แท็ก
รองเท้า
บทสรุปสำหรับนักลงทุน
รองเท้าแตะพื้นยางนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้าแตะทั่วไปเพียงแค่วัสดุที่ใช้ทำนั้นทำจากยางซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถหาได้จากภายในประเทศ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงสวมใส่สบาย ซึ่งพื้นรองเท้ามีทั้งชนิดที่เป็นยางอ่อนคือรองเท้าแตะฟองน้ำทั่วไป และรองเท้าแตะพื้นยางแข็ง ซึ่งเป็นรองเท้าแตะที่ยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง
รองเท้าแตะพื้นยางมีศักยภาพของตลาดค่อนข้างสูงเนื่องจาก มีความต้องการใช้ค่อนข้างสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดเพื่อการส่งออก โดยรองเท้าแตะพื้นยางของไทยมีคุณภาพดีและมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตรองเท้าแตะพื้นยาง สามารถหาได้ภายในประเทศทั้งสิ้น ตลาดส่งออกหลักของไทยคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และตลาดล่างคือประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกรองเท้าแตะพื้นยางของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโอกาสดีแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในการดำเนินธุรกิจนี้
ปัจจุบันมีผู้ผลิตรองเท้าแตะพื้นยางประมาณ 35 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายเล็กมีเงินทุนตั้งแต่ 2 แสนบาทถึงไม่เกิน 10 ล้านบาท 31 ราย ขนาดกลางมีเงินทุนไม่เกิน 50 ล้านบาท 3 ราย และขนาดใหญ่มีเงินลงทุน 50 ล้านบาท 1 ราย ทั้งนี้การผลิตรองเท้าแตะพื้นยางสามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการดำเนินการผลิตนั้นวัตถุดิบทั้งหมดสามารถหาจากแหล่งซื้อขายในประเทศ อีกทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการดำเนินงานก็เป็นเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อนสามารถหาซื้อได้จากผู้ขายในประเทศเช่นกัน ส่วนช่องทางในการจำหน่ายสินค้าผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่ใช้วิธีการขายส่งไปยังพ่อค้าขายส่งซึ่งสามารถกระจายสินค้าไปได้ทั่วถึงทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถผ่านร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เช่น Big-C, Lotus เป็นต้น ซึ่งร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุม ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง-ใหญ่ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าของหลายๆยี่ห้อซึ่งเจ้าของยี่ห้อสินค้าส่วนใหญ่จะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าของตนเองตามช่องทางต่างๆข้างต้นเช่นกัน
ด้านการลงทุนในการผลิตรองเท้าแตะพื้นยางนั้นในกิจการขนาดเล็กใช้บุคลากรและแรงงานประมาณ 12-15 คน โดยเงินทุนส่วนใหญ่ประมาณ 70 % เป็นการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร คือเครื่องจักร พาหนะและอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนเงินหมุนเวียนในการดำเนินงานประมาณ 30 % ของการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในด้านการผลิตถึง 90 % และอีก 10 % เป็นค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายจากเงินลงทุนขั้นต้น 1.5 ล้านบาท ณ ปริมาณการผลิตและจำหน่าย 24,000 คู่/เดือน ราคาเฉลี่ย 15 บาท/คู่ ใช้ระยะเวลาคืนทุน 3-4 ปี ถ้าในการลงทุนนั้นมีกำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 13.5% ในระยะเวลาโครงการ 5 ปี ซึ่งได้รับผลตอบแทนเท่ากันทุกปี
การผลิตรองเท้าแตะพื้นยางจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) ประกอบด้วย มอก.131-2523 และ มอก.749-2531 ซึ่งครอบคลุมทั้งขนาดและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ การทำเครื่องหมาย และการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถรับทราบรายละเอียดได้จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
รองเท้าแตะพื้นยางนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับรองเท้าแตะทั่วไปเพียงแค่วัสดุที่ใช้ทำนั้นทำจากยางซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถหาได้จากภายในประเทศ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงสวมใส่สบาย ซึ่งพื้นรองเท้ามีทั้งชนิดที่เป็นยางอ่อนคือรองเท้าแตะฟองน้ำทั่วไป และรองเท้าแตะพื้นยางแข็ง ซึ่งเป็นรองเท้าแตะที่ยกระดับขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง
รองเท้าแตะพื้นยางมีศักยภาพของตลาดค่อนข้างสูงเนื่องจาก มีความต้องการใช้ค่อนข้างสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดเพื่อการส่งออก โดยรองเท้าแตะพื้นยางของไทยมีคุณภาพดีและมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตรองเท้าแตะพื้นยาง สามารถหาได้ภายในประเทศทั้งสิ้น ตลาดส่งออกหลักของไทยคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา และตลาดล่างคือประเทศพม่าและประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกรองเท้าแตะพื้นยางของไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นโอกาสดีแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กในการดำเนินธุรกิจนี้
ปัจจุบันมีผู้ผลิตรองเท้าแตะพื้นยางประมาณ 35 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการรายเล็กมีเงินทุนตั้งแต่ 2 แสนบาทถึงไม่เกิน 10 ล้านบาท 31 ราย ขนาดกลางมีเงินทุนไม่เกิน 50 ล้านบาท 3 ราย และขนาดใหญ่มีเงินลงทุน 50 ล้านบาท 1 ราย ทั้งนี้การผลิตรองเท้าแตะพื้นยางสามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อยเนื่องจากการดำเนินการผลิตนั้นวัตถุดิบทั้งหมดสามารถหาจากแหล่งซื้อขายในประเทศ อีกทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการดำเนินงานก็เป็นเครื่องจักรที่ไม่ซับซ้อนสามารถหาซื้อได้จากผู้ขายในประเทศเช่นกัน ส่วนช่องทางในการจำหน่ายสินค้าผู้ประกอบการขนาดเล็กส่วนใหญ่ใช้วิธีการขายส่งไปยังพ่อค้าขายส่งซึ่งสามารถกระจายสินค้าไปได้ทั่วถึงทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถผ่านร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เช่น Big-C, Lotus เป็นต้น ซึ่งร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุม ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลาง-ใหญ่ ส่วนใหญ่มักเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าของหลายๆยี่ห้อซึ่งเจ้าของยี่ห้อสินค้าส่วนใหญ่จะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าของตนเองตามช่องทางต่างๆข้างต้นเช่นกัน
ด้านการลงทุนในการผลิตรองเท้าแตะพื้นยางนั้นในกิจการขนาดเล็กใช้บุคลากรและแรงงานประมาณ 12-15 คน โดยเงินทุนส่วนใหญ่ประมาณ 70 % เป็นการลงทุนด้านสินทรัพย์ถาวร คือเครื่องจักร พาหนะและอุปกรณ์สำนักงาน ส่วนเงินหมุนเวียนในการดำเนินงานประมาณ 30 % ของการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในด้านการผลิตถึง 90 % และอีก 10 % เป็นค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายจากเงินลงทุนขั้นต้น 1.5 ล้านบาท ณ ปริมาณการผลิตและจำหน่าย 24,000 คู่/เดือน ราคาเฉลี่ย 15 บาท/คู่ ใช้ระยะเวลาคืนทุน 3-4 ปี ถ้าในการลงทุนนั้นมีกำไรขั้นต้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 13.5% ในระยะเวลาโครงการ 5 ปี ซึ่งได้รับผลตอบแทนเท่ากันทุกปี
การผลิตรองเท้าแตะพื้นยางจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) ประกอบด้วย มอก.131-2523 และ มอก.749-2531 ซึ่งครอบคลุมทั้งขนาดและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์ การทำเครื่องหมาย และการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถรับทราบรายละเอียดได้จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--