ข้อมูลเบื้องต้นเดือนกันยายน 2544 เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลงทั้งภาคการผลิต อุปสงค์รวมในประเทศ และแม้แต่ภาคต่างประเทศ
โดยเป็นผลกระทบทั้งทางตรงและต่อความเชื่อมั่นของประชาชนจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัว
ส่วนภาคการเงินสภาพคล่องยังคงสูง แต่การให้สินเชื่อมีแนวโน้มดีขึ้นบ้าง ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตลดลงร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากเหตุวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกานอกเหนือจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า หมวดเหล็ก
และผลิตภัณฑ์เหล็กซึ่งการผลิตเหล็กรีดร้อนและรีดเย็นต้องประสบปัญหาการแข่งขันและการกีดกันทางการค้า และหมวดสิ่งทอที่ลดลงเกือบทุก
ผลิตภัณฑ์ตามการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก รวมทั้งปัญหาการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า สินค้าผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่
หมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีการส่งออกปูนซิเมนต์ไปเวียดนามและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มขึ้น
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งที่ยังคงเพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่ง แม้การส่งออกรถยนต์พาณิชย์จะลดลง และหมวดยาสูบ ซึ่งมีการ
กักตุนจากตัวแทนจำหน่ายที่คาดว่าราคาบุหรี่จะปรับสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับใช้ พรบ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การผลิตช่วง 9 เดือน
แรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม และ อัญมณีและเครื่องประดับ
เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 53.3
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราชะลอลงทั้งปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยอดค้าปลีกรวมของประเทศ
ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำส่วนการลงทุนภาค
เอกชนปรับลดลงมากโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวลงมากตามปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ขณะที่การลงทุนด้านการก่อ
สร้างขยายตัวเล็กน้อย
3. ภาคการคลัง รัฐบาลขาดดุลเงินสด 11.8 พันล้านบาท โดยมีรายได้ 67.7 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระยะเดียว
กันปีก่อน รายจ่าย 90.7 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายนจำนวน 72.9 พันล้าน
บาท สำหรับปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102 พันล้านบาท โดยมีรายได้ 770 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากปีก่อน
ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีสรรพสามิต และอากรนำเข้า และรายจ่าย 876 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3
จากระยะเดียวกัน ปีก่อน
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน โดยราคาหมวดอื่นๆ
ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน สำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ กอปรกับค่ากระแสไฟฟ้า
ที่ได้ปรับขึ้นสู่อัตราเดิมเท่ากับเดือนกรกฎาคม 2544 หลังจากมีการนำเงินที่ได้รับส่วนลดจากค่าก๊าซธรรมชาติไปลดภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเดือน
ก่อนหน้า ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 โดยราคาผักและผลไม้ลดลงมากที่สุด เนื่องจากปริมาณผักและผลไม้ออกสู่
ตลาดมากขึ้น ดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียว
กันปีก่อน โดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 0.9 และ 0.6 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0. 2
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.5 ขณะที่การนำเข้าลดลงเพียงร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้
ดุลการค้ายังคงเกินดุล 281 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลลดลงจากเดือนก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่
ลดลงหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประกอบกับเป็นช่วงสิ้นไตรมาสจึงมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผล
ของภาคเอกชน รวมทั้งการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคทางการ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงมากจากเดือนก่อน มาอยู่ ณ ระดับเพียง 367
ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 236 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธปท.ชำระหนี้ 630 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรอง
ระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 อยู่ ณ ระดับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ย
อยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.59 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสิน
เชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นเดือน) ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือน
ก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและ สินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน
เนื่องจากภาคเอกชนถอนเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายในเดือนนี้
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ปรับตัวอ่อนลงหลังเหตุการณ์ก่อ
วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาขณะที่ยังมีปัจจัยลบจากการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งอ่อนค่าลง
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และผลของการควบรวมกิจการของบริษัทใน สิงคโปร์
วันที่ 1-25 ตุลาคม 2544 ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากการอ่อนค่าลงของ ค่าเงินเยน และค่าเงินภูมิภาค
โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งการชำระคืนหนี้เงินกู้ของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่ามากนักจากการที่ตัวเลข
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังไม่ปรับดีขึ้น รวมถึงข่าวการแพร่กระจายของโรค Anthrax ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
2544
เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
(เบื้องต้น)
ภาคเศรษฐกิจจริง (% การเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล (ระดับ) 111.2 114.1 112.2 112.0 112.8 112.0
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่ปรับฤดูกาล 0.3 2.7 1.3 1.8 2.0 -1.8
อัตราการใช้กำลังการผลิต (ร้อยละ) 49.0 53.4 53.8 51.5 52.2 52.8
เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
- ยอดค้าปลีก (ณ ราคาปี 2538) 11.2 12.0 12.2 16.3 4.1e n.a.
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง 7.0 15.2 37.1 32.4 48.2 51.8
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 13.5 4.1 36.5 41.4 24.6 8.9
- สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า (ณ ราคาปี 2538) -10.0 -5.0 -12.7 -9.0 -12.5 -11.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 29.6 8.6 7.1 4.2 -11.4 1.7
- การนำเข้าสินค้าทุน1/ (ณ ราคาปี 2538) -12.1 0.8 -12.8 -12.7 -26.7 -19.8
- ปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ 5.9 5.6 -3.1 2.8 1.0 -7.5
ดุลเงินสดรัฐบาล (พันล้านบาท) -17.8 22.3 1.8 -10.5 -0.7 -11.8
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.6 2.8 2.3 2.2 1.4 1.4
- อาหาร 1.0 1.3 1.2 1.9 0.9 0.1
- มิใช่อาหาร 3.5 3.7 2.9 2.5 1.7 2.2
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.4
ภาคต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
สินค้าออก2/ 4,725 5,522 5,388 5,143 5,610 5,257
(% US$) (-7.3) (-6.8) (-1.5) (-14.2) (-7.6) (-11.5)
สินค้าเข้า2/ 4,856 5,389 4,988 5,148 4,881 4,976
(% US$) (-3.0) (-15.6) (-8.1) (-3.8) (-16.0) (-6.8)
ดุลการค้า -131 133 400 -5 729 281
ดุลบัญชีเดินสะพัด 147 369 507 332 1,037 367
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -500 -461 -56 446 -474 n.a.
- ภาคเอกชน -177 -258 132 395 -184 n.a.
- ภาครัฐบาล -55 78 12 -14 -260 n.a.
ดุลการชำระเงิน -187 -159 -135 41 350 -236
เงินสำรองทางการ (พันล้าน US$) 32.1 32.0 31.6 31.9 32.6 32.6
ภาคการเงิน (พันล้านบาท)
ฐานเงิน 515.6 517.0 484.7 500.7 505.5 513.3
(% ) (-8.6) (-15.3) (-7.7) (-6.7) (-10.4) (-7.2)
ปริมาณเงิน M2 5,139.4 5,136.0 5,122.4 5,127.3 5,141.8 5,154.1
(% ) (-6.7) (-7.0) (-6.7) (-6.2) (-5.4) (-5.0)
ปริมาณเงิน M2a 5,410.8 5,412.0 5,392.4 5,400.3 5,413.5 5,432.5
(% ) (-5.2) (-5.4) (-5.0) (-4.7) (-4.5) (-4.4)
ปริมาณเงิน M3 6,081.9 6,079.6 6,065.5 6,098.7 6,136.1 6,161.0
(% ) (-6.2) (-6.4) (-5.9) (-5.8) (-5.6) (-5.6)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ 4,937.7 4,961.2 4,929.1 4,937.9 4,949.4 4,953.8
(% ) (-6.8) (-7.0) (-6.2) (-5.8) (-4.9) (-4.6)
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 4,739.1 4,695.0 4,690.8 4,701.8 4,713.2 4,623.9
(% ) (-9.4) (-10.2) (-5.5) (-5.4) (-4.9) (-2.6)
- ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ 4,364.7 4,320.7 4,332.7 4,349.3 4,391.6 4,312.2
(% ) (-8.9) (-9.7) (-4.6) (-4.2) (-3.1) (-0.7)
สินเชื่อ ธพ. (บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs) 5,302.4 5,258.0 5,270.8 5,281.4 5,297.5 5,296.7
(% ) (-0.3) (-0.6) (-0.2) (-0.3) (-0.8) (-0.3)
Non Performing Loan3/ (ร้อยละต่อสินเชื่อรวม) 17.60 17.88 12.68 12.69 12.55 n.a.
อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)
- ตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (เฉลี่ยจากอัตราปิดรายวัน) 1.13 1.19 2.06 2.26 2.15 2.16
- ระหว่างธนาคาร (เฉลี่ยจากอัตรากลางรายวัน) 1.53 1.60 2.13 2.38 2.16 2.59
- เงินฝากประจำ 1 ปี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00
- ลูกค้าชั้นดี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท:ดอลลาร์ สรอ.) 45.46 45.48 45.24 45.62 44.91 44.33
1/ ไม่รวมการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องบิน 2/ BOP Basis 3/ เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี
4/ ข้อมูลจาก 5 ธพ.ขนาดใหญ่ e = ประมาณการ
ตารางแนบแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกันยายน 2544
จัดทำโดย สายนโยบายการเงิน (โทร. 0-2283-6824, 0-2283-5650, 0-2283-5636)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Internet ที่ http://www.bot.or.th)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 ตุลาคม 2544--
-ยก-
โดยเป็นผลกระทบทั้งทางตรงและต่อความเชื่อมั่นของประชาชนจากเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทรงตัว
ส่วนภาคการเงินสภาพคล่องยังคงสูง แต่การให้สินเชื่อมีแนวโน้มดีขึ้นบ้าง ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตลดลงร้อยละ 1.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าที่ผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และ
เครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากเหตุวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกานอกเหนือจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า หมวดเหล็ก
และผลิตภัณฑ์เหล็กซึ่งการผลิตเหล็กรีดร้อนและรีดเย็นต้องประสบปัญหาการแข่งขันและการกีดกันทางการค้า และหมวดสิ่งทอที่ลดลงเกือบทุก
ผลิตภัณฑ์ตามการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก รวมทั้งปัญหาการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า สินค้าผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่
หมวดวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมีการส่งออกปูนซิเมนต์ไปเวียดนามและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพิ่มขึ้น
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งที่ยังคงเพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่ง แม้การส่งออกรถยนต์พาณิชย์จะลดลง และหมวดยาสูบ ซึ่งมีการ
กักตุนจากตัวแทนจำหน่ายที่คาดว่าราคาบุหรี่จะปรับสูงขึ้นเมื่อมีการบังคับใช้ พรบ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การผลิตช่วง 9 เดือน
แรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องดื่ม และ อัญมณีและเครื่องประดับ
เป็นสำคัญ โดยมีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 53.3
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราชะลอลงทั้งปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยอดค้าปลีกรวมของประเทศ
ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องเช่นกัน สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำส่วนการลงทุนภาค
เอกชนปรับลดลงมากโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวลงมากตามปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ขณะที่การลงทุนด้านการก่อ
สร้างขยายตัวเล็กน้อย
3. ภาคการคลัง รัฐบาลขาดดุลเงินสด 11.8 พันล้านบาท โดยมีรายได้ 67.7 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระยะเดียว
กันปีก่อน รายจ่าย 90.7 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายนจำนวน 72.9 พันล้าน
บาท สำหรับปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 102 พันล้านบาท โดยมีรายได้ 770 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากปีก่อน
ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีสรรพสามิต และอากรนำเข้า และรายจ่าย 876 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3
จากระยะเดียวกัน ปีก่อน
4. ดัชนีราคาผู้บริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน โดยราคาหมวดอื่นๆ
ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมัน สำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ กอปรกับค่ากระแสไฟฟ้า
ที่ได้ปรับขึ้นสู่อัตราเดิมเท่ากับเดือนกรกฎาคม 2544 หลังจากมีการนำเงินที่ได้รับส่วนลดจากค่าก๊าซธรรมชาติไปลดภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในเดือน
ก่อนหน้า ขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 โดยราคาผักและผลไม้ลดลงมากที่สุด เนื่องจากปริมาณผักและผลไม้ออกสู่
ตลาดมากขึ้น ดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียว
กันปีก่อน โดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 0.9 และ 0.6 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0. 2
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 11.5 ขณะที่การนำเข้าลดลงเพียงร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้
ดุลการค้ายังคงเกินดุล 281 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านดุลบริการและบริจาคเกินดุลลดลงจากเดือนก่อน ตามจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่
ลดลงหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมที่สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ประกอบกับเป็นช่วงสิ้นไตรมาสจึงมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผล
ของภาคเอกชน รวมทั้งการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคทางการ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงมากจากเดือนก่อน มาอยู่ ณ ระดับเพียง 367
ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินขาดดุล 236 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธปท.ชำระหนี้ 630 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรอง
ระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 อยู่ ณ ระดับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ย
อยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.59 ต่อปี สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสิน
เชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นเดือน) ลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือน
ก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อบวกกลับหนี้สูญและ สินเชื่อที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้แก่ AMCs สินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกันปีก่อน สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน
เนื่องจากภาคเอกชนถอนเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายในเดือนนี้
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สรอ.ปรับตัวอ่อนลงหลังเหตุการณ์ก่อ
วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาขณะที่ยังมีปัจจัยลบจากการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินเยนและดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งอ่อนค่าลง
จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย และผลของการควบรวมกิจการของบริษัทใน สิงคโปร์
วันที่ 1-25 ตุลาคม 2544 ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากการอ่อนค่าลงของ ค่าเงินเยน และค่าเงินภูมิภาค
โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งการชำระคืนหนี้เงินกู้ของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่อ่อนค่ามากนักจากการที่ตัวเลข
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกายังไม่ปรับดีขึ้น รวมถึงข่าวการแพร่กระจายของโรค Anthrax ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลลบต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
2544
เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
(เบื้องต้น)
ภาคเศรษฐกิจจริง (% การเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับฤดูกาล (ระดับ) 111.2 114.1 112.2 112.0 112.8 112.0
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ไม่ปรับฤดูกาล 0.3 2.7 1.3 1.8 2.0 -1.8
อัตราการใช้กำลังการผลิต (ร้อยละ) 49.0 53.4 53.8 51.5 52.2 52.8
เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
- ยอดค้าปลีก (ณ ราคาปี 2538) 11.2 12.0 12.2 16.3 4.1e n.a.
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง 7.0 15.2 37.1 32.4 48.2 51.8
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 13.5 4.1 36.5 41.4 24.6 8.9
- สินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า (ณ ราคาปี 2538) -10.0 -5.0 -12.7 -9.0 -12.5 -11.2
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 29.6 8.6 7.1 4.2 -11.4 1.7
- การนำเข้าสินค้าทุน1/ (ณ ราคาปี 2538) -12.1 0.8 -12.8 -12.7 -26.7 -19.8
- ปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศ 5.9 5.6 -3.1 2.8 1.0 -7.5
ดุลเงินสดรัฐบาล (พันล้านบาท) -17.8 22.3 1.8 -10.5 -0.7 -11.8
ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.6 2.8 2.3 2.2 1.4 1.4
- อาหาร 1.0 1.3 1.2 1.9 0.9 0.1
- มิใช่อาหาร 3.5 3.7 2.9 2.5 1.7 2.2
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) 1.5 1.5 1.5 1.5 1.5 1.4
ภาคต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น)
สินค้าออก2/ 4,725 5,522 5,388 5,143 5,610 5,257
(% US$) (-7.3) (-6.8) (-1.5) (-14.2) (-7.6) (-11.5)
สินค้าเข้า2/ 4,856 5,389 4,988 5,148 4,881 4,976
(% US$) (-3.0) (-15.6) (-8.1) (-3.8) (-16.0) (-6.8)
ดุลการค้า -131 133 400 -5 729 281
ดุลบัญชีเดินสะพัด 147 369 507 332 1,037 367
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -500 -461 -56 446 -474 n.a.
- ภาคเอกชน -177 -258 132 395 -184 n.a.
- ภาครัฐบาล -55 78 12 -14 -260 n.a.
ดุลการชำระเงิน -187 -159 -135 41 350 -236
เงินสำรองทางการ (พันล้าน US$) 32.1 32.0 31.6 31.9 32.6 32.6
ภาคการเงิน (พันล้านบาท)
ฐานเงิน 515.6 517.0 484.7 500.7 505.5 513.3
(% ) (-8.6) (-15.3) (-7.7) (-6.7) (-10.4) (-7.2)
ปริมาณเงิน M2 5,139.4 5,136.0 5,122.4 5,127.3 5,141.8 5,154.1
(% ) (-6.7) (-7.0) (-6.7) (-6.2) (-5.4) (-5.0)
ปริมาณเงิน M2a 5,410.8 5,412.0 5,392.4 5,400.3 5,413.5 5,432.5
(% ) (-5.2) (-5.4) (-5.0) (-4.7) (-4.5) (-4.4)
ปริมาณเงิน M3 6,081.9 6,079.6 6,065.5 6,098.7 6,136.1 6,161.0
(% ) (-6.2) (-6.4) (-5.9) (-5.8) (-5.6) (-5.6)
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ 4,937.7 4,961.2 4,929.1 4,937.9 4,949.4 4,953.8
(% ) (-6.8) (-7.0) (-6.2) (-5.8) (-4.9) (-4.6)
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 4,739.1 4,695.0 4,690.8 4,701.8 4,713.2 4,623.9
(% ) (-9.4) (-10.2) (-5.5) (-5.4) (-4.9) (-2.6)
- ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ 4,364.7 4,320.7 4,332.7 4,349.3 4,391.6 4,312.2
(% ) (-8.9) (-9.7) (-4.6) (-4.2) (-3.1) (-0.7)
สินเชื่อ ธพ. (บวกกลับตัดหนี้สูญและหนี้ที่โอนไป AMCs แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้ AMCs) 5,302.4 5,258.0 5,270.8 5,281.4 5,297.5 5,296.7
(% ) (-0.3) (-0.6) (-0.2) (-0.3) (-0.8) (-0.3)
Non Performing Loan3/ (ร้อยละต่อสินเชื่อรวม) 17.60 17.88 12.68 12.69 12.55 n.a.
อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)
- ตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1 วัน (เฉลี่ยจากอัตราปิดรายวัน) 1.13 1.19 2.06 2.26 2.15 2.16
- ระหว่างธนาคาร (เฉลี่ยจากอัตรากลางรายวัน) 1.53 1.60 2.13 2.38 2.16 2.59
- เงินฝากประจำ 1 ปี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00 3.00
- ลูกค้าชั้นดี 4/ (ณ สิ้นเดือน) 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75 7.25-7.75
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท:ดอลลาร์ สรอ.) 45.46 45.48 45.24 45.62 44.91 44.33
1/ ไม่รวมการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องบิน 2/ BOP Basis 3/ เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ย
เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 เดือน โดยพิจารณาการค้างชำระเป็นรายสัญญาหรือรายบัญชี
4/ ข้อมูลจาก 5 ธพ.ขนาดใหญ่ e = ประมาณการ
ตารางแนบแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนกันยายน 2544
จัดทำโดย สายนโยบายการเงิน (โทร. 0-2283-6824, 0-2283-5650, 0-2283-5636)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Internet ที่ http://www.bot.or.th)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 ตุลาคม 2544--
-ยก-