การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 255,123.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 12,168.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.5 และลดลงเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 เงินฝากเดือนนี้ลดลงมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับ ต่ำ กอปรกับเป็นช่วงสิ้นปี ทำให้มีการถอน เงินเพื่อใช้จ่ายมากขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งจากปัญหา Y2K แต่ส่งผลต่อการถอนเงินฝากไม่มาก มีเพียงในเขตอำเภอรอบนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากรายย่อย นอกจากนี้ยังมีการถอนเงินฝากของส่วนราชการที่ฝากพักไว้เมื่อเดือนก่อนเพื่อรอเบิกจ่ายให้กับโครงการก่อสร้างที่แล้วเสร็จ และงานทางด้านโครงการชลประทาน
ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 204,477.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 221.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงลดลงร้อยละ 7.0 สาเหตุที่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากมีความต้องการสินเชื่อเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกของโรงสีและพ่อค้าพืชไร่ และธุรกิจค้าส่ง-ปลีก เพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำปาง เชียงราย พิจิตร สุโขทัย และพะเยา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร เดือนธันวาคม 2542 ลดลงเหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 - 4.00 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เดือนธันวาคม 2542 ปรับลดลงมาเหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 8.25 - 8.75 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนธันวาคม 2542 เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 339,202 ฉบับ ลดลงจากเดือนก่อน 30,855 ฉบับ หรือร้อยละ 8.3 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการใช้เช็ค แต่มูลค่าเช็คมีจำนวน 23,165.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 477.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 ส่วนใหญ่เป็นการใช้เช็คของส่วนราชการ ทำให้มูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดแพร่ เชียงราย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตรและตาก ทางด้านเช็คคืนมีจำนวน 6,653 ฉบับ มูลค่ารวม 331.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ โดยลดลงตามปริมาณการใช้เช็ค ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.8 เดือนก่อน แต่สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 ต่ำลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.5 เดือนก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือเดือนธันวาคม 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 7,746.0 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 7,768.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 จากรายจ่ายงบประมาณปีก่อนเป็นสำคัญ ส่วนรายได้ของรัฐยังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 จากการลดลงของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสำคัญ แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งขาดดุลเป็นครั้งแรก 9,468.3 ล้านบาท เนื่องจากในเดือนนี้สถาบันการเงินและผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยในเขตภาคเหนือได้สำรองเงินสดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับกับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (Y2K) ส่งผลให้ยอดเงินสดขาดดุล 17,214.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,826.9 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้รัฐบาลผ่านคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 เหลือ 813.1 ล้านบาท ลดลงมากจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 46.3 เหลือ 232.9 ล้านบาท โดยลดลงในส่วนที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 63.2 เหลือ 107.7 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำมาก ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.0 เหลือ 213.1 ล้านบาท จากการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 เป็น 92.4 ล้านบาท จากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มาชำระภาษีเพิ่มขึ้น
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เหลือ 8,559.1 ล้านบาท จากการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนที่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 เหลือ 1,748.0 ล้านบาท เป็นสำคัญ จากการที่รัฐบาลเข้มงวดกับส่วนราชการต่างๆ ในการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี ส่วนรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็น 6,811.1 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 22.4 โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่น งบกลางและค่าตอบแทน ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 จากการลดลงของรายจ่ายหมวดครุภัณฑ์ฯณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา) วงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,272.9 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปใช้ตามโครงการเหลือ 6,793.4 ล้านบาทหรือร้อยละ 82.1 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ จังหวัดที่ได้มีการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงรายและแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ 93.7 ร้อยละ 90.4 และร้อยละ 89.9 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ส่วนจังหวัดที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุดได้แก่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 69.4 ร้อยละ 72.3 และร้อยละ 73.8ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศของภาคเหนือ
การส่งออก มูลค่าสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เดือนธันวาคม 2542 ในรูปดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 101.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 และร้อยละ 29.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,845.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 และร้อยละ 36.9 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการค้าชายแดน
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 81.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยร้อยละ 0.1 แต่ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.0 ตามลำดับ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.1 เนื่องจากความต้องการนำชิ้นส่วนไปผลิตเพื่อขายในเทศกาลคริสต์มาสเริ่มลดลงหลังจากสั่งซื้อมากพอแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อนำไปผลิตสินค้าขายในช่วงตรุษจีน ขณะที่การส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.4 และร้อยละ 74.6 ตามลำดับ จากการส่งออกผลผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากในช่วงนี้
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 743.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.8 และร้อยละ 69.6 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 19.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 92.2 และร้อยละ 60.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปจีน(ตอนใต้)และลาวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่มีมูลค่าส่งออกไม่มากเมื่อเทียบกับการส่งออกผ่านชายแดนโดยรวม
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 649.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ากว่าสองเท่าตัว และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 93.9 จากการเปิดด่านการค้าชายแดนเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 ทำให้การค้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นพม่ายังสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นหลังจากขายสินค้าเก่าที่ค้างสต็อกหมดไป โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านแม่สอดในเดือนนี้มีมูลค่าถึง 432.8 ล้านบาท มีมูลค่าสูงสุดในรอบปี 2542 ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 54.8 เนื่องจากการส่งออกลำไยอบแห้งของฤดูปกติเริ่มลดลงคงเหลือการส่งออกลำไยอบแห้งที่ออกนอกฤดูกาลบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นกว่า 9 เท่าตัว ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.7 และร้อยละ 63.0 ตามลำดับ จากการลดลงของการส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรกลไปทำงานในลาว เนื่องจากงานบางอย่างได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 89.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 และร้อยละ 30.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,402.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 และร้อยละ 37.6 ตามลำดับ) โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการค้าชายแดน
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 89.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และร้อยละ 40.3 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมูลค่า 84.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 และร้อยละ 48.4 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมมูลค่าไม่มากนักเพียง 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับเดือนก่อนหน้าแต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 83.8
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 189.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.1 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่าเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 109.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ากว่าเท่าตัวและเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เนื่องจากมีการเปิดด่านการค้าอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้การค้ากลับสู่ภาวะปกติ โดยสินค้านำเข้าหลักยังคงเพิ่มขึ้นได้แก่ โค-กระบือมีชีวิต มีมูลค่านำเข้าสูงถึง 25.9 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าสินค้าอื่นๆ เช่น ปลาสดแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง เป็นต้น ส่วนการนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 40.3 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตและไม้แปรรูปเป็นสำคัญ และการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 39.8 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.5 และร้อยละ 79.5 ตามลำดับ จากการลดลงของการนำเข้าแอ็ปเปิ้ล เนื่องจากมีการนำเข้ามากแล้วในเดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2542 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 ตามราคาสินค้าหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 จากการปรับราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นของกลุ่มผู้เลี้ยง ขณะที่ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดน้อยลงทำให้ราคาสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งราคายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 0.7 ตามราคาข้าวสาร ทางด้านราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น ผักหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดีทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคาสินค้าหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาด หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ตามราคาหมวดเคหสถานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ร้อยละ 6.0 ที่สูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตามราคายานพาหนะที่สูงขึ้นร้อยละ 0.9 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการเพิ่มขึ้นของการบริการส่วนบุคคล ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/27 มกราคม 2543--
-ยก-
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 255,123.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 12,168.5 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.5 และลดลงเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 เงินฝากเดือนนี้ลดลงมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับ ต่ำ กอปรกับเป็นช่วงสิ้นปี ทำให้มีการถอน เงินเพื่อใช้จ่ายมากขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งจากปัญหา Y2K แต่ส่งผลต่อการถอนเงินฝากไม่มาก มีเพียงในเขตอำเภอรอบนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากรายย่อย นอกจากนี้ยังมีการถอนเงินฝากของส่วนราชการที่ฝากพักไว้เมื่อเดือนก่อนเพื่อรอเบิกจ่ายให้กับโครงการก่อสร้างที่แล้วเสร็จ และงานทางด้านโครงการชลประทาน
ทางด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 204,477.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย 221.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงลดลงร้อยละ 7.0 สาเหตุที่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากมีความต้องการสินเชื่อเพื่อรับซื้อข้าวเปลือกของโรงสีและพ่อค้าพืชไร่ และธุรกิจค้าส่ง-ปลีก เพิ่มขึ้น โดยสินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดลำปาง เชียงราย พิจิตร สุโขทัย และพะเยา อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 ธนาคาร เดือนธันวาคม 2542 ลดลงเหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 - 4.00 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เดือนธันวาคม 2542 ปรับลดลงมาเหลืออยู่ที่ระดับร้อยละ 8.25 - 8.75 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคเหนือเดือนธันวาคม 2542 เช็คเรียกเก็บมีจำนวน 339,202 ฉบับ ลดลงจากเดือนก่อน 30,855 ฉบับ หรือร้อยละ 8.3 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการใช้เช็ค แต่มูลค่าเช็คมีจำนวน 23,165.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 477.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 ส่วนใหญ่เป็นการใช้เช็คของส่วนราชการ ทำให้มูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดแพร่ เชียงราย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตรและตาก ทางด้านเช็คคืนมีจำนวน 6,653 ฉบับ มูลค่ารวม 331.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และร้อยละ 1.0 ตามลำดับ โดยลดลงตามปริมาณการใช้เช็ค ทางด้านสัดส่วนจำนวนฉบับเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.8 เดือนก่อน แต่สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.4 ต่ำลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.5 เดือนก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือเดือนธันวาคม 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 7,746.0 ล้านบาท ลดลงเทียบกับที่ขาดดุล 7,768.5 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 จากรายจ่ายงบประมาณปีก่อนเป็นสำคัญ ส่วนรายได้ของรัฐยังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 จากการลดลงของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสำคัญ แต่เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณซึ่งขาดดุลเป็นครั้งแรก 9,468.3 ล้านบาท เนื่องจากในเดือนนี้สถาบันการเงินและผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยในเขตภาคเหนือได้สำรองเงินสดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อรองรับกับปัญหาปี ค.ศ. 2000 (Y2K) ส่งผลให้ยอดเงินสดขาดดุล 17,214.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,826.9 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน
รายได้รัฐบาลผ่านคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 เหลือ 813.1 ล้านบาท ลดลงมากจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาร้อยละ 46.3 เหลือ 232.9 ล้านบาท โดยลดลงในส่วนที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยเงินฝากถึงร้อยละ 63.2 เหลือ 107.7 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำมาก ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.0 เหลือ 213.1 ล้านบาท จากการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 ขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 เป็น 92.4 ล้านบาท จากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มาชำระภาษีเพิ่มขึ้น
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลในภาคเหนือลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เหลือ 8,559.1 ล้านบาท จากการลดลงของรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนที่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 เหลือ 1,748.0 ล้านบาท เป็นสำคัญ จากการที่รัฐบาลเข้มงวดกับส่วนราชการต่างๆ ในการกันเงินงบประมาณไว้เบิกเหลื่อมปี ส่วนรายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็น 6,811.1 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำร้อยละ 22.4 โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่น งบกลางและค่าตอบแทน ขณะที่รายจ่ายลงทุนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 จากการลดลงของรายจ่ายหมวดครุภัณฑ์ฯณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ(มิยาซาวา) วงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,272.9 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปใช้ตามโครงการเหลือ 6,793.4 ล้านบาทหรือร้อยละ 82.1 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ จังหวัดที่ได้มีการเบิกจ่ายสูงสุดได้แก่ จังหวัดลำพูน เชียงรายและแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ 93.7 ร้อยละ 90.4 และร้อยละ 89.9 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ส่วนจังหวัดที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุดได้แก่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 69.4 ร้อยละ 72.3 และร้อยละ 73.8ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศของภาคเหนือ
การส่งออก มูลค่าสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เดือนธันวาคม 2542 ในรูปดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 101.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 และร้อยละ 29.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,845.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 และร้อยละ 36.9 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการค้าชายแดน
การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่าส่งออก 81.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยร้อยละ 0.1 แต่ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.0 ตามลำดับ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.1 เนื่องจากความต้องการนำชิ้นส่วนไปผลิตเพื่อขายในเทศกาลคริสต์มาสเริ่มลดลงหลังจากสั่งซื้อมากพอแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ตามความต้องการของลูกค้าเพื่อนำไปผลิตสินค้าขายในช่วงตรุษจีน ขณะที่การส่งออกสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.4 และร้อยละ 74.6 ตามลำดับ จากการส่งออกผลผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากในช่วงนี้
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 743.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 87.8 และร้อยละ 69.6 ตามลำดับ (ในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 19.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 92.2 และร้อยละ 60.7 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกไปจีน(ตอนใต้)และลาวลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่มีมูลค่าส่งออกไม่มากเมื่อเทียบกับการส่งออกผ่านชายแดนโดยรวม
การส่งออกไปพม่ามีมูลค่า 649.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ากว่าสองเท่าตัว และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 93.9 จากการเปิดด่านการค้าชายแดนเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2542 ทำให้การค้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นพม่ายังสั่งสินค้าเพิ่มขึ้นหลังจากขายสินค้าเก่าที่ค้างสต็อกหมดไป โดยเฉพาะการส่งออกผ่านด่านแม่สอดในเดือนนี้มีมูลค่าถึง 432.8 ล้านบาท มีมูลค่าสูงสุดในรอบปี 2542 ส่วนการส่งออกไปจีน (ตอนใต้) ลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 54.8 เนื่องจากการส่งออกลำไยอบแห้งของฤดูปกติเริ่มลดลงคงเหลือการส่งออกลำไยอบแห้งที่ออกนอกฤดูกาลบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นกว่า 9 เท่าตัว ส่วนการส่งออกไปลาวลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.7 และร้อยละ 63.0 ตามลำดับ จากการลดลงของการส่งออกรถยนต์และเครื่องจักรกลไปทำงานในลาว เนื่องจากงานบางอย่างได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ. มีมูลค่า 89.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 และร้อยละ 30.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,402.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.5 และร้อยละ 37.6 ตามลำดับ) โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการค้าชายแดน
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 89.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และร้อยละ 40.3 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมูลค่า 84.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.2 และร้อยละ 48.4 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าสินค้านอกนิคมอุตสาหกรรมมูลค่าไม่มากนักเพียง 0.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับเดือนก่อนหน้าแต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 83.8
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 189.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 16.1 จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่าเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 109.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ากว่าเท่าตัวและเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 เนื่องจากมีการเปิดด่านการค้าอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้การค้ากลับสู่ภาวะปกติ โดยสินค้านำเข้าหลักยังคงเพิ่มขึ้นได้แก่ โค-กระบือมีชีวิต มีมูลค่านำเข้าสูงถึง 25.9 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าสินค้าอื่นๆ เช่น ปลาสดแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง เป็นต้น ส่วนการนำเข้าจากลาวมีมูลค่า 40.3 ล้านบาท แม้ว่าจะลดลงจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.5 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตและไม้แปรรูปเป็นสำคัญ และการนำเข้าจากจีน(ตอนใต้) มีมูลค่า 39.8 ล้านบาท ลดลงทั้งจากเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.5 และร้อยละ 79.5 ตามลำดับ จากการลดลงของการนำเข้าแอ็ปเปิ้ล เนื่องจากมีการนำเข้ามากแล้วในเดือนที่ผ่านมาดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2542 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 ตามราคาสินค้าหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 จากการปรับราคาสุกรมีชีวิตสูงขึ้นของกลุ่มผู้เลี้ยง ขณะที่ปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดน้อยลงทำให้ราคาสินค้าหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนหมวดข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งราคายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 0.7 ตามราคาข้าวสาร ทางด้านราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 0.5 เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น ผักหลายชนิดเจริญเติบโตได้ดีทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และราคาสินค้าหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาด หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
หมวดอื่นๆที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ตามราคาหมวดเคหสถานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา ร้อยละ 6.0 ที่สูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตามราคายานพาหนะที่สูงขึ้นร้อยละ 0.9 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากการเพิ่มขึ้นของการบริการส่วนบุคคล ส่วนหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/27 มกราคม 2543--
-ยก-