1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มีรายงานจากประธานสมาคมผู้ผลิตถั่วเหลืองของบราซิลว่า ตั้งแต่ปี 2543 ปริมาณการผลิตถั่วเหลือง GM ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า สาเหตุเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าถั่วเหลืองแบบธรรมดา แม้ว่าจะถูกต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Greenpeace) ก็ตาม ในอดีตรัฐบาลบราซิลเคยยับยั้งการปลูกถั่วเหลือง GM โดยสั่งให้เผาทำลายหากพบว่ามีการปลูก แต่ไม่ได้ผล ทั้งยังกลับทำให้ปริมาณการปลูกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังพบว่ามีการปลูกเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง GM ทางตอนใต้ของประเทศจำนวน 312.5 ไร่ เมล็ดพันธุ์จำนวนนี้จะสามารถขยายการผลิตใน 3 ปีข้างหน้าได้ถึง 18.75 ล้านไร่ (ปัจจุบันบราซิลได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตถั่วเหลือง non - GM ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในเอเซียและยุโรป)
กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการายงานว่าในปี 2544 สหรัฐอเมริกาได้บริจาคกากถั่วเหลืองตามโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการปฏิรูปการตลาดแก่ ประเทศรัสเซีย และฟิลิปปินส์ จำนวน 30,000 และ 12,000 ตัน ตามลำดับ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 500.33 เซนต์ (8.37 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 510.33 เซนต์ (8.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 18.24 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 18.42 เซนต์ (18.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 174.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 177.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ยจาก 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 6-12 ส.ค. 2544--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มีรายงานจากประธานสมาคมผู้ผลิตถั่วเหลืองของบราซิลว่า ตั้งแต่ปี 2543 ปริมาณการผลิตถั่วเหลือง GM ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า สาเหตุเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าถั่วเหลืองแบบธรรมดา แม้ว่าจะถูกต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Greenpeace) ก็ตาม ในอดีตรัฐบาลบราซิลเคยยับยั้งการปลูกถั่วเหลือง GM โดยสั่งให้เผาทำลายหากพบว่ามีการปลูก แต่ไม่ได้ผล ทั้งยังกลับทำให้ปริมาณการปลูกเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังพบว่ามีการปลูกเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง GM ทางตอนใต้ของประเทศจำนวน 312.5 ไร่ เมล็ดพันธุ์จำนวนนี้จะสามารถขยายการผลิตใน 3 ปีข้างหน้าได้ถึง 18.75 ล้านไร่ (ปัจจุบันบราซิลได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตถั่วเหลือง non - GM ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในเอเซียและยุโรป)
กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการายงานว่าในปี 2544 สหรัฐอเมริกาได้บริจาคกากถั่วเหลืองตามโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการปฏิรูปการตลาดแก่ ประเทศรัสเซีย และฟิลิปปินส์ จำนวน 30,000 และ 12,000 ตัน ตามลำดับ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 500.33 เซนต์ (8.37 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 510.33 เซนต์ (8.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 18.24 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 18.42 เซนต์ (18.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 174.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 177.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ยจาก 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 6-12 ส.ค. 2544--
-สส-