ในปี 2543 การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กของไทยยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนในเกณฑ์สูง ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลายซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 32.3 และ 23.6 เทียบกับปี 2542 ซึ่งเป็นปีแรกที่ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและมีปริมาณผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากปี 2541 กว่าเท่าตัว (เทียบกับปี 2538 | 2541 ที่การผลิตและจำหน่ายลดลงเฉลี่ยร้อยละ 8.8 และ 9.5 ต่อปี) การขยายตัวดังกล่าวเป็นผลจากอุปสงค์ของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นวัตถุดิบขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งทำให้ปริมาณการผลิตกลุ่มเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 51.9 ในขณะที่ปริมาณการผลิตกลุ่มเหล็กทรงยาวลดลงร้อยละ 1.5 โดยเฉพาะเหล็กเส้นและเหล็กลวดลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีสต็อกสินค้าเก่าคงค้าง
ในด้านการส่งออก ปรากฏว่าในปี 2543 สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ถึงร้อยละ 57.7 และ 68.3 ามลำดับ เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 3.9 และ 4.2 ในปี 2542 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและประเทศในเอเชียซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซียและจีน มีความต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กจากไทยเพิ่มขึ้นมาก ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ ส่งออกได้มากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น ซึ่งปริมาณและมูลค่าส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.1 และ 48.5 ของปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งหมดส่วนการนำเข้าเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก แม้ปริมาณนำเข้าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 แต่มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง
ปัญหาของอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญคือ ไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเหล็กขั้นต้นในประเทศ การผลิตเหล็กกระจุกตัวในอุตสาหกรรมขั้นปลายได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กเส้น โดยกิจการส่วนมากยังมีขนาดเล็ก ทำให้เกิดปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ขณะที่การส่งออกถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ผู้ผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กจำนวนมากมีปัญหาหนี้เสีย (NPL) และขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องปิดกิจการ ขณะที่ผู้ผลิตที่ยังดำเนินการอยู่มีการใช้กำลังการผลิตในระดับต่ำ คือร้อยละ 45
สำหรับปี 2544 คาดว่าการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กของไทยโดยรวมจะลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 5 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 2 เทียบกับที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.3 ในช่วงครึ่งแรกปีก่อนทั้งนี้แม้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศจะขยายตัวได้ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่การผลิตเพื่อส่งออกมีแนวโน้มลดลง
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 21.1 เทียบกับช่วงครึ่งแรกปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 104.8 และ 91.3 ตามลำดับ เนื่องจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญได้ฟ้องร้องเพื่อเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการให้การอุดหนุน ทั้งนี้ การส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยไปยังสหรัฐฯ ได้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 98.2
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ในด้านการส่งออก ปรากฏว่าในปี 2543 สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ถึงร้อยละ 57.7 และ 68.3 ามลำดับ เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 3.9 และ 4.2 ในปี 2542 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาและประเทศในเอเชียซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซียและจีน มีความต้องการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เหล็กจากไทยเพิ่มขึ้นมาก ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ ส่งออกได้มากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น ซึ่งปริมาณและมูลค่าส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.1 และ 48.5 ของปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งหมดส่วนการนำเข้าเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก แม้ปริมาณนำเข้าลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.7 แต่มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง
ปัญหาของอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญคือ ไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเหล็กขั้นต้นในประเทศ การผลิตเหล็กกระจุกตัวในอุตสาหกรรมขั้นปลายได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กเส้น โดยกิจการส่วนมากยังมีขนาดเล็ก ทำให้เกิดปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ขณะที่การส่งออกถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ผู้ผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กจำนวนมากมีปัญหาหนี้เสีย (NPL) และขาดเงินทุนหมุนเวียน ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต้องปิดกิจการ ขณะที่ผู้ผลิตที่ยังดำเนินการอยู่มีการใช้กำลังการผลิตในระดับต่ำ คือร้อยละ 45
สำหรับปี 2544 คาดว่าการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กของไทยโดยรวมจะลดลงจากปี 2543 ประมาณร้อยละ 5 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ผลผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 2 เทียบกับที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.3 ในช่วงครึ่งแรกปีก่อนทั้งนี้แม้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศจะขยายตัวได้ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ แต่การผลิตเพื่อส่งออกมีแนวโน้มลดลง
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ทั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 และ 21.1 เทียบกับช่วงครึ่งแรกปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 104.8 และ 91.3 ตามลำดับ เนื่องจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญได้ฟ้องร้องเพื่อเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการให้การอุดหนุน ทั้งนี้ การส่งออกเหล็กแผ่นรีดร้อนของไทยไปยังสหรัฐฯ ได้ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 98.2
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-