กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอังค์ถัด ณ นครเจนีวา กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการดำเนินโครงการ Advance Cargo Information System (ACIS) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความช่วยเหลือจากอังค์ถัดในการติดตั้งระบบการติดตามการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยในวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าวแล้วในการติดตามการขนส่งสินค้าทางรถไฟในบริเวณเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการปรับภาษาที่ใช้ในระบบจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2544 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานกับทางอังค์ถัด ในการจัดส่ง เจ้าหน้าที่ของไทยไปฝึกอบรมการใช้ระบบดังกล่าว ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในเดือนกันยายน 2544 นี้ด้วย ในชั้นนี้ ระบบดังกล่าวสามารถปฏิบัติงานได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการปฏิบัติงานไปยังภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อังค์ถัดได้เสนอให้ การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาเช่าซื้อชั่วคราว (lease) หรืออาจขอจากบรรษัทข้ามชาติ โดยทางอังค์ถัดจะเป็นผู้จัดหา software และดำเนินการ ติดตั้งให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ อังค์ถัดได้ประสานกับกระทรวงความร่วมมือของเยอรมนี เพื่อขอรับทุน ในการดำเนินโครงการดังกล่าวแล้ว โดยขอให้พิจารณาเงื่อนไขของฝ่ายไทยด้วยว่า เงินทุนดังกล่าวต้องช่วยผลักดันการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของการรถไฟแห่งประเทศไทย พัฒนาข้อมูลและเทคโนโลยี การสื่อสาร รวมถึงความร่วมมือในภูมิภาค นอกจากนี้ จะมีการจัดบรรยายเกี่ยวกับโครงการ ACIS ให้กับผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนของไทย กัมพูชา พม่าและลาว ในการสัมมนาเกี่ยวกับ multimodal transport
ซึ่งจะจัดขึ้นโดยมูลนิธิ Carl Duisberg ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการขนส่งในลุ่มแม่น้ำโขงที่ครอบคลุมการขนส่งทุกด้าน โดยจะมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้าร่วมในการบรรยายครั้งนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการ ACIS และเป็นการย้ำถึงความสำคัญของทางด้านภูมิศาสตร์และการเมืองของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง โครงการ ACIS นี้ จะมีประโยชน์ต่อไทยในการจัดระบบการขนส่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะมีการนำระบบการติดตามนี้มาใช้กับการขนส่งประเภทอื่นๆ ของไทยในอนาคตด้วย และอาจมีการขยายพื้นที่ครอบคลุมการใช้ระบบดังกล่าวออกไป โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบการติดตามการขนส่งสินค้าในภูมิภาค โดยเฉพาะในเขตลุ่มแม่น้ำโขง และมีบทบาทนำในโครงการของอาเซียนที่จะเชื่อมระบบรถไฟในเส้นทาง สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-จีนเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบการค้าและการขนส่งของภูมิภาคต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอังค์ถัด ณ นครเจนีวา กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการดำเนินโครงการ Advance Cargo Information System (ACIS) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการความช่วยเหลือจากอังค์ถัดในการติดตั้งระบบการติดตามการขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยในวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าวแล้วในการติดตามการขนส่งสินค้าทางรถไฟในบริเวณเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการปรับภาษาที่ใช้ในระบบจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2544 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานกับทางอังค์ถัด ในการจัดส่ง เจ้าหน้าที่ของไทยไปฝึกอบรมการใช้ระบบดังกล่าว ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ในเดือนกันยายน 2544 นี้ด้วย ในชั้นนี้ ระบบดังกล่าวสามารถปฏิบัติงานได้เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายการปฏิบัติงานไปยังภาคอื่นๆ อย่างไรก็ตาม อังค์ถัดได้เสนอให้ การรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาเช่าซื้อชั่วคราว (lease) หรืออาจขอจากบรรษัทข้ามชาติ โดยทางอังค์ถัดจะเป็นผู้จัดหา software และดำเนินการ ติดตั้งให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ อังค์ถัดได้ประสานกับกระทรวงความร่วมมือของเยอรมนี เพื่อขอรับทุน ในการดำเนินโครงการดังกล่าวแล้ว โดยขอให้พิจารณาเงื่อนไขของฝ่ายไทยด้วยว่า เงินทุนดังกล่าวต้องช่วยผลักดันการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของการรถไฟแห่งประเทศไทย พัฒนาข้อมูลและเทคโนโลยี การสื่อสาร รวมถึงความร่วมมือในภูมิภาค นอกจากนี้ จะมีการจัดบรรยายเกี่ยวกับโครงการ ACIS ให้กับผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐและเอกชนของไทย กัมพูชา พม่าและลาว ในการสัมมนาเกี่ยวกับ multimodal transport
ซึ่งจะจัดขึ้นโดยมูลนิธิ Carl Duisberg ระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการขนส่งในลุ่มแม่น้ำโขงที่ครอบคลุมการขนส่งทุกด้าน โดยจะมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้าร่วมในการบรรยายครั้งนี้ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการ ACIS และเป็นการย้ำถึงความสำคัญของทางด้านภูมิศาสตร์และการเมืองของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง โครงการ ACIS นี้ จะมีประโยชน์ต่อไทยในการจัดระบบการขนส่งเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะมีการนำระบบการติดตามนี้มาใช้กับการขนส่งประเภทอื่นๆ ของไทยในอนาคตด้วย และอาจมีการขยายพื้นที่ครอบคลุมการใช้ระบบดังกล่าวออกไป โดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางของระบบการติดตามการขนส่งสินค้าในภูมิภาค โดยเฉพาะในเขตลุ่มแม่น้ำโขง และมีบทบาทนำในโครงการของอาเซียนที่จะเชื่อมระบบรถไฟในเส้นทาง สิงคโปร์-มาเลเซีย-ไทย-จีนเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบการค้าและการขนส่งของภูมิภาคต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-