โดยภาพรวมเศรษฐกิจโลกในครึ่งแรกปี 2548 ยังมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จากอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นขณะที่เศรษฐกิจ สหภาพยุโรปชะลอตัวลง สำหรับประเทศในเอเซียนั้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 1/2548 จากสิงคโปร์ที่ขยายตัวได้ดีขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวไม่ชัดเจน แต่ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัวลง สำหรับภาคการผลิตนั้นยังชะลอตัวลงจากอุปสงค์ของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลง ด้านการส่งออกของประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเซียยังชะลอตัวลง ยกเว้นประเทศจีนที่ยังขยายตัวในระดับสูง สำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มลดลงในหลายประเทศ ทำให้หลายประเทศยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังทรงตัวในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางด้านราคาและเศรษฐกิจในที่สุด
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากต้องประสบกับ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่น Tsunami เป็นต้น ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2548 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 — 5.5 สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 แต่ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังคงต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตามมาอีก
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวบ้าง แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 4.9 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตก็ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เช่นกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2548 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 58,451.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 26,630.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 31,821.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.68 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.00 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.27 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.17 ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยมีมูลค่าขาดดุล -5,190.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548 ร้อยละ -75.18
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 8,932 ล้านบาท โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 8,080 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 852 ล้านบาทและสำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 577 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 333,800 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 183 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 55,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 200 โครงการ เป็นเงินลงทุน 121,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0
สำหรับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.19 สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออกเพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
เคมีภัณฑ์ เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ย และเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 34.07 และ 31.06 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 47.35
ปิโตรเคมี การผลิตในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 ลดลง เนื่องจาก ผู้ผลิตบางรายปิดซ่อมบำรุง บางรายลดปริมาณการผลิตในบางช่วง เนื่องจากราคาที่ลดลง และไตรมาส 2 ปี 2548 เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อีกทั้งปริมาณความต้องการน้ำในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิดความกังวลว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อขบวนการผลิตปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้วางมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยการทำฝนเทียม การสร้างอ่างเก็บน้ำ การวางท่อเชื่อมแหล่งน้ำต่างๆ อีกทั้ง ภาคเอกชนได้ร่วมมือในการประหยัดการใช้น้ำและการติดตั้งระบบ Recycle น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้รับการแก้ไขลุล่วง ผู้ผลิตปิโตรเคมีจึงสามารถเดินเครื่องผลิตได้ตามปกติ
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในประเทศขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวค่อนข้างทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างโรงงาน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียมและโครงการภาครัฐที่ขยายตัว แต่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยกลับชะลอตัว สำหรับสภาวะเหล็กทรงแบนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ ปริมาณการนำเข้าและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง.........(
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เศรษฐกิจไทยในปี 2548 มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากต้องประสบกับ ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ผลกระทบของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง และผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่น Tsunami เป็นต้น ซึ่งทำให้หลายฝ่ายออกมาปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2548 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 — 5.5 สำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ยังมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 แต่ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยยังคงต้องประสบกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตามมาอีก
สำหรับภาคอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่มีการประกาศออกมาในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 ส่วนใหญ่ยังมีการขยายตัวบ้าง แม้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก มีการลดลงมาเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมาร้อยละ 1.3 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 4.9 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตก็ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 เช่นกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พบว่ามีการปรับตัวลดลงทั้งจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2547
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2548 มีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 58,451.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 26,630.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 31,821.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.68 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.00 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.27 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.17 ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 โดยมีมูลค่าขาดดุล -5,190.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2548 ร้อยละ -75.18
สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 8,932 ล้านบาท โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 8,080 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 852 ล้านบาทและสำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 577 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 333,800 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100 % จำนวน 183 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 55,100 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 200 โครงการ เป็นเงินลงทุน 121,900 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 14.0 ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ 1.0
สำหรับช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการลดลงของสินค้าทั้ง 2 กลุ่มโดยสินค้ากลุ่มไฟฟ้าลดลงร้อยละ 1.19 สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.77 แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศในไตรมาส 3 ของปี 2548 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของตลาดในประเทศคาดว่าจะชะลอตัวเป็นผลจากการขึ้นราคาน้ำมันทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวลง แต่การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ได้อีกเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีการขยายตัวและมีการย้ายฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดมาให้ไทยผลิตแทน ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่านอกจากจะสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลเนื่องจากเมื่อเริ่มไตรมาสที่ 3 จะเป็นช่วงที่ผู้ผลิตจะเพิ่มการผลิตสินค้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนป้อนตลาดส่งออกเพื่อเตรียมผลิตสินค้าสำเร็จรูปในช่วงสิ้นปีแล้วยังสามารถขยายตัวได้ตามภาวะอิเล็กทรอนิกส์โลก
เคมีภัณฑ์ เมื่อพิจารณาการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ย และเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีอัตราการขยายตัวสูงสุด ถึงร้อยละ 34.07 และ 31.06 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก ปี 2548 พบว่าทุกผลิตภัณฑ์มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปุ๋ยมีอัตราการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 47.35
ปิโตรเคมี การผลิตในช่วงไตรมาส 2 ปี 2548 ลดลง เนื่องจาก ผู้ผลิตบางรายปิดซ่อมบำรุง บางรายลดปริมาณการผลิตในบางช่วง เนื่องจากราคาที่ลดลง และไตรมาส 2 ปี 2548 เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคตะวันออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล อีกทั้งปริมาณความต้องการน้ำในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ผลิตปิโตรเคมีในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเกิดความกังวลว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะไม่เพียงพอต่อขบวนการผลิตปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้วางมาตรการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยการทำฝนเทียม การสร้างอ่างเก็บน้ำ การวางท่อเชื่อมแหล่งน้ำต่างๆ อีกทั้ง ภาคเอกชนได้ร่วมมือในการประหยัดการใช้น้ำและการติดตั้งระบบ Recycle น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้รับการแก้ไขลุล่วง ผู้ผลิตปิโตรเคมีจึงสามารถเดินเครื่องผลิตได้ตามปกติ
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 ในประเทศขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวค่อนข้างทรงตัว ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างโรงงาน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียมและโครงการภาครัฐที่ขยายตัว แต่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยกลับชะลอตัว สำหรับสภาวะเหล็กทรงแบนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ ปริมาณการนำเข้าและส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง.........(
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-