ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือสรุปผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือน ธ.ค. 42 จากแบบสำรวจของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 132 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ธ.ค. 42 ปรับตัวดีขึ้นจนสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ยแล้ว และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ธ.ค. 42 อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.9 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ซึ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการ และแนวโน้มการส่งออกกลับลดลง
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่ร้อยละ 55.1 และช่วง ก.พ.-เม.ย. 43 อยู่ที่ร้อยละ 55.4 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 45.9 ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ 50) ผู้ประกอบการมีภาระในการบริหารสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีตลาดในประเทศประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจทั้งด้านตลาดและราคาสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 35.1 การแข่งขันยังคงรุนแรง เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศลดลง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 56.0 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศสูงขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการส่งออกมีการแข่งขันทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 41.8 เทียบกับการแข่งขันในระดับปกติ (คือร้อยละ 50) การแข่งขันยังคงมีความรุนแรง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 52.2 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกสูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 30.4 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกยังคงเท่าเดิม
2.3 ภาวะการเงินเดือน ธ.ค. 42 ยังทรงตัว ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจมีสภาพคล่องในธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 56.7 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ดัชนียังคงสูงกว่าระดับเสถียรภาพ (คือร้อยละ 50) โดยอยู่ที่ร้อยละ 53.8 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเท่าเดิม สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ธปท. ควรจะผ่อนผันการสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือนเหมือนเดิม
3.2 รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรไม่ให้ตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3.3 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
3.4 ธนาคารพาณิชย์ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือ 6.5-8% ต่อปี
3.5 อำนาจซื้อของประชาชนโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 40.9 19.7 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 37.1 16.7 3.0
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 68.2 9.1 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 70.5 9.1 1.5
เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.2 9.8 2.3
6. แนวโน้มการส่งออก 35.3 26.5 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง - วัตถุดิบ 24.2 37.9 13.6 24.2
- สินค้าสำเร็จรูป 30.3 39.4 15.9 14.4
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 56.1 31.1 6.8 6.1
- ต่างประเทศ 52.2 30.4 17.4 -
3. ภาวะการเงินเดือน ธ.ค.
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 19.7 51.5 16.7 12.1
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 15.9 51.5 18.9 13.6
- สภาพคล่อง 14.4 52.3 25.8 7.6
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ก.พ.-เม.ย. 43
เทียบกับเดือน ธ.ค. 42
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 12.9 46.2 25.8 15.2
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 17.4 43.9 14.4 24.2
- สภาพคล่อง 35.6 39.4 12.1 12.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ธ.ค. 42 ปรับตัวดีขึ้นจนสูงพ้นเกณฑ์เฉลี่ยแล้ว และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอีกในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาพรวมธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อย ๆ ฟื้นตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ธ.ค. 42 อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.9 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ซึ่งชี้ว่าเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ โดยปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ปัจจัยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการ และแนวโน้มการส่งออกกลับลดลง
สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในระยะ 4 เดือนข้างหน้าปรับดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่ร้อยละ 55.1 และช่วง ก.พ.-เม.ย. 43 อยู่ที่ร้อยละ 55.4 ซึ่งสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 45.9 ต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย (ร้อยละ 50) ผู้ประกอบการมีภาระในการบริหารสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีตลาดในประเทศประสบปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจทั้งด้านตลาดและราคาสูงขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 35.1 การแข่งขันยังคงรุนแรง เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศลดลง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 56.0 เห็นว่าการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศสูงขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการส่งออกมีการแข่งขันทางธุรกิจลดลงจากเดือนก่อน ดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 41.8 เทียบกับการแข่งขันในระดับปกติ (คือร้อยละ 50) การแข่งขันยังคงมีความรุนแรง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 52.2 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกสูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการ ร้อยละ 30.4 เห็นว่าการแข่งขันด้านการส่งออกยังคงเท่าเดิม
2.3 ภาวะการเงินเดือน ธ.ค. 42 ยังทรงตัว ผู้ประกอบการให้เครดิตกับลูกค้าเพิ่มขึ้น ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจมีสภาพคล่องในธุรกิจลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. 43 ผู้ประกอบการเห็นว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ธุรกิจจะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 56.7 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ดัชนียังคงสูงกว่าระดับเสถียรภาพ (คือร้อยละ 50) โดยอยู่ที่ร้อยละ 53.8 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะเท่าเดิม สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง ซึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อการส่งออกในระยะต่อไป
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ธปท. ควรจะผ่อนผันการสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากเดิม 3 เดือน เป็น 6 เดือนเหมือนเดิม
3.2 รัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรไม่ให้ตกต่ำในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
3.3 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดเงินทุนหมุนเวียน และธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
3.4 ธนาคารพาณิชย์ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงเหลือ 6.5-8% ต่อปี
3.5 อำนาจซื้อของประชาชนโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 40.9 19.7 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 37.1 16.7 3.0
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 68.2 9.1 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 70.5 9.1 1.5
เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 46.2 9.8 2.3
6. แนวโน้มการส่งออก 35.3 26.5 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง - วัตถุดิบ 24.2 37.9 13.6 24.2
- สินค้าสำเร็จรูป 30.3 39.4 15.9 14.4
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 56.1 31.1 6.8 6.1
- ต่างประเทศ 52.2 30.4 17.4 -
3. ภาวะการเงินเดือน ธ.ค.
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 19.7 51.5 16.7 12.1
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 15.9 51.5 18.9 13.6
- สภาพคล่อง 14.4 52.3 25.8 7.6
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน ก.พ.-เม.ย. 43
เทียบกับเดือน ธ.ค. 42
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 12.9 46.2 25.8 15.2
- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ 17.4 43.9 14.4 24.2
- สภาพคล่อง 35.6 39.4 12.1 12.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-