ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๗
วันอังคารที่ ๑๔ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนขององค์การจัดการ
น้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพลังงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
องค์การจัดการน้ำเสีย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๗,๔๘๕,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๖๗,๔๘๕,๑๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๐,๗๖๖,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการพิจารณาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่องค์การจัดการน้ำเสีย ว่าดำเนินการ
จัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า องค์การจัดการ
น้ำเสีย รับผิดชอบดำเนินการจัดการน้ำเสียในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย รวมทั้งการจัดเก็บค่าบริการบำบัด
น้ำเสีย จึงพิจารณาเห็นว่าควรปรับปรุงฟื้นฟูและบริการจัดระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายรัฐบาล และเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐ
ที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วเกิดผลตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการดำเนินการจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
ในการปรับปรุงฟื้นฟูระบบ
๒. คณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งงบประมาณสำหรับจัดอบรมสัมมนาร่วมกับกรุงเทพมหานคร
เพื่อทำการประสานงานเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียที่
ถูกต้องให้ประชาชนได้รับทราบ
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตในส่วนของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและบำรุงรักษา
ระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๑๒ ล้านบาท ว่าเหตุใดต้องจัดทำเฉพาะที่ ต. แสนสุข จ. ชลบุรี ได้รับการ
ชี้แจงว่า โครงการที่ ต. แสนสุข ดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยใช้เงินอุดหนุนของปี ๔๔ ซึ่งทาง ต. แสนสุข
มีความพร้อมที่จะดำเนินการจึงเสนอเข้ามาร่วมโครงการ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่อง หากโครงการนี้
ประสบความสำเร็จคาดว่าจะมีอีก ๖๐ กว่าแห่ง จะเข้าร่วมดำเนินการ
กรมควบคุมมลพิษ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๙๔,๑๓๗,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๑๙๔,๑๓๗,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๔๓,๗๐๓,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตถึงผลการดำเนินงานของกรมควบคุมมลพิษว่า
จากการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าผลการดำเนินงานล่าช้าและไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายนั้น เป็นเพราะว่ากรมฯ เบิกจ่ายเงินงวดไม่ทันปีงบประมาณซึ่งเป็นเหตุให้ถูกปรับลดงบประมาณ
ลง ทำให้กรมไม่สามารถดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ได้
๒. วิธีจำกัดขยะสารพิษ ขยะติดเชื้อ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่ากรมควบคุมมลพิษ
มีวิธีการกำจัดกับปัญหาขยะเหล่านี้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันปัญหาขยะในเมืองต่าง ๆ เป็นปัญหาที่สร้างความ
เดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษมีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมควบคุม
มลพิษได้กล่าวชี้แจงถึงปัญหาเหล่านี้ว่า การกำจัดขยะสารพิษนั้น กรมฯ มีแนวคิดที่จะให้มีการเรียกเก็บ
บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสารพิษกลับคืนสถานประกอบการ ให้สถานประกอบการเป็นผู้กำจัดขยะสารพิษ
เหล่านี้แทน เพราะสถานประกอบการมีกรรมวิธีที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยกว่า และสำหรับขยะติดเชื้อนั้น
จะดำเนินการให้มีการแยกออกจากขยะอื่น ๆ และมีวิธีการกำจัดที่ได้มาตรฐาน
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณเรื่องการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมี
จำนวนเงินค่อนข้างมาก และวิธีการประชาสัมพันธ์ของกรมฯ นั้น มีการแยกเป็นเรื่อง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการ
มีความคิดเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณโดยสิ้นเปลือง กรมควรจะรวบรวมการประชาสัมพันธ์ในเรื่อง
ต่าง ๆ เข้าด้วยกันน่าจะเป็นการเหมาะสมกว่าและยังช่วยในการประหยัดงบประมาณได้ด้วย
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๘๐๗,๖๔๒,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๗,๒๓๐,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๘๐๐,๔๑๑,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานจัดหาพลังงาน ๘๒๑,๗๒๒,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๕๗,๗๗๕,๑๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ๑,๙๒๘,๑๔๔,๙๐๐ บาท
ด้านการเกษตร
การปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ และมีการปรับลด
เนื่องจากบางรายการได้ดำเนินการไปแล้ว
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบชลประทานโดยการทำคลองซอย เพื่อ
เป็นการกระจายน้ำไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ควรจะทำเป็นชลประทานระบบท่อแทน ซึ่งกรมฯ ได้ชี้แจงว่า
ในพื้นที่ซึ่งมีการสร้างระบบคลองซอยเสร็จสิ้นแล้วไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่มีการ
สร้างระบบกระจายน้ำสามารถปรับเปลี่ยนได้และจะดำเนินการปรับเปลี่ยนต่อไป
๒. โครงการทำระบบคลองส่งน้ำด่านคอนกรีต มีปัญหาด้านความแข็งแรง ควรเสริมเหล็ก
เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่หากเสริมเหล็กจะทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้น และหากเปลี่ยนเป็นระบบท่อ ต้อง
พิจารณาสภาพความเหมาะสมของพื้นที่และการดำเนินการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก ๓-๖ เท่า
๓. การทำงบประมาณโดยใช้ Out Put- Out Come มาใช้ในการพิจารณานั้นยังไม่มี
การปฏิบัติในทุกหน่วยงาน มีการนำมาใช้เฉพาะหน่วยงานนำร่องเท่านั้น
๔. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านว่าเพราะเหตุใด
จึงดำเนินการเฉพาะในภาคเหนือ ได้รับคำชี้แจงว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดเล็ก พื้นที่
ดำเนินการต้องมีความเหมาะสมในการรับน้ำ มีการยกระดับเป็นฝ่ายไม้เล็ก ๆ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้หมู่บ้าน
ที่อยู่ห่างไกล และพื้นที่ทางภาคเหนือมีความเหมาะสมมาก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐๔,๓๔๑,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ ๑๔๒,๖๐๒,๘๐๐ บาท
เทคโนโลยี
ข. แผนงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๖๑,๗๓๘,๕๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๔,๔๓๓,๗๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
คณะกรรมาธิการได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องบุคลากร งานพัฒนากำลังคนเนื่องจาก
มีบุคลากรประจำ ๑๘ อัตราเท่านั้น ซึ่งมีความเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ชี้แจงว่า กรมฯ มีจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแล้ว และขณะนี้กรมได้มีนโยบายให้
นักวิทยาศาสตร์ของกรมฯ ไปดำเนินการสอนให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อเป็นการปูพื้นทางด้านวิทยาศาสตร์
ด้วย
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๖๒,๔๔๙,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ ๒๑๔,๔๙๑,๐๐๐ บาท
เทคโนโลยี
ข. แผนงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒๖,๑๖๔,๓๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๒๑,๗๙๓,๙๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๔๑๕,๖๐๖,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณ
รายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า งบประมาณในปี ๒๕๔๔ สูงเนื่องจากมีการ
ก่อสร้างศูนย์นิวเคลียร์แห่งใหม่ ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ดังนั้นงบประมาณในปี ๒๕๔๕ จึงลดลงอย่างมาก
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์ สำนักงาน
พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งค่อนข้างสูงและในปี ๒๕๔๔ ใช้ไป ๗.๖ ล้าน แต่ปี ๒๕๔๕ ยังคงตั้งงบประมาณ
เท่าเดิม ได้รับคำชี้แจงว่างบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์มีความจำเป็นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
กับคนในพื้นที่ซึ่งจะสร้างศูนย์แห่งใหม่ เป็นการลดกระแสการต่อต้านและการประชาสัมพันธ์ในปี ๒๕๔๕
เพิ่มให้มีความเข้มข้นขึ้น โดยนอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์แล้วยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์
ทางสถานีวิทยุอีกหลายสถานี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๑๓,๘๖๑,๕๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๘๖,๑๓๙,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๗
วันอังคารที่ ๑๔ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในส่วนขององค์การจัดการ
น้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ สำนักงานพลังงาน
ปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
องค์การจัดการน้ำเสีย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๗,๔๘๕,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๖๗,๔๘๕,๑๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๐,๗๖๖,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการพิจารณาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่องค์การจัดการน้ำเสีย ว่าดำเนินการ
จัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า องค์การจัดการ
น้ำเสีย รับผิดชอบดำเนินการจัดการน้ำเสียในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย รวมทั้งการจัดเก็บค่าบริการบำบัด
น้ำเสีย จึงพิจารณาเห็นว่าควรปรับปรุงฟื้นฟูและบริการจัดระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมตามนโยบายรัฐบาล และเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของรัฐ
ที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วเกิดผลตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการดำเนินการจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
ในการปรับปรุงฟื้นฟูระบบ
๒. คณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งงบประมาณสำหรับจัดอบรมสัมมนาร่วมกับกรุงเทพมหานคร
เพื่อทำการประสานงานเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียที่
ถูกต้องให้ประชาชนได้รับทราบ
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตในส่วนของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและบำรุงรักษา
ระบบบำบัดน้ำเสีย จำนวน ๑๒ ล้านบาท ว่าเหตุใดต้องจัดทำเฉพาะที่ ต. แสนสุข จ. ชลบุรี ได้รับการ
ชี้แจงว่า โครงการที่ ต. แสนสุข ดำเนินการมาหลายปีแล้ว โดยใช้เงินอุดหนุนของปี ๔๔ ซึ่งทาง ต. แสนสุข
มีความพร้อมที่จะดำเนินการจึงเสนอเข้ามาร่วมโครงการ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่อง หากโครงการนี้
ประสบความสำเร็จคาดว่าจะมีอีก ๖๐ กว่าแห่ง จะเข้าร่วมดำเนินการ
กรมควบคุมมลพิษ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๙๔,๑๓๗,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๑๙๔,๑๓๗,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๔๓,๗๐๓,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตถึงผลการดำเนินงานของกรมควบคุมมลพิษว่า
จากการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่าผลการดำเนินงานล่าช้าและไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้ชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตาม
เป้าหมายนั้น เป็นเพราะว่ากรมฯ เบิกจ่ายเงินงวดไม่ทันปีงบประมาณซึ่งเป็นเหตุให้ถูกปรับลดงบประมาณ
ลง ทำให้กรมไม่สามารถดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ได้
๒. วิธีจำกัดขยะสารพิษ ขยะติดเชื้อ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่ากรมควบคุมมลพิษ
มีวิธีการกำจัดกับปัญหาขยะเหล่านี้อย่างไร ซึ่งปัจจุบันปัญหาขยะในเมืองต่าง ๆ เป็นปัญหาที่สร้างความ
เดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษมีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมควบคุม
มลพิษได้กล่าวชี้แจงถึงปัญหาเหล่านี้ว่า การกำจัดขยะสารพิษนั้น กรมฯ มีแนวคิดที่จะให้มีการเรียกเก็บ
บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสารพิษกลับคืนสถานประกอบการ ให้สถานประกอบการเป็นผู้กำจัดขยะสารพิษ
เหล่านี้แทน เพราะสถานประกอบการมีกรรมวิธีที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยกว่า และสำหรับขยะติดเชื้อนั้น
จะดำเนินการให้มีการแยกออกจากขยะอื่น ๆ และมีวิธีการกำจัดที่ได้มาตรฐาน
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณเรื่องการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมี
จำนวนเงินค่อนข้างมาก และวิธีการประชาสัมพันธ์ของกรมฯ นั้น มีการแยกเป็นเรื่อง ๆ ซึ่งคณะกรรมาธิการ
มีความคิดเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณโดยสิ้นเปลือง กรมควรจะรวบรวมการประชาสัมพันธ์ในเรื่อง
ต่าง ๆ เข้าด้วยกันน่าจะเป็นการเหมาะสมกว่าและยังช่วยในการประหยัดงบประมาณได้ด้วย
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๘๐๗,๖๔๒,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๗,๒๓๐,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๘๐๐,๔๑๑,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานจัดหาพลังงาน ๘๒๑,๗๒๒,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๕๗,๗๗๕,๑๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ๑,๙๒๘,๑๔๔,๙๐๐ บาท
ด้านการเกษตร
การปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ และมีการปรับลด
เนื่องจากบางรายการได้ดำเนินการไปแล้ว
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบชลประทานโดยการทำคลองซอย เพื่อ
เป็นการกระจายน้ำไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ควรจะทำเป็นชลประทานระบบท่อแทน ซึ่งกรมฯ ได้ชี้แจงว่า
ในพื้นที่ซึ่งมีการสร้างระบบคลองซอยเสร็จสิ้นแล้วไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่มีการ
สร้างระบบกระจายน้ำสามารถปรับเปลี่ยนได้และจะดำเนินการปรับเปลี่ยนต่อไป
๒. โครงการทำระบบคลองส่งน้ำด่านคอนกรีต มีปัญหาด้านความแข็งแรง ควรเสริมเหล็ก
เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แต่หากเสริมเหล็กจะทำให้ค่าก่อสร้างสูงขึ้น และหากเปลี่ยนเป็นระบบท่อ ต้อง
พิจารณาสภาพความเหมาะสมของพื้นที่และการดำเนินการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก ๓-๖ เท่า
๓. การทำงบประมาณโดยใช้ Out Put- Out Come มาใช้ในการพิจารณานั้นยังไม่มี
การปฏิบัติในทุกหน่วยงาน มีการนำมาใช้เฉพาะหน่วยงานนำร่องเท่านั้น
๔. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านว่าเพราะเหตุใด
จึงดำเนินการเฉพาะในภาคเหนือ ได้รับคำชี้แจงว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดเล็ก พื้นที่
ดำเนินการต้องมีความเหมาะสมในการรับน้ำ มีการยกระดับเป็นฝ่ายไม้เล็ก ๆ เพื่อผลิตไฟฟ้าให้หมู่บ้าน
ที่อยู่ห่างไกล และพื้นที่ทางภาคเหนือมีความเหมาะสมมาก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๐๔,๓๔๑,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ ๑๔๒,๖๐๒,๘๐๐ บาท
เทคโนโลยี
ข. แผนงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๖๑,๗๓๘,๕๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๔,๔๓๓,๗๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
คณะกรรมาธิการได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องบุคลากร งานพัฒนากำลังคนเนื่องจาก
มีบุคลากรประจำ ๑๘ อัตราเท่านั้น ซึ่งมีความเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
ชี้แจงว่า กรมฯ มีจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานแล้ว และขณะนี้กรมได้มีนโยบายให้
นักวิทยาศาสตร์ของกรมฯ ไปดำเนินการสอนให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อเป็นการปูพื้นทางด้านวิทยาศาสตร์
ด้วย
สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๖๒,๔๔๙,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาและส่งเสริมวิทยาศาสตร์และ ๒๑๔,๔๙๑,๐๐๐ บาท
เทคโนโลยี
ข. แผนงานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒๖,๑๖๔,๓๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ๒๑,๗๙๓,๙๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๔๑๕,๖๐๖,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณ
รายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า งบประมาณในปี ๒๕๔๔ สูงเนื่องจากมีการ
ก่อสร้างศูนย์นิวเคลียร์แห่งใหม่ ซึ่งจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ดังนั้นงบประมาณในปี ๒๕๔๕ จึงลดลงอย่างมาก
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายโครงการประชาสัมพันธ์ สำนักงาน
พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งค่อนข้างสูงและในปี ๒๕๔๔ ใช้ไป ๗.๖ ล้าน แต่ปี ๒๕๔๕ ยังคงตั้งงบประมาณ
เท่าเดิม ได้รับคำชี้แจงว่างบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์มีความจำเป็นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
กับคนในพื้นที่ซึ่งจะสร้างศูนย์แห่งใหม่ เป็นการลดกระแสการต่อต้านและการประชาสัมพันธ์ในปี ๒๕๔๕
เพิ่มให้มีความเข้มข้นขึ้น โดยนอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ทางสถานีโทรทัศน์แล้วยังเพิ่มการประชาสัมพันธ์
ทางสถานีวิทยุอีกหลายสถานี
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๑๓,๘๖๑,๕๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๘๖,๑๓๙,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ)