นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานของผู้ส่งออกที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาต และได้รับการจัดสรรโควตาส่งออกไปยังประเทศที่มีข้อตกลงสิ่งทอกับประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ ดังนี้
1. เพื่อตรวจสอบว่าผู้ส่งออกที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ที่ใช้บังคับในปี 2543 สำหรับการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศที่มีข้อตกลงหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกที่มีสิทธิขอรับจัดสรรโควตาจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตสินค้าสิ่งทอที่ส่งออก หรือที่จะส่งออก
2. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา กรณีที่ผู้ส่งออกได้รับการจัดสรรโควตาไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำการผลิต หรือไม่สามารถผลิตสินค้ารายการนั้นได้ และนำโควตาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. เพื่อเป็นการป้องกันกรณีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอสำเร็จรูปจากประเทศที่สามแล้วส่งต่อไปยังประเทศผู้นำเข้าที่มีข้อตกลง โดยแอบอ้างว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดและใช้โควตาของประเทศ (Circumvention) ในปี 2543 ผลการตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา สรุปได้คือ จากจำนวนโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบจำนวน 701 ราย พบว่าโรงงานที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบมีจำนวน 637 ราย โรงงานที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 64 ราย ได้แก่ โรงงานที่มีจำนวนคนงาน หรือเครื่องจักรไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ โรงงานที่ไม่ได้ประกอบการผลิตสินค้า รวมทั้งโรงงานที่ไม่พบสถานที่ตั้งตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการพักทะเบียนและยึดคืนโควตา 17 ราย
นอกจากนี้ ยังตรวจพบว่ามีโรงงานที่ไม่มีเครื่องจักรประเภท Flat knit จึงไม่สามารถผลิตสินค้ารายการเสื้อถักไหมพรม (Sweater) ได้จำนวน 93 ราย ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการขอรับจัดสรรโควตาในรายการ Sweater ตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฯ ที่แก้ไขเพิ่มเติมและมีผลบัลคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2543 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกจากการดำเนินการตรวจสอบโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตอย่างสม่ำเสมอแล้ว กรมการค้าต่างประเทศยังได้ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเอกสารการส่งออก และได้มีการประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อดำเนินการป้องปรามการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้ามาโดยตลอด ซึ่งหากพบหลักฐานว่าผู้ส่งออกรายใดมีการส่งออกที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบฯ หรือตามข้อตกลงฯ กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการเพิกถอนทะเบียนการเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตของผู้ส่งออกรายนั้น และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป 24 พฤศจิกายน 2543--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2543--
-อน-
1. เพื่อตรวจสอบว่าผู้ส่งออกที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ที่ใช้บังคับในปี 2543 สำหรับการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศที่มีข้อตกลงหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกที่มีสิทธิขอรับจัดสรรโควตาจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตสินค้าสิ่งทอที่ส่งออก หรือที่จะส่งออก
2. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา กรณีที่ผู้ส่งออกได้รับการจัดสรรโควตาไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำการผลิต หรือไม่สามารถผลิตสินค้ารายการนั้นได้ และนำโควตาไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง
3. เพื่อเป็นการป้องกันกรณีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอสำเร็จรูปจากประเทศที่สามแล้วส่งต่อไปยังประเทศผู้นำเข้าที่มีข้อตกลง โดยแอบอ้างว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดและใช้โควตาของประเทศ (Circumvention) ในปี 2543 ผลการตรวจสอบการประกอบกิจการโรงงานซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา สรุปได้คือ จากจำนวนโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตที่ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบจำนวน 701 ราย พบว่าโรงงานที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามระเบียบมีจำนวน 637 ราย โรงงานที่มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 64 ราย ได้แก่ โรงงานที่มีจำนวนคนงาน หรือเครื่องจักรไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ โรงงานที่ไม่ได้ประกอบการผลิตสินค้า รวมทั้งโรงงานที่ไม่พบสถานที่ตั้งตามที่ได้จดทะเบียนไว้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการพักทะเบียนและยึดคืนโควตา 17 ราย
นอกจากนี้ ยังตรวจพบว่ามีโรงงานที่ไม่มีเครื่องจักรประเภท Flat knit จึงไม่สามารถผลิตสินค้ารายการเสื้อถักไหมพรม (Sweater) ได้จำนวน 93 ราย ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการขอรับจัดสรรโควตาในรายการ Sweater ตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฯ ที่แก้ไขเพิ่มเติมและมีผลบัลคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2543 อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า นอกจากการดำเนินการตรวจสอบโรงงานผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตอย่างสม่ำเสมอแล้ว กรมการค้าต่างประเทศยังได้ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานเอกสารการส่งออก และได้มีการประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อดำเนินการป้องปรามการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้ามาโดยตลอด ซึ่งหากพบหลักฐานว่าผู้ส่งออกรายใดมีการส่งออกที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบฯ หรือตามข้อตกลงฯ กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการเพิกถอนทะเบียนการเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรับอนุญาตของผู้ส่งออกรายนั้น และดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป 24 พฤศจิกายน 2543--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ ธันวาคม 2543--
-อน-