บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Tuesday March 13, 2001 13:23 —รัฐสภา

                           บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๕๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายสนิท วรปัญญา ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง
รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่านพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งนายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ตามประกาศ ลงวันที่ ๑
มีนาคม ๒๕๔๔
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม
ประจำปี ๒๕๔๒
๒. นายโกเมน ภัทรภิรมย์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์
ขอลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓ และครั้งที่ ๑๐
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๓ ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุม
ทั้งสองครั้ง ดังกล่าว
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ
ตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้มีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการดังกล่าว จำนวน ๑๖ คน ประกอบด้วย
๑. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ๒. นายสุพร สุภสร
๓. นายปราโมทย์ ไม้กลัด ๔. นายทวีป ขวัญบุรี
๕. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๖. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
๗. นายสมพร คำชื่น ๘. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๙. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม ๑๐. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
๑๑. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ๑๒. นายอุบล เอื้อศรี
๑๓. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๑๔. นายสมัย ฮมแสน
๑๕. นายไสว พราหมณี ๑๖. นายปราโมทย์ ไพชนม์
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการ
๒. ขออนุญาตวุฒิสภาพิจารณาคดี นายเฉลิม พรหมเลิศ สมาชิกวุฒิสภา
ในฐานะจำเลยในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุม ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๖๖ หลังจากสมาชิกฯ
อภิปรายแล้ว ที่ประชุมมีมติไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีในระหว่างสมัยประชุม
๓. ขออนุญาตวุฒิสภาพิจารณาคดี นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ สมาชิกวุฒิสภา
ในฐานะจำเลยในคดีอาญาในระหว่างสมัยประชุม ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๖๖ หลังจากสมาชิกฯ
อภิปรายแล้ว ที่ประชุมมีมติไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีในระหว่างสมัยประชุม
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
กระทู้ถาม คือ กระทู้ถามด่วน เรื่อง กรณีละเมิดความเป็นอิสระและเสรีภาพของพนักงานไอทีวี
นายกวี สุภธีระ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาทั้งสอง ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานในที่ประชุม
โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้ต่อต้าน
การทำลายพระพุทธรูปในอัฟกานิสถานของกองกำลังทาลิบัน ซึ่งนายผ่อง เล่งอี้ และนายภิญญา
ช่วยปลอด เป็นผู้เสนอ มาให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นเรื่องด่วน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้มีมติให้คัดค้านการทำลายพระพุทธรูปในอัฟกานิสถาน
ของกองกำลังทาลิบัน และส่งเรื่องให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตาม
ระเบียบวาระเรื่องอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา
จึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการการต่างประเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุม
มีมติให้ตั้งคุณหญิงจินตนา สุขมาก และนายเกษม รุ่งธนเกียรติ เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๒. ตั้งกรรมาธิการการปกครอง แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติ
ให้ตั้งนายอุดร ตันติสุนทร เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๓. ตั้งกรรมาธิการการทหาร แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติ
ให้ตั้งนายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๔. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายอมร นิลเปรม และนายอาคม ตุลาดิลก
เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๕. ตั้งกรรมาธิการการบริหารและการยุติธรรม แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง
ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งพลตำรวจตรี สนาม คงเมือง เป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง
๖. ตั้งกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับ
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นกรรมาธิการ
แทนตำแหน่งที่ว่าง
๗. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเรียกรับเงินในการเลือก
กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขอขยายเวลาพิจารณา ออกไปอีก ๑๕ วัน
นับแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๔ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ขยายเวลาได้ตามคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ร้องขอ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง
ตามระเบียบวาระเรื่องที่ค้างพิจารณา โดยที่ประชุมได้มีมติให้รอการพิจารณาเรื่องตามวาระที่
๕.๑ - ๕.๖ ไว้ก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาฉบับใหม่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องที่ค้างพิจารณาลำดับต่อไป
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหายาเสพติด
ซึ่งนายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำญัตติทำนองเดียวกันอีก
สองฉบับ คือ ญัตติตามระเบียบวาระที่ ๕.๘ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม
ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่ง พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้เสนอ
และญัตติตามระเบียบวาระที่ ๕.๙ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อดำเนินการ
พิจารณาสอบสวนและศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งนายนิคม
เชาว์กิตติโสภณ และ พลตรี มนูญกฤต รูปขจร เป็นผู้เสนอ มารวมพิจารณา เมื่อผู้เสนอญัตติ
ทั้งสามฉบับ ได้แถลงเหตุผล และมีสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้มีมติ
งดใช้ข้อบังคับฯ ข้อ ๗๖ วรรคสอง เป็นการชั่วคราว เฉพาะกรณี และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญศึกษาปัญหาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน ๔๗ คน ประกอบด้วย
๑. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ๒. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๓. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๔. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
๕. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ๖. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๗. นายพา อักษรเสือ ๘. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
๙. พลตำรวจเอก สมชาย ไชยเวช ๑๐. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ
๑๑. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ ๑๒. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
๑๓. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๔. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๑๕. นายดำรง พุฒตาล ๑๖. นายนพดล สมบูรณ์
๑๗. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา ๑๘. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๑๙. นายสัก กอแสงเรือง ๒๐. นายทวี แก้วคง
๒๑. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช ๒๒. นายชัชวาลย์ คงอุดม
๒๓. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ๒๔. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๒๕. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๒๖. นายศรีเมือง เจริญศิริ
๒๗. นายชาติชาย สุทธิกลม ๒๘. นายรุ่งเรือง ดุลละลัมพะ
๒๙. นายอรรถวุฒิ ตั้งประดับกุล ๓๐. พลตำรวจโท นพดล สมบูรณ์ทรัพย์
๓๑. พลตำรวจโท คมกฤช พัฒน์พงศ์พานิช ๓๒. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๓๓. พลตำรวจตรี สมคิด บุญถนอม ๓๔. พันตำรวจเอก วุฒิ วิทิตานนท์
๓๕. พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์ ๓๖. พลเอก สามารถ ภาวิไล
๓๗. นายธีรภัทร สันติเมทนีดล ๓๘. พันตำรวจเอก ทศเทพ นิวาศบุตร
๓๙. พลตำรวจตรี อุกฤษฎ์ ปัจฉิมสวัสดิ์ ๔๐. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๔๑. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๔๒. นางประทีป อึ้งทรงธรรม
๔๓. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๔๔. พลเอก วิชา ศิริธรรม
๔๕. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๔๖. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล
๔๗. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการ
๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา
การพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งนายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย และนายเพิ่มพูน ทองศรี เป็นผู้เสนอ
หลังจากผู้เสนอญัตติได้แถลงเหตุผล สมาชิกฯ อภิปราย จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้มีมติ
งดใช้ข้อบังคับฯ ข้อ ๗๖ วรรคสอง เป็นการชั่วคราว เฉพาะกรณี และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ขึ้นพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย ๒. นายเพิ่มพูน ทองศรี
๓. นายมนู วณิชชานนท์ ๔. นายเกษม มาลัยศรี
๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๖. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
๗. นายพา อักษรเสือ ๘. นายอาคม ตุลาดิลก
๙. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๑๐. นายวีระศักดิ์ จินารัตน์
๑๑. นายสุชน ชาลีเครือ ๑๒. นายสุรเดช ยะสวัสดิ์
๑๓. พลเอก หาญ ลีนานนท์ ๑๔. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๑๕. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๑๖. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
๑๗. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๑๘. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ
๑๙. นายวิชัย ครองยุติ ๒๐. นายวิทยา มะเสนา
๒๑. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๒๒. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๒๓. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๒๔. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๒๕. นายนิพนธ์ สุทธิเดช
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการ
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ