1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ทุเรียน : ควรคุมเข้มการตรวจโรคและแมลงก่อนอนุญาตส่งออก
ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเรื่อง การศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก กรณีศึกษาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2543 ในการนี้ ระหว่างวันที่ 12-24 มิถุนายน 2543 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการสำรวจข้อมูลการตลาดทุเรียนในประเทศไต้หวันและฮ่องกง พบว่า ฝ่ายกักกันพืชไต้หวันได้ตรวจสอบ พบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้(Durian Seed Borer from Malasia ) ติดไปกับผลทุเรียน โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 มีทุเรียนเข้าที่เมืองท่าเกาซุง จำนวน 8 ตู้คอนเทนเนอร์ ๆ ละ 13 ตัน พบว่ามีเพลี้ยแป้งทุกตู้และหนอนใต้ 2 ตู้ และในวันที่ 21 มิถุนายน 2543 มีทุเรียนเข้าไต้หวัน 6 ตู้คอนเทนเนอร์ พบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้เช่นกันแต่มี 1 ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีหนอนใต้เกินข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จึงให้นำไปรม Methyle Bromide ก่อนออกจำหน่าย โดยผู้นำเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรมตู้ละประมาณ 35,000 บาท นอกจากพบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้แล้วยังพบทุเรียนมีเชื้อ Phytopthora อีกด้วย สำหรับโรคและแมลงดังกล่าว นอกจากพบที่ไต้หวันแล้ว ยังพบที่ฮ่องกงเช่นกัน แต่เนื่องจากฮ่องกงไม่มีการตรวจสอบทางด้านโรคและแมลงดังเช่นไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามผู้จำหน่ายทุเรียนในตลาดฮ่องกงแล้ว ผู้จำหน่ายกล่าวว่าทุเรียนที่มีหนอนและที่มีเชื้อ Phytopthora นั้นจะทำให้ผลเน่าเสียง่าย อายุการวางจำหน่ายสั้น มีปัญหาไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคหรือต้องลดราคาลง จึงจะจำหน่ายได้
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เห็นว่าจากปัญหาดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังอาจจะเป็นช่องทางให้ผู้นำเข้านำมาเป็นข้ออ้าง ในการกดราคารับซื้อและทางการไต้หวันอาจจะนำมาเป็นข้อกีดกันการนำเข้าจากไทยได้ จึงเห็นควรให้กรมวิชาการเกษตร ได้มีการตรวจสอบโรคและแมลง ณ โรงบรรจุหีบห่ออย่างจริงจัง ก่อนอนุญาตส่งออกและกรมส่งเสริมการเกษตรควรมีการแนะนำ ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ดีและเหมาะสมแก่เกษตรกรเนื่องจากขณะนี้มีฝนตกกระจายทั่วไปในแหล่งผลิตทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ทำให้มีโรคและแมลงระบาดส่งผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน
1.2 สินค้าที่ต้องเฝ้าคอยระวัง
กล้วยไม้ : การส่งออกไปสหภาพยุโรปยังมีปัญหาเพลี้ยไฟ
สถานการณ์การส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ปี 2543 (มค-เมย.) มีปริมาณ 579 ตัน มูลค่า 51.61 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 31.88 และ 21.63 ซึ่งสาเหตุที่การส่งออกลดลงเนื่องจากสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP และปัญหาที่สำคัญ คือ ยังมีเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ทำให้ประเทศคู่ค้าในสหภาพยุโรปตรวจสอบอย่างเข้มงวดและเผาทำลายกล้วยไม้จากไทยเป็นจำนวนหลายเที่ยว โดยจากรายงานข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรซึ่งได้รับแจ้งจากประเทศปลายทางว่าตรวจพบเพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ที่ส่งจากไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2543 จำนวน 22 เที่ยว (Shipment) เป็นผลทำให้คณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยพืชสหภาพยุโรป แสดงความไม่พอใจและคาดว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนศกนี้ อาจจะมีการนำปัญหาเพลี้ยไฟเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ อีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำเอามาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นมาใช้กับการนำเข้าดอกกล้วยไม้จากไทยทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ผ่อนผันระยะเวลา การประเมินผลมาตรการเพลี้ยไฟให้กับไทยไปอีก 1 ปี (จากกันยายน 2542 เป็นกันยายน 2543) สำหรับสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุม การรมยาดอกกล้วยไม้ก่อนส่งออกของผู้ประกอบการ อย่างได้ผลเนื่องจากกรม-วิชาการเกษตรได้รับแจ้งข้อมูลการตรวจพบเพลี้ยไฟ จากประเทศปลายทางค่อนข้างล่าช้า ประมาณ 1-2 เดือน ทำให้การตรวจสอบและออกใบรับรองการส่งออกดอกกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ข้อคิดเห็น
1. สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป จะต้องรีบรายงานผลการตรวจพบเพลี้ยไฟของประเทศปลายทางในสหภาพยุโรป ให้กรมวิชาการเกษตร ได้ทราบเพื่อดำเนินการควบคุมบริษัทผู้ส่งออกให้แก้ไขได้ทัน
2. กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ส่งออกและเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้จะต้องให้ความร่วมมือในการใช้มาตรการเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟ และการตรวจรับรองสวนกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มันสำปะหลัง : ยุทธศาสตร์สินค้ามันสำปะหลัง
การสัมมนาเรื่อง " ยุทธศาสตร์สินค้ามันสำปะหลัง " จัดขึ้นโดยกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมสัมมนาเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2543 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา ผลการสัมมนาสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้ 1. แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
1) มันเส้น มันอัดเม็ด คาดว่า ปริมาณการส่งออกไปยังตลาดในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสหภาพยุโรปได้ดำเนิน นโยบายเกษตรร่วมตาม Agenda 2000 ส่งผลให้ผู้นำเข้าหันมาใช้ธัญพืชภายในประเทศมากขึ้น สำหรับตลาดนอกสหภาพยุโรป คาดว่าจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดเกาหลีใต้และจีน ซึ่งในตลาดเกาหลีใต้ไทยกำลังเร่งเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่าง ไทยกับเกาหลีใต้ เพื่อให้มีการลดภาษีสินค้าเกษตรและจีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายในสิ้นปี
2) แป้งมันสำปะหลัง คาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่ม โดยเฉพาะในมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งตลาดใหม่ ๆ 2. แนวโน้มการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศ
1) มันเส้น มันอัดเม็ด คาดว่า การใช้มันสำปะหลังเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่จะต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น
2) แป้งมันสำปะหลัง คาดว่า การใช้แป้งมันสำปะหลังในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมอาหาร เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ไอศกรีม ปูอัด ฯลฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3. ศักยภาพของอุตสาหกรรมแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่ม
1) อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมให้มีการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงและโรงงานอาหารสัตว์ได้หันมาใช้มันสำปะหลังเพิ่มมากขึ้น หากเร่งให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี่การใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ก็จะทำให้มีการใช้เพิ่มขึ้นจากปีละ 0.5 ล้านตันเป็น 1-2 ล้านตัน
2) แอลกอฮอล์จากมันสำปะหลัง สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังได้ ซึ่งต้นทุนการผลิตลิตรละ 6-7 บาท แต่ยังมีปัญหาด้านภาษี แอลกอฮอล์ลิตรละ 13 บาท ซึ่งจะ ทำให้ราคาของแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังเป็น ลิตรละ 19-20 บาท ไม่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันเบนซินได้
3) ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลัง สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ทำการวิจัยภาชนะบรรจุจากแป้งมันสำปะหลังแล้ว ซึ่งสถาบันฯ พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เอกชนผู้สนใจที่จะลงทุน 4. กลยุทธ
1) ส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี ปรับปรุงบำรุงดินและปลูกในพื้นที่เหมาะสมรวมทั้งจดทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง
2) ส่งเสริมให้มีการใช้มันเส้นเป็นอาหารสัตว์ให้มากขึ้น
3) ส่งเสริมการใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ สารความหวาน ฯลฯ
4) จัดระเบียบทางการค้า เช่น จดทะเบียนลานมัน โรงอัดมันเม็ด รวมทั้งออกระเบียบเพื่อป้องกันมิให้ผู้ส่งออกขายตัดราคากันเอง
5) ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศคู่ค้าและกลุ่มเป้าหมายรู้จักการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และจัดคณะผู้แทน ทางการค้าเดินทางไปเจรจาขอเพิ่มปริมาณการนำเข้า ลดภาษีกานำเข้ารวมถึงเจาะตลาดสินค้าแป้งแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากแป้งในตลาดใหม่
นอกจากนี้ได้มีการแบ่งการสัมมนากลุ่มย่อยเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 นโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้เน้นถึงการแก้ไขปัญหา มันสำปะหลังในปี 2544 ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 ( ตุลาคม 2543- กันยายน 2544 ) จะมีปริมาณมากประมาณ 18-19 ล้านตันหัวมันสดประกอบกับสต็อกมันอัดเม็ดในฤดูนี้มีถึง 2.09 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นสต็อกมันอัดเม็ดขององค์การคลังสินค้า จำนวน 1.5 ล้านตัน และภาคเอกชนจำนวน 0.59 ล้านตัน หากรัฐบาล ไม่เร่งระบายสินค้าดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาหัวมันสำปะหลัง รวมทั้งสหภาพยุโรปดำเนินนโยบายการเกษตร ร่วมตาม Agenda ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาหัวมันสำปะหลังสด ซึ่งจะตกต่ำเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เว้นแต่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นก็จะส่งผลดีต่อราคามันสำปะหลัง นโยบายและมาตรการในปี 2544 เพื่อเตรียมการล่วงหน้าในเรื่องมันสำปะหลัง ที่ประชุมมีความเห็นดังนี้
1. นโยบายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันอัดเม็ดปี 2544 ไปยังตลาดในสหภาพยุโรปมีการตรวจเช็คสต็อกเพื่อส่งออกในเดือนถัดไป ส่วนการส่งออกมันอัดเม็ดไปยังตลาดนอกสหภาพยุโรปและแป้งมันสำปะหลังเป็นการค้าเสรี เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
2. มาตรการในการดำเนินการ
1) การดำเนินการต้องเป็นไปตามกลไกตลาด กล่าวคือ หากรัฐบาลเข้าไปดำเนินการแทรกแซงตลาด เกษตรกรในแต่ละจังหวัด จะได้รับราคาที่แตกต่างกันตามระยะทาง โดยรัฐบาลจะเข้าไปดำเนินการทุกท้องที่และเป็นเกษตรกรรายย่อย
2) ชะลอการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังสด โดยรัฐบาลควรเร่งให้มีการดำเนินการเร็วขึ้น และขยายระยะเวลาในการดำเนินการให้เหมาะสม
3) รณรงค์ให้เกษตรกรและลานมันเส้นปรับปรุงคุณภาพของหัวมันสดและผลิตภัณฑ์
4) เร่งให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากขึ้น โดยรัฐบาลให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน อุปกรณ์แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งการใช้มันสำปะหลังในประเทศให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
5) จดทะเบียนลานมันเส้น โรงงานมันอัดเม็ด เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
กลุ่มที่ 2 บทบาทของผู้ประกอบการและนักวิชาการ โดยมีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นายวีระ บุญศรี) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นดังต่อไปนี้
1) ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเข้าเพื่อจะได้ขยายตลาด ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.) เร่งพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังที่มีอายุการเก็บรักษาหัวมันสดได้ยาวนานมากขึ้น รวมทั้งพันธุ์ที่จะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น คือ ประมาณ 9 เดือน
3) เผยแพร่ผลงานทางวิชาการการทำมันเส้นให้สะอาดให้แก่เกษตรกรและลานมันเส้นเพื่อให้ได้มันเส้นที่มีคุณภาพดี รวมทั้งการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ในสูตรอาหารต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์
ยางพารา : สถานการณ์อุตสาหกรรมยางของไทย
การผลิตยางธรรมชาติของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายพื้นที่ปลูกและการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 12.24 ล้านไร่ ในปี 2542 มีผลผลิตประมาณ 2.138 ล้านตัน การผลิตส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นคิดเป็นร้อยละ 55 ที่เหลือเป็นยางแท่ง น้ำยางข้น และยางเครพ คิดเป็นร้อยละ 29, 14 และ 2 ตามลำดับ ผลผลิตที่ได้ ร้อยละ 90 ใช้เพื่อการส่งออก และใช้ภายในประเทศเพียง ร้อยละ 10 สำหรับการใช้ยางธรรมชาติของไทย ในปี 2542 ประมาณ 226,917 ตัน ใช้ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมน้ำยางข้นและอุตสาหกรรมรองเท้า คิดเป็นร้อยละ 53, 22 และ 9 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย ยางธรรมชาติถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศปีละ ประมาณ 344,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 44 ของผลผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ อุตสาหกรรมน้ำยางข้น คิดเป็นร้อยละ 79 ของปริมาณการใช้ทั้งประเทศ ที่เหลือใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ร้อยละ 13 จะเห็นว่ามาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำยางข้นในปริมาณที่สูงมาก ในขณะที่มาเลเซียการผลิตมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากการลดพื้นที่ปลูก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 11.59 ล้านไร่ ในปี 2542 มีผลผลิตเพียง 769,000 ตัน เทียบกับปี 2540 มีผลผลิตอยู่ 971,000 ตัน ผลผลิตลดลงร้อยละ 20 ปัจจุบัน มาเลเซียประสพปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบ คือ น้ำยางสด ต้องนำเข้าและมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย จะเห็นว่ามาเลเซียมีปริมาณการใช้ภายในประเทศที่สูงกว่าของไทยมาก นื่องจากมาเลเซียมีความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์ยางและเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่สามารถทำรายได้จากการส่งออกอยู่มากชนิด ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้นการเพิ่มอัตราการใช้ยางภายในประเทศของไทย ทำได้โดยการขยายการผลิตและขยายการส่งออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ยางที่มีการผลิตอยู่แล้วในประเทศ เช่น ยางรถยนต์ ถุงมือยาง เป็นต้น และขณะเดียวกันต้อง ขยายขอบเขตการใช้ยางธรรมชาติไปสู่ผลิตภัณฑ์ยางใหม่ๆที่ยังไม่มีการผลิตในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันไทยยังมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการผลิตจะเห็นว่าอุตสาหกรรมยางส่วนใหญ่อาศัยเทคโนโลยีที่รับมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้มีการเสนอบัญชีรายชื่อของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยขอให้มีการเร่งรัดให้มีการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเป็นการจูงใจในการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยางทั้งจากบริษัทของไทยและบริษัทจากต่างประเทศ เพื่อขยายการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามประสงค์
2. รายชื่อผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติที่สมควรเร่งรัดส่งเสริมการลงทุน
1) ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นส่วนควบหรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้แก่
- ยางรองคอสะพาน (Elastomeric Bearing Pad)
- ยางคั้นรอยต่อคอนกรีต (Rubber Hose Joint or Rubber Sealant)
- แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน (Expansion Joint Seals)
- ยางกันชนหรือยางกันกระแทก (Rubber Fender of Rubber Bumper)
- ปะเก็นยางหรือซีลยางแบบต่างๆ (Rubber Gasket and Seals)
- บล็อกยางปูพื้น (Rubber Block)
- พรมยางปูพื้น (Rubber Floor Mat)
- แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ (Rubber Water Confine)
- ฝายยาง (Rubber Dam)
- ท่อยาง (Rubber Hose)
- ผลิตภัณฑ์ยางในเครื่องสุขภัณฑ์
2) ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
3) อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์กีฬาทางน้ำ เรือยาง บอลลูน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
ทุเรียน : ควรคุมเข้มการตรวจโรคและแมลงก่อนอนุญาตส่งออก
ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยเรื่อง การศึกษาการตลาดทุเรียนเพื่อพัฒนาการส่งออก กรณีศึกษาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2543 ในการนี้ ระหว่างวันที่ 12-24 มิถุนายน 2543 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการสำรวจข้อมูลการตลาดทุเรียนในประเทศไต้หวันและฮ่องกง พบว่า ฝ่ายกักกันพืชไต้หวันได้ตรวจสอบ พบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้(Durian Seed Borer from Malasia ) ติดไปกับผลทุเรียน โดยเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2543 มีทุเรียนเข้าที่เมืองท่าเกาซุง จำนวน 8 ตู้คอนเทนเนอร์ ๆ ละ 13 ตัน พบว่ามีเพลี้ยแป้งทุกตู้และหนอนใต้ 2 ตู้ และในวันที่ 21 มิถุนายน 2543 มีทุเรียนเข้าไต้หวัน 6 ตู้คอนเทนเนอร์ พบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้เช่นกันแต่มี 1 ตู้คอนเทนเนอร์ที่มีหนอนใต้เกินข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จึงให้นำไปรม Methyle Bromide ก่อนออกจำหน่าย โดยผู้นำเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรมตู้ละประมาณ 35,000 บาท นอกจากพบเพลี้ยแป้งและหนอนใต้แล้วยังพบทุเรียนมีเชื้อ Phytopthora อีกด้วย สำหรับโรคและแมลงดังกล่าว นอกจากพบที่ไต้หวันแล้ว ยังพบที่ฮ่องกงเช่นกัน แต่เนื่องจากฮ่องกงไม่มีการตรวจสอบทางด้านโรคและแมลงดังเช่นไต้หวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามผู้จำหน่ายทุเรียนในตลาดฮ่องกงแล้ว ผู้จำหน่ายกล่าวว่าทุเรียนที่มีหนอนและที่มีเชื้อ Phytopthora นั้นจะทำให้ผลเน่าเสียง่าย อายุการวางจำหน่ายสั้น มีปัญหาไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคหรือต้องลดราคาลง จึงจะจำหน่ายได้
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เห็นว่าจากปัญหาดังกล่าว หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังอาจจะเป็นช่องทางให้ผู้นำเข้านำมาเป็นข้ออ้าง ในการกดราคารับซื้อและทางการไต้หวันอาจจะนำมาเป็นข้อกีดกันการนำเข้าจากไทยได้ จึงเห็นควรให้กรมวิชาการเกษตร ได้มีการตรวจสอบโรคและแมลง ณ โรงบรรจุหีบห่ออย่างจริงจัง ก่อนอนุญาตส่งออกและกรมส่งเสริมการเกษตรควรมีการแนะนำ ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่ดีและเหมาะสมแก่เกษตรกรเนื่องจากขณะนี้มีฝนตกกระจายทั่วไปในแหล่งผลิตทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้ ทำให้มีโรคและแมลงระบาดส่งผลกระทบต่อคุณภาพของทุเรียน
1.2 สินค้าที่ต้องเฝ้าคอยระวัง
กล้วยไม้ : การส่งออกไปสหภาพยุโรปยังมีปัญหาเพลี้ยไฟ
สถานการณ์การส่งออกดอกกล้วยไม้ไปยังสหภาพยุโรป ปี 2543 (มค-เมย.) มีปริมาณ 579 ตัน มูลค่า 51.61 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 31.88 และ 21.63 ซึ่งสาเหตุที่การส่งออกลดลงเนื่องจากสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP และปัญหาที่สำคัญ คือ ยังมีเพลี้ยไฟติดไปกับดอกกล้วยไม้ทำให้ประเทศคู่ค้าในสหภาพยุโรปตรวจสอบอย่างเข้มงวดและเผาทำลายกล้วยไม้จากไทยเป็นจำนวนหลายเที่ยว โดยจากรายงานข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรซึ่งได้รับแจ้งจากประเทศปลายทางว่าตรวจพบเพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ที่ส่งจากไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2543 จำนวน 22 เที่ยว (Shipment) เป็นผลทำให้คณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยพืชสหภาพยุโรป แสดงความไม่พอใจและคาดว่า ในช่วงเดือนมิถุนายนศกนี้ อาจจะมีการนำปัญหาเพลี้ยไฟเข้าที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ อีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำเอามาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นมาใช้กับการนำเข้าดอกกล้วยไม้จากไทยทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ผ่อนผันระยะเวลา การประเมินผลมาตรการเพลี้ยไฟให้กับไทยไปอีก 1 ปี (จากกันยายน 2542 เป็นกันยายน 2543) สำหรับสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุม การรมยาดอกกล้วยไม้ก่อนส่งออกของผู้ประกอบการ อย่างได้ผลเนื่องจากกรม-วิชาการเกษตรได้รับแจ้งข้อมูลการตรวจพบเพลี้ยไฟ จากประเทศปลายทางค่อนข้างล่าช้า ประมาณ 1-2 เดือน ทำให้การตรวจสอบและออกใบรับรองการส่งออกดอกกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟ ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ข้อคิดเห็น
1. สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป จะต้องรีบรายงานผลการตรวจพบเพลี้ยไฟของประเทศปลายทางในสหภาพยุโรป ให้กรมวิชาการเกษตร ได้ทราบเพื่อดำเนินการควบคุมบริษัทผู้ส่งออกให้แก้ไขได้ทัน
2. กรมส่งเสริมการเกษตร ผู้ส่งออกและเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้จะต้องให้ความร่วมมือในการใช้มาตรการเขตผลิตกล้วยไม้ปลอดเพลี้ยไฟ และการตรวจรับรองสวนกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
มันสำปะหลัง : ยุทธศาสตร์สินค้ามันสำปะหลัง
การสัมมนาเรื่อง " ยุทธศาสตร์สินค้ามันสำปะหลัง " จัดขึ้นโดยกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมสัมมนาเมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2543 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา ผลการสัมมนาสรุปประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้ 1. แนวโน้มการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
1) มันเส้น มันอัดเม็ด คาดว่า ปริมาณการส่งออกไปยังตลาดในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากสหภาพยุโรปได้ดำเนิน นโยบายเกษตรร่วมตาม Agenda 2000 ส่งผลให้ผู้นำเข้าหันมาใช้ธัญพืชภายในประเทศมากขึ้น สำหรับตลาดนอกสหภาพยุโรป คาดว่าจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดเกาหลีใต้และจีน ซึ่งในตลาดเกาหลีใต้ไทยกำลังเร่งเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่าง ไทยกับเกาหลีใต้ เพื่อให้มีการลดภาษีสินค้าเกษตรและจีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ภายในสิ้นปี
2) แป้งมันสำปะหลัง คาดว่าจะขยายตัวได้เพิ่ม โดยเฉพาะในมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งตลาดใหม่ ๆ 2. แนวโน้มการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศ
1) มันเส้น มันอัดเม็ด คาดว่า การใช้มันสำปะหลังเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่จะต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น
2) แป้งมันสำปะหลัง คาดว่า การใช้แป้งมันสำปะหลังในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมอาหาร เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ไอศกรีม ปูอัด ฯลฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3. ศักยภาพของอุตสาหกรรมแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่ม
1) อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์และภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ส่งเสริมให้มีการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงและโรงงานอาหารสัตว์ได้หันมาใช้มันสำปะหลังเพิ่มมากขึ้น หากเร่งให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี่การใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ก็จะทำให้มีการใช้เพิ่มขึ้นจากปีละ 0.5 ล้านตันเป็น 1-2 ล้านตัน
2) แอลกอฮอล์จากมันสำปะหลัง สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังได้ ซึ่งต้นทุนการผลิตลิตรละ 6-7 บาท แต่ยังมีปัญหาด้านภาษี แอลกอฮอล์ลิตรละ 13 บาท ซึ่งจะ ทำให้ราคาของแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังเป็น ลิตรละ 19-20 บาท ไม่สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันเบนซินได้
3) ภาชนะบรรจุย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลัง สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ทำการวิจัยภาชนะบรรจุจากแป้งมันสำปะหลังแล้ว ซึ่งสถาบันฯ พร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เอกชนผู้สนใจที่จะลงทุน 4. กลยุทธ
1) ส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี ปรับปรุงบำรุงดินและปลูกในพื้นที่เหมาะสมรวมทั้งจดทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง
2) ส่งเสริมให้มีการใช้มันเส้นเป็นอาหารสัตว์ให้มากขึ้น
3) ส่งเสริมการใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมอาหาร กระดาษ สารความหวาน ฯลฯ
4) จัดระเบียบทางการค้า เช่น จดทะเบียนลานมัน โรงอัดมันเม็ด รวมทั้งออกระเบียบเพื่อป้องกันมิให้ผู้ส่งออกขายตัดราคากันเอง
5) ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศคู่ค้าและกลุ่มเป้าหมายรู้จักการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และจัดคณะผู้แทน ทางการค้าเดินทางไปเจรจาขอเพิ่มปริมาณการนำเข้า ลดภาษีกานำเข้ารวมถึงเจาะตลาดสินค้าแป้งแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากแป้งในตลาดใหม่
นอกจากนี้ได้มีการแบ่งการสัมมนากลุ่มย่อยเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 นโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้เน้นถึงการแก้ไขปัญหา มันสำปะหลังในปี 2544 ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2544 ( ตุลาคม 2543- กันยายน 2544 ) จะมีปริมาณมากประมาณ 18-19 ล้านตันหัวมันสดประกอบกับสต็อกมันอัดเม็ดในฤดูนี้มีถึง 2.09 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นสต็อกมันอัดเม็ดขององค์การคลังสินค้า จำนวน 1.5 ล้านตัน และภาคเอกชนจำนวน 0.59 ล้านตัน หากรัฐบาล ไม่เร่งระบายสินค้าดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาหัวมันสำปะหลัง รวมทั้งสหภาพยุโรปดำเนินนโยบายการเกษตร ร่วมตาม Agenda ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาหัวมันสำปะหลังสด ซึ่งจะตกต่ำเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เว้นแต่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นก็จะส่งผลดีต่อราคามันสำปะหลัง นโยบายและมาตรการในปี 2544 เพื่อเตรียมการล่วงหน้าในเรื่องมันสำปะหลัง ที่ประชุมมีความเห็นดังนี้
1. นโยบายการส่งออกผลิตภัณฑ์มันอัดเม็ดปี 2544 ไปยังตลาดในสหภาพยุโรปมีการตรวจเช็คสต็อกเพื่อส่งออกในเดือนถัดไป ส่วนการส่งออกมันอัดเม็ดไปยังตลาดนอกสหภาพยุโรปและแป้งมันสำปะหลังเป็นการค้าเสรี เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
2. มาตรการในการดำเนินการ
1) การดำเนินการต้องเป็นไปตามกลไกตลาด กล่าวคือ หากรัฐบาลเข้าไปดำเนินการแทรกแซงตลาด เกษตรกรในแต่ละจังหวัด จะได้รับราคาที่แตกต่างกันตามระยะทาง โดยรัฐบาลจะเข้าไปดำเนินการทุกท้องที่และเป็นเกษตรกรรายย่อย
2) ชะลอการเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังสด โดยรัฐบาลควรเร่งให้มีการดำเนินการเร็วขึ้น และขยายระยะเวลาในการดำเนินการให้เหมาะสม
3) รณรงค์ให้เกษตรกรและลานมันเส้นปรับปรุงคุณภาพของหัวมันสดและผลิตภัณฑ์
4) เร่งให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ให้มากขึ้น โดยรัฐบาลให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุน อุปกรณ์แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งการใช้มันสำปะหลังในประเทศให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
5) จดทะเบียนลานมันเส้น โรงงานมันอัดเม็ด เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
กลุ่มที่ 2 บทบาทของผู้ประกอบการและนักวิชาการ โดยมีรองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (นายวีระ บุญศรี) เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นดังต่อไปนี้
1) ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้นำเข้าเพื่อจะได้ขยายตลาด ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.) เร่งพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังที่มีอายุการเก็บรักษาหัวมันสดได้ยาวนานมากขึ้น รวมทั้งพันธุ์ที่จะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น คือ ประมาณ 9 เดือน
3) เผยแพร่ผลงานทางวิชาการการทำมันเส้นให้สะอาดให้แก่เกษตรกรและลานมันเส้นเพื่อให้ได้มันเส้นที่มีคุณภาพดี รวมทั้งการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ในสูตรอาหารต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์
ยางพารา : สถานการณ์อุตสาหกรรมยางของไทย
การผลิตยางธรรมชาติของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายพื้นที่ปลูกและการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 12.24 ล้านไร่ ในปี 2542 มีผลผลิตประมาณ 2.138 ล้านตัน การผลิตส่วนใหญ่เป็นยางแผ่นคิดเป็นร้อยละ 55 ที่เหลือเป็นยางแท่ง น้ำยางข้น และยางเครพ คิดเป็นร้อยละ 29, 14 และ 2 ตามลำดับ ผลผลิตที่ได้ ร้อยละ 90 ใช้เพื่อการส่งออก และใช้ภายในประเทศเพียง ร้อยละ 10 สำหรับการใช้ยางธรรมชาติของไทย ในปี 2542 ประมาณ 226,917 ตัน ใช้ในอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมน้ำยางข้นและอุตสาหกรรมรองเท้า คิดเป็นร้อยละ 53, 22 และ 9 ตามลำดับ ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย ยางธรรมชาติถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศปีละ ประมาณ 344,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 44 ของผลผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ อุตสาหกรรมน้ำยางข้น คิดเป็นร้อยละ 79 ของปริมาณการใช้ทั้งประเทศ ที่เหลือใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ร้อยละ 13 จะเห็นว่ามาเลเซียมีความต้องการใช้น้ำยางข้นในปริมาณที่สูงมาก ในขณะที่มาเลเซียการผลิตมีแนวโน้มลดลง อันเนื่องมาจากการลดพื้นที่ปลูก ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 11.59 ล้านไร่ ในปี 2542 มีผลผลิตเพียง 769,000 ตัน เทียบกับปี 2540 มีผลผลิตอยู่ 971,000 ตัน ผลผลิตลดลงร้อยละ 20 ปัจจุบัน มาเลเซียประสพปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบ คือ น้ำยางสด ต้องนำเข้าและมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศไทย จะเห็นว่ามาเลเซียมีปริมาณการใช้ภายในประเทศที่สูงกว่าของไทยมาก นื่องจากมาเลเซียมีความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์ยางและเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่สามารถทำรายได้จากการส่งออกอยู่มากชนิด ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยและพัฒนาในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ดังนั้นการเพิ่มอัตราการใช้ยางภายในประเทศของไทย ทำได้โดยการขยายการผลิตและขยายการส่งออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ยางที่มีการผลิตอยู่แล้วในประเทศ เช่น ยางรถยนต์ ถุงมือยาง เป็นต้น และขณะเดียวกันต้อง ขยายขอบเขตการใช้ยางธรรมชาติไปสู่ผลิตภัณฑ์ยางใหม่ๆที่ยังไม่มีการผลิตในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันไทยยังมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการผลิตจะเห็นว่าอุตสาหกรรมยางส่วนใหญ่อาศัยเทคโนโลยีที่รับมาจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ดังนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จึงได้มีการเสนอบัญชีรายชื่อของผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยขอให้มีการเร่งรัดให้มีการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเป็นการจูงใจในการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยางทั้งจากบริษัทของไทยและบริษัทจากต่างประเทศ เพื่อขยายการใช้ยางธรรมชาติในประเทศให้เพิ่มขึ้นตามประสงค์
2. รายชื่อผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติที่สมควรเร่งรัดส่งเสริมการลงทุน
1) ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นส่วนควบหรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้แก่
- ยางรองคอสะพาน (Elastomeric Bearing Pad)
- ยางคั้นรอยต่อคอนกรีต (Rubber Hose Joint or Rubber Sealant)
- แผ่นยางเชื่อมรอยต่อสะพาน (Expansion Joint Seals)
- ยางกันชนหรือยางกันกระแทก (Rubber Fender of Rubber Bumper)
- ปะเก็นยางหรือซีลยางแบบต่างๆ (Rubber Gasket and Seals)
- บล็อกยางปูพื้น (Rubber Block)
- พรมยางปูพื้น (Rubber Floor Mat)
- แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ (Rubber Water Confine)
- ฝายยาง (Rubber Dam)
- ท่อยาง (Rubber Hose)
- ผลิตภัณฑ์ยางในเครื่องสุขภัณฑ์
2) ผลิตภัณฑ์ยางที่เป็นชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์
3) อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์กีฬาทางน้ำ เรือยาง บอลลูน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 25 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2543--
-สส-