.1 11.4 -54.6 -50.6
? ภาคเอกชน 666.6 271.4 85.6 70 57.6 -32.7 -17.7
- หุ้นสามัญ 250.5 85.5 16.2 25.1 36.7 126.5 46.2
- หุ้นบุริมสิทธิ์ 209.9 34.1 5.6 0.8 0 n.a. n.a.
- หุ้นกู้ 206.2 151.8 63.8 44.1 20.9 -67.2 -52.6
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับตัวสูงขึ้นจากปลายปีก่อน โดยดัชนีราคาปิดสูงสุดเมื่อวันที่ 25
มกราคมอยู่ที่ระดับ 339.38 จุด และได้ลดลงตามลำดับ จนสิ้นไตรมาสมาปิดที่ระดับ 291.94 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยกว่า 8,000 ล้านบาทต่อ
วันทำการ
ปัจจัยที่ให้ดัชนีราคาสูงขึ้นในเดือนมกราคมนั้นเป็นผลจากการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อ
หุ้นเพื่อเก็งกำไรเป็นยอดซื้อสุทธิกว่า 6,000 ล้านบาท หลังจากนั้นนักลงทุนต่างประเทศได้เทขายในช่วงปลายไตรมาส เพื่อเคลื่อนย้ายการ
ลงทุนไปตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งดัชนีหุ้นดาวโจนส์ และดัชนีแน็สแด็ค
ในช่วงเดือนมกราคม ดัชนีราคาหุ้นไทยและต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมดัชนีราคาของไทย
ได้ปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
ประเทศ สำหรับปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 45 บาทต่อดอลลาร์ กอปร
กับภาวะซบเซาของเศรษฐกิจสหรัฐและญี่ปุ่น ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ถึง 2 ครั้งเหลือ
ร้อยละ 4.5 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยต้องมีการปรับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 2.5 เพื่อให้สอดคล้องกับ
ภาวะเศรษฐกิจโลก
อนึ่ง แม้ว่ากำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกจะออกมาดีขึ้น กล่าวคือมีกำไรเกือบ 2,000 ล้านบาท เมื่อเทียบ
กับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งขาดทุนเกือบ 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยอันเป็นผลจากส่วนต่างของ
ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานออกจากงาน (Early Retirement) ได้ลดลงไปตั้งแต่เมื่อสิ้นปีที่แล้ว
ภาวะตลาดทุน (ตลาดรอง)
2542 2543 2543 2544
ทั้งปี ทั้งปี Q1/43 Q4/43 Q1/44
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หลักทรัพย์ภาคเอกชน
หลักทรัพย์จดทะเบียน (ณ วันสิ้นเดือน/สิ้นปี)
จำนวนบริษัท 1/ 392 381 389 381 381
จำนวนหลักทรัพย์ 450 438 449 438 438
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 2193067.04 1279223.8 1803509.8 1279223.8 1408793
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการ (ล้านบาท) 6570.56 3739.66 6343.47 2201.9 8,390
ดัชนีราคาหลักทรัพย์
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 481.9 269.2 400.3 269.2 291.9
(30 เม.ย. 2518 = 100 ราคาปิด ณ สิ้นเดือน/ปี)
ดัชนี SET 50 Index 34.74 18.63 28.8 18.6 20.9
(16 ส.ค. 2538 = 100 ราคาปิด ณ สิ้นเดือน/ปี)
อัตราผลตอบแทน 2/ (%) 0.61 1.78 1.19 1.78 2.25
อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ 3/ (%) 14.7 5.52 9.06 5.52 5.24
สัดส่วนมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ของชาวต่างประเทศ 29.18 32.19 32.6 35.77 22.48
ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์รวม (%)
1/ ไม่รวมโครงการกองทุนรวม
2/ อัตราผลตอบแทน = เงินปันผลรวม x 100
ราคาเฉลี่ยต่อหุ้นของทุกหลักทรัพย์
3/ อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ = มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดกำไรสุทธิรวม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ตลาดแรก
ในช่วงไตรมาสที่แรกของปี 2544 มีการออกหลักทรัพย์ใหม่จำนวน 89 พันล้านบาท โดยเป็นหลักทรัพย์ภาครัฐซึ่งได้แก่พันธบัตร
รัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 31.4 พันล้านบาท โดยเป็นการออกด้วยวิธี Reopen มูลค่า 20 พันล้านบาท (คือมีเงื่อนไขอัตรา
ผลตอบแทน อายุไถ่ถอนเช่นเดียวกันรุ่นที่รัฐบาลได้ออกมาแล้ว) เพื่อให้ พันธบัตรรัฐบาลแต่ละรุ่นมีปริมาณเพียงพอที่จะเกิดสภาพคล่องใน
การซื้อขาย
อนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งศูนย์ Hotline เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยใน
การซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรองเพื่อให้ข้อมูลและประสานงานระหว่างผู้ลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินที่เป็นคู่ค้าพันธบัตรของธนาคาร
แห่งประเทศไทย (Primary Dealers)
ส่วนตลาดพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่เป็นการออกพันธบัตรของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นสำคัญ
สำหรับหลักทรัพย์ภาคเอกชนมีหลักทรัพย์ออกใหม่จำนวน 57.6 พันล้านบาท ที่สำคัญเป็นการออกหุ้นสามัญของ บมจ.อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีกัลไทยมูลค่า 32,562 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขายหุ้นเพื่อหักลบกลบหนี้ (Debt-Equity Swap) ระหว่างบริษัทกับเจ้าหนี้ของบริษัท
ตามแผนฟื้นฟู กิจการตามการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนภาคสถาบัน การเงิน ธนาคารไทยธนาคารได้ออกหุ้นสามัญขายให้แก่ประชาชน (Public
Offering) โดยขายกับผู้ถือหุ้น ของบมจ.บริษัทเงินทุนกรุงไทยธนกิจ เพื่อแลกหุ้นที่ออกใหม่ ส่วนหุ้นกู้ภาคเอกชนมีการออกใหม่มูลค่า 20.9
พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการออกหุ้นกู้ของ IFCT แต่มีข้อน่าสังเกต คือ ในช่วงนี้มีบริษัทจำกัด หันมาออกหุ้นกู้ที่มีประกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยใน
ไตรมาสนี้มีผู้ออกหุ้นกู้ 2 บริษัท มูลค่ากว่า 1, 000 ล้านบาท เป็นการขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) มูลค่าเกิน 100
ล้านบาท ทำให้บริษัทจะต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Rating) ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของกลต. และผลการ Rating อยู่ในระดับ BBB+
อนึ่ง ในไตรมาสนี้ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้ง Credit Rating แห่งที่ 2 ด้วย
การระดมทุนในตลาดแรกช่วงไตรมาสแรกของปี 2544
การระดมทุนจำแนกตามหลักทรัพย์ 2542 2543 2543 2544 Q1-44
% เปลี่ยนแปลงเทียบกับ
ทั้งปี ทั้งปี Q1 Q4 Q1 Q1-43 Q4-43
หลักทรัพย์ออกใหม่ในประเทศ 1172.4 422.6 121.6 112.5 89 -26.8 -20.9
? ภาครัฐ 505.8 151.2 36 42.6 31.4 -12.8 -26.3
- พันธบัตรรัฐบาล 333.7 45 10.9 19.4 20 83.5 3.1
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 172.1 106.2 25.1 23.1 11.4 -54.6 -50.6
? ภาคเอกชน 666.6 271.4 85.6 70 57.6 -32.7 -17.7
- หุ้นสามัญ 250.5 85.5 16.2 25.1 36.7 126.5 46.2
- หุ้นบุริมสิทธิ์ 209.9 34.1 5.6 0.8 0 n.a. n.a.
- หุ้นกู้ 206.2 151.8 63.8 44.1 20.9 -67.2 -52.6
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย ปรับตัวสูงขึ้นจากปลายปีก่อน โดยดัชนีราคาปิดสูงสุดเมื่อวันที่ 25
มกราคมอยู่ที่ระดับ 339.38 จุด และได้ลดลงตามลำดับ จนสิ้นไตรมาสมาปิดที่ระดับ 291.94 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยกว่า 8,000 ล้านบาทต่อ
วันทำการ
ปัจจัยที่ให้ดัชนีราคาสูงขึ้นในเดือนมกราคมนั้นเป็นผลจากการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อ
หุ้นเพื่อเก็งกำไรเป็นยอดซื้อสุทธิกว่า 6,000 ล้านบาท หลังจากนั้นนักลงทุนต่างประเทศได้เทขายในช่วงปลายไตรมาส เพื่อเคลื่อนย้ายการ
ลงทุนไปตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในช่วงขาขึ้นทั้งดัชนีหุ้นดาวโจนส์ และดัชนีแน็สแด็ค
ในช่วงเดือนมกราคม ดัชนีราคาหุ้นไทยและต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมดัชนีราคาของไทย
ได้ปรับตัวลดลงเป็นลำดับ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอก
ประเทศ สำหรับปัจจัยภายในที่สำคัญ ได้แก่การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 45 บาทต่อดอลลาร์ กอปร
กับภาวะซบเซาของเศรษฐกิจสหรัฐและญี่ปุ่น ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ถึง 2 ครั้งเหลือ
ร้อยละ 4.5 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยต้องมีการปรับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงอยู่ที่ ร้อยละ 2.5 เพื่อให้สอดคล้องกับ
ภาวะเศรษฐกิจโลก
อนึ่ง แม้ว่ากำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกจะออกมาดีขึ้น กล่าวคือมีกำไรเกือบ 2,000 ล้านบาท เมื่อเทียบ
กับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งขาดทุนเกือบ 40,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยอันเป็นผลจากส่วนต่างของ
ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานออกจากงาน (Early Retirement) ได้ลดลงไปตั้งแต่เมื่อสิ้นปีที่แล้ว
ภาวะตลาดทุน (ตลาดรอง)
2542 2543 2543 2544
ทั้งปี ทั้งปี Q1/43 Q4/43 Q1/44
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หลักทรัพย์ภาคเอกชน
หลักทรัพย์จดทะเบียน (ณ วันสิ้นเดือน/สิ้นปี)
จำนวนบริษัท 1/ 392 381 389 381 381
จำนวนหลักทรัพย์ 450 438 449 438 438
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (ล้านบาท) 2193067.04 1279223.8 1803509.8 1279223.8 1408793
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันทำการ (ล้านบาท) 6570.56 3739.66 6343.47 2201.9 8,390
ดัชนีราคาหลักทรัพย์
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 481.9 269.2 400.3 269.2 291.9
(30 เม.ย. 2518 = 100 ราคาปิด ณ สิ้นเดือน/ปี)
ดัชนี SET 50 Index 34.74 18.63 28.8 18.6 20.9
(16 ส.ค. 2538 = 100 ราคาปิด ณ สิ้นเดือน/ปี)
อัตราผลตอบแทน 2/ (%) 0.61 1.78 1.19 1.78 2.25
อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ 3/ (%) 14.7 5.52 9.06 5.52 5.24
สัดส่วนมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ของชาวต่างประเทศ 29.18 32.19 32.6 35.77 22.48
ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์รวม (%)
1/ ไม่รวมโครงการกองทุนรวม
2/ อัตราผลตอบแทน = เงินปันผลรวม x 100
ราคาเฉลี่ยต่อหุ้นของทุกหลักทรัพย์
3/ อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ = มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดกำไรสุทธิรวม
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-