กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ออกกฏหมายว่าด้วยการจดทะเบียนคู่ชีวิตระหว่างคนเพศเดียวกัน ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 สรุปสาระสำคัญได้ว่า รัฐบาลสหพันธ์ฯ ได้ประกาศเชิญชวน ให้รัฐต่างๆ เปลี่ยนแปลงกฎหมายโดยการอนุญาตให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตกันได้ เพื่อลดอคติและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศ ซึ่งปัจจุบันรัฐส่วนใหญ่ในสหพันธ์ฯ ได้เปลี่ยนแปลง ข้อกฎหมายตามที่รัฐบาลกลางได้เชิญชวน อย่างไรก็ดี บางรัฐ อาทิ Bavaria และ Saxony ยังคงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงกฏหมายให้ยอมรับการอยู่ร่วมกันของคนเพศเดียวกัน และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
กฎหมายดังกล่าวมีรายละเอียดและหลักปฏิบัติดังนี้
1. ผู้มีสิทธิยื่นขอจดทะเบียน
1.1 ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และต้องไม่จดทะเบียนสมรส และ/หรือ จดทะเบียนคู่ชีวิตกับผู้อื่นอยู่ก่อน
1.2 ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญชาติเยอรมัน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมีที่อยู่ในสหพันธ์ฯ
1.3 บุคคลทั้งคู่ ต้องไม่ร่วมสายโลหิตกันโดยตรง กล่าวคือ ต้องไม่มีปู่ย่าตายายหรือพ่อแม่คนเดียวกัน
2. เงื่อนไขของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก็คือ บุคคลทั้งสองต้องแจ้งต่อสำนักงานทะเบียนให้ทราบก่อนว่าต้องการตกลงกันอย่างธรรมดา หรือว่าต้องการทำสัญญาการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยผ่านสำนักงานทนายความ โดยตกลงกันว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตครอบครัว เช่น เมื่อเลิกร้างกันแล้วใครจะเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู เป็นต้น
3. คู่ชีวิตสามารถที่จะใช้นามสกุลร่วมกันได้หลังจากจดทะเบียนแล้ว โดยการเลือก ชื่อใดชื่อหนึ่ง สำหรับบุคคลที่ไม่ใช้นามสกุลของตนเองในการจดทะเบียนสามารถนำนามสกุลตัวเอง มาต่อหลังนามสกุลของคู่ชีวิต คล้ายกับการจดทะเบียนสมรสทั่วไป
4. การจดทะเบียนคู่ชีวิต ย่อมมีผลผูกพันถึงทรัพย์สินและมรดกของคู่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชาวเยอรมันหรือต่างชาติก็ตาม คล้ายกับการจดทะเบียนสมรส อย่างไรก็ดี ข้อแตกต่างระหว่างการจดทะเบียนสมรสกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตก็คือ การจดทะเบียนคู่ชีวิตไม่สามารถกระทำการลดหย่อนภาษีได้
5. ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องอธิบายให้สำนักทะเบียนเขตทราบถึงเหตุผล ที่ต้องการจะจดทะเบียนคู่ชีวิตด้วย
โดยที่ผ่านมา มีชายไทยแปลงเพศจำนวนไม่น้อยที่ใช้หนังสือเดินทางของสตรี ซึ่งอาจเป็นของญาติหรือหาซื้อมาโดยทุจริต เพื่อสมรสกับชาวเยอรมัน และมีปัญหาชายไทยแปลงเพศ หลบหนีอยู่ในสหพันธ์ฯ อย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น การจดทะเบียนคู่ชีวิตครั้งนี้ จึงน่าจะช่วยให้ชายไทยแปลงเพศเดินทางเข้าประเทศและใช้ชีวิตในสหพันธ์ฯ อย่างถูกกฎหมายมากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่รัฐบาล สหพันธ์ฯ ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวได้มีผู้ทยอยไปจดทะเบียนคู่ชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง ชายไทยแปลงเพศที่มาให้สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรองเอกสารจากกระทรวงมหาดไทยยืนยัน ความเป็นโสด เพื่อไปจดทะเบียนคู่ชีวิตกับคนเพศเดียวกันก็สามารถกระทำได้โดยเสรีมากขึ้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ออกกฏหมายว่าด้วยการจดทะเบียนคู่ชีวิตระหว่างคนเพศเดียวกัน ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544 สรุปสาระสำคัญได้ว่า รัฐบาลสหพันธ์ฯ ได้ประกาศเชิญชวน ให้รัฐต่างๆ เปลี่ยนแปลงกฎหมายโดยการอนุญาตให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตกันได้ เพื่อลดอคติและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศ ซึ่งปัจจุบันรัฐส่วนใหญ่ในสหพันธ์ฯ ได้เปลี่ยนแปลง ข้อกฎหมายตามที่รัฐบาลกลางได้เชิญชวน อย่างไรก็ดี บางรัฐ อาทิ Bavaria และ Saxony ยังคงไม่ยอมเปลี่ยนแปลงกฏหมายให้ยอมรับการอยู่ร่วมกันของคนเพศเดียวกัน และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
กฎหมายดังกล่าวมีรายละเอียดและหลักปฏิบัติดังนี้
1. ผู้มีสิทธิยื่นขอจดทะเบียน
1.1 ต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และต้องไม่จดทะเบียนสมรส และ/หรือ จดทะเบียนคู่ชีวิตกับผู้อื่นอยู่ก่อน
1.2 ไม่จำเป็นต้องเป็นสัญชาติเยอรมัน แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องมีที่อยู่ในสหพันธ์ฯ
1.3 บุคคลทั้งคู่ ต้องไม่ร่วมสายโลหิตกันโดยตรง กล่าวคือ ต้องไม่มีปู่ย่าตายายหรือพ่อแม่คนเดียวกัน
2. เงื่อนไขของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก็คือ บุคคลทั้งสองต้องแจ้งต่อสำนักงานทะเบียนให้ทราบก่อนว่าต้องการตกลงกันอย่างธรรมดา หรือว่าต้องการทำสัญญาการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยผ่านสำนักงานทนายความ โดยตกลงกันว่า บุคคลใดบุคคลหนึ่งต้องเป็นผู้รับผิดชอบชีวิตครอบครัว เช่น เมื่อเลิกร้างกันแล้วใครจะเป็นผู้จ่ายค่าเลี้ยงดู เป็นต้น
3. คู่ชีวิตสามารถที่จะใช้นามสกุลร่วมกันได้หลังจากจดทะเบียนแล้ว โดยการเลือก ชื่อใดชื่อหนึ่ง สำหรับบุคคลที่ไม่ใช้นามสกุลของตนเองในการจดทะเบียนสามารถนำนามสกุลตัวเอง มาต่อหลังนามสกุลของคู่ชีวิต คล้ายกับการจดทะเบียนสมรสทั่วไป
4. การจดทะเบียนคู่ชีวิต ย่อมมีผลผูกพันถึงทรัพย์สินและมรดกของคู่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นชาวเยอรมันหรือต่างชาติก็ตาม คล้ายกับการจดทะเบียนสมรส อย่างไรก็ดี ข้อแตกต่างระหว่างการจดทะเบียนสมรสกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตก็คือ การจดทะเบียนคู่ชีวิตไม่สามารถกระทำการลดหย่อนภาษีได้
5. ผู้ประสงค์จะจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องอธิบายให้สำนักทะเบียนเขตทราบถึงเหตุผล ที่ต้องการจะจดทะเบียนคู่ชีวิตด้วย
โดยที่ผ่านมา มีชายไทยแปลงเพศจำนวนไม่น้อยที่ใช้หนังสือเดินทางของสตรี ซึ่งอาจเป็นของญาติหรือหาซื้อมาโดยทุจริต เพื่อสมรสกับชาวเยอรมัน และมีปัญหาชายไทยแปลงเพศ หลบหนีอยู่ในสหพันธ์ฯ อย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น การจดทะเบียนคู่ชีวิตครั้งนี้ จึงน่าจะช่วยให้ชายไทยแปลงเพศเดินทางเข้าประเทศและใช้ชีวิตในสหพันธ์ฯ อย่างถูกกฎหมายมากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่รัฐบาล สหพันธ์ฯ ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวได้มีผู้ทยอยไปจดทะเบียนคู่ชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง ชายไทยแปลงเพศที่มาให้สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรองเอกสารจากกระทรวงมหาดไทยยืนยัน ความเป็นโสด เพื่อไปจดทะเบียนคู่ชีวิตกับคนเพศเดียวกันก็สามารถกระทำได้โดยเสรีมากขึ้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-