ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายก
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมนักวิเคราะห์เพื่อประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและทิศ
ทางของตลาดหุ้นเมื่อวานนี้ (9 พ.ค.48) ปรากฏว่า จากการสอบถามสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
ให้คะแนนภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ระดับ 5.7 คะแนน จากคะแนน 10 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับฐานการเติบโตของ
ปี 46 ขณะที่จีดีพีปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.7 โดยโบรกเกอร์ที่คาดการณ์จีดีพีต่ำสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 และ
สูงสุดที่ร้อยละ 7.0 ส่วนดัชนีตลาดหุ้นปีนี้ประเมินว่าจะอยู่ในระดับ 768 จุด โดยดัชนีที่คาดการณ์ต่ำสุดอยู่ที่ 724
จุด และสูงสุดอยู่ที่ 850 จุด ส่วนอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่อัตราร้อยละ 9.7 โดยคาด
การณ์ต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 17 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, มติชน)
2. ธปท.เผยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยช่วงไตรมาสแรกปี 48 ยังขยายตัวได้ดี รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยช่วงไตรมาสแรกปี 48 ยังขยายตัวได้ดี โดยทั้งระบบ
สถาบันการเงินมียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,083 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.45 หมื่นล้านบาท จากไตรมาส 4 ปี 47 ที่มี
ยอดคงค้าง 1.048 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.29 ในจำนวนนี้ เป็นสินเชื่อในส่วนของ ธพ. 5.59 แสน
ล้านบาท ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4.10 แสนล้านบาท ธ.ออมสิน 1.08 แสนล้านบาท บง. 5.65 พันล้าน
บาท และสินเชื่อจาก บค. 183 ล้านบาท นอกจากนี้ จากการสำรวจภาคอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ.พบว่า
ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนบ้านจัดสรร อาคารชุด และบ้านสร้างเองที่สร้าง
เสร็จเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 6,248 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2 จากเดือน ม.ค.48
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
3. ธปท.อนุญาตให้ ธพ.สามารถเป็นโบรกเกอร์ ดำเนินการค้าหลักทรัพย์ และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่
เป็นหน่วยลงทุนได้ ผอส. ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6
พ.ค.ที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องการประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การ
ค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน โดยอนุญาตให้ ธพ.สามารถเป็นนายหน้าซื้อขายหลัก
ทรัพย์ (โบรกเกอร์) ดำเนินการค้าหลักทรัพย์ และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ตามที่ ธปท.กำหนด
เพื่อขยายขอบเขตของ ธพ.ให้ครอบคลุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุน ซึ่งถือเป็นการอนุญาตเป็นการทั่วไป ทั้งนี้
ธพ.ที่ต้องการประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องมีการจัดทำระบบงานเพื่อรองรับธุรกรรมการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลง
ทุน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังเสนอแก้ไขพระราชกำหนด บบส.พ.ศ.2540 เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงาน นายวรา
เทพ รัตนากร รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังได้เสนอ ครม.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด บบส. พ.ศ.2540 โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานดังกล่าวให้
แก่ บบส.ซึ่งจะทำให้เป้าหมายการดำเนินงานในปีนี้ด้านการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ทั้งหนี้เสียและทรัพย์สินรอการขายได้
อีกถึง 1.18 แสนล้านบาท และในปีถัดไปจะเพิ่มให้ได้เป็น 2.7 แสนล้านบาท ขณะที่เป้าหมายเงินสดรับในปีนี้
ประมาณการไว้ว่าจะสูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการผ่อนชำระ 2.97 พันล้านบาท และจาก
ทรัพย์สินรอการขาย 8.01 พันล้านบาท ทั้งนี้ หาก บบส.เข้าไปรับซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงินอื่น จะช่วยลดปัญหา
นี้หนี้เสียของสถาบันการเงินในระบบให้เหลือร้อยละ 3-5 ตามที่ ธปท.กำหนดจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 11 หรือคิด
เป็นหนี้เสียจำนวน 8 แสนล้านบาทของสินเชื่อทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 พ.ค.48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมเป็นเดือนที่
9 ที่ระดับร้อยละ 4.75 หลังจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.48 ลดลงเกินความคาดหมาย โดยลดลง
ถึงร้อยละ 1.2 ซึ่งตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 และเป็น
การลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ การที่ภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษชะลอตัว โดยเฉพาะการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประกอบ
กับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายของผู้
บริโภค ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ลงได้ (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษลดลงร้อยละ 4.7 ต่อปีในเดือน เม.ย.48 ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่
เริ่มมีการบันทึกตัวเลขในปี 38 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 10 พ.ค.48 สมาคมค้าปลีกของอังกฤษรายงานตัวเลข
ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.47 ลดลงร้อยละ 4.7 ต่อปี ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกตัว
เลขในปี 38 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้มาถึงเร็วกว่าปีก่อนโดยอยู่ในช่วงเดือน มี.ค.48 ใน
ขณะที่ปีก่อนอยู่ในช่วงเดือน เม.ย.48 ทำให้ยอดขายลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน เม.ย.ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็น
ผลจากการชะลอตัวของการค้าปลีกในเกือบทุกสาขาโดยเฉพาะในสินค้าที่มีราคาสูงและสินค้าที่ถูกมองว่าไม่มีจำเป็น
ต้องใช้ โดยตลาดบ้านที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป
เมื่อวันที่ 5 พ.ค.48 นี้ และจากความกังวลว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและส่ง
ผลให้ราคาบ้านในช่วงไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 ปี และยังส่งผลให้สินค้าที่เชื่อมโยงกับตลาด
บ้านเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ชะลอตัวลงตามไปด้วย การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลงได้สร้าง
ความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต และมีส่วนทำให้ ธ.กลาง
อังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พ.ค.48
ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษในช่วง ก.พ.-เม.ย.48 จะเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบสองปี รายงาน
จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 สถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ
อังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงเดือน ก.พ. — เม.ย.48 จะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในช่วง 3 เดือนก่อน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดใน
รอบเกือบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ส่วนอัตราการเติบโตในช่วงเดือน ม.ค. — มี.ค.48 คาดว่าจะไม่
เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับตัวเลขทางการที่จะประกาศล่าสุด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางการของผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมที่ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้ลดลงอย่างรุนแรง ทำให้นักสถิติอาจต้องปรับลดประมาณการเติบโต
ของจีดีพีลงจากที่ประมาณการไว้เดิม ในขณะที่ NIESR คาดว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ
นี้ เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจจะชะลอ
ตัวลงเพียงพอที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 5.0
หรือไม่ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.75 ในการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 รายงานจากกรุงกัวลา
ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 พ.ค.48 สนง.สถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของมาเลเซียในปีนี้นับถึงเดือน มี.ค. เติบโตเพียงร้อยละ 5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่มีสัดส่วนมากถึง
2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 นับถึงเดือน มี.ค. อนึ่ง ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ปรับตัวเลขตามฤดูกาลของเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ก.พ.48(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ค. 48 9 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.512 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3169/39.6080 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.21/17.82 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.64 43.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 4.7 ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายก
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมนักวิเคราะห์เพื่อประเมินภาพรวมภาวะเศรษฐกิจและทิศ
ทางของตลาดหุ้นเมื่อวานนี้ (9 พ.ค.48) ปรากฏว่า จากการสอบถามสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
ให้คะแนนภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ระดับ 5.7 คะแนน จากคะแนน 10 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกับฐานการเติบโตของ
ปี 46 ขณะที่จีดีพีปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 4.7 โดยโบรกเกอร์ที่คาดการณ์จีดีพีต่ำสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 และ
สูงสุดที่ร้อยละ 7.0 ส่วนดัชนีตลาดหุ้นปีนี้ประเมินว่าจะอยู่ในระดับ 768 จุด โดยดัชนีที่คาดการณ์ต่ำสุดอยู่ที่ 724
จุด และสูงสุดอยู่ที่ 850 จุด ส่วนอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) อยู่ที่อัตราร้อยละ 9.7 โดยคาด
การณ์ต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 17 (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, มติชน)
2. ธปท.เผยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยช่วงไตรมาสแรกปี 48 ยังขยายตัวได้ดี รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยช่วงไตรมาสแรกปี 48 ยังขยายตัวได้ดี โดยทั้งระบบ
สถาบันการเงินมียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,083 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.45 หมื่นล้านบาท จากไตรมาส 4 ปี 47 ที่มี
ยอดคงค้าง 1.048 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.29 ในจำนวนนี้ เป็นสินเชื่อในส่วนของ ธพ. 5.59 แสน
ล้านบาท ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 4.10 แสนล้านบาท ธ.ออมสิน 1.08 แสนล้านบาท บง. 5.65 พันล้าน
บาท และสินเชื่อจาก บค. 183 ล้านบาท นอกจากนี้ จากการสำรวจภาคอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ.พบว่า
ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนบ้านจัดสรร อาคารชุด และบ้านสร้างเองที่สร้าง
เสร็จเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 6,248 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2 จากเดือน ม.ค.48
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
3. ธปท.อนุญาตให้ ธพ.สามารถเป็นโบรกเกอร์ ดำเนินการค้าหลักทรัพย์ และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่
เป็นหน่วยลงทุนได้ ผอส. ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6
พ.ค.ที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องการประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การ
ค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน โดยอนุญาตให้ ธพ.สามารถเป็นนายหน้าซื้อขายหลัก
ทรัพย์ (โบรกเกอร์) ดำเนินการค้าหลักทรัพย์ และจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ตามที่ ธปท.กำหนด
เพื่อขยายขอบเขตของ ธพ.ให้ครอบคลุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุน ซึ่งถือเป็นการอนุญาตเป็นการทั่วไป ทั้งนี้
ธพ.ที่ต้องการประกอบธุรกิจดังกล่าวจะต้องมีการจัดทำระบบงานเพื่อรองรับธุรกรรมการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลง
ทุน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
4. ก.คลังเสนอแก้ไขพระราชกำหนด บบส.พ.ศ.2540 เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงาน นายวรา
เทพ รัตนากร รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังได้เสนอ ครม.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด บบส. พ.ศ.2540 โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานดังกล่าวให้
แก่ บบส.ซึ่งจะทำให้เป้าหมายการดำเนินงานในปีนี้ด้านการเพิ่มขนาดสินทรัพย์ทั้งหนี้เสียและทรัพย์สินรอการขายได้
อีกถึง 1.18 แสนล้านบาท และในปีถัดไปจะเพิ่มให้ได้เป็น 2.7 แสนล้านบาท ขณะที่เป้าหมายเงินสดรับในปีนี้
ประมาณการไว้ว่าจะสูงถึง 1.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการผ่อนชำระ 2.97 พันล้านบาท และจาก
ทรัพย์สินรอการขาย 8.01 พันล้านบาท ทั้งนี้ หาก บบส.เข้าไปรับซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงินอื่น จะช่วยลดปัญหา
นี้หนี้เสียของสถาบันการเงินในระบบให้เหลือร้อยละ 3-5 ตามที่ ธปท.กำหนดจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 11 หรือคิด
เป็นหนี้เสียจำนวน 8 แสนล้านบาทของสินเชื่อทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 พ.ค.48 ธ.กลางอังกฤษประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมเป็นเดือนที่
9 ที่ระดับร้อยละ 4.75 หลังจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.48 ลดลงเกินความคาดหมาย โดยลดลง
ถึงร้อยละ 1.2 ซึ่งตรงข้ามกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 และเป็น
การลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับเดิม คือ การที่ภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษชะลอตัว โดยเฉพาะการใช้จ่ายของผู้บริโภค ประกอบ
กับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายของผู้
บริโภค ทำให้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษอาจปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ลงได้ (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษลดลงร้อยละ 4.7 ต่อปีในเดือน เม.ย.48 ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่
เริ่มมีการบันทึกตัวเลขในปี 38 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 10 พ.ค.48 สมาคมค้าปลีกของอังกฤษรายงานตัวเลข
ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.47 ลดลงร้อยละ 4.7 ต่อปี ลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกตัว
เลขในปี 38 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเทศกาลอีสเตอร์ในปีนี้มาถึงเร็วกว่าปีก่อนโดยอยู่ในช่วงเดือน มี.ค.48 ใน
ขณะที่ปีก่อนอยู่ในช่วงเดือน เม.ย.48 ทำให้ยอดขายลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน เม.ย.ปีก่อน นอกจากนี้ยังเป็น
ผลจากการชะลอตัวของการค้าปลีกในเกือบทุกสาขาโดยเฉพาะในสินค้าที่มีราคาสูงและสินค้าที่ถูกมองว่าไม่มีจำเป็น
ต้องใช้ โดยตลาดบ้านที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเพิ่งผ่านพ้นไป
เมื่อวันที่ 5 พ.ค.48 นี้ และจากความกังวลว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและส่ง
ผลให้ราคาบ้านในช่วงไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 ปี และยังส่งผลให้สินค้าที่เชื่อมโยงกับตลาด
บ้านเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าและเฟอร์นิเจอร์ชะลอตัวลงตามไปด้วย การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวลงได้สร้าง
ความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต และมีส่วนทำให้ ธ.กลาง
อังกฤษตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.75 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พ.ค.48
ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. คาดว่าจีดีพีของอังกฤษในช่วง ก.พ.-เม.ย.48 จะเติบโตต่ำสุดในรอบเกือบสองปี รายงาน
จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 พ.ค.48 สถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ
อังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงเดือน ก.พ. — เม.ย.48 จะ
ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ในช่วง 3 เดือนก่อน ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดใน
รอบเกือบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ส่วนอัตราการเติบโตในช่วงเดือน ม.ค. — มี.ค.48 คาดว่าจะไม่
เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับตัวเลขทางการที่จะประกาศล่าสุด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขทางการของผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมที่ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้ลดลงอย่างรุนแรง ทำให้นักสถิติอาจต้องปรับลดประมาณการเติบโต
ของจีดีพีลงจากที่ประมาณการไว้เดิม ในขณะที่ NIESR คาดว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็ว ๆ
นี้ เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ชัดเจนว่า เศรษฐกิจจะชะลอ
ตัวลงเพียงพอที่จะรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 5.0
หรือไม่ ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษได้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.75 ในการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ค. (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของมาเลเซียเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 รายงานจากกรุงกัวลา
ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 9 พ.ค.48 สนง.สถิติของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของมาเลเซียในปีนี้นับถึงเดือน มี.ค. เติบโตเพียงร้อยละ 5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่มีสัดส่วนมากถึง
2 ใน 3 ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 นับถึงเดือน มี.ค. อนึ่ง ผลผลิตภาค
อุตสาหกรรมที่ยังไม่ได้ปรับตัวเลขตามฤดูกาลของเดือน มี.ค.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือน ก.พ.48(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 พ.ค. 48 9 พ.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.512 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.3169/39.6080 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.3125 — 2.3500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.21/17.82 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,950/8,050 7,950/8,050 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 44.64 43.94 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 22.54*/18.19** 22.54*/18.19** 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 5 พ.ค. 48
* *ปรับเพิ่ม ลิตรละ 3 บาท เมื่อ 23 มี.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--