กรุงเทพ--2 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 นายจุนอิชิโร โคอิซึมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้พบหารือกันที่กรุงโตเกียว เพื่อร่วมกันประกาศว่า ไทยและญี่ปุ่นได้บรรลุความตกลงในหลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ Japan-Thailand Economic Partnership Agreement (JTEPA) หลังจากที่มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2547 และมีการเจรจาระดับรัฐมนตรีที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 31 กรกฎาคมและ 1 สิงหาคม 2548
ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวาและใกล้ชิดกันมานาน การค้าระหว่างสองประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่าสามหมื่นห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2547 นอกจากนี้ เมื่อปี 2547 ไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งในเชิงปริมาณของการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ญี่ปุ่นก็เป็นผู้ลงทุนสำคัญอันดับหนึ่งในไทยเมื่อดูจากปริมาณ การลงทุนต่างชาติโดยตรงในปีเดียวกัน ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นหรือ JTEPA จึงจะช่วยขยายและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย- ญี่ปุ่น ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน และขยายช่องทางธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ โดยผ่านความร่วมมือ การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ดังนั้น JTEPA จะนำไปสู่ศักราชใหม่ของหุ้นส่วน ยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นและจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับประชาคมเอเชียตะวันออก
JTEPA จะครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศใน การประกอบธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนความร่วมมือทวิภาคีด้านการเกษตร ป่าไม้และประมง ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการท่องเที่ยว ด้านบริการทางการเงิน ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านเศรษฐกิจที่สร้าง มูลค่า และด้านหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน
ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน จะรวมถึงโครงการในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า การสนับสนุนนโยบาย ”ดีทรอยท์แห่งเอเชีย” ของไทยผ่านโครงการความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ และการสนับสนุนโครงการ ”ครัวไทยสู่โลก” ของไทย
นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายเร่งสรุปงานด้านเทคนิคที่ยังเหลือ โดยเฉพาะในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) และเร่งยกร่างตัวบทความตกลงให้เสร็จสิ้น เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และบรรลุเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวกการเข้าสู่ตลาด นายกรัฐมนตรีทั้งสองคาดว่าจะสามารถลงนามความตกลง JTEPA ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 และสั่งการให้เจ้าหน้าที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะดำเนินขั้นตอนภายในประเทศให้เสร็จสิ้นเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้โดยพลันหลังจากนั้น
องค์ประกอบหลัก ๆ ของความตกลงในหลักการของ JTEPA มีดังนี้
1. สินค้าอุตสาหกรรม
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกหรือลดภาษีของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ข้อผูกพันที่สำคัญๆ ของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 1 สำหรับเรื่องเหล็กและยานยนต์นั้น ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยด้วย
2. สินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกหรือลดภาษีของผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้และประมงอย่างกว้างขวาง และจะร่วมมือกันในสาขาเกษตร ป่าไม้และประมง กล่าวคือ ในเรื่องความปลอดภัยอาหาร และการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นด้วย ข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายในภาคเกษตร ป่าไม้และประมงปรากฏในเอกสารแนบ 2
3. พิธีการทางศุลกากร
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกัน โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการทางศุลกากรให้ง่ายและสอดคล้องกันมากขึ้น รวมทั้งจะดำเนินการให้มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การค้าไร้กระดาษ
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อให้มีและส่งเสริมการค้าไร้กระดาษ และจะสนับสนุนความร่วมมือในด้านนี้ระหว่างเอกชนของทั้งสองประเทศด้วย
5. การค้าบริการ
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบสำหรับการเปิดเสรีการค้าบริการ และมีข้อเสนอการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกัน กรอบและข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 3
6. การลงทุน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบสำหรับการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่มิใช่บริการ และการคุ้มครองการลงทุน กรอบและข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 4
7. ความร่วมมือ
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้ JTEPA ปรากฏในเอกสารแนบ 5
8. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและจัดตั้งกลไกเพื่อหารือประเด็นและแนวทางกระชับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
9. การแข่งขัน
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและเสรี โดยขจัดพฤติกรรมที่ต่อต้านการแข่งขันในประเทศของตน และร่วมมือกันในสาขาการแข่งขัน ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละฝ่าย
10. ทรัพย์สินทางปัญญา
ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการเพื่อให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพียงพอและมีประสิทธิผล จัดหามาตรการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิ การปลอมและการลอกเลียนแบบ รวมทั้งส่งเสริมประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการบริหารระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในการที่จะได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และจะมีการจัดตั้งกลไกขึ้นเพื่อปรึกษาหารือกันต่อไปด้วย
11. การรับรองมาตรฐานร่วมกัน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบของการรับรองมาตรฐานร่วมกันสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและจะเจรจาต่อไปเรื่องข้อบทสำหรับกรอบความตกลงที่ได้ยืนยันแล้ว
12. การส่งเสริมบรรยากาศทางธุรกิจ
ทั้งสองฝ่ายจะสร้างบรรยากาศทางธุรกิจภายในประเทศให้เอื้อประโยชน์แก่กิจกรรมทางธุรกิจของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยอาศัยกลไกความร่วมมือ ได้แก่ คณะอนุกรรมการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ที่จะจัดตั้งขึ้นในแต่ละประเทศ และประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ ตัวแทนจากภาคเอกชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
13. การเคลื่อนที่ของบุคคล
ข้อผูกพันที่สำคัญในเรื่องการเคลื่อนที่ของบุคคลธรรมดามีปรากฏในเอกสารแนบ 6
เอกสารแนบ 1 (สินค้าอุตสาหกรรม)
1. ทั่วไป
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดภายใน 10 ปี หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
2. เฉพาะเรื่อง
(ก) การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของไทย รวมถึง
(1) ยานยนต์
- รถยนต์นั่ง เครื่องยนต์สูงกว่า 3,000 ซีซี.: ไทยจะลดภาษีนำเข้า อย่างเป็นขั้นที่เท่ากันทุกปี จากร้อยละ 80 จนเหลือร้อยละ 60 ในปี 2552 แล้วจะคงไว้ที่ร้อยละ 60
- รถยนต์นั่ง เครื่องยนต์ 3,000 ซีซี หรือต่ำกว่า: ทั้งสองฝ่ายจะเจรจากันใหม่ในเรื่องนี้ โดยจะตกลงเรื่องวันที่ของการเริ่มเจรจาใหม่ ก่อนการลงนามความตกลง
- จะมีการออกแถลงการณ์ทางการเมืองเรื่องยานยนต์ เมื่อลงนามความตกลง JTEPA
(2) ชิ้นส่วนยานยนต์
ในกรณีที่ AFTA มีผลบังคับใช้ในปี 2553 ไทยจะจัดระบบการลดภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ (เฉพาะที่เป็น “OEM”) สำหรับญี่ปุ่น ดังนี้
- รายการที่อัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 20: ไทยจะลดภาษีเหลือร้อยละ 20 ในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ แล้วคงไว้ที่ร้อยละ 20 และจะยกเลิกภาษีในปี 2554
- รายการที่อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า: ไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราเดิมและจะยกเลิกภาษีในปี 2554
- รายการสินค้าอ่อนไหว (5 รายการ): ไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราเดิม และยกเลิกภาษีในปี 2556
(3) เหล็กและเหล็กกล้า
- รายการเหล็กกล้าบางรายการ: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- รายการที่เหลือ: ยกเลิกภาษีอย่างช้าที่สุด คือ วันแรกของปีที่ 11 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
- รายการเหล็กแผ่นและเหล็กม้วนรีดร้อนเฉพาะบางรายการ: ไทยจะกำหนดโควตาปลอดภาษี โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทบทวนปริมาณโควตาทุกปี
(ข) การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของญี่ปุ่น รวมถึง
(1) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีสำหรับรายการเกือบทั้งหมดแก่กันและกันทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
(2) อัญมณีและเครื่องประดับ
ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (5 รายการ)
(3) ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีสำหรับรายการเกือบทั้งหมดทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนรายการที่เหลือ จะยกเลิกภาษีใน 5 ปีหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยลดเป็นขั้นที่เท่ากันทุกปี
เอกสารแนบ 2 (รายการสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง)
1. ทั่วไป
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีนำเข้าของรายการสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงส่วนใหญ่ภายใน 10 ปี หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
2. การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของญี่ปุ่น รวมถึง
(ก) สินค้าเกษตร
- มะม่วง มังคุด ทุเรียน มะละกอ เงาะ กระเจี๊ยบเขียว มะพร้าว: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- กล้วย: กำหนดโควตาปลอดภาษีให้กล้วยสด 4,000 ตันในปีที่ 1 แล้วเพิ่มเป็น 8,000 ตัน ในปีที่ 5
- สับปะรดสดขนาดเล็ก: กำหนดโควตาปลอดภาษี 100 ตัน ในปีที่ 1 แล้วเพิ่มเป็น 300 ตัน ในปีที่ 5
- ผักสดและผักแช่แข็ง: ยกเลิกภาษีภายใน 5-10 ปี
- ผลไม้รวม สลัดผลไม้ และค็อกเทลผลไม้ ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป: ยกเลิกภาษีทันที
- เนื้อไก่แปรรูปหรือผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร: ลดภาษีจากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 3 ใน 5 ปี
- เนื้อหมูและแฮม ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป: กำหนดโควตาภาษี 1,200 ตัน ตั้งแต่ปีแรก โดยอัตราภาษีในโควตาคือ อัตราที่ลดลงร้อยละ 20 จากอัตรา MFN ในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- น้ำมันรำข้าว: ลดภาษีลงร้อยละ 55.5 ของอัตรา MFN ใน 5 ปี
- อาหารสัตว์เลี้ยง: ยกเลิกภาษีใน 10 ปี
- กากน้ำตาล: กำหนดโควตาภาษี 4,000 ตัน ในปีที่ 3 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้ แล้วเพิ่มเป็น 5,000 ตันในปีที่ 4 โดยอัตราภาษีในโควตา คือ อัตราที่ลดลงร้อยละ 50 ของอัตราภาษีนอกโควตา
- แป้งมันสำปะหลังแปรรูป (esterified starch): กำหนดโควตาปลอดภาษี 200,000 ตัน ตั้งแต่ปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
(ข) สินค้าประมง
- กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูปหรือต้ม: ยกเลิกภาษีใน วันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- เนื้อปลาฟิลเลต์และแมงกะพรุน ปลาหมึกกล้วยสดและแช่แข็ง: ยกเลิกภาษีใน 5 ปี
- ปลาทูน่า สคิปแจ็ค ปลาโบนิโตอื่น ๆ และปูที่ผ่านกรรมาวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป : ลดภาษีภายใน 5 ปี
(ค) สินค้าป่าไม้
- สินค้าป่าไม้ ยกเว้นไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ด: ยกเลิกภาษีทันที
- แผ่นชิ้นไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ด: ยกเลิกภาษีใน 10 ปี
(ง) สินค้าที่ไม่อยู่ในความตกลง หรือที่จะเจรจากันใหม่ รวมถึง
- ข้าว ข้าวสาลี เนื้อวัวและหมูสด แช่แข็ง และแช่เย็น น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากอ้อย
หรือหัวบีท น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง ไม้อัด ผลิตภัณฑ์ปลาในโควตานำเข้า ปลาทูนาและสคิปแจ๊ค รายการเนื้อวัวหรือหมูที่ผ่านการแปรรูปส่วนใหญ่ และผลิตภัณฑ์นมที่กำหนด
3. การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของไทย รวมถึง
- แอปเปิ้ล แพร์ และพีช: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- ปลาที่ไทยนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลา
- ปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาทูน่าสคิปแจ๊ค ปลาซาร์ดีน : ยกเลิกภาษีภายใน 5 ปี
- ปลาแฮร์ริ่ง ปลาคอด: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- สินค้าที่ไม่อยู่ในความตกลง หรือที่จะเจรจากันใหม่ รวมถึง ปลาแม็คเคอเรล ยาสูบ ไหมดิบ ไข่นก ไข่ผง และรายการปลาที่กำหนด
4. ความร่วมมือด้านเกษตร
ไทยและญี่ปุ่นจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกความร่วมมือด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการหารือบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เพื่อระบุและพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เพื่อหาข้อยุติที่รับได้ร่วมกัน และเสริมสร้างการควบคุม คุณภาพ การตรวจสอบ ระบบการรับรอง และการวิเคราะห์ความเสี่ยง
ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น เพื่อระบุสาขาและรูปแบบความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ และเพื่อปฏิบัติกิจกรรมความร่วมมือ เช่น การส่งเสริมการตลาดและการจัดซื้อ รวมถึงการพัฒนาโครงการ OTOP
เอกสารแนบ 3 (การค้าบริการ)
1. กรอบ
- ความโปร่งใส — จะให้รายชื่อกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลแก่สาธารณชน
- ตารางข้อผูกพัน — จะระบุทุกสาขาและสาขาย่อยที่มีอยู่ในเอกสาร W/120 ของ WTO ไว้ในตาราง ข้อผูกพัน
- วิธีการผูกพัน — จะมีพันธกรณี เช่น การเปิดตลาด การให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ และข้อผูกพันเพิ่มเติม เฉพาะในสาขาและสาขาย่อยที่ระบุให้มีข้อผูกพัน และมีข้อผูกพันเท่าที่ระบุ
- ขอบเขตและข่ายครอบคลุมของบทว่าด้วยการค้าบริการ — จะเหมือนกับในความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) โดยจะครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกหมวดของการให้บริการ รวมถึงหมวด 3
- การผูกพันแบบไม่ถอยกลับ — เป็นการระบุมาตรการทั้งหมดที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีการเปิดตลาดและการประติบัติเยี่ยงคนชาติ ในสาขา/สาขาย่อย ต่างๆ โดยให้ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
- การเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน — อาจทำได้ตามข้อบทเรื่องการแก้ไขความตกลงJTEPA และบนพื้นฐานของข้อ 21 ของ GATS ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันเดียวกันกับที่มีอยู่ใน GATS ด้วย จะไม่มีการชดเชย ”ซ้ำสอง”
- มาตรการปกป้องฉุกเฉิน — จะมีการหารือกัน เพื่อให้เริ่มการเจรจา ภายใน 6 เดือนหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ
- การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) — ฝ่ายหนึ่งจะรับพิจารณาเมื่ออีกฝ่ายขอรับ MFN หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาของฝ่ายไทย จะคำนึงถึงสถานะของนักลงทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนที่สำคัญที่สุดในแง่ปริมาณการลงทุนโดยตรงในประเทศไทย ซึ่งจะระบุไว้ในแถลงการณ์ทางการเมืองที่จะมีการลงนามเมื่อมีการลงนามความตกลง
- กลไกทบทวน — การทบทวนข้อผูกพันสำหรับทุกสาขาบริการจะเริ่มภายใน 5 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ โดยจะมีการทบทวนต่างหากสำหรับบริการซ่อมบำรุง บริการค้าส่งและค้าปลีก และบริการเช่า ซึ่งจะเริ่มภายใน 3 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ
2. ข้อผูกพันการเปิดเสรี
ขอบข่ายครอบคลุมของการผูกพันแบบไม่ถอยกลับ
ญี่ปุ่นจะผูกพันแบบไม่ถอยกลับใน 138 สาขาย่อย
ข้อผูกพันรายสาขาของญี่ปุ่น
จะครอบคลุมอย่างครบถ้วน โดยรวมข้อผูกพันที่มีภายใต้ GATS ไว้ด้วย ในสาขาดังต่อไปนี้
- บริการทางธุรกิจและวิชาชีพ
- บริการสื่อสาร
- บริการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
- บริการจัดจำหน่าย
- บริการการศึกษา
- บริการด้านสิ่งแวดล้อม
- บริการด้านการเงิน
- บริการด้านสุขภาพและสังคม
- บริการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
- บริการด้านสันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา
- บริการด้านการขนส่ง
ข้อผูกพันรายสาขาของไทย
นอกเหนือไปจากข้อผูกพันที่มีภายใต้ GATS จะครอบคลุมสาขาย่อยดังต่อไปนี้
- บริการโฆษณา
- บริการที่ปรึกษาด้านลอจิสติกส์
- บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวข้อง
- บริการซ่อมบำรุง (เฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน)
- บริการค้าส่งและค้าปลีก (บางผลิตภัณฑ์เท่านั้น)
- บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการ (การจัดการทั่วไป การจัดการด้านตลาด การจัดการทรัพยากรบุคคล การจัดการด้านการผลิต)
เอกสารแนบ 4 (การลงทุน)
1. กรอบ
- การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) — ฝ่ายหนึ่งจะรับพิจารณาเมื่ออีกฝ่ายขอรับ MFN หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาของฝ่ายไทย จะคำนึงถึงสถานะของนักลงทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนที่สำคัญที่สุดในแง่ปริมาณการลงทุนโดยตรงในประเทศไทย ซึ่งจะระบุไว้ในแถลงการณ์ทางการเมืองที่จะมีการลงนามเมื่อมีการลงนามความตกลง
- รูปแบบการเปิดเสรี — การเปิดเสรีภาคที่ไม่ใช่บริการ จะกระทำโดยใช้ positive list
- จะมีการเสนอต่อรัฐบาลไทยให้ยกเว้นนักลงทุนญี่ปุ่นจากการขอใบรับรองการให้ความคุ้มครอง (Certificate of Approval for Protection: C.A.P.)
- การกำหนดเงื่อนไขการลงทุน — จะมีข้อบทเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถผูกพันที่จะไม่ใช้เงื่อนไขการลงทุนได้
- การลงทุนในภาคบริการ — สำหรับกิจกรรมการลงทุนหลังการจัดตั้ง (post-establishment) บทบัญญัติเรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง การปฏิเสธสิทธิประโยชน์ การเข้าถึงศาลยุติธรรม การเวนคืนและการชดเชย การให้ความคุ้มครองกรณีจลาจล การโอนย้ายเงิน การสรวมสิทธิ การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน และการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน จะใช้กับการลงทุนในภาคบริการ
- การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน — ข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ยกเว้นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน และกิจกรรมการลงทุนก่อนการจัดตั้ง (pre-establishment) อาจเสนออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ ภายใต้เงื่อนไขที่จะตกลงกันต่อไป
- กลไกทบทวน — การทบทวนข้อผูกพันสำหรับสาขาที่ไม่อยู่ในภาคบริการ จะเริ่มภายใน 5 ปีหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ
- แนวทางสำหรับความโปร่งใสและการรักษาสิทธิการลงทุนที่มีอยู่แต่เดิม — ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันก่อนการมีผลใช้บังคับของความตกลง
- การเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน — อาจทำได้ตามข้อบทเรื่องการแก้ไขความตกลงของJTEPA โดยเป็นไปตามหลักการที่ให้รักษาระดับสิทธิประโยชน์ของกันและกันไว้
- จะมีการเสนอให้รัฐบาลไทยมีแถลงการณ์ทางการเมืองซึ่งลงนามในโอกาสการลงนามความตกลง JTEPA ว่ารัฐบาลไทยไม่มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการลงทุนในปัจจุบันให้เข้มงวดกับ ผู้ลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมากขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในสาขาการผลิตที่ไม่อยู่ภายใต้บัญชี 1, 2 และ 3 ของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
2. ข้อผูกพันการเปิดเสรี
ข้อเสนอของญี่ปุ่น
จะครอบคลุมทุกสาขาที่ไม่ใช่บริการ โดยมีข้อยกเว้นในบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมอากาศยานและ ยานอวกาศ อาวุธและวัตถุระเบิด พลังงาน น้ำมัน เกษตร ป่าไม้ ประมง และเหมืองแร่
ข้อเสนอของไทย
อนุญาตให้ผู้ลงทุนญี่ปุ่นถือหุ้นในกิจการผลิตรถยนต์ ได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้
เอกสารแนบ 5 (ความร่วมมือ)
สาขาความร่วมมือมี ดังนี้
(ก) การเกษตร ป่าไม้ และประมง
(ข) การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(ค) การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน
(ง) การบริการการเงิน
(จ) เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
(ฉ) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
(ช) วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
(ซ) การท่องเที่ยว
(ฌ) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
ความร่วมมือในระยะต้นจะเน้นโครงการเพื่อศักราชใหม่ของหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่นสำหรับประชาชนของทั้งสองประเทศ เพื่อสืบสานและมองไปให้ไกลกว่าความตกลง JTEPA และร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิด ทักษะและความรู้ความชำนาญสำหรับสร้างเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง สร้างคุณค่า และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
(ก) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนสำหรับโครงการ “ครัวไทยสู่โลก”
สถาบันอาหารของไทยจะสร้างหุ้นส่วนกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการตลาดของอาหารไทยและการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวกับอาหารไทยในญี่ปุ่น
(ข) “โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็ก” ไทย- ญี่ปุ่น
รัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยร่วมกับอุตสาหกรรมเหล็กของทั้งสองฝ่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะร่วมมือกันเสริมสร้างรากฐานเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมเหล็กไทย เสริมสร้างเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กไทย พัฒนาทักษะฝีมือของผู้เชี่ยวชาญในโรงงานเหล็กไทย และสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของวิศวกรเหล็กไทย
(ค) โครงการ “สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์”
รัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยร่วมกับสถาบันยานยนต์ของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะร่วมมือกันในโครงการนี้ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ระดับโลกที่ยั่งยืน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ชำนาญการโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในตลาดโลก
(ง) การอนุรักษ์พลังงาน
บริษัทภาคการผลิตในไทยที่เกี่ยวเนื่องกับญี่ปุ่นจะจัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานโดยสมัครใจและ จะเผยแพร่ความรู้ความสามารถให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับตนในไทย นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีมาตรการร่วมกับกระทรวงพลังงานของไทยในการปรับปรุงความรู้ความชำนาญของผู้ผลิตไทย ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
(จ) เศรษฐกิจที่สร้างมูลค่า
รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะดำเนินรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะเสริมสร้างคุณค่าของเศรษฐกิจของ ทั้งสองประเทศท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลก โดยการประสานงานระหว่างสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ของไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และสานต่อความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบของไทย
(ฉ) หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน
รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อสร้างหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชนในด้านการบริการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน โดยการปรึกษาหารือทวิภาคีที่มีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย
เอกสารแนบ 6 (การเคลื่อนที่ของบุคคล)
ข้อเสนอของญี่ปุ่น
ครอบคลุมสาขาหรือเรื่องต่างๆ รวมถึง
? การลดหย่อนข้อกำหนดในการอนุญาตให้เข้าเมืองและพำนักในประเทศเป็นการชั่วคราวสำหรับพ่อครัวแม่ครัวไทย
- ภายใต้เงื่อนไขบางประการ เช่น ต้องมีประสบการณ์ทำงานในอาชีพพ่อครัวแม่ครัวไทยอย่างน้อย 5 ปี และได้รับใบรับรองฝีมือแรงงานของรัฐบาลไทย (ระยะเวลาที่ใช้เรียนในสถานศึกษาเพื่อให้ ได้ใบรับรองดังกล่าวจะนับรวมให้เป็นประสบการณ์ทำงานด้วย)
? การอนุญาตให้ครูสอนนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทย การประกอบอาหารไทย มวยไทยและภาษาไทยเข้าเมืองและพำนักในประเทศเป็นการชั่วคราว
- โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับสถานะ “ครู” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายและ ข้อบังคับการเข้าเมืองของญี่ปุ่น
? การให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องวุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับการอนุญาตให้เข้าเมืองและพำนักในสถานะต่างๆ ภายใต้กฎหมายเข้าเมืองของญี่ปุ่น
- วุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจากประเทศไทยอาจได้รับพิจารณาให้เท่าเทียมกับวุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการประเมินโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบของญี่ปุ่น โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของญี่ปุ่น
? คนดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย
- จะหารือกันต่อเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะรับคนดูแลผู้สูงอายุจากไทยให้เข้าไปทำงาน โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 1 ปีหากเป็นไปได้ แต่จะไม่ช้ากว่า 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
? บริการสปา
(1) จะพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะรับผู้จัดการสปาและครูสอนบริการสปาให้เข้าไปทำงาน โดยมีเงื่อนไขว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับสถานะ “ผู้จัดการ” หรือ “ครู” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับการเข้าเมืองของญี่ปุ่น และลูกจ้าง / นักเรียน ของบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติที่กำหนด
(2) ผู้ให้บริการสปา
จะหารือกันต่อเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะรับผู้ให้บริการสปาจากไทยให้เข้าไปทำงาน โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
ข้อเสนอของไทย
ครอบคลุมเรื่องต่างๆ รวมถึง
? การอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานสำหรับนักธุรกิจระยะสั้นชาวญี่ปุ่น
- เมื่อร้องขอ ออกใบอนุญาตทำงานให้ เบื้องต้นเป็นเวลา 90 วัน และต่ออายุได้ถึง 1 ปีจากวันที่เดินทางเข้าประเทศ
? จะมีการเสนอต่อรัฐบาลไทยให้ลดข้อกำหนดสำหรับการออกและต่ออายุใบอนุญาตให้พำนักใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งระบุให้ต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 60,000 บาท ให้เหลือ 50,000 บาท
? เงื่อนไขการออกและต่ออายุใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ
- จะหารือกันต่อ โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
(ยังมีต่อ)
เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 นายจุนอิชิโร โคอิซึมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้พบหารือกันที่กรุงโตเกียว เพื่อร่วมกันประกาศว่า ไทยและญี่ปุ่นได้บรรลุความตกลงในหลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญของความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ Japan-Thailand Economic Partnership Agreement (JTEPA) หลังจากที่มีการเจรจากันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2547 และมีการเจรจาระดับรัฐมนตรีที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 31 กรกฎาคมและ 1 สิงหาคม 2548
ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีชีวิตชีวาและใกล้ชิดกันมานาน การค้าระหว่างสองประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่าสามหมื่นห้าพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2547 นอกจากนี้ เมื่อปี 2547 ไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งในเชิงปริมาณของการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ญี่ปุ่นก็เป็นผู้ลงทุนสำคัญอันดับหนึ่งในไทยเมื่อดูจากปริมาณ การลงทุนต่างชาติโดยตรงในปีเดียวกัน ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นหรือ JTEPA จึงจะช่วยขยายและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย- ญี่ปุ่น ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน และขยายช่องทางธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ โดยผ่านความร่วมมือ การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ดังนั้น JTEPA จะนำไปสู่ศักราชใหม่ของหุ้นส่วน ยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นและจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับประชาคมเอเชียตะวันออก
JTEPA จะครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วน รวมถึงการเสริมสร้างบรรยากาศใน การประกอบธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนความร่วมมือทวิภาคีด้านการเกษตร ป่าไม้และประมง ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านการท่องเที่ยว ด้านบริการทางการเงิน ด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านเศรษฐกิจที่สร้าง มูลค่า และด้านหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน
ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน จะรวมถึงโครงการในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า การสนับสนุนนโยบาย ”ดีทรอยท์แห่งเอเชีย” ของไทยผ่านโครงการความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์ และการสนับสนุนโครงการ ”ครัวไทยสู่โลก” ของไทย
นายกรัฐมนตรีทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายเร่งสรุปงานด้านเทคนิคที่ยังเหลือ โดยเฉพาะในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) และเร่งยกร่างตัวบทความตกลงให้เสร็จสิ้น เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และบรรลุเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวกการเข้าสู่ตลาด นายกรัฐมนตรีทั้งสองคาดว่าจะสามารถลงนามความตกลง JTEPA ได้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 และสั่งการให้เจ้าหน้าที่พยายามอย่างเต็มที่ที่จะดำเนินขั้นตอนภายในประเทศให้เสร็จสิ้นเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้โดยพลันหลังจากนั้น
องค์ประกอบหลัก ๆ ของความตกลงในหลักการของ JTEPA มีดังนี้
1. สินค้าอุตสาหกรรม
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกหรือลดภาษีของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ข้อผูกพันที่สำคัญๆ ของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 1 สำหรับเรื่องเหล็กและยานยนต์นั้น ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยด้วย
2. สินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกหรือลดภาษีของผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้และประมงอย่างกว้างขวาง และจะร่วมมือกันในสาขาเกษตร ป่าไม้และประมง กล่าวคือ ในเรื่องความปลอดภัยอาหาร และการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นด้วย ข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายในภาคเกษตร ป่าไม้และประมงปรากฏในเอกสารแนบ 2
3. พิธีการทางศุลกากร
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกัน โดยการปรับปรุงระเบียบพิธีการทางศุลกากรให้ง่ายและสอดคล้องกันมากขึ้น รวมทั้งจะดำเนินการให้มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การค้าไร้กระดาษ
ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อให้มีและส่งเสริมการค้าไร้กระดาษ และจะสนับสนุนความร่วมมือในด้านนี้ระหว่างเอกชนของทั้งสองประเทศด้วย
5. การค้าบริการ
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบสำหรับการเปิดเสรีการค้าบริการ และมีข้อเสนอการเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างกัน กรอบและข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 3
6. การลงทุน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบสำหรับการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่มิใช่บริการ และการคุ้มครองการลงทุน กรอบและข้อผูกพันที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายปรากฏในเอกสารแนบ 4
7. ความร่วมมือ
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือภายใต้ JTEPA ปรากฏในเอกสารแนบ 5
8. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและจัดตั้งกลไกเพื่อหารือประเด็นและแนวทางกระชับความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
9. การแข่งขัน
ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและเสรี โดยขจัดพฤติกรรมที่ต่อต้านการแข่งขันในประเทศของตน และร่วมมือกันในสาขาการแข่งขัน ทั้งนี้ โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละฝ่าย
10. ทรัพย์สินทางปัญญา
ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการเพื่อให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพียงพอและมีประสิทธิผล จัดหามาตรการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิ การปลอมและการลอกเลียนแบบ รวมทั้งส่งเสริมประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการบริหารระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในการที่จะได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และจะมีการจัดตั้งกลไกขึ้นเพื่อปรึกษาหารือกันต่อไปด้วย
11. การรับรองมาตรฐานร่วมกัน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันกรอบของการรับรองมาตรฐานร่วมกันสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและจะเจรจาต่อไปเรื่องข้อบทสำหรับกรอบความตกลงที่ได้ยืนยันแล้ว
12. การส่งเสริมบรรยากาศทางธุรกิจ
ทั้งสองฝ่ายจะสร้างบรรยากาศทางธุรกิจภายในประเทศให้เอื้อประโยชน์แก่กิจกรรมทางธุรกิจของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยอาศัยกลไกความร่วมมือ ได้แก่ คณะอนุกรรมการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ที่จะจัดตั้งขึ้นในแต่ละประเทศ และประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ ตัวแทนจากภาคเอกชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
13. การเคลื่อนที่ของบุคคล
ข้อผูกพันที่สำคัญในเรื่องการเคลื่อนที่ของบุคคลธรรมดามีปรากฏในเอกสารแนบ 6
เอกสารแนบ 1 (สินค้าอุตสาหกรรม)
1. ทั่วไป
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมดภายใน 10 ปี หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
2. เฉพาะเรื่อง
(ก) การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของไทย รวมถึง
(1) ยานยนต์
- รถยนต์นั่ง เครื่องยนต์สูงกว่า 3,000 ซีซี.: ไทยจะลดภาษีนำเข้า อย่างเป็นขั้นที่เท่ากันทุกปี จากร้อยละ 80 จนเหลือร้อยละ 60 ในปี 2552 แล้วจะคงไว้ที่ร้อยละ 60
- รถยนต์นั่ง เครื่องยนต์ 3,000 ซีซี หรือต่ำกว่า: ทั้งสองฝ่ายจะเจรจากันใหม่ในเรื่องนี้ โดยจะตกลงเรื่องวันที่ของการเริ่มเจรจาใหม่ ก่อนการลงนามความตกลง
- จะมีการออกแถลงการณ์ทางการเมืองเรื่องยานยนต์ เมื่อลงนามความตกลง JTEPA
(2) ชิ้นส่วนยานยนต์
ในกรณีที่ AFTA มีผลบังคับใช้ในปี 2553 ไทยจะจัดระบบการลดภาษีชิ้นส่วนยานยนต์ (เฉพาะที่เป็น “OEM”) สำหรับญี่ปุ่น ดังนี้
- รายการที่อัตราภาษีนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 20: ไทยจะลดภาษีเหลือร้อยละ 20 ในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ แล้วคงไว้ที่ร้อยละ 20 และจะยกเลิกภาษีในปี 2554
- รายการที่อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า: ไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราเดิมและจะยกเลิกภาษีในปี 2554
- รายการสินค้าอ่อนไหว (5 รายการ): ไทยจะคงภาษีไว้ที่อัตราเดิม และยกเลิกภาษีในปี 2556
(3) เหล็กและเหล็กกล้า
- รายการเหล็กกล้าบางรายการ: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- รายการที่เหลือ: ยกเลิกภาษีอย่างช้าที่สุด คือ วันแรกของปีที่ 11 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
- รายการเหล็กแผ่นและเหล็กม้วนรีดร้อนเฉพาะบางรายการ: ไทยจะกำหนดโควตาปลอดภาษี โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันทบทวนปริมาณโควตาทุกปี
(ข) การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของญี่ปุ่น รวมถึง
(1) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีสำหรับรายการเกือบทั้งหมดแก่กันและกันทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
(2) อัญมณีและเครื่องประดับ
ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (5 รายการ)
(3) ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีสำหรับรายการเกือบทั้งหมดทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนรายการที่เหลือ จะยกเลิกภาษีใน 5 ปีหลังความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยลดเป็นขั้นที่เท่ากันทุกปี
เอกสารแนบ 2 (รายการสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง)
1. ทั่วไป
ทั้งสองฝ่ายจะยกเลิกภาษีนำเข้าของรายการสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงส่วนใหญ่ภายใน 10 ปี หลังความตกลงมีผลบังคับใช้
2. การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของญี่ปุ่น รวมถึง
(ก) สินค้าเกษตร
- มะม่วง มังคุด ทุเรียน มะละกอ เงาะ กระเจี๊ยบเขียว มะพร้าว: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- กล้วย: กำหนดโควตาปลอดภาษีให้กล้วยสด 4,000 ตันในปีที่ 1 แล้วเพิ่มเป็น 8,000 ตัน ในปีที่ 5
- สับปะรดสดขนาดเล็ก: กำหนดโควตาปลอดภาษี 100 ตัน ในปีที่ 1 แล้วเพิ่มเป็น 300 ตัน ในปีที่ 5
- ผักสดและผักแช่แข็ง: ยกเลิกภาษีภายใน 5-10 ปี
- ผลไม้รวม สลัดผลไม้ และค็อกเทลผลไม้ ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป: ยกเลิกภาษีทันที
- เนื้อไก่แปรรูปหรือผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร: ลดภาษีจากร้อยละ 6 เหลือร้อยละ 3 ใน 5 ปี
- เนื้อหมูและแฮม ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป: กำหนดโควตาภาษี 1,200 ตัน ตั้งแต่ปีแรก โดยอัตราภาษีในโควตาคือ อัตราที่ลดลงร้อยละ 20 จากอัตรา MFN ในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- น้ำมันรำข้าว: ลดภาษีลงร้อยละ 55.5 ของอัตรา MFN ใน 5 ปี
- อาหารสัตว์เลี้ยง: ยกเลิกภาษีใน 10 ปี
- กากน้ำตาล: กำหนดโควตาภาษี 4,000 ตัน ในปีที่ 3 หลังความตกลงมีผลบังคับใช้ แล้วเพิ่มเป็น 5,000 ตันในปีที่ 4 โดยอัตราภาษีในโควตา คือ อัตราที่ลดลงร้อยละ 50 ของอัตราภาษีนอกโควตา
- แป้งมันสำปะหลังแปรรูป (esterified starch): กำหนดโควตาปลอดภาษี 200,000 ตัน ตั้งแต่ปีแรกที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
(ข) สินค้าประมง
- กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูปหรือต้ม: ยกเลิกภาษีใน วันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- เนื้อปลาฟิลเลต์และแมงกะพรุน ปลาหมึกกล้วยสดและแช่แข็ง: ยกเลิกภาษีใน 5 ปี
- ปลาทูน่า สคิปแจ็ค ปลาโบนิโตอื่น ๆ และปูที่ผ่านกรรมาวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป : ลดภาษีภายใน 5 ปี
(ค) สินค้าป่าไม้
- สินค้าป่าไม้ ยกเว้นไม้อัด แผ่นชิ้นไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ด: ยกเลิกภาษีทันที
- แผ่นชิ้นไม้อัดและไฟเบอร์บอร์ด: ยกเลิกภาษีใน 10 ปี
(ง) สินค้าที่ไม่อยู่ในความตกลง หรือที่จะเจรจากันใหม่ รวมถึง
- ข้าว ข้าวสาลี เนื้อวัวและหมูสด แช่แข็ง และแช่เย็น น้ำตาลทรายดิบที่ผลิตจากอ้อย
หรือหัวบีท น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง ไม้อัด ผลิตภัณฑ์ปลาในโควตานำเข้า ปลาทูนาและสคิปแจ๊ค รายการเนื้อวัวหรือหมูที่ผ่านการแปรรูปส่วนใหญ่ และผลิตภัณฑ์นมที่กำหนด
3. การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดของไทย รวมถึง
- แอปเปิ้ล แพร์ และพีช: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- ปลาที่ไทยนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลา
- ปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาทูน่าสคิปแจ๊ค ปลาซาร์ดีน : ยกเลิกภาษีภายใน 5 ปี
- ปลาแฮร์ริ่ง ปลาคอด: ยกเลิกภาษีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
- สินค้าที่ไม่อยู่ในความตกลง หรือที่จะเจรจากันใหม่ รวมถึง ปลาแม็คเคอเรล ยาสูบ ไหมดิบ ไข่นก ไข่ผง และรายการปลาที่กำหนด
4. ความร่วมมือด้านเกษตร
ไทยและญี่ปุ่นจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษว่าด้วยความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกความร่วมมือด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการหารือบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เพื่อระบุและพิจารณาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เพื่อหาข้อยุติที่รับได้ร่วมกัน และเสริมสร้างการควบคุม คุณภาพ การตรวจสอบ ระบบการรับรอง และการวิเคราะห์ความเสี่ยง
ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่น เพื่อระบุสาขาและรูปแบบความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ และเพื่อปฏิบัติกิจกรรมความร่วมมือ เช่น การส่งเสริมการตลาดและการจัดซื้อ รวมถึงการพัฒนาโครงการ OTOP
เอกสารแนบ 3 (การค้าบริการ)
1. กรอบ
- ความโปร่งใส — จะให้รายชื่อกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลแก่สาธารณชน
- ตารางข้อผูกพัน — จะระบุทุกสาขาและสาขาย่อยที่มีอยู่ในเอกสาร W/120 ของ WTO ไว้ในตาราง ข้อผูกพัน
- วิธีการผูกพัน — จะมีพันธกรณี เช่น การเปิดตลาด การให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ และข้อผูกพันเพิ่มเติม เฉพาะในสาขาและสาขาย่อยที่ระบุให้มีข้อผูกพัน และมีข้อผูกพันเท่าที่ระบุ
- ขอบเขตและข่ายครอบคลุมของบทว่าด้วยการค้าบริการ — จะเหมือนกับในความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) โดยจะครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกหมวดของการให้บริการ รวมถึงหมวด 3
- การผูกพันแบบไม่ถอยกลับ — เป็นการระบุมาตรการทั้งหมดที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีการเปิดตลาดและการประติบัติเยี่ยงคนชาติ ในสาขา/สาขาย่อย ต่างๆ โดยให้ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
- การเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน — อาจทำได้ตามข้อบทเรื่องการแก้ไขความตกลงJTEPA และบนพื้นฐานของข้อ 21 ของ GATS ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันเดียวกันกับที่มีอยู่ใน GATS ด้วย จะไม่มีการชดเชย ”ซ้ำสอง”
- มาตรการปกป้องฉุกเฉิน — จะมีการหารือกัน เพื่อให้เริ่มการเจรจา ภายใน 6 เดือนหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ
- การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) — ฝ่ายหนึ่งจะรับพิจารณาเมื่ออีกฝ่ายขอรับ MFN หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาของฝ่ายไทย จะคำนึงถึงสถานะของนักลงทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนที่สำคัญที่สุดในแง่ปริมาณการลงทุนโดยตรงในประเทศไทย ซึ่งจะระบุไว้ในแถลงการณ์ทางการเมืองที่จะมีการลงนามเมื่อมีการลงนามความตกลง
- กลไกทบทวน — การทบทวนข้อผูกพันสำหรับทุกสาขาบริการจะเริ่มภายใน 5 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ โดยจะมีการทบทวนต่างหากสำหรับบริการซ่อมบำรุง บริการค้าส่งและค้าปลีก และบริการเช่า ซึ่งจะเริ่มภายใน 3 ปีหลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับ
2. ข้อผูกพันการเปิดเสรี
ขอบข่ายครอบคลุมของการผูกพันแบบไม่ถอยกลับ
ญี่ปุ่นจะผูกพันแบบไม่ถอยกลับใน 138 สาขาย่อย
ข้อผูกพันรายสาขาของญี่ปุ่น
จะครอบคลุมอย่างครบถ้วน โดยรวมข้อผูกพันที่มีภายใต้ GATS ไว้ด้วย ในสาขาดังต่อไปนี้
- บริการทางธุรกิจและวิชาชีพ
- บริการสื่อสาร
- บริการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
- บริการจัดจำหน่าย
- บริการการศึกษา
- บริการด้านสิ่งแวดล้อม
- บริการด้านการเงิน
- บริการด้านสุขภาพและสังคม
- บริการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
- บริการด้านสันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา
- บริการด้านการขนส่ง
ข้อผูกพันรายสาขาของไทย
นอกเหนือไปจากข้อผูกพันที่มีภายใต้ GATS จะครอบคลุมสาขาย่อยดังต่อไปนี้
- บริการโฆษณา
- บริการที่ปรึกษาด้านลอจิสติกส์
- บริการคอมพิวเตอร์และบริการที่เกี่ยวข้อง
- บริการซ่อมบำรุง (เฉพาะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน)
- บริการค้าส่งและค้าปลีก (บางผลิตภัณฑ์เท่านั้น)
- บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการ (การจัดการทั่วไป การจัดการด้านตลาด การจัดการทรัพยากรบุคคล การจัดการด้านการผลิต)
เอกสารแนบ 4 (การลงทุน)
1. กรอบ
- การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) — ฝ่ายหนึ่งจะรับพิจารณาเมื่ออีกฝ่ายขอรับ MFN หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแล้ว ทั้งนี้ สำหรับการพิจารณาของฝ่ายไทย จะคำนึงถึงสถานะของนักลงทุนญี่ปุ่นซึ่งเป็นนักลงทุนที่สำคัญที่สุดในแง่ปริมาณการลงทุนโดยตรงในประเทศไทย ซึ่งจะระบุไว้ในแถลงการณ์ทางการเมืองที่จะมีการลงนามเมื่อมีการลงนามความตกลง
- รูปแบบการเปิดเสรี — การเปิดเสรีภาคที่ไม่ใช่บริการ จะกระทำโดยใช้ positive list
- จะมีการเสนอต่อรัฐบาลไทยให้ยกเว้นนักลงทุนญี่ปุ่นจากการขอใบรับรองการให้ความคุ้มครอง (Certificate of Approval for Protection: C.A.P.)
- การกำหนดเงื่อนไขการลงทุน — จะมีข้อบทเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถผูกพันที่จะไม่ใช้เงื่อนไขการลงทุนได้
- การลงทุนในภาคบริการ — สำหรับกิจกรรมการลงทุนหลังการจัดตั้ง (post-establishment) บทบัญญัติเรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง การปฏิเสธสิทธิประโยชน์ การเข้าถึงศาลยุติธรรม การเวนคืนและการชดเชย การให้ความคุ้มครองกรณีจลาจล การโอนย้ายเงิน การสรวมสิทธิ การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน และการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน จะใช้กับการลงทุนในภาคบริการ
- การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน — ข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน ยกเว้นข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการลงทุน และกิจกรรมการลงทุนก่อนการจัดตั้ง (pre-establishment) อาจเสนออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศได้ ภายใต้เงื่อนไขที่จะตกลงกันต่อไป
- กลไกทบทวน — การทบทวนข้อผูกพันสำหรับสาขาที่ไม่อยู่ในภาคบริการ จะเริ่มภายใน 5 ปีหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ
- แนวทางสำหรับความโปร่งใสและการรักษาสิทธิการลงทุนที่มีอยู่แต่เดิม — ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันก่อนการมีผลใช้บังคับของความตกลง
- การเปลี่ยนแปลงข้อผูกพัน — อาจทำได้ตามข้อบทเรื่องการแก้ไขความตกลงของJTEPA โดยเป็นไปตามหลักการที่ให้รักษาระดับสิทธิประโยชน์ของกันและกันไว้
- จะมีการเสนอให้รัฐบาลไทยมีแถลงการณ์ทางการเมืองซึ่งลงนามในโอกาสการลงนามความตกลง JTEPA ว่ารัฐบาลไทยไม่มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการลงทุนในปัจจุบันให้เข้มงวดกับ ผู้ลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยมากขึ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนในสาขาการผลิตที่ไม่อยู่ภายใต้บัญชี 1, 2 และ 3 ของ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
2. ข้อผูกพันการเปิดเสรี
ข้อเสนอของญี่ปุ่น
จะครอบคลุมทุกสาขาที่ไม่ใช่บริการ โดยมีข้อยกเว้นในบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมอากาศยานและ ยานอวกาศ อาวุธและวัตถุระเบิด พลังงาน น้ำมัน เกษตร ป่าไม้ ประมง และเหมืองแร่
ข้อเสนอของไทย
อนุญาตให้ผู้ลงทุนญี่ปุ่นถือหุ้นในกิจการผลิตรถยนต์ ได้ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้
เอกสารแนบ 5 (ความร่วมมือ)
สาขาความร่วมมือมี ดังนี้
(ก) การเกษตร ป่าไม้ และประมง
(ข) การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(ค) การส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน
(ง) การบริการการเงิน
(จ) เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
(ฉ) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
(ช) วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
(ซ) การท่องเที่ยว
(ฌ) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
ความร่วมมือในระยะต้นจะเน้นโครงการเพื่อศักราชใหม่ของหุ้นส่วนไทย-ญี่ปุ่นสำหรับประชาชนของทั้งสองประเทศ เพื่อสืบสานและมองไปให้ไกลกว่าความตกลง JTEPA และร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิด ทักษะและความรู้ความชำนาญสำหรับสร้างเศรษฐกิจที่มั่งคั่ง สร้างคุณค่า และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
(ก) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนสำหรับโครงการ “ครัวไทยสู่โลก”
สถาบันอาหารของไทยจะสร้างหุ้นส่วนกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการตลาดของอาหารไทยและการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวกับอาหารไทยในญี่ปุ่น
(ข) “โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็ก” ไทย- ญี่ปุ่น
รัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยร่วมกับอุตสาหกรรมเหล็กของทั้งสองฝ่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะร่วมมือกันเสริมสร้างรากฐานเทคโนโลยีให้อุตสาหกรรมเหล็กไทย เสริมสร้างเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กไทย พัฒนาทักษะฝีมือของผู้เชี่ยวชาญในโรงงานเหล็กไทย และสนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญของวิศวกรเหล็กไทย
(ค) โครงการ “สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์”
รัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยร่วมกับสถาบันยานยนต์ของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะร่วมมือกันในโครงการนี้ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ระดับโลกที่ยั่งยืน แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่ชำนาญการโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในตลาดโลก
(ง) การอนุรักษ์พลังงาน
บริษัทภาคการผลิตในไทยที่เกี่ยวเนื่องกับญี่ปุ่นจะจัดทำแผนการอนุรักษ์พลังงานโดยสมัครใจและ จะเผยแพร่ความรู้ความสามารถให้แก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับตนในไทย นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และจะมีมาตรการร่วมกับกระทรวงพลังงานของไทยในการปรับปรุงความรู้ความชำนาญของผู้ผลิตไทย ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วย
(จ) เศรษฐกิจที่สร้างมูลค่า
รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะดำเนินรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะเสริมสร้างคุณค่าของเศรษฐกิจของ ทั้งสองประเทศท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลก โดยการประสานงานระหว่างสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ของไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และสานต่อความสำเร็จของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบของไทย
(ฉ) หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน
รัฐบาลของทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อสร้างหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชนในด้านการบริการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน โดยการปรึกษาหารือทวิภาคีที่มีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย
เอกสารแนบ 6 (การเคลื่อนที่ของบุคคล)
ข้อเสนอของญี่ปุ่น
ครอบคลุมสาขาหรือเรื่องต่างๆ รวมถึง
? การลดหย่อนข้อกำหนดในการอนุญาตให้เข้าเมืองและพำนักในประเทศเป็นการชั่วคราวสำหรับพ่อครัวแม่ครัวไทย
- ภายใต้เงื่อนไขบางประการ เช่น ต้องมีประสบการณ์ทำงานในอาชีพพ่อครัวแม่ครัวไทยอย่างน้อย 5 ปี และได้รับใบรับรองฝีมือแรงงานของรัฐบาลไทย (ระยะเวลาที่ใช้เรียนในสถานศึกษาเพื่อให้ ได้ใบรับรองดังกล่าวจะนับรวมให้เป็นประสบการณ์ทำงานด้วย)
? การอนุญาตให้ครูสอนนาฏศิลป์ไทย ดนตรีไทย การประกอบอาหารไทย มวยไทยและภาษาไทยเข้าเมืองและพำนักในประเทศเป็นการชั่วคราว
- โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับสถานะ “ครู” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายและ ข้อบังคับการเข้าเมืองของญี่ปุ่น
? การให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องวุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับการอนุญาตให้เข้าเมืองและพำนักในสถานะต่างๆ ภายใต้กฎหมายเข้าเมืองของญี่ปุ่น
- วุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจากประเทศไทยอาจได้รับพิจารณาให้เท่าเทียมกับวุฒิการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการประเมินโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบของญี่ปุ่น โดยเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของญี่ปุ่น
? คนดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย
- จะหารือกันต่อเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะรับคนดูแลผู้สูงอายุจากไทยให้เข้าไปทำงาน โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 1 ปีหากเป็นไปได้ แต่จะไม่ช้ากว่า 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
? บริการสปา
(1) จะพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะรับผู้จัดการสปาและครูสอนบริการสปาให้เข้าไปทำงาน โดยมีเงื่อนไขว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับสถานะ “ผู้จัดการ” หรือ “ครู” ที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับการเข้าเมืองของญี่ปุ่น และลูกจ้าง / นักเรียน ของบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติที่กำหนด
(2) ผู้ให้บริการสปา
จะหารือกันต่อเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะรับผู้ให้บริการสปาจากไทยให้เข้าไปทำงาน โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
ข้อเสนอของไทย
ครอบคลุมเรื่องต่างๆ รวมถึง
? การอนุญาตให้พำนักในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานสำหรับนักธุรกิจระยะสั้นชาวญี่ปุ่น
- เมื่อร้องขอ ออกใบอนุญาตทำงานให้ เบื้องต้นเป็นเวลา 90 วัน และต่ออายุได้ถึง 1 ปีจากวันที่เดินทางเข้าประเทศ
? จะมีการเสนอต่อรัฐบาลไทยให้ลดข้อกำหนดสำหรับการออกและต่ออายุใบอนุญาตให้พำนักใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งระบุให้ต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 60,000 บาท ให้เหลือ 50,000 บาท
? เงื่อนไขการออกและต่ออายุใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ
- จะหารือกันต่อ โดยให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้
(ยังมีต่อ)