ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒
วันจันทร์ที่ ๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลังเป็นกระทรวงแรกในส่วนของสำนักปลัด
กระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมธนารักษ์ และกรมบัญชีกลาง ซึ่งสรุปสาระสำคัญ
ได้ดังนี้
กระทรวงการคลัง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๑๔,๖๐๕,๓๓๔,๐๐๐ บาท
ปลัดกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงภาพรวมของกระทรวงการคลังว่าเป็นองค์กรหลัก
ที่ทำหน้าที่ในการกำหนด และดำเนินนโยบายการคลัง และกำกับดูแลนโยบายการเงินเพื่อให้ภาครัฐ
มีความมั่นคงทางการเงินการคลัง อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เจริญเติบโตอย่าง
มีเสถียรภาพและยั่งยืน เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ
กระทรวงการคลังมีภารกิจยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล และ
มีภาระหน้าที่สำคัญ ได้แก่
๑. การบริหารจัดการนโยบายการคลัง
๒. การบริหารการใช้จ่ายภาครัฐ
๓. การบริหารภาษีให้มีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. การบริหารหนี้สาธารณะ
๕. การปฏิรูปเศรษฐกิจการเงินการคลัง
และขณะนี้กระทรวงการคลังได้ร่างแผนบริหารรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการ
แปรรูปรัฐวิสาหกิจนำองค์กรรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ในเร็ววันนี้
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๐๖,๔๙๒,๐๘๙,๕๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๖,๖๒๕,๐๙๙,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การจัดเก็บรายได้จะสามารถจัดเก็บได้ตามกำหนดหรือไม่หากจัดเก็บไม่ได้ตามที่
กำหนดไว้ มีมาตรการแก้ไขอย่างไร
ปลัดกระทรวงการคลัง ได้กล่าวชี้แจงว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ คาดว่าเศรษฐกิจ
จะมีการขยายตัว ๕% และอัตราเงินเฟ้อ ๒.๘% ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น การส่งออกเพิ่มขึ้น อีกทั้ง
การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลได้แก่ นโยบายการพักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (TAMC) เป็นการช่วยส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น คาดว่า
การจัดเก็บรายได้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และหากไม่เพียงพอกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพิ่ม
ได้อีก ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังสามารถกู้เงินเพิ่มได้อีกหากเศรษฐกิจ
มีความผันผวนมากผิดปกติ ซึ่งการกู้นั้นเป็นลักษณะการกู้ภายในประเทศ โดยออกพันธบัตรหรือตั๋วเงินคลัง
๒. กรรมาธิการตั้งข้อซักถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ว่ามีการประเมิน
อย่างไร
ปลัดกระทรวง ชี้แจงว่าประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้มีการคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัว
๗๖ สตางค์ต่อรายได้ ๑๐๐ บาท และเจ้าหน้าที่ ๑ คน สามารถจัดเก็บรายได้ ๒๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งมีแนวโน้มจะดีขึ้นในอนาคต แต่อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ยังมีไม่เพียงพอ
๓. กรรมาธิการสอบถามถึงความก้าวหน้าของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปลัดกระทรวง
ชี้แจงว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความล่าช้าเล็กน้อย ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการ องค์กรที่พร้อมจะเข้า
ตลาดหลักทรัพย์มี ๔ องค์กร ได้แก่ อินเตอร์เนตประเทศไทย การบินไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
และธนาคารกรุงไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๕๓,๗๖๓,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลง จากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๔๒,๑๐๔,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการพิจารณา ผลการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ มีดังนี้
๑. เรื่องนโยบายการจัดเก็บภาษีมรดก สำนักงานเศรษฐกิจการคลังอยู่ระหว่างการศึกษา
โดยดูข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้ภาษีมรดกมาก่อน จากผลการศึกษามีบางประเทศยังคงใช้อยู่
แต่บางประเทศได้เลิกใช้ภาษีมรดกแล้ว เช่น ประเทศออสเตรเลีย และมาเลเซีย ดังนั้น จึงต้องศึกษาผลดี
และผลเสียต่อไปว่าเพราะเหตุใดจึงยกเลิกและสมควรจะนำมาใช้จัดเก็บในประเทศไทยหรือไม่ ต่อไป
๒. ภาษีทรัพย์สิน อยู่ในระหว่างการศึกษาดำเนินการ เพื่อนำมาใช้แทนการเก็บภาษี
โรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่
๓. เรื่องการกระจายอำนาจทางการคลัง ซึ่งเดิมมีการกระจายโดยท้องถิ่นจะไม่สูญเสีย
รายได้จากปีก่อน ๆ เดิมได้รับรายได้เท่าใด ปีต่อไปจะได้รับไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งกรรมาธิการเห็นว่า
ไม่เหมาะสม ควรจะกระจายโดยดูว่าท้องถิ่นใดเก็บภาษีได้มากควรจะได้รับงบประมาณมากด้วย
๔. เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างและประสิทธิภาพขององค์การ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ควรมีการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคาร
แห่งประเทศไทย เพื่อให้การทำงานไม่มีความซ้ำซ้อน มีการนำระบบบริหารสมัยใหม่มาใช้ ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อช่วยด้านฐานข้อมูลของเศรษฐกิจ และได้มีนโยบายสร้างสถาบันการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจ
การคลังแยกจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
๕. เรื่องการจัดตั้งสถาบันการเงินตามศาสนาอิสลาม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตั้งอนุกรรมการ
เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในประเทศที่มีผู้นับถืออิสลามใกล้เคียงกับประเทศไทย
กรมธนารักษ์
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๗๐,๖๒๒,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ได้เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี ๒๕๔๔ เป็นจำนวนเงิน
๑๐๒,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็น ดังนี้
คณะกรรมาธิการได้ให้ความสนใจการดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์
อย่างเต็มที่คณะกรรมาธิการจึงให้ข้อเสนอแนะ ให้นำพื้นที่ดังกล่าวคืนแก่รัฐเพื่อให้หน่วยราชการอื่น
หรือเอกชนเช่า จะได้เป็นการเพิ่มรายได้ ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย แต่กรมธนารักษ์
ได้ชี้แจงว่าหากมีการคืนที่ดินกลับมาจะทำให้เกิดปัญหาในการดูแลซึ่งต้องจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นทำให้
สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และที่ดินส่วนนี้เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่
เนื่องจากไม่ได้แบ่งแนวเขตที่ชัดเจน กรมธนารักษ์ได้ชี้แจงว่า ได้เริ่มศึกษาโครงการการสร้างกำแพงเมือง
คูเมืองเป็นระยะเวลา ๓-๔ ปีแล้ว โดยจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการในเชิงวิชาการ
และตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งให้สามารถขีดเส้นกำแพงเมือง คูเมืองให้ชัดเจน โดยดำเนินการแล้ว
๑๑ เมือง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๙๐๐ เมือง จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศิลปากร กรม
ผังเมืองได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนเพื่อขีดเส้นแบ่งเขตชั่วคราว และจะได้ดำเนินการให้ชัดเจน
เป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการเพิ่มค่าเช่าเพื่อแก้ปัญหา
ในการครอบครองที่ดินเกินความจำเป็น และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
กรมบัญชีกลาง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๖๘๖,๕๖๖,๓๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี ๒๕๔๔ เป็นจำนวนเงิน
๕๖,๔๒๒,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณปี ๒๕๔๔
ซึ่งงบประมาณที่ตั้งไว้ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายตามที่ขอ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหางบประมาณเหลื่อมปีและ
ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
๒. ประเด็นสัญญาจ้างการประกวดราคาในโครงการต่าง ๆ ได้มีการฮั้วกันในบางโครงการ
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ทางคณะกรรมาธิการขอให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด
ในการประกวดราคาของสัญญาจ้างในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการบริหารงานงบประมาณแผ่นดินต่อไป ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ชี้แจงว่าขณะนี้
ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ
เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ป้องกันการฮั้ว
๓. การถ่ายโอนงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจาก
ไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนุญ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า การกระจายอำนาจค่อนข้างซ้ำซ้อนยากแก่
การปฏิบัติและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นขาดความพร้อมทางด้านบุคลากร
๔. การเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภคของส่วนราชการ และค่าตอบแทนของครูพี่เลี้ยงล่าช้า
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนราชการและครูพี่เลี้ยง
๕. กรณีการซื้อครุภัณฑ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ เป็นต้น ของส่วนราชการ
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่าการซื้อครุภัณฑ์เหล่านี้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ก่อให้เกิดปัญหา
อื่นตามมาภายหลัง เช่น จ้างบุคลากรเพิ่ม ค่าเสื่อมราคา และไม่ทันต่อวิทยาการและเทคโนโลยี
สมัยใหม่ จึงเห็นควรให้ใช้ระบบการเช่า
๖. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของแต่ละ
กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ขอให้สำนักงบประมาณมีการวางกรอบและหลักเกณฑ์ในการตั้งงบประมาณ
ให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒
วันจันทร์ที่ ๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลังเป็นกระทรวงแรกในส่วนของสำนักปลัด
กระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมธนารักษ์ และกรมบัญชีกลาง ซึ่งสรุปสาระสำคัญ
ได้ดังนี้
กระทรวงการคลัง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๑๔,๖๐๕,๓๓๔,๐๐๐ บาท
ปลัดกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงภาพรวมของกระทรวงการคลังว่าเป็นองค์กรหลัก
ที่ทำหน้าที่ในการกำหนด และดำเนินนโยบายการคลัง และกำกับดูแลนโยบายการเงินเพื่อให้ภาครัฐ
มีความมั่นคงทางการเงินการคลัง อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เจริญเติบโตอย่าง
มีเสถียรภาพและยั่งยืน เกิดความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมและสามารถแข่งขันในเวทีเศรษฐกิจ
ระหว่างประเทศ
กระทรวงการคลังมีภารกิจยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล และ
มีภาระหน้าที่สำคัญ ได้แก่
๑. การบริหารจัดการนโยบายการคลัง
๒. การบริหารการใช้จ่ายภาครัฐ
๓. การบริหารภาษีให้มีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ
๔. การบริหารหนี้สาธารณะ
๕. การปฏิรูปเศรษฐกิจการเงินการคลัง
และขณะนี้กระทรวงการคลังได้ร่างแผนบริหารรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการ
แปรรูปรัฐวิสาหกิจนำองค์กรรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ในเร็ววันนี้
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๐๖,๔๙๒,๐๘๙,๕๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๖,๖๒๕,๐๙๙,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การจัดเก็บรายได้จะสามารถจัดเก็บได้ตามกำหนดหรือไม่หากจัดเก็บไม่ได้ตามที่
กำหนดไว้ มีมาตรการแก้ไขอย่างไร
ปลัดกระทรวงการคลัง ได้กล่าวชี้แจงว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๔๕ คาดว่าเศรษฐกิจ
จะมีการขยายตัว ๕% และอัตราเงินเฟ้อ ๒.๘% ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น การส่งออกเพิ่มขึ้น อีกทั้ง
การดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลได้แก่ นโยบายการพักหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (TAMC) เป็นการช่วยส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น คาดว่า
การจัดเก็บรายได้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และหากไม่เพียงพอกระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพิ่ม
ได้อีก ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังสามารถกู้เงินเพิ่มได้อีกหากเศรษฐกิจ
มีความผันผวนมากผิดปกติ ซึ่งการกู้นั้นเป็นลักษณะการกู้ภายในประเทศ โดยออกพันธบัตรหรือตั๋วเงินคลัง
๒. กรรมาธิการตั้งข้อซักถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ว่ามีการประเมิน
อย่างไร
ปลัดกระทรวง ชี้แจงว่าประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้มีการคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัว
๗๖ สตางค์ต่อรายได้ ๑๐๐ บาท และเจ้าหน้าที่ ๑ คน สามารถจัดเก็บรายได้ ๒๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซึ่งมีแนวโน้มจะดีขึ้นในอนาคต แต่อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ยังมีไม่เพียงพอ
๓. กรรมาธิการสอบถามถึงความก้าวหน้าของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปลัดกระทรวง
ชี้แจงว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีความล่าช้าเล็กน้อย ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการ องค์กรที่พร้อมจะเข้า
ตลาดหลักทรัพย์มี ๔ องค์กร ได้แก่ อินเตอร์เนตประเทศไทย การบินไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
และธนาคารกรุงไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๕๓,๗๖๓,๖๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลง จากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๔๒,๑๐๔,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการพิจารณา ผลการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ มีดังนี้
๑. เรื่องนโยบายการจัดเก็บภาษีมรดก สำนักงานเศรษฐกิจการคลังอยู่ระหว่างการศึกษา
โดยดูข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้ภาษีมรดกมาก่อน จากผลการศึกษามีบางประเทศยังคงใช้อยู่
แต่บางประเทศได้เลิกใช้ภาษีมรดกแล้ว เช่น ประเทศออสเตรเลีย และมาเลเซีย ดังนั้น จึงต้องศึกษาผลดี
และผลเสียต่อไปว่าเพราะเหตุใดจึงยกเลิกและสมควรจะนำมาใช้จัดเก็บในประเทศไทยหรือไม่ ต่อไป
๒. ภาษีทรัพย์สิน อยู่ในระหว่างการศึกษาดำเนินการ เพื่อนำมาใช้แทนการเก็บภาษี
โรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่
๓. เรื่องการกระจายอำนาจทางการคลัง ซึ่งเดิมมีการกระจายโดยท้องถิ่นจะไม่สูญเสีย
รายได้จากปีก่อน ๆ เดิมได้รับรายได้เท่าใด ปีต่อไปจะได้รับไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งกรรมาธิการเห็นว่า
ไม่เหมาะสม ควรจะกระจายโดยดูว่าท้องถิ่นใดเก็บภาษีได้มากควรจะได้รับงบประมาณมากด้วย
๔. เรื่องการปรับปรุงโครงสร้างและประสิทธิภาพขององค์การ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ควรมีการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคาร
แห่งประเทศไทย เพื่อให้การทำงานไม่มีความซ้ำซ้อน มีการนำระบบบริหารสมัยใหม่มาใช้ ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อช่วยด้านฐานข้อมูลของเศรษฐกิจ และได้มีนโยบายสร้างสถาบันการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจ
การคลังแยกจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
๕. เรื่องการจัดตั้งสถาบันการเงินตามศาสนาอิสลาม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตั้งอนุกรรมการ
เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในประเทศที่มีผู้นับถืออิสลามใกล้เคียงกับประเทศไทย
กรมธนารักษ์
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๑๗๐,๖๒๒,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ได้เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี ๒๕๔๔ เป็นจำนวนเงิน
๑๐๒,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็น ดังนี้
คณะกรรมาธิการได้ให้ความสนใจการดำเนินการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์
อย่างเต็มที่คณะกรรมาธิการจึงให้ข้อเสนอแนะ ให้นำพื้นที่ดังกล่าวคืนแก่รัฐเพื่อให้หน่วยราชการอื่น
หรือเอกชนเช่า จะได้เป็นการเพิ่มรายได้ ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย แต่กรมธนารักษ์
ได้ชี้แจงว่าหากมีการคืนที่ดินกลับมาจะทำให้เกิดปัญหาในการดูแลซึ่งต้องจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นทำให้
สิ้นเปลืองงบประมาณและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และที่ดินส่วนนี้เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่
เนื่องจากไม่ได้แบ่งแนวเขตที่ชัดเจน กรมธนารักษ์ได้ชี้แจงว่า ได้เริ่มศึกษาโครงการการสร้างกำแพงเมือง
คูเมืองเป็นระยะเวลา ๓-๔ ปีแล้ว โดยจ้างให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการในเชิงวิชาการ
และตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งให้สามารถขีดเส้นกำแพงเมือง คูเมืองให้ชัดเจน โดยดำเนินการแล้ว
๑๑ เมือง ส่วนที่เหลืออีกประมาณ ๙๐๐ เมือง จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศิลปากร กรม
ผังเมืองได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนเพื่อขีดเส้นแบ่งเขตชั่วคราว และจะได้ดำเนินการให้ชัดเจน
เป็นรูปธรรมต่อไป
นอกจากนี้คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเห็นควรให้มีการเพิ่มค่าเช่าเพื่อแก้ปัญหา
ในการครอบครองที่ดินเกินความจำเป็น และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
กรมบัญชีกลาง
งบประมาณที่ตั้งไว้ ๖๘๖,๕๖๖,๓๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณปี ๒๕๔๔ เป็นจำนวนเงิน
๕๖,๔๒๒,๕๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณปี ๒๕๔๔
ซึ่งงบประมาณที่ตั้งไว้ยังไม่ได้มีการเบิกจ่ายตามที่ขอ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหางบประมาณเหลื่อมปีและ
ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
๒. ประเด็นสัญญาจ้างการประกวดราคาในโครงการต่าง ๆ ได้มีการฮั้วกันในบางโครงการ
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ทางคณะกรรมาธิการขอให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด
ในการประกวดราคาของสัญญาจ้างในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการบริหารงานงบประมาณแผ่นดินต่อไป ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ชี้แจงว่าขณะนี้
ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปช. สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งชาติ
เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ป้องกันการฮั้ว
๓. การถ่ายโอนงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจาก
ไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนุญ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า การกระจายอำนาจค่อนข้างซ้ำซ้อนยากแก่
การปฏิบัติและองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นขาดความพร้อมทางด้านบุคลากร
๔. การเบิกจ่ายค่าสาธารณูปโภคของส่วนราชการ และค่าตอบแทนของครูพี่เลี้ยงล่าช้า
ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนราชการและครูพี่เลี้ยง
๕. กรณีการซื้อครุภัณฑ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ เป็นต้น ของส่วนราชการ
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่าการซื้อครุภัณฑ์เหล่านี้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ก่อให้เกิดปัญหา
อื่นตามมาภายหลัง เช่น จ้างบุคลากรเพิ่ม ค่าเสื่อมราคา และไม่ทันต่อวิทยาการและเทคโนโลยี
สมัยใหม่ จึงเห็นควรให้ใช้ระบบการเช่า
๖. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของแต่ละ
กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ขอให้สำนักงบประมาณมีการวางกรอบและหลักเกณฑ์ในการตั้งงบประมาณ
ให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด