ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5-5 ด้วยความเป็นไปได้ประมาณร้อยละ 61 จากประมาณเดิมที่ร้อยละ 4.5-5.5 และมีความเป็นไปได้ร้อยละ 72 สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4-5.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 43 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.5-1 ต่อปี แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสินค้าหมวดอื่นมากนัก และปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 44 เป็นร้อยละ 1.5-3 ต่อปี สาเหตุที่ ธปท.ประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจในอัตราที่ลดลงนั้น เนื่องจากคาดว่าการส่งออกของไทยจะฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะความสามารถในการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าไปยัง สรอ.และยุโรปชะลอตัวลง จึงกระทบต่อการส่งออกสินค้าในหมวดอื่นๆ ของไทยด้วย ขณะที่การอุปโภคบริโภคภายในประเทศและการลงทุนยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังต้องอาศัยภาคการส่งออกเป็นหลัก เชื่อว่าปี 43 การส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 65,000-68,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 15-20 การนำเข้าจะอยู่ที่ระดับ 60,000-63,000 ล.ดอลลาร์ หรือขยายตัวร้อยละ 28-32 (วัฏจักร 27)
2. ธปท.สำนักงานภาคเหนือสรุปภาวะเศรษฐกิจในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ธปท.สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ภาวะเศรษฐกิจของภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหลายด้าน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในรูปดอลลาร์ สรอ.ถึงร้อยละ 39.2 การผลิตในภาคเกษตร แม้จะขายได้ในราคาไม่ดีนัก แต่ปริมาณผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกชนิด ส่งผลให้รายได้ของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิค ที่มีการส่งออกตามความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง ในส่วนของภาคบริการ ปริมาณนักท่องเที่ยวยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ธุรกิจที่ยังชะลอตัวคือ การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 นั้น คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และภาคการเกษตรเป็นสำคัญ เนื่องจากกำลังการผลิตยังสามารถขยายตัวได้ อีกทั้งความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ 27)
3. ก.คลังยังไม่มีนโยบายขยายระยะเวลาของมาตรการ 14 สิงหาคม รมว.คลังกล่าวว่า ก.คลังไม่มีนโยบายขยายระยะเวลาความช่วยเหลือเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม โดยยืนยันให้มาตรการดังกล่าวหมดสิ้นอายุโครงการตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 31 ธ.ค.43 เนื่องจากในวันที่ 1 ม.ค.44 สถาบันการเงินทุกแห่งต้องเข้าเกณฑ์มาตรฐานสากลที่จะต้องกันสำรองครบเต็มจำนวน และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนร้อยละ 8.5 (ไทยโพสต์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ต้นทุนการจ้างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน(Employment Cost Index = ECI) ซึ่งใช้วัดค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการของแรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และ ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกปี 43 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ น่าจะทำให้ ธ. กลาง สรอ. คลายความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม สัญญาณของตลาดแรงงาน ก็ยังคงตึงตัว โดย ECI ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ย. 43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.3 (รอยเตอร์ 26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.4 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเลขตามฤดูกาลของญี่ปุ่นเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 3.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือน ส.ค.43 ลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ การที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าผลผลิตฯ ในเดือน ก.ย. จะลดลง เนื่องจากเห็นว่าผลผลิตฯในเดือนดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากตัวเลขในเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับผลผลิตรถยนต์จะลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในเขตนาโกยาซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทและโรงงานผลิตรถยนต์ของ Toyota Motor Corp อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสเดือน ก.ค.- ก.ย.43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ขณะเดียวกัน MITI ประมาณการผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ก.ย.43 ว่าจะลดลงร้อยละ 2.5 แต่ในเดือน ต.ค.43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และประเมินสถานการณ์การผลิตของญี่ปุ่นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น (รอยเตอร์ 27)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 43 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.68 จากร้อยละ 7.83 ในสัปดาห์ก่อน นับว่าต่ำที่สุดตั้งแต่เคยอยู่ที่อัตราร้อยละ 7.67 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. 42 และต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 11 ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.36 จากร้อยละ 7.50 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ย. 42 ที่ร้อยละ 7.31 ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ ระยะ 1 ปี ก็ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.22 จากร้อยละ 7.25 ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ต.ค. 43 43.859 (43.624)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ต.ค. 43ซื้อ 43.5963 (43.4453) ขาย 43.9023 (43.7544)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,500) ขาย 5,550 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.34 (29.88)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 43 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5-5 ด้วยความเป็นไปได้ประมาณร้อยละ 61 จากประมาณเดิมที่ร้อยละ 4.5-5.5 และมีความเป็นไปได้ร้อยละ 72 สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 4-5.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 43 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.5-1 ต่อปี แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสินค้าหมวดอื่นมากนัก และปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 44 เป็นร้อยละ 1.5-3 ต่อปี สาเหตุที่ ธปท.ประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจในอัตราที่ลดลงนั้น เนื่องจากคาดว่าการส่งออกของไทยจะฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ เพราะความสามารถในการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าไปยัง สรอ.และยุโรปชะลอตัวลง จึงกระทบต่อการส่งออกสินค้าในหมวดอื่นๆ ของไทยด้วย ขณะที่การอุปโภคบริโภคภายในประเทศและการลงทุนยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังต้องอาศัยภาคการส่งออกเป็นหลัก เชื่อว่าปี 43 การส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 65,000-68,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 15-20 การนำเข้าจะอยู่ที่ระดับ 60,000-63,000 ล.ดอลลาร์ หรือขยายตัวร้อยละ 28-32 (วัฏจักร 27)
2. ธปท.สำนักงานภาคเหนือสรุปภาวะเศรษฐกิจในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ธปท.สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ภาวะเศรษฐกิจของภาคเหนือปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหลายด้าน โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในรูปดอลลาร์ สรอ.ถึงร้อยละ 39.2 การผลิตในภาคเกษตร แม้จะขายได้ในราคาไม่ดีนัก แต่ปริมาณผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกชนิด ส่งผลให้รายได้ของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเซรามิค ที่มีการส่งออกตามความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง ในส่วนของภาคบริการ ปริมาณนักท่องเที่ยวยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น ธุรกิจที่ยังชะลอตัวคือ การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 นั้น คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และภาคการเกษตรเป็นสำคัญ เนื่องจากกำลังการผลิตยังสามารถขยายตัวได้ อีกทั้งความต้องการสินค้าจากต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ 27)
3. ก.คลังยังไม่มีนโยบายขยายระยะเวลาของมาตรการ 14 สิงหาคม รมว.คลังกล่าวว่า ก.คลังไม่มีนโยบายขยายระยะเวลาความช่วยเหลือเงินกองทุนของสถาบันการเงินตามมาตรการ 14 สิงหาคม โดยยืนยันให้มาตรการดังกล่าวหมดสิ้นอายุโครงการตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 31 ธ.ค.43 เนื่องจากในวันที่ 1 ม.ค.44 สถาบันการเงินทุกแห่งต้องเข้าเกณฑ์มาตรฐานสากลที่จะต้องกันสำรองครบเต็มจำนวน และมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนร้อยละ 8.5 (ไทยโพสต์ 27)
ข่าวต่างประเทศ
1. ต้นทุนการจ้างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน(Employment Cost Index = ECI) ซึ่งใช้วัดค่าจ้าง เงินเดือน และสวัสดิการของแรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และ ร้อยละ 1.4 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกปี 43 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ น่าจะทำให้ ธ. กลาง สรอ. คลายความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม สัญญาณของตลาดแรงงาน ก็ยังคงตึงตัว โดย ECI ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ย. 43 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.3 (รอยเตอร์ 26)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.4 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 ก.การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (MITI) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ปรับตัวเลขตามฤดูกาลของญี่ปุ่นเทียบต่อเดือน ลดลงร้อยละ 3.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือน ส.ค.43 ลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ การที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าผลผลิตฯ ในเดือน ก.ย. จะลดลง เนื่องจากเห็นว่าผลผลิตฯในเดือนดังกล่าวจะได้รับผลกระทบจากตัวเลขในเดือนที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับผลผลิตรถยนต์จะลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในเขตนาโกยาซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทและโรงงานผลิตรถยนต์ของ Toyota Motor Corp อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสเดือน ก.ค.- ก.ย.43 ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากไตรมาสก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 ขณะเดียวกัน MITI ประมาณการผลผลิตอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ก.ย.43 ว่าจะลดลงร้อยละ 2.5 แต่ในเดือน ต.ค.43 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และประเมินสถานการณ์การผลิตของญี่ปุ่นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น (รอยเตอร์ 27)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 43 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.68 จากร้อยละ 7.83 ในสัปดาห์ก่อน นับว่าต่ำที่สุดตั้งแต่เคยอยู่ที่อัตราร้อยละ 7.67 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 พ.ย. 42 และต่ำกว่าร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 11 ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.36 จากร้อยละ 7.50 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ย. 42 ที่ร้อยละ 7.31 ขณะเดียวกัน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ต.ค. 43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ ระยะ 1 ปี ก็ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.22 จากร้อยละ 7.25 ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 26)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 26 ต.ค. 43 43.859 (43.624)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 26 ต.ค. 43ซื้อ 43.5963 (43.4453) ขาย 43.9023 (43.7544)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,500) ขาย 5,550 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.34 (29.88)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-