กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 17.00 น. ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 สรุปดังนี้
1. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ไทย-กัมพูชาได้ข้อยุติในเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่สำคัญก็คือ การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และในระดับ อนุภูมิภาคให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดร.สุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาว่า ผลจากการประชุม Asean Informal Summit ที่กรุงมะนิลา ซึ่งดร. สุรินทร์ฯ ได้พูดถึง "โครงการมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ" นั้น บัดนี้ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากภาครัฐและเอกชน ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาได้เสนอให้กระทรวงท่องเที่ยวกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว 4 ประเทศ (ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา) ที่เสียมราฐ โดยทางกัมพูชารับที่จะผลักดันแนวความคิดนี้และพัฒนาความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมต่อไป
2. ไทยและกัมพูชาได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้สายการบินของทั้งสองประเทศ ประเทศละ 2 สายการบิน บินไป-กลับไทยและกัมพูชา และมีเส้นทางการบินไปจังหวัดเสียมราฐด้วย ซึ่งจะเป็นการขยายความร่วมมือทางด้านการขนส่งและการบิน และเป็นพื้นฐานของการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศในอนาคต
3. ส่วนความร่วมมือด้านการปักปันเขตแดน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ที่ว่างเว้นมาถึง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2538 (นอกเหนือจากกลไกความร่วมมือด้านชายแดนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว) ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมที่สำคัญมากต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอาชญากรรมตามแนวชายแดน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีการประชุมโดยเร็ว โดยกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งฝ่ายกัมพูชาว่า คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติที่จะเพิ่มพูนการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา โดยให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่สินค้าเกษตร 23 รายการ เช่นเดียวกับที่ไทยให้กับลาว
5. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนช่องทางการติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และส่งเสริมการค้าและการลงทุนตามชายแดน ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะยกระดับด่านบ้านช่องผักกาด จังหวัดจันทบุรี-จังหวัดไพลิน เป็นด่านสากล
6. ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่า ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ โดยจะมีการลงนามความตกลงสำคัญ 2 ฉบับ คือ ความตกลงป้องกันและปราบปรามการจารกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามแนวชายแดน และความตกลงความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลไทยตกลงที่จะส่งไฟฟ้าไปยังจังหวัดชายแดน 4 จังหวัดทางตะวันตกของกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดคำเรียง พระตะบอง ไพลิน และพระวิหาร (รวมถึงจังหวัดเสียมราฐในอนาคตด้วย) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความร่วมมือด้านไฟฟ้าสำหรับไทยและกัมพูชาในอนาคต
7. ดร. สุรินทร์ฯ ได้แจ้งต่อนายฮอร์ นัม ฮงว่า ไทยและประชาคมยุโรป (EU) ได้ตกลงที่จะร่วมสนับสนุนและพัฒนาข้าราชการกัมพูชาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมข้าราชการกระทรวงการค้าของกัมพูชาที่ไทยเคยจัดขึ้นเพื่อให้กัมพูชามีส่วนร่วมกิจกรรมด้านการค้าของ Asean
8. นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงด้วยว่า ในการประชุม Asean Ministerial Meeting (AMM) ครั้งต่อไปที่กรุงเทพฯ จะมีการผลักดันให้วาระการพัฒนาด้านการขนส่ง คมนาคมทางถนน และรถไฟในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นวาระของ Asean และเป็นวาระของประเทศ Dialogue partners ร่วมกันด้วยเพื่อจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการรวมตัวกัน (Integration) ของ Asean โดยมิตรประเทศ Asean ต้องรับข้อเสนอนี้ก่อน จึงจะเสนอเป็นวาระร่วมกันในการประชุม Post Ministerial Meeting (PMC) ได้ต่อไป โดยในโอกาสนี้ ดร. สุรินทร์ฯ เสนอว่า ในปีนี้ไทยจะผลักดันการประกาศให้ทศวรรษนี้เป็น "ทศวรรษแห่งการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง" ซึ่งนายฮอร์ นัม ฮง เห็นด้วยและจากการหยั่งเสียงมิตรประเทศแล้วทุกประเทศก็เห็นด้วย--จบ--
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เวลา 17.00 น. ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 สรุปดังนี้
1. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ไทย-กัมพูชาได้ข้อยุติในเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่สำคัญก็คือ การพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และในระดับ อนุภูมิภาคให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดร.สุรินทร์ฯ ได้แจ้งให้นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาว่า ผลจากการประชุม Asean Informal Summit ที่กรุงมะนิลา ซึ่งดร. สุรินทร์ฯ ได้พูดถึง "โครงการมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ" นั้น บัดนี้ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากภาครัฐและเอกชน ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาได้เสนอให้กระทรวงท่องเที่ยวกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว 4 ประเทศ (ไทย พม่า ลาว และกัมพูชา) ที่เสียมราฐ โดยทางกัมพูชารับที่จะผลักดันแนวความคิดนี้และพัฒนาความร่วมมือให้เป็นรูปธรรมต่อไป
2. ไทยและกัมพูชาได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้สายการบินของทั้งสองประเทศ ประเทศละ 2 สายการบิน บินไป-กลับไทยและกัมพูชา และมีเส้นทางการบินไปจังหวัดเสียมราฐด้วย ซึ่งจะเป็นการขยายความร่วมมือทางด้านการขนส่งและการบิน และเป็นพื้นฐานของการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศในอนาคต
3. ส่วนความร่วมมือด้านการปักปันเขตแดน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ที่ว่างเว้นมาถึง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2538 (นอกเหนือจากกลไกความร่วมมือด้านชายแดนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว) ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมที่สำคัญมากต่อการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอาชญากรรมตามแนวชายแดน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะมีการประชุมโดยเร็ว โดยกัมพูชาเป็นเจ้าภาพ
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งฝ่ายกัมพูชาว่า คณะรัฐมนตรีไทยได้มีมติที่จะเพิ่มพูนการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา โดยให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่สินค้าเกษตร 23 รายการ เช่นเดียวกับที่ไทยให้กับลาว
5. ดร. สุรินทร์ฯ กล่าวว่า เพื่อเป็นการเพิ่มพูนช่องทางการติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันของประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และส่งเสริมการค้าและการลงทุนตามชายแดน ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะยกระดับด่านบ้านช่องผักกาด จังหวัดจันทบุรี-จังหวัดไพลิน เป็นด่านสากล
6. ดร.สุรินทร์ฯ กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่า ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ โดยจะมีการลงนามความตกลงสำคัญ 2 ฉบับ คือ ความตกลงป้องกันและปราบปรามการจารกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามแนวชายแดน และความตกลงความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลไทยตกลงที่จะส่งไฟฟ้าไปยังจังหวัดชายแดน 4 จังหวัดทางตะวันตกของกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดคำเรียง พระตะบอง ไพลิน และพระวิหาร (รวมถึงจังหวัดเสียมราฐในอนาคตด้วย) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของความร่วมมือด้านไฟฟ้าสำหรับไทยและกัมพูชาในอนาคต
7. ดร. สุรินทร์ฯ ได้แจ้งต่อนายฮอร์ นัม ฮงว่า ไทยและประชาคมยุโรป (EU) ได้ตกลงที่จะร่วมสนับสนุนและพัฒนาข้าราชการกัมพูชาให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมข้าราชการกระทรวงการค้าของกัมพูชาที่ไทยเคยจัดขึ้นเพื่อให้กัมพูชามีส่วนร่วมกิจกรรมด้านการค้าของ Asean
8. นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงด้วยว่า ในการประชุม Asean Ministerial Meeting (AMM) ครั้งต่อไปที่กรุงเทพฯ จะมีการผลักดันให้วาระการพัฒนาด้านการขนส่ง คมนาคมทางถนน และรถไฟในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นวาระของ Asean และเป็นวาระของประเทศ Dialogue partners ร่วมกันด้วยเพื่อจะเป็นการส่งเสริมความร่วมมือและการรวมตัวกัน (Integration) ของ Asean โดยมิตรประเทศ Asean ต้องรับข้อเสนอนี้ก่อน จึงจะเสนอเป็นวาระร่วมกันในการประชุม Post Ministerial Meeting (PMC) ได้ต่อไป โดยในโอกาสนี้ ดร. สุรินทร์ฯ เสนอว่า ในปีนี้ไทยจะผลักดันการประกาศให้ทศวรรษนี้เป็น "ทศวรรษแห่งการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง" ซึ่งนายฮอร์ นัม ฮง เห็นด้วยและจากการหยั่งเสียงมิตรประเทศแล้วทุกประเทศก็เห็นด้วย--จบ--