บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Tuesday February 20, 2001 11:53 —รัฐสภา

                                        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายสนิท วรปัญญา ประธานวุฒิสภา
และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่าน
พระบรมราชโองการให้ที่ประชุมทราบ รวม ๒ ฉบับ ดังนี้
1. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คือ
(๑) นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร
(๒) นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
(๓) นายบุญชง วีสมหมาย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
ตามประกาศ ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
๒. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้ง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง (นายเฉลิม พรหมเลิศ) ลาออกจากตำแหน่ง
ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๔๔
๒. รายงานผลการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ ของสำนักงาน
การตรวจเงินแผ่นดิน
มีสมาชิกฯ อภิปราย จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้
คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน พิจารณาศึกษารายงานดังกล่าว
แล้วรายงานต่อวุฒิสภา โดยมีกำหนดเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามอบหมาย
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๓
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๓
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๓
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๓
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๔๓ และ
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๓
ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๖ ครั้ง ดังกล่าว
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน คือ เลือกรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง โดยมีสมาชิกเสนอชื่อสมาชิกเพื่อเลือกเป็น
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง จำนวน ๖ คน และปรากฏผลการลงคะแนน ดังนี้
๑. นายสุชน ชาลีเครือ ได้ ๕๙ คะแนน
๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ได้ ๒๐ คะแนน
๓. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ได้ ๔ คะแนน
๔. นายพิเชฐ พัฒนโชติ ได้ ๗๑ คะแนน
๕. นายวิชิต พูลลาภ ได้ ๒ คะแนน
๖. นายสุนทร จินดาอินทร์ ได้ ๓๓ คะแนน
ปรากฏว่า นายพิเชฐ พัฒนโชติ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดมีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุม (สมาชิกที่มาประชุมมีจำนวน ๑๙๖ คน ) จึงต้องนำชื่อผู้ได้คะแนน
สูงสุด จำนวน ๒ ลำดับแรกมาให้สมาชิกลงคะแนนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผลการลงคะแนน มีดังนี้
๑. นายสุชน ชาลีเครือ ได้ ๙๒ คะแนน
๒. นายพิเชษฐ พัฒนโชติ ได้ ๙๘ คะแนน
จึงถือว่า นายพิเชฐ พัฒนโชติ ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่ ๖.๔, ๖.๑๒, ๖.๑๕ - ๖.๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
ประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องที่เสนอใหม่ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไข
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งนายการุณ ใสงาม เป็นผู้เสนอ เมื่อผู้เสนอญัตติ
ได้แถลงเหตุผลแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๓๐ คน
ประกอบด้วย
๑ นายบุญทัน ดอกไธสง ๒. นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
๓. นายกวี สุภธีระ ๔. นายการุณ ใสงาม
๕. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล ๘. นายบุญเลิศ ไพรินทร์
๙. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ๑๐. นางพวงเล็ก บุญเชียง
๑๑. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๑๒. นายลำพอง พิลาสมบัติ
๑๓. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๑๔. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
๑๕. นายวิชัย ครองยุติ ๑๖. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
๑๗. นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ๑๘. นายสราวุธ นิยมทรัพย์
๑๙. นายสันติ์ เทพมณี ๒๐. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๒๑. นายสุชน ชาลีเครือ ๒๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๒๓. นายไสว พราหมณี ๒๔. นายอนุชาติ บรรจงศุภมิตร
๒๕. นายพินิต อารยะศิริ ๒๖. นายประเกียรติ นาสิมมา
๒๗. นายอุดร ตันติสุนทร ๒๘. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๒๙. นายชุมพล ศิลปอาชา ๓๐. พลตรี มนูญกฤต รูปขจร
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติแต่งตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้
อนึ่ง นายประเกียรติ นาสิมมา ได้ขอถอนญัตติเรื่อง ขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๗๔ ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ
๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อติดตามการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายนิคม เชาว์กิตติโสภณ และพลตรี มนูญกฤต รูปขจร เป็นผู้เสนอ
โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้นำญัตติทำนองเดียวกันอีกสามฉบับ คือ ญัตติตามระเบียบวาระที่
๖.๑๕ ญัตติ เรื่อง ขอใหัตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง ซึ่งนายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ เป็นผู้เสนอ ญัตติตามระเบียบวาระที่ ๖.๑๖ ญัตติ
เรื่อง ขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
ซึ่งนายไสว พราหมณี เป็นผู้เสนอ และญัตติตามระเบียบวาระที่ ๖.๑๗ ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป
๖ มกราคม ๒๕๔๔ ซึ่ง นายลำพอง พิลาสมบัติ กับคณะ เป็นผู้เสนอ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป
เมื่อผู้เสนอญัตติได้แถลงเหตุผลแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
จำนวน ๔๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายไสว พราหมณี ๒. นายระวี กิ่งคำวงศ์
๓. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ๔. นายกมล มั่นภักดี
๕. นายกวี สุภธีระ ๖. นายเกษม มาลัยศรี
๗. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ๘. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
๙. นายจำเจน จิตรธร ๑๐. นายณรงค์ นุ่นทอง
๑๑. นายทองใบ ทองเปาด์ ๑๒. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๑๓. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ๑๔. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโน
๑๕. นายประเกียรติ นาสิมมา ๑๖. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๑๗. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ ๑๘. นายพา อักษรเสือ
๑๙. นายพิชัย ขำเพชร ๒๐. นายมนัส รุ่งเรือง
๒๑. พลเอก มนัส อร่ามศรี ๒๒. นายวิทยา มะเสนา
๒๓. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๒๔. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
๒๕. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ๒๖. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร
๒๗. นายสมพงษ์ สระกวี ๒๘. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๒๙. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๓๐. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๓๑. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๓๒. นายสุพร สุภสร
๓๓. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล ๓๔. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์
๓๕. นายอิมรอน มะลูลีม ๓๖. นายอุดม ศุภกิจ
๓๗. นายแก้วสรร อติโพธิ ๓๘. นายพีระพงษ์ ไพรินทร์
๓๙. นายสุรพงษ์ มาศะวิสุทธิ์ ๔๐. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ
๔๑. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ๔๒. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์
๔๓. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ ๔๔. พลตรี มนูญกฤต รูปขจร
๔๕. นายลำพอง พิลาสมบัติ
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติแต่งตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้
อนึ่ง ที่ประชุมได้มีมติให้รอการพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข
๖.๑ - ๖.๓ , ๖.๖ - ๖.๑๑, ๖.๑๓ และ ๖.๑๔ ไว้ก่อน
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๑๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ