1. สถานการณ์การผลิตสงขลา เร่งปล่อยปะการังเทียมเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ
ข่าวจากประมงจังหวัดสงขลาแจ้งว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ในทะเลอ่าวไทยมีปริมาณลดน้อยลงมาก เนื่องจากมีการทำประมงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการใช้เครื่องมือในการทำประมงผิดประเภท ดังนั้น จังหวัดสงขลา โดยประมงจังหวัด จึงทำการปล่อยปะการังเทียมชนิดต่าง ๆ ลงไปในทะเล เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นที่วางไข่หรือขยายพันธุ์ในโอกาสต่อไป ซึ่งการปล่อยปะการังเทียมดังกล่าวจะปล่อยในอ่าวไทย เขตอำเภอระโนด สทิงพระ และสิงหนคร โดยจะทยอยปล่อยลงไปเรื่อย ๆ คาดว่าจะมีมากถึง 5,000 หน่วย
ทั้งนี้ หากสามารถปล่อยปะการังเทียมต่อเนื่องทุกปี คาดว่าความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ จะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยปล่อยปะการังเทียม พบว่ามีปลาชุกชุมและหนาแน่นหลากหลายชนิด ดังนั้น หากสามารถปล่อยปะการังเทียมตลอดความยาวของ 3 อำเภอได้ จะทำให้สัตว์น้ำเพิ่มปริมาณสูงขึ้นในไม่ช้านี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-12 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,741.90 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 633.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,108.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.98 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.06 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 78.97 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.08 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปลาป่นราคามีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์การค้าและราคาปลาป่นในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอยู่ที่ราคากิโลกรัมละประมาณ 16.70 บาท ทั้งนี้มีผลมาจากการระบายปลาป่นภายในประเทศออกสู่ตลาดต่างประเทศในปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยคือ จีนและไต้หวัน โดยเฉพาะประเทศจีนนั้นเป็นตลาดนำเข้าปลาป่นที่สำคัญของโลก ปีหนึ่ง ๆ จะนำเข้าปลาป่นจากประเทศเปรูประมาณ 600,000 ตัน ในขณะที่มีสัญญานำเข้าจากไทย เพียงปีละ 5,000 ตันเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ไทยอยู่ในระหว่างทยอยส่งมอบให้กับจีน โดยกำหนดราคาขายกิโลกรัมละ 370 เหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันการใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำในประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่ราคาของปลาป่นในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้นมา มีแนวโน้มลดต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์มีความต้องการปลาป่นเป็นวัตถุดิบน้อยลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ไก่ไข่ ซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการเลี้ยงลงทำให้ความต้องการปลาป่นเป็นวัตถุดิบลดลงตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
-3-
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 349.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 362.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 405.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 400.00 บาท ของสัปดาห์ 5.63 บาท2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 17-21 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 15.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 17-23 ก.ค. 2543--
-สส-
ข่าวจากประมงจังหวัดสงขลาแจ้งว่า สืบเนื่องจากปัจจุบันสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ในทะเลอ่าวไทยมีปริมาณลดน้อยลงมาก เนื่องจากมีการทำประมงเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับการใช้เครื่องมือในการทำประมงผิดประเภท ดังนั้น จังหวัดสงขลา โดยประมงจังหวัด จึงทำการปล่อยปะการังเทียมชนิดต่าง ๆ ลงไปในทะเล เพื่อให้เป็นที่หลบซ่อนตัวอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นที่วางไข่หรือขยายพันธุ์ในโอกาสต่อไป ซึ่งการปล่อยปะการังเทียมดังกล่าวจะปล่อยในอ่าวไทย เขตอำเภอระโนด สทิงพระ และสิงหนคร โดยจะทยอยปล่อยลงไปเรื่อย ๆ คาดว่าจะมีมากถึง 5,000 หน่วย
ทั้งนี้ หากสามารถปล่อยปะการังเทียมต่อเนื่องทุกปี คาดว่าความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ จะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยปล่อยปะการังเทียม พบว่ามีปลาชุกชุมและหนาแน่นหลากหลายชนิด ดังนั้น หากสามารถปล่อยปะการังเทียมตลอดความยาวของ 3 อำเภอได้ จะทำให้สัตว์น้ำเพิ่มปริมาณสูงขึ้นในไม่ช้านี้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5-12 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,741.90 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 633.74 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,108.16 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.98 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.06 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 78.97 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.90 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.08 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปลาป่นราคามีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์การค้าและราคาปลาป่นในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอยู่ที่ราคากิโลกรัมละประมาณ 16.70 บาท ทั้งนี้มีผลมาจากการระบายปลาป่นภายในประเทศออกสู่ตลาดต่างประเทศในปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยคือ จีนและไต้หวัน โดยเฉพาะประเทศจีนนั้นเป็นตลาดนำเข้าปลาป่นที่สำคัญของโลก ปีหนึ่ง ๆ จะนำเข้าปลาป่นจากประเทศเปรูประมาณ 600,000 ตัน ในขณะที่มีสัญญานำเข้าจากไทย เพียงปีละ 5,000 ตันเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ไทยอยู่ในระหว่างทยอยส่งมอบให้กับจีน โดยกำหนดราคาขายกิโลกรัมละ 370 เหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันการใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำในประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่ราคาของปลาป่นในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นต้นมา มีแนวโน้มลดต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจากว่าอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์มีความต้องการปลาป่นเป็นวัตถุดิบน้อยลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ไก่ไข่ ซึ่งขณะนี้ประสบปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการลดปริมาณการเลี้ยงลงทำให้ความต้องการปลาป่นเป็นวัตถุดิบลดลงตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.26 บาท
-3-
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 349.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 362.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 13.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 405.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 400.00 บาท ของสัปดาห์ 5.63 บาท2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.38 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 17-21 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 15.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 17-23 ก.ค. 2543--
-สส-