การส่งออก
การส่งออกในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2544 (มค.-กย.) มีมูลค่า 49,340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 4.0
ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกลดลง
การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 ชะลอตัวค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีสต็อกคงเหลือและชะลอการนำเข้าหรือการส่งมอบออกไป
การชะลอตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในสหรัฐอเมริกา ทำให้ความต้องการนำเข้าอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ลดลง
การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทั้งในสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านราคากับประเทศในกลุ่มเอเชีย ส่งผลให้ราคาส่งออกมีแนวโน้มลดลง
ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ
สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออก กุ้งสดแช่แข็ง ไก่แช่แข็งและแปรรูป มันอัดเม็ดและมันเส้น เนื้อปลาสดแช่เย็น ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ตามการขยายตัวของความต้องการของตลาด สำหรับ ข้าว และยางพารา มูลค่าการส่งออกลดลง แต่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาความต้องการของตลาดลดลงและปัญหาการแข่งขันด้านราคา
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 เป็นการลดลงของการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋อง จากปัญหาการแข่งขันด้านราคาและการกีดกันในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและน้ำตาลทรายขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำตาลทรายที่ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ วงจรพิมพ์ และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าอื่น ๆ ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าและผ้าผืน เฟอร์นิเจอร์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและของเล่น
สินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณี กระเป๋าเดินทาง เครื่องสำอาง เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การส่งออกในระยะ 9 เดือนแรกของปี 2544 (มค.-กย.) มีมูลค่า 49,340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 4.0
ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกลดลง
การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและการค้าของโลกและตลาดส่งออกสำคัญของไทยโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2543 ชะลอตัวค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้นำเข้ามีสต็อกคงเหลือและชะลอการนำเข้าหรือการส่งมอบออกไป
การชะลอตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศในสหรัฐอเมริกา ทำให้ความต้องการนำเข้าอุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ลดลง
การแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทั้งในสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านราคากับประเทศในกลุ่มเอเชีย ส่งผลให้ราคาส่งออกมีแนวโน้มลดลง
ภาวะการส่งออกสินค้าสำคัญ
สินค้าเกษตรกรรมส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออก กุ้งสดแช่แข็ง ไก่แช่แข็งและแปรรูป มันอัดเม็ดและมันเส้น เนื้อปลาสดแช่เย็น ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ตามการขยายตัวของความต้องการของตลาด สำหรับ ข้าว และยางพารา มูลค่าการส่งออกลดลง แต่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัญหาความต้องการของตลาดลดลงและปัญหาการแข่งขันด้านราคา
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 เป็นการลดลงของการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋อง จากปัญหาการแข่งขันด้านราคาและการกีดกันในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางและน้ำตาลทรายขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำตาลทรายที่ราคาในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกลดลงร้อยละ 6.3 สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ วงจรพิมพ์ และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าอื่น ๆ ที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าและผ้าผืน เฟอร์นิเจอร์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและของเล่น
สินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณี กระเป๋าเดินทาง เครื่องสำอาง เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-